วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

๑๐ ธันวาคม ทำไมถึงเป็นวันธรรมศาสตร์?

ทุกคนคงรู้ว่าวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า วันเดียวกันนี้คือ "วันธรรมศาสตร์" ด้วยเช่นเดียวกัน (นอกจากชาวธรรมศาสตร์ หุหุ)ถึงแม้คนเขียนจะไม่ใช่ชาวธรรมศาสตร์ แต่เนื่องในโอกาส 77 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงขออนุญาตนำมาอัพเพื่อคลายข้อสงสัยในวันนี้นะคะ ^^


โดมท่าพระจันทร์


โดมรังสิต

วารสาร Accy Today วารสารของคณะบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขามีคำตอบบอกไว้ ขอสรุปเป็นข้อๆ ตามนี้...



1. ปี 2494 ภายหลัง “กบฎแมนฮัตตัน” อันเป็นกรณีขัดแย้งของทหารบก-ทหารเรือ ธรรมศาสตร์ถูกทหารเข้ายึดด้วยเหตุผลว่า “ขอยืมใช้เป็นสถานที่ชั่วคราวและเพื่อความสงบเรียบร้อย” ทำให้นศ.ไม่มีที่เรียนหนังสืออยู่เกือบ 4 เดือน

2. ต่อมากองทัพบกเสนอซื้อธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในราคา 5 ล้านบาท สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาว มธ. เป็นอันมาก ในวันที่ 11 ตุลาคม จึงมีนศ.ราว 3000 คน เดินขบวนไปยังรัฐสภาเพื่อทวงมหาลัยคืน

3. วันที่ 5 พฤศจิกายน นักศึกษา 3000 คนทัศนาจรทางรถไฟไปนครสวรรค์ เมื่อรวบรวมคนได้พร้อมก็กลับมาที่สถานีหัวลำโพง ขึ้นรถบัสที่เตรียมไว้ 12 คัน ขับตรงฝ่าทหารที่เฝ้ายามอยู่เข้าไป “ยึดธรรมศาสตร์” คืนจนได้ เป็นผลให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีต้องคืนมหาลัยให้

4. ดังนั้น วันที่ 11 ตุลาคม จึงได้รับการเฉลิมฉลองเป็น “วันธรรมศาสตร์สามัคคี” พร้อมคำขวัญที่ว่า “รวมกันเราอยู่ แยกกันเราตาย”

5. แต่การตั้งวันดังกล่าวถูกกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมเป็น “คอมมิวนิสต์” เพราะวันนั้นตรงกับ “วันชุมนุมเยาวชนคอมโซมอล” ของสหภาพโซเวียต ดังนั้นจึงถูกบีบบังคับให้ยกเลิกวันที่ 11 ตุลาคม ให้หันไปใช้วันที่ 5 พฤศจิกายนแทน พร้อมทั้งขยายความให้เป็น “วันคืนสู่เหย้า” (Home Coming)

6. ต่อมาในปี 2503 ได้ยกเลิกวันธรรมศาสตร์สามัคคีไป และเริ่มใช้วันที่ 10 ธันวาคม เป็น “วันธรรมศาสตร์” ในฐานะวันคืนสู่เหย้าแทน ตั้งแต่ปี 2504 เป็นต้นมา แต่จริงๆ วันธรรมศาสตร์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับวันรัฐธรรมนูญใดๆ ทั้งสิ้น


(ข้อมูลจาก Accy Today ฉบับที่ 9 (วันที่ 5 ธันวาคม 2548) หน้า 3 / อ่านเนื้อหาเต็มๆ ได้ในหนังสือ “70 ปี ธรรมศาสตร์ประกาศนาม” นสพ.มติชน)

---------------------------------

เว็บไซต์ของ Accy Today : http://www.accytoday.tk

Facebook Accy Today : http://www.facebook.com/pages/Accy-Today/471199200693?sk=wall

ที่มาของบทความ : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=merveillesxx&month=10-12-2005&group=4&gblog=10


ป.ล.จะว่าไปเราก็มีรุ่นพี่อยู่บัญชี มธ. 2-3 คน แฮะ น่ารักๆทั้งนั้นเลยอ่า...(<---เพ้ออยู่กับตัวเอง -*-)

จบเหอะ........55555+

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ทำอย่างไรถึงจะเรียนภาษาให้รุ่ง แบบสั้นๆง่ายๆได้ใจความ โดย ศิษย์เก่า ศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์

สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่าน วันนี้คนเขียนขอนำเสนออะไรที่ค่อนข้างฉีกแนวจากชาวบ้านนิ๊สนึง
(คนอื่นเขาอัพเรื่อง ดอกเลาบ้าง เรื่องแม่น้ำบ้าง คนเขียนก็อัพอย่างแน่นอนละค่ะ แต่คงไม่ใช่วันนี้)
เพราะวันนี้คนเขียนขอนำเสนอ วิธีการเรียนภาษายังไงให้รุ่งตามสไตล์(คนที่นับถือกันเหมือน)พี่ชายของคนเขียนเองซึ่งเป็นศิษย์เก่า คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เอกภาษาญี่ปุ่น
นั่นก็คือ "พี่แบงค์ Kimura Cantabile" นั่นเอง
จริงๆคนเขียนก็เคยแนะนำให้รู้จักไปแล้วรอบหนึ่ง จากบทความ "ทำไมต้องเรียนดนตรี" นะคะ
ถึงแม้พี่เขาจะเรียนเอกภาษาญี่ปุ่นมา (เรียนญี่ปุ่นตั้งแต่ ม.1 ได้ไปเป็นล่ามตอน ม.4) แต่ตอนมัธยมปลายเขากลับเลือกแผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ฝรั่งเศส (สงกะสัย ตอนนั้นคงยังไม่มีศิลป์-ญี่ปุ่น - -") แล้วเขาก็ทำได้ดีซะด้วย จนตอนนี้เขาจบปริญญาโทแล้ว ยังไม่ลืมเลย แถมเก่งกว่าคนที่เรียนอยู่ปัจจุบัน (อย่างคนเขียน) อีกแหนะ ไวยากรณ์นี่เป๊ะจริงไรจริง 555+ -*- และไม่ใช่เฉพาะภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น หรือฝรั่งเศส เท่านั้น ที่สามารถสื่อสารได้ ยังมี เยอรมัน เกาหลี และ อิตาเลียน แถมมาอีกต่างหาก (เที่ยวรอบโลกได้สบาย ไม่อดตายแน่ๆ หุหุ)

และพี่เขาก็เล่นไวโอลินและเชลโลเก่งด้วย เพลงที่ได้ยินอยู่ตอนนี้พี่เขาก็เป็นคนเล่นน่ะค่ะ (อยากเก่งแบบเขามั่งจัง หุหุ)

เกริ่นมาซะขนาดนี้ไปดูกันดีกว่า ว่าเขามีวิธีการเรียนอย่างไร.......

1.คัดลอกหนังสือเรียน ไวยากรณ์ คำศัพท์ ทุกเล่มที่มีมาถึงมือ
2.ฟังซีดี + วิดิโอ หนัง แล้วหัดพูด ทำแบบนี้ทุกวัน เป็นระยะเวลา 3 เดือนเป็นอย่างน้อย
3.พูดกับตัวเอง เสมอๆ ด้วยภาษานั้นๆ ในสถานการณ์ทั่วไปในชีวิตประจำวัน
4.อย่าเบื่อ


เห็นมะ ว่ามันสั้นๆง่ายๆจริงๆ อันที่จริง ไม่อยากจะเอ่ยเลยว่า ไอ้ 4 ข้อเนี้ย อาจารย์เกรียงไกรได้พูดไว้ก่อนที่คนเขียนจะได้รู้จักกับพี่แบงค์อีก มันช่างบังเอิญเสียนี่กะไร หุหุ

เห็นมั้ยละ ว่าถ้าเชื่ออาจารย์แล้วจะประสบความสำเร็จได้จริงๆ นี่ขนาดพี่เขาไม่รู้จักอาจารย์นะเนี่ย แค่เคยเห็นเว็บของอาจารย์บ้าง และมีวิธีการเรียนที่บังเอิญตรงกับที่อาจารย์ได้แนะนำลูกศิษย์เท่านั้น เขายังประสบความสำเร็จเลย ^^

ไอ้เรามันลูกศิษย์แท้ๆๆๆๆๆๆ กลับใกล้เกลือกินด่าง ต้องให้คนจากสมุทรสาครโน้น...มาตอกย้ำอีกครั้ง กว่าจะได้รู้จัก กว่าจะรู้ตัวและคิดนำมันไปใช้ประโยชน์ มันก็เกือบจะสายไปละ TTT^TTT

รู้สึกว่าบทความมันจะสั้นไป เลยขออนุญาตวิเคราะห์วิธีการนี้ดูนะคะ ว่าจะนำไปใช้กับตัวคนเขียนได้มากขนาดไหน...

ข้อแรก อาจารย์ก็บังคับให้คัดคำศัพท์กันตาลีตาเหลือกกันอยู่แล้ว แต่ขออนุญาตพูดตรงๆว่า มันไม่ค่อยได้ผลสักเท่าไหร่ เพราะนักเรียนก็แค่อดตาหลับขับตานอนคัดๆๆๆๆๆ ด้วยความกลัว และต้องการคะแนน แตไม่ได้นำศัพท์เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์มากเท่าที่ควร (คัดไป 100 คำ จำกันได้ไม่เกิน 20 คำหรอก เชื่อสิ)แต่ก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรติดหัวเลยล่ะเนาะ

เพราะฉะนั้น คนเขียนจะขอปฏิวัติตัวเองใหม่เลยดีกว่า คัดเอง สรุปเอง เอาไว้อ่านเอง และเข้าใจเอง อย่างนั้นเลยดีมั้ยคะ แต่เซ็งตัวเองที่คนเขียนเป็นคนเขียนหนังสือช้าไปสักหน่อย พาลจะทำให้ขี้เกียจขึ้นน่ะสิ (แต่เอาวะ...ลองดูสักตั้งจะเป็นไรไป !!!!)

ข้อที่สอง อาจารย์ผู้แสนดีของเราก็อุตส่าห์ทุ่มเททำสื่อไว้ให้อย่างมากมาย คงจะไม่ลำบากอะไร (แค่คนเขียนไม่มีคอมเท่านั้นเอง แต่ก็บ่ยั่น อาจารย์ก็มีให้ใช้อีกนั่นละ 5555+)

ข้อสาม ออกจะยากส์สักหน่อย แต่ถ้าได้ทำตาม ข้อหนึ่ง และ สอง ได้สังเกตรูปแบบประโยค สำเนียง และไวยากรณ์ต่างๆ มาแล้ว ก็คงจะไม่ยากเกินความสามารถ 55555555+ ขออย่างเดียว มีความกล้าที่จะพูดก็เท่านั้นเอง

ข้อสุดท้าย ถ้าเรามีความรักในภาษาและมีความตั้งใจที่จะทำแล้ว ในช่วงแรกๆก็ต้องอดทนกับการที่จะต้องละความสบาย สลัดความขี้เกียจออกจากตัว แต่ถ้าผ่านพ้นช่วงนั้นมาได้แล้ว ก็คงไม่มีอะไรยากเกินความสามารถ...คนเขียนว่าข้อนี้แหละยากที่สุดแล้วววววววววววววววว

สรุปว่า...สิ่งที่ทั้งอาจารย์เกรียงไกรและพี่แบงค์ได้บอกคนเขียนมา น่าจะทำได้อย่างแน่นอน ขอแค่สลัดความขี้เกียจให้ออกเป็นพอ -*- หุหุ คำแนะนำก็มีแล้ว ตัวอย่างคนที่ประสบความสำเร็จก็มีแล้ว ตอนนี้ก็เหลือแค่ลงมือทำก็เท่านั้นเอง หวังว่าสักวันหนึ่ง คนเขียนจะประสบความสำเร็จได้บ้างนะคะ ^^

โฉมหน้าพี่แบงค์

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แม่น้ำมะขามเฒ่า...(ก็แม่น้ำท่าจีนนั่นละ -*-)

สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่าน ไม่ได้อัพบล็อกไปเสียนาน (แตะคอมฯ ครั้งล่าสุด 30 ต.ค.) วันนี้เลยเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ตอบการบ้านที่ค้างคากันอยู่นะคะ ^^

ใครเคยได้ยินชื่อ "แม่น้ำมะขามเฒ่า" บ้าง คงไม่คุ้นหูกันใช่ไหมคะ แต่ถ้าบอกว่า "แม่น้ำท่าจีน" คงจะต้องร้องอ๋อกันอย่างแน่นอน เรามารู้จักกับแม่น้ำสายนี้ให้มากขึ้นกันดีกว่าค่ะ



แม่น้ำท่าจีน
แม่น้ำท่าจีน เป็นแม่น้ำที่แยกตัวออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลท่าซุง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี กับ ฝั่งตะวันตกที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ไหลผ่านจังหวัดชัยนาท จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนจะไหลออกสู่อ่าวไทยที่ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 325 กิโลเมตร แม่น้ำท่าจีนมีชื่อเรียกหลายชื่อ ดังนี้ ตอนที่ไหลผ่านจังหวัดชัยนาทเรียกว่า "แม่น้ำมะขามเฒ่า" ตอนที่ผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี เรียกว่า "แม่น้ำสุพรรณบุรี" ตอนที่ผ่านจังหวัดนครปฐมเรียกว่า "แม่น้ำนครชัยศรี" ส่วนตอนที่ไหลผ่านจังหวัดสมุทรสาครและไหลลงสู่อ่าวไทยเรียกว่า "แม่น้ำท่าจีน"

ลำน้ำสาขา

จังหวัดสมุทรสาคร
- คลองพิทยาลงกรณ์ หรือ คลองสรรพสามิต เป็นคลองเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองจะอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ไหลผ่านเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
- คลองมหาชัย หรือ คลองสนามชัย ปากคลองจะอยู่บริเวณฝั่้งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ไหลผ่านเขตบางขุนเทียน ออกสู่คลองด่าน (คลองบางหลวงน้อย) ที่เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยา
- คลองสุนัขหอน หรือ คลองแม่กลอง ปากคลองจะอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลท่าจีน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ไหลผ่านอำเภอบ้านแพ้ว ออกสู่แม่น้ำแม่กลองที่อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
- คลองดำเนินสะดวก ปากคลองจะอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีนที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ไหลผ่านอำเภอบ้านแพ้ว อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ก่อนเชื่อมแม่น้ำแม่กลองที่ประตูน้ำบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
- คลองบางยาง ปากคลองจะอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีนที่อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนเชื่อมคลองดำเนินสะดวกที่ อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
- คลองภาษีเจริญ ปากคลองจะอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ไหลผ่านอำเภอกระทุ่มแบน เขตหนองแขม เขตบางแค เขตภาษีเจริญ ออกสู่คลองบางกอกใหญ่ และคลองบางขุนศรี ที่เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยา

จังหวัดนครปฐม
- คลองบางแก้ว เป็นคลองธรรมชาติ อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำนครชัยศรี มีสองสาขาคือ แยกซ้ายไปเชื่อมกับห้วยหลายสายจนถึงแม่น้ำแม่กลอง มีลำรางสระอ้อ เป็นทางเชื่อม ต่อมจากนั้นจึงเป็นคลองบางระกำ และต่อกับลำห้วยต่างๆ จนถึงแม่น้ำแม่กลอง ส่วนแยกขวาไปรวมกับคลองเจดีย์บูชา
- คลองมหาสวัสดิ์ อยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำนครชัยศรี เป็นคลองที่ขุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อมแม่น้ำนครชัยศรี กับคลองบางกอกน้อย ที่บริเวณวัดชัยพฤกษ์มาลา เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร มีความยาว 30 กิโลเมตร กว้าง 10 วา ขนานไปกับทางรถไฟสายใต้
- คลองเจดีย์บูชา อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำนครชัยศรี เป็นคลองขุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปากคลองอยู่เหนือตลาดท่านาเล็กน้อย ยาวประมาณ 12 กิโลเมตร จากอำเภอนครชัยศรี ถึงอำเภอเมืองนครปฐม ขนานกับทางรถไฟสายใต้ คลองบางช่วงมีลำรางอยู่ก่อนแก้ว มีคลองบางแก้วมาบรรจบช่วงใกล้ถึงองค์พระปฐมเจดีย์
- คลองบางพระ อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำนครชัยศรี เป็นคลองธรรมชาติ ไหลผ่านหลายตำบล เชื่อมต่อแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำนครชัยศรี เดิมปากคลองบางพระจะไหลไปบรรจบแม่น้ำแม่กลอง ที่บริเวณอำเภอท่าเรือ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรที่สำคัญในสมัยโบราณ แต่ปัจจุบันปากคลองถูกตัดขาด และเปิดให้รับน้ำจากคลองประปาที่ไหลมาจากเขื่อนวชิราลงกรณ์
- คลองพิสมัย อยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำนครชัยศรี ระหว่างตำบลบางหลวง อำเภอนครชัยศรี กับอำเภอบางเลน เป็นคลองขุดยาวประมาณ 4 กิโลเมตร พระองค์เจ้าพิสมัยทรงริเริ่มให้ขุด ใช้ประโยชน์ในทางการเกษตร
- คลองทวีวัฒนา หรือคลองนราภิรมย์ อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำนครชัยศรี ปากคลองอยู่ที่ตำบลนราภิรมย์ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ไหลผ่านฝั่งซ้ายอำเภอบางเลน และอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กับฝั่งขวาที่อำเภอไทรน้อย อำเภอบางใหญ่ และอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เข้าเขตกรุงเทพมหานครที่เขตทวีวัฒนา ก่อนออกสู่คลองภาษีเจริญที่เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
- คลองท่าสาร-บางปลา เป็นคลองธรรมชาติ อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำนครชัยศรี บริเวณหน้าวัดบางปลา หมู่ที่ 6 ตำบลบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ผ่านอำเภอดอนตูม อำเภอกำแพงแสน เข้าเขตจังหวัดกาญจนบุรี ก่อนจะออกสู่แม่น้ำแม่กลองที่อ่าวท่าสาร บริเวณบ้านท่าเรือ ตำบลตะคร้ำเอน อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี คาดว่ามีมาตั้งแต่สมัยทวาราวดี ชาวบ้านใช้ลำคลองเป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำ เป็นเส้นทางการรบในอดีต และเป็นแหล่งน้ำสำหรับการดำเนินชีวิตของชาวชุมชนทั้งบอุปโภค-บริโภคและประกอบอาชีพเกษตกรรมเป็นหลัก ทั้งนี้ เมื่อคลองทอดผ่านหมู่บ้านใดนักเรียกชื่อตามหมู่บ้านนั้น เช่น จากอ่าวท่าสารมาเป็น คลองท่าสาร เมื่อมาถึงบ้านหมอสอเรียกว่า ลำหมอสอ ถึงบ้านห้วยปลากดเรียกว่า ห้วยปลากด ถึงบ้านรางเกตุเรียกว่า รางตาบุญ บ้านบ้านยางขาคีมเรียกว่าห้วยยาง ผ่านบ้านยางเรียกว่า คลองบ้านยาง ผ่านแหลมกระเจาเรียกว่า คลองแหลมกะเจา ผ่านลาดสะแกและบ้านเกาะแรดเรียกว่า คลองลาดสะแก
- คลองบางภาษี อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำท่าจีน บริเวณวัดบางภาษี ตำบลคลองนกกระทุง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ซึ่งเดิมเป็นเขตตำบลบางภาษี อำเภอบางปลา ก่อนแบ่งออกเป็นสองตำบล และเปลี่ยนจากอำเภอบางปลาเป็นอำเภอบางเลนในปัจจุบัน ก่อนจะขนานไปกับเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างฝั่งซ้าย อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม กับฝั่งขวา อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนจะออกสู่คลองพระยาบันลือ
- คลองพระพิมลราชา เป็นคลองชลประทาน อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำท่าจีน ปากคลองอยู่ที่ประตูน้ำพระพิมล ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ผ่านคลองบางภาษี เข้าเขตจังหวัดนนทบุรีที่ตำบลขุนศรี อำเภอไทรน้อย ก่อนจะออกสู่คลองบางบัวทองที่ประตูน้ำบางบัวทอง ตำบลบางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งฝั่งขวาของคลองจะออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณรอยต่อระหว่างตำบลท่าอิฐและตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

จังหวัดสุพรรณบุรี
- คลองพระยาบันลือ เป็นคลองชลประทาน อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำสุพรรณบุรี ปากคลองอยู่ที่ประตูระบายน้ำพระยาบรรลือ ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี บางช่วงขนานไปกับฝั่งทิศเหนือ ตำบลหลักชัย อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับฝั่งทิศใต้อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครอง ก่อนจะเข้าเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยตรงที่ปากคลองบางภาษี ตำบลสามเมือง และออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ประตูน้ำสิงหนาถ ตำบลไม้ตรา อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา






การนำน้ำผลิตน้ำประปา
แม่น้ำท่าจีนเป็นแหล่งผลิตน้ำประปาสำคัญของบริษัท น้ำประปาไทย จำกัด (มหาชน)ซึ่งจำหน่ายน้ำประปาให้กับการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ในพื้นที่อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน และอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กับอำเภอเมืองสมุทรสาคร และอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยใช้แหล่งน้ำดิบบริเวณที่ตั้งของโรงผลิตน้ำประปาบางเลน หมู่ที่ 9 ตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ก่อนจะส่งจ่ายน้ำประปาที่ผ่านการผลิตไปยังสถานีจ่ายน้ำพุทธมณฑล ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และสถานีจ่ายน้ำมหาชัย ตำบลนาดี อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนจะจ่ายน้ำไปยังผู้ใช้ต่อไป

อย่างไรก็ตาม น้ำในแม่น้ำท่าจีนไม่ได้นำมาใช้ผลิตน้ำประปาสำหรับใช้ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่การประปานครหลวงได้ก่อสร้างคลองประปาตะวันตก หรือคลองส่งน้ำดิบฝั่งตะวันตก เพื่อผันน้ำจากแม่น้ำแม่กลอง บริเวณเขื่อนวชิราลงกรณ์ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ไปยังโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ระยะทาง 106 กิโลเมตร ซึ่งช่วงก่อนถึงแม่น้ำท่าจีนได้ก่อสร้างเป็นอุโมงค์ลอดแม่น้ำเพื่อไม่ให้คุณภาพน้ำจากจุดรับน้ำดิบเปลี่ยนแปลง ก่อนจะเข้าสู่สถานีสูบน้ำดิบบางเลน ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ไปยังโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ต่อไป







สะพาน
ข้อมูลบางส่วนตั้งแต่จังหวัดสมุทรสาคร ถึงจังหวัดนครปฐม (เรียงจากปากแม่น้ำท่าจีน)

- สะพานท่าจีน 1 ถนนพระรามที่ 2 ตำบลท่าจีน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เปิดใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2516 พร้อมทางหลวงสายธนบุรี-ปากท่อ
- สะพานท่าจีน 3 ทางหลวงชนบท สค.4019 ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2540
- สะพานพุทธมณฑลสาคร ต่อทางหลวงชนบท สค.4016-บ้านอำแพง ตำบลอำแพง อำเภอบ้านแพ้ว และตำบลท่าเสา อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เปิดใช้เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554
- สะพานท่าจีน 2 ถนนสุคนธวิท และทางหลวงชนบท สค.4011 ตำบลสวนส้ม อำเภอบ้านแพ้ว และ ตำบลตลาดกระทุ่มแบน อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เปิดใช้เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534
- สะพานบางยางรุ่งสินพัฒนา ตำบลบางยาง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เปิดใช้เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
- สะพานท่าจีน 4 ทางหลวงชนบท สค.4014 (ซอยวิรุณราษฎร์) ตำบลหนองนกไข่ และตำบลท่าเสา อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ.2542
- สะพานบุญรัฐประชานุวัฒน์ ตำบลสามพรานและตำบลท่าข้าม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เปิดใช้เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2547
- สะพานโพธิ์แก้ว ถนนเพชรเกษม ตำบลโพธิ์แก้ว อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
- สะพานมงคลรัฐประชานุกูล (วัดไร่ขิง) ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เปิดใช้เมื่อปี 2545
- สะพานหลังวัดทรงคนอง ตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
- สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน ถนนบรมราชชนนี ตำบลหอมเกร็ด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
- สะพานหลวงพ่อย้อยอนุสรณ์ ตำบลขุนแก้ว และตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
- สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน ทางหลวงชนบท นฐ.4047 ตำบลนครชัยศรีและตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
- สะพานรวมเมฆ ทางหลวงชนบท นฐ.4006 (ถนนนครชัยศรี-ศาลายา) ตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เปิดใช้เมื่อปี 2532
- สะพานเสาวภา ทางรถไฟสายใต้ ตำบลวัดแค และตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
- สะพานสำโรง-ลานตากฟ้า ประชาร่วมใจ ตำบลวัดสำโรง และตำบลลานตากฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2550
- สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน (วัดห้วยพลู) ตำบลห้วยพลู อำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐม
- สะพานหลวงพ่อเปิ่น ทางหลวงชนบท นฐ.4014 ตำบลบางพระ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
- สะพานอุดมประชานารถวัฒนา ตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ.2542
- สะพานแขวนข้ามแม่น้ำท่าจีน ตำบลลำพญา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
- สะพานบางเลน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346 ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
- สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน ตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
- สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3422 ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

Le fluve Thachine traverse Chainat, Nakhonpathom, Supannburi et se jette sur la mer à Samutsakhon.

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก กษัตริย์ต่างชาติผู้ทรงเป็นที่รักของชาวไทย



สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก
(ภาษาซองคา : འཇིགས་མེད་གེ་སར་རྣམ་རྒྱལ་དབང་ཕྱུག་)
ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรภูฏาน ลำดับที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก ทรงได้รับการยกย่องจากชาวภูฏานรวมถึงชาวไทยส่วนใหญ่ว่าทรงมีพระจริยวัตรที่งดงาม และเป็นที่รักยิ่งของประชาชนชาวภูฏาน

สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังซุก ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของพสกนิกรทุกหมู่เหล่า จากการที่ทรงวางพระองค์อย่างเป็นกันเองในหมู่ประชาชน จึงสร้างความประทับใจแก่พสกนิกรอย่างสูง ถึงแม้ว่าพระองค์ไม่ต้องทรงรับพระราชภารกิจการบริหารประเทศ เนื่องจากสมเด็จพระราชบิดาได้ทรงวางระบอบปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นมาอยู่ก่อนแล้ว แต่พระองค์เองก็ยังทรงเป็นสัญลักษณ์สำคัญ ในการสร้างเอกภาพและเสถียรภาพ ในประเทศที่มีประชากรเพียง 650,000 คน โดยมุ่งเน้นด้านความสุขมวลรวมของประชากรภายในประเทศเป็นสำคัญ

พระราชประวัติ
เสด็จพระราชสมภพเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสใน สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก และ สมเด็จพระราชินี อาชิ เชอริง ยางดน วังชุก ซึ่งเป็นพระมเหสีองค์ที่สาม สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงมีพระขนิษฐาและพระอนุชาร่วมพระมารดา ซึ่งมีพระนามว่า เจ้าหญิงอาชิ เดเชน ยังซัม และพระอนุชามีพระนามว่า เจ้าชาย ดาโช จิกมี ดอร์จิ วังชุก

การศึกษา
ภายหลังเจริญพระชันษา พระองค์ได้เสด็จไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา ในระดับมัธยมศึกษาที่ คัชชิง อคาเดมี (Cushing Academy) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำสหศึกษาที่มีชื่อเสียงของมลรัฐแมสซาชูเซตส์ มีอายุกว่า 100 ปี และทรงศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยวีตัน (Wheaton College) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยด้านศิลปศาสตร์ในมลรัฐเดียวกัน ก่อนที่จะเสด็จมาศึกษาต่อปริญญาโท ในสาขาการทูต (Foreign Service Programme) และสาขาวิชาการเมืองที่ วิทยาลัยแม็กดาเลน (Magdalen College) มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด ในสหราชอาณาจักร
นอกจากนี้ พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินแทนพระราชบิดาไปยังต่างแดนในหลายโอกาส และทรงเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมต่างๆ รวมไปจนถึงการศึกษา และองค์กรเศรษฐกิจหลายแห่ง

การทูลเกล้าถวายปริญญา
- มหาวิทยาลัยรังสิตได้ทูลเกล้าถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้กับสมเด็จพระราชาธิบดี (เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นเจ้าชายมกุฎราชกุมาร) ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2549
- มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ทูลเกล้าถวายปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาส่งเสริมการเกษตร ให้กับสมเด็จพระราชาธิบดี นอกจากนี้พระองค์ยังส่งนักศึกษาและบุคคลสำคัญเข้ามาศึกษา ดูงาน และสัมมนาที่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประจำ

เสด็จขึ้นครองราชย์
สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย นัมชุก พระราชบิดาของพระองค์ทรงสละราชสมบัติพระราชทานให้แก่เจ้าฟ้าชายจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก มกุฎราชกุมาร พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โดยทรงมีพระราชดำริในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอย่างแรกด้วยการพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันชาติของภูฎาน หลังจากนั้นประมาณสองปี ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 พระองค์ได้ประกอบพิธีบรมราชาภิเษกเป็นกษัตริย์อย่างเป็นทางการ ณ พระราชวังในกรุงทิมพู

ราชาภิเษก
ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงเข้าพิธีราชาภิเษกที่จัดขึ้นในพระราชวังทาชิโชซอง ในเมืองทิมพู โดยสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก ทรงเป็นผู้ประกอบพระราชพิธี โดย พระราชทานมงกุฎไหมสีแดงดำแด่พระองค์ นอกจากนี้ยังมีนางซอนยา คานธี ประธานรัฐสภาของอินเดียเข้าร่วมในพิธีด้วย ทั้งนี้พระองค์จะสืบบัลลังก์เป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก และยังทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงพระเยาว์ที่สุดในโลก ด้วยพระชนมพรรษาเพียง 28 พรรษา และจะทรงปกครองประเทศด้วยระบอบประชาธิปไตย

สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงฉลองพระองค์สีแดงทองที่เป็นชุดคลุมยาวปิดเข่าอันเรียกกันว่า "โฆ" ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติของชายชาวภูฏาน ทรงประทับนั่งบนบัลลังก์ทองคำ พระพักตร์เคร่งขรึม แต่ก็ทรงแย้มพระสรวลเล็กน้อยขณะทรงรับเครื่องถวายแด่สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ ใหม่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และยังทรงมีพระบรมราโชวาทแก่พสกนิกรหลายพันคนที่มาเข้าเฝ้าพระองค์ในตอนบ่ายของวันเดียวกันว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการสิ่งใด" "สิ่งที่สำคัญสำหรับข้าพเจ้าคือความหวังและความมุ่งมาดปรารถนาของ ประชาชน และพระชนมายุอันยืนยาวและพระพลานามัยอันแข็งแรงสำหรับสมเด็จพระราชบิดา จิกมี ซิงเย วังชุก ของข้าพเจ้า" "ในโอกาสอันพิเศษยิ่งนี้ ขอให้ร่วมกันสวดมนต์และขออธิษฐานขอให้แสงตะวันเฉิดฉันแห่งความสุขจะสาดส่อง ลงมาที่ประเทศชาติของเราเสมอไป"

นอกจากประชาชนหลายพันคนที่มารวมตัวกันถวายพระพรแด่สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ซึ่งประกอบพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ยังมีแขกสำคัญที่ร่วมในพิธีดังกล่าวคือ ประธานาธิบดีประติภา ปาติลแห่งอินเดีย และนางโซเนีย คานธี นักการเมืองคนสำคัญของอินเดียพร้อมด้วยบุตรธิดา เนื่องจากครอบครัวคานธีนั้นมีความสนิทชิดเชื้อกับราชวงศ์ภูฏาน
ซีเอ็นเอ็น ได้รายงานข่าวการเฉลิมฉลองพระราชาภิเษกนี้ โดยระบุว่า มีการร่วมเฉลิมฉลองตามถนนหนทาง เล่นดนตรี มีการประดับประดาดอกไม้ตามศูนย์ต่างๆเพื่อแสดงการเฉลิมฉลองในโอกาสที่มีกษัตริย์พระองค์ใหม่ ตลอดจนมีการรายงานถึงความรู้สึกของพสกนิกรชาวภูฏานที่ทั้งต่างแสดงความดีใจ และสะเทือนใจในการสละราชสมบัติอย่างกระทันหันของพระราชบิดาไปพร้อมๆกัน

สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ได้ทรงประกาศหมั้นกับ เจตซุน เพมา ซึ่งเป็นหญิงสาวสามัญชน โดยทั้งสองมีกำหนดการอภิเษกสมรสในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554



พระราชพิธีอภิเษกสมรส
พระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่าง สมเด็จพระราชาธิบดี'และสมเด็จพระราชินีแห่งภูฏาน จัดขึ้น ณ มณฑลพูนาคา ประเทศภูฏาน
ให้ประชาชนได้ยลโฉมพระราชินีองค์ใหม่กันอย่างเป็นทางการ หลังงานพิธีอีกครั้ง และพวกเขาก็ไม่ผิดหวัง เมื่อทั้งสองพระองค์ยืนเคียงคู่กันโดดเด่นที่สุดในงาน แถมกษัตริย์จิกมี่ยังทรงจุมพิตพระราชินีอย่างเปิดเผยเป็นครั้งแรกอีกด้วย

โดยในพิธีเฉลิมฉลองการอภิเษกสมรสของกษัตริย์จิกมี่นั้น มีการแสดงระบำพื้นเมืองและศิลปะดนตรีประจำชาติภูฏานตั้งแต่เช้าไปจนถึงช่วงบ่าย ท่ามกลางประชาชนที่มาร่วมงานนับหมื่นคนที่นั่งอยู่เต็มอัฒจรรย์สนามกีฬากลาง ซึ่งในงานนี้ กษัตริย์จิกมี่ได้ทรงร่วมเต้นรำร่วมกับคณะนักแสดงด้วย



สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งราชอาณาจักรภูฏาน พร้อมด้วย นางสาวเจตซุน เปมา เจ้าสาว เดินทางถึงศาลเจ้าศักดิ์สิทธิ์ในเมืองพูนาคา ซอง (Punakha Dzong) สถานที่ใช้ในการประกอบพิธีอภิเษกสมรส โดยในพิธีประกอบด้วย สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก พระบิดา พร้อมด้วยพระมเหสีทั้ง 4 พระองค์ , เจ้าบ่าว-เจ้าสาว และพระสังฆราช หรือ เจเคนโป (Je Khenpo) และห้ามมิให้สื่อมวลชน เข้าทำข่าวเกินกว่าสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ให้ รวมถึงห้ามประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม

ถึงแม้ว่าเจ้าสาวจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปห้องโถงภายในศาลเจ้าที่ใช้ในการประกอบพิธี แต่นางสาวเปมา ได้ทำพิธีหมอบกราบอยู่ด้านนอก เพื่อขอพรจาก "ซับดรุง งาวัง นัมเยล" ลามะองค์สำคัญของภูฏาน ในสมัยศตวรรษที่ 17 ท่ามกลางงานพิธีที่เต็มไปด้วยข้าราชการที่สวมโก (Gho) ชุดประจำชาติที่ของภูฏาน

นางสาวเจตซัน เปมา ขณะนี้ขึ้นดำรงตำแหน่ง พระราชินีองค์ใหม่แห่งราชอาณาจักรภูฏานอย่างเป็นทางการแล้ว หลังเข้าพิธีอภิเษกสมรส กับ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก กษัตริย์ผู้เป็นที่รักของชาวภูฏานทั้งประเทศ จนได้รับการขนานนามว่า "ดรากอน คิง" โดยหลังจากนี้ไป จะมีการเฉลิมฉลองอย่างต่อเนื่อง 3 วัน พร้อมด้วยงานรื่นเริ่งต่าง ๆ ทั่วประเทศ



โดยนางสาวเจตซัน เปมา (Jetsun Pema) เกิดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2533 ในกรุงทิมพู เมืองหลวงของประเทศภูฏาน เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 5 คนของนายโทนทับ ดียัลเซน (Dhondup Gyaltshen) และนางโซนัม สุกี (Sonam Chuki)

นางสาวเจตซัน เปมา จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนที่ประเทศภูฏาน ก่อนจะเดินทางไปเรียนต่อที่ลอว์เรนซ์ สคูล ในซานาวาร์ หิมาจัลประเทศ และที่เซนต์โจเซฟ คอนแวนต์ ในกาลิมพง ประเทศอินเดีย และขณะนี้กำลังศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยรีเจนต์ คอลเลจในลอนดอน ประเทศอังกฤษ



ทั้งนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ยังได้ตรัสถึงว่าที่พระราชินีของพระองค์อย่างเป็นทางการว่า แม้ เจตซัน เปมา จะมีอายุน้อย แต่เธอเป็นผู้มีบุคลิกและจิตใจที่อบอุ่นอ่อนโยน มีเมตตา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เมื่อผนวกเข้ากับภูมิปัญญาที่เธอจะได้รับ ในอนาคตเมื่อเธอมีวัยวุฒิและสั่งสมประสบการณ์ได้มากขึ้น เธอจะข้ารับใช้ที่ดีของแผ่นดินภูฏาน

มาดูวินาทีที่ทรงได้รับการร้องขอให้แสดงความรักต่อพระราชินีเจตซุน เปมา ด้วยการจุมพิต กันค่ะ ทำให้พสกนิกรต่างยิ้มกว้างกับภาพที่ได้เห็น ขณะที่กษัตริย์จิกมีก็ทรงมีท่าทีเขินอายเป็นอย่างมาก...^^



(สามารถดูเป็นคลิปวิดีโอได้ที่ : http://www.youtube.com/watch?v=hM8W35ED2GU ค่ะ ^^)

พระราชกรณียกิจ
-สมเด็จพระราชาธิบดีเคเซอร์ เป็นหนึ่งในพระราชอาคันตุกะ ที่เสด็จทรงร่วมพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างวันที่ 12-13 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ที่ กรุงเทพมหานคร ในขณะที่พระองค์ยังทรงเป็นมกุฎราชกุมาร และทรงเป็นพระราชอาคันตุกะที่มีพระชนมายุน้อยที่สุด ในหมู่ราชวงศ์ที่มาร่วมงาน

-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 พระองค์ทรงเสด็จเยือนประเทศไทยอีกครั้งเพื่อเสด็จเยี่ยมชมสวนดอกไม้ของภูฏาน ในงานพืชสวนโลกที่จัดขึ้นในเชียงใหม่ และทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้ทูลเกล้าถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ในช่วงเวลาต่อมา
-ทรงร่วมลงพระนามในสนธิสัญญามิตรภาพกับประเทศอินเดียในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 แทนฉบับเดิม ซึ่งคือฉบับ พ.ศ. 1949

พระอิสริยยศ
-เจ้าฟ้าชาย ดาโช จิกมี เคซาร์ นัมเกล วังชุก (พ.ศ. 2523 — 2547)
-เจ้าฟ้าชาย โชเซ เพนลป จิกมี เคซาร์ นัมเกล วังชุก มกุฎราชกุมารแห่งภูฏาน (พ.ศ. 2547 — 2549)
-สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก (พ.ศ. 2549 — ปัจจุบัน)

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B5_%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C_%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5_%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%81

http://hilight.kapook.com/view/58989

ภาพประกอบจาก Facebook ของพระองค์ :http://www.facebook.com/KingJigmeKhesar

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ทวีเวท ศรีณรงค์ จัดหนัก.... 'ดนตรีคลาสสิกไม่ใช่ของสูง'



เขาคือนักเรียนทุนดนตรีคลาสสิกคนแรกในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
เป็นคนรุ่นใหม่ที่นำเครื่องดนตรีและท่วงทำนองของดนตรีคลาสสิก มาปรับรูปแบบ ผสมผสานกับจังหวะลีลาของเพลงป๊อบได้อย่างน่าสนใจ ทั้งไม่นานปีมานี้ ก็ริเริ่มก่อตั้งสถาบันดนตรีคลาสสิกของครอบครัวขึ้น เพื่อปลูกฝังความรักและความรู้ให้ผู้ที่สนใจศิลปะการดนตรีได้รับการฝึกฝนอย่างเต็มที่

เขาเติบโตขึ้นมาอย่างคนซึ่งภาคภูมิใจในความเป็นนักดนตรีของผู้บังเกิดเกล้า ศรัทธาในความเป็นลูกชาวนาของพ่อที่กล้าหาญบุกบั่นฟันฝ่าทำตามเสียงเรียกร้องของหัวใจ กระทั่งในที่สุด พ่อของเขาก็ก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งวง Bangkok Symphony Orchestra
และเป็นหนึ่งในบุคลาจารย์ผู้กล่อมเกลาเอกอุบุคคลทางดนตรีหลายต่อหลายคน ซึ่งล้วนเป็นผู้ที่คนในวงการดนตรีคลาสสิกต่างให้การยอมรับทั้งสิ้น



กระทั่งวันนี้ ชายหนุ่มผู้เป็นทายาทของครูผู้นั้น ได้เติบโตขึ้นเป็นคนหนุ่มที่หลงรักดนตรีคลาสสิกและเชื่อมั่นว่าดนตรีคลาสสิกเป็นสมบัติของโลกใบนี้ เป็นสมบัติของคนทุกคน

และนี่คือเรื่องเล่าหลากมิติจากมุมมองของชายหนุ่มผู้ตัดสินใจก้าวเดินไปตามเสียงเรียกร้องของท่วงทำนองอมตะที่ได้รับการสืบต่อกันมาเนิ่นนานหลายศตวรรษ และจะเป็นท่วงทำนองที่ยังคงอยู่ต่อไปอีกนานนับนาน ตราบเท่าที่ผู้คนมากมายทั่วโลกยังพร้อมเปิดใจสัมผัสมัน

ถ้อยความเหล่านี้ คือเรื่องราวหลากหลายที่ครอบคลุมถึงนิยามความหมายของดนตรี, ความเคารพในวิชาชีพ รวมทั้งจุดแรกเริ่มแห่งแรงบันดาลใจ ทั้งหลายทั้งปวงคือสิ่งที่เขา...ทวีเวท ศรีณรงค์ เต็มใจบอกเล่าอย่างเพลิดเพลิน....

นักดนตรี

"สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับนักดนตรีทุกคนเลยนะครับ ไม่ใช่แค่นักดนตรีคลาสสิกเพียงอย่างเดียว สิ่งสำคัญนั้นคือความอดทน เพราะคุณจะไม่มีวันเก่งได้เลย ถ้าคุณไม่ขยันซ้อมและไม่ขวนขวายหาความรู้ ไม่ว่าคุณจะเก่งยังไงก็ต้องซ้อม คุณจะเจอพรสวรรค์ของตัวเองไม่ได้เลยถ้าหากคุณไม่ซ้อม คุณต้องซ้อมเพื่องัดพรสวรรค์ในตัวออกมาให้ได้

"และสำหรับคนที่ไม่มีพรสวรรค์คุณก็ยิ่งต้องขยัน ต้องมีความอดทน และคุณต้องรักมันจริงๆ คุณต้องให้เวลากับมัน ผมว่า มันก็เปรียบได้กับกีฬา ถ้าหากว่านักกีฬาเขาไม่ได้รักกีฬานั้นจริงๆ เขาจะตื่นขึ้นมาซ้อมตั้งแต่ ตี 4 ตี 5 หรือครับ หลายคนมองว่านักดนตรีเป็นอาชีพที่ยาก เพราะไม่ค่อยมีช่องทาง แต่ผมว่าช่องทางนั้นมีอยู่แล้ว อยู่ที่ว่าคุณจะไปถึงได้ไหม

"ถามว่าการเล่นดนตรีมันเลี้ยงชีวิตได้ไหม ? ได้ครับ แต่มันก็มีหลายรูปแบบ เหมือนกับอาชีพอื่นๆ เช่น ถ้าคุณทำงานกฎหมาย ก็มีนักกฎหมายหลายระดับ ถ้าเป็นนักกฎหมายเมืองไทยก็ได้เงินในระดับของไทย แต่ถ้าเป็นนักกฎหมายระดับเดียวกันแต่อยู่ต่างประเทศก็อาจจะได้เงินเดือนอีกระดับ ไม่ต่างกับนักดนตรีที่เล่นประจำที่ร้านอาหาร หรือที่ผับ แล้วนำไปเทียบกับบอดี้สแลม ก็รายได้ก็คนละระดับ ถามว่าเป็นนักดนตรีเหมือนกันไหม? ก็นักดนตรีเหมือนกัน แต่บอดี้สแลมไส้แห้งไหม? ผมว่าไม่แห้งนะ กรูฟไรเดอร์ก็ไม่แห้งนะ มีเวลาใช้เงินหรือเปล่าก็ไม่รู้? ผมว่าเขาหาเงินได้มากกว่าหลายๆ อาชีพด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น ก็ต้องกลับมาดูแล้วว่าคุณอยู่ในระดับไหน? ฝีมือถึงไหมล่ะ? ถ้าคุณอยากเล่นดนตรี คุณก็ต้องกลับมาถามตัวเองก่อนว่าคุณจะทำมันได้ไหม ถ้าทำไม่ได้คุณตายนะ เพราะนี่คืออาชีพของคุณ ถ้าคุณไม่เล่นดนตรี คุณก็อดตาย และนี่คือความคิดที่ต้องมีตั้งแต่แรกเริ่ม ไม่ต่างจากนักฟุตบอล แต่ละลีกก็แตกต่างกัน พรีเมียร์ ลีกกับลาลีกา สเปน ก็แตกต่างกัน นักฟุตบอลเหมือนกันแต่คนละระดับชั้น ดนตรีก็เหมือนกัน

"บางคนอาจจะบอกว่านักดนตรีมันพวกหาเช้ากินค่ำ ถูกครับ บอดี้สแลมก็หาเช้ากินค่ำ แต่เขาหาได้วันละแสนกว่าบาท ดังนั้น มันอยู่ที่ว่าคุณทำมันได้ดีขนาดไหน ทุกอาชีพหาเลี้ยงชีพได้ทั้งนั้น คนขายก๋วยเตี่ยวก็ส่งลูกเรียนเมืองนอกได้

"ดังนั้น ถ้าถามว่าอาชีพอะไรที่มั่นคงที่สุด? ผมว่านั่นคืออาชีพที่เรารักและสนุกกับมัน"



คลาสสิก


"ดนตรีคลาสสิกเป็น ‘ของสูง’ เหรอ? ดนตรีเป็นของทุกคนครับ คนที่บอกว่าดนตรีคลาสสิกเป็นของสูงมันคงไม่เกี่ยวกับดนตรีแล้วแต่มันเกี่ยวกับคนที่เล่นและคนที่เสพต่างหาก

"คนที่เสพบางคนไม่ได้รู้ดี แต่รู้แค่ว่าไปดูดนตรีคลาสสิกแล้วต้องแต่งตัวดีๆ คือมันก็ห้ามไม่ได้ ที่ดนตรีคลาสสิกจะทำให้รู้สึกว่าเป็นของสูง เพราะด้วยสถานที่ ด้วยการจัดการ แต่นั่นมันก็ยังไม่เกี่ยวกับดนตรีอยู่ดี ตัวอย่างเช่น ถ้าหากคุณไปดูการแสดงดนตรีในศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ นั่นก็ไม่เกี่ยวกับดนตรี เพราะการที่คุณแต่งตัวดีๆ ไปศูนย์วัฒนธรรมฯ นั่นหมายความว่าคุณแต่งตัวเพื่อเคารพต่อสถานที่ซึ่งก็คือศูนย์วัฒนธรรมฯ คุณแต่งตัวเพื่อเคารพสถานที่ ไม่ใช่เพื่อดนตรี

"ถ้ามีการแสดงดนตรีคลาสสิกในสวนลุมฯ แล้วคุณจะใส่กางเกงขาก๊วยไปดู ก็ไม่มีใครว่าอะไร ใครใส่สูทไปดุกางเกงคลาสสิกในสวนลุมฯ ก็บ้าแล้ว สวนลุมฯ ร้อนจะตาย เป็นผมผมก็ไม่ใส่ เวลาไปผมก็ใส่เสื้อโปโล ใส่กางเกงยีนส์กับเสื้อยืด ชิวๆ แต่ถ้ามันเล่นในสถานที่ที่ต้องให้ความเคารพ มันก็ควรจะมีชุดที่เป็นสากล ผมยืนยันว่าดนตรีเป็นของทุกคน แม้แต่ดนตรีแจ๊ซที่ในหลวงทรงโปรดก็เป็นดนตรีของทาส

"ผมเชื่อว่านักดนตรีคลาสสิกยุคนี้ เขามองไกล แล้วเขาก็เปิดกว้างมากขึ้น เราอยู่ในศตวรรษที่ 21 นะครับ คุณต้องก้าวไปกับ ไม่งั้นเวลาผมเล่นเพลงของโมสาร์ต ผมก็ต้องใส่วิกน่ะสิ แล้วมันตลกไหมล่ะ? ดนตรีมันก็อยู่ของมันอย่างนั้น แต่สังคมมันเปลี่ยนไปแล้ว"

"วงการเพลงคลาสสิคของทั่วโลกตอนนี้นะครับ ผมขอยกตัวอย่างเกาหลีและจีนก็แล้วกัน เขาเป็นประเทศที่มีความสนใจดนตรีคลาสสิกสูงมาก สูงกว่าอเมริกาอีก แต่ปัญหาอย่างหนึ่งของดนตรีคลาสสิกคือมัก ไม่ค่อยจะมีคนไปดู แต่ในประเทศเขา รัฐบาลให้การสนับสนุน ส่วนประเทศในแถบยุโรปเขาแก้ปัญหาเรื่องที่ไม่มีคนไปดูด้วยการถ่ายทอดสดการแสดง เพื่อให้เห็นถึงความสวยงามของโปรดักชั่น การแต่งตัว แม้แต่นักร้องโอเปร่าก็สวย ดึงดูดความสนใจ เพราะโลกกำลังก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 แล้ว เราต้องยอมรับอย่างนึ่งว่าคนเราเวลาเสพศิลปะเราไม่ได้เสพแค่ตัวศิลปะอย่างเดียวหรอก แต่เราเสพคาแรกเตอร์ของคนทำด้วย มันจึงเป็นเรื่องธรรมดาไงครับที่นักดนตรีที่ทั้งเก่งและหน้าตาดี ต้องขายดี แต่ฝีมือคุณก็ต้องเจ๋งจริงๆ นะ คุณถึงจะอยู่ได้

"และที่สำคัญคุณต้องเข้าใจด้วยว่าคุณจะขายผลงานให้ใคร อย่างผมคงไม่ใช่แนวที่ต้องรอให้ตายก่อนแล้วผู้คนค่อยมานึกถึง ผมอยากจะยู่ในสังคมนี้ ตอนนี้ อยากรู้ว่าคนฟังเขาอยากฟังอะไร ผมอยากเชื่อมต่อกับคนฟัง ถ้าตายไปแล้วก็ทำแบบนี้ ไม่ได้ แล้วผมก็ไม่ใช่อัจฉริยะ อย่าง บาร์ค หรือโมสาร์ท อย่างบาร์คนี่ถือเป็นบิดาของดนตรีคลาสสิก ตอนที่เขายังมีชีวิตอยู่แทบไม่มีใครสนใจงานของเขาเลย แต่เมื่อเขาตายในปีค.ศ. 1750 เขากลายเป็น 'โคตรพ่อโคตรแม่' ของใครต่อใคร รวมทั้ง เดอะ บีทเทิลส์ ที่นำงานของเขามาใช้ ดนตรีของบาร์คเป็นรากของทุกอย่าง ผมพูดง่ายๆ เลยว่า ดนตรีทุกวันนี้ก็คือบาร์ค ถ้าไม่มีบาร์คก็ไม่มีโมสาร์ท

"สำหรับคนที่บอกว่าดนตรีคลาสสิกเป็นของสูง ผมถามหน่อย การที่คุณไปยกย่องเชิดชูมันแบบนั้น คุณรู้จักมันดีแค่ไหน? คุณถามนักดนตรีที่เขาเล่นหรือเปล่า ว่าเขารู้สึกยังไง? คนที่เล่นดนตรีคลาสสิกก็เป็นเพียงคนกลุ่มหนึ่งที่เขารักดนตรีและเขาอยากจะยึดเป็นอาชีพ เวลาที่เขาพักผ่อน เขาก็พักผ่อนเหมือนกับคุณ ไปเที่ยวทะเล ไปปาร์ตี้ ไปแดนซ์ สนุกเฮฮาที่จะได้เจอคน เจอเพื่อน เจอผู้หญิง นักดนตรีสมัยนี้ก็ไปตามยุคสมัย เพราฉะนั้น ก็อย่าไปยึดติดกับภาพลักษณ์ ขอแค่เปิดใจฟัง ขอแค่คุณชอบ เพราะถ้าชอบคุณก็อยากศึกษาดนตรีให้ลึกซึ้งขึ้นเองแหละ

"นักดนตรีไม่จำเป็นต้องแสดงออกว่าเพลงที่คุณเล่นมันยาก ดังนั้น อย่าไปโทษดนตรีครับ แต่มันต้องโทษคนที่อยู่ในวงการเพราะคนที่ฟังดนตรีคลาสสิกบางกลุ่มก็ยกตัวเอง ดนตรีคลาสสิกมันอยู่ของมันเฉยๆ นะ แต่เป็นคนนั่นแหละที่ยกมันเอง"



‘ทาง’ ที่ใช่

"ถ้าถามว่าเมื่อไหร่ที่ผมรู้สึกอยากเล่นไวโอลิน ผมว่ามันคงค่อยๆ ซึมซาบเข้าไปตั้งแต่เด็กๆ พูดจริงๆ เลยนะ ความรู้สึกแรกสุดที่ผมอยากเป็นนักดนตรีก็คือผมอยากขาดเรียน ตอนเรียนอยู่ถ้ามีทัวร์คอนเสิร์ตที่ต่างประเทศ ผมต้องขาดเรียนไปหลายอาทิตย์เลยนะ แล้วความรู้สึกตอนนั้น โห มันเท่ว่ะ แม้เวลามาเรียนตามเพื่อนให้ทันนี่เหนื่อยฉิบหาย

"แล้วทุกครั้งที่มีคนถามว่าหายไปไหน? ก็ตอบเขาว่า ‘อ๋อ ไปเล่นคอนเสิร์ตที่ญี่ปุ่น ที่ฮ่องกง ที่อเมริกา…’ แล้วสำหรับเด็กประถม เด็กมัธยม มันดูเท่ไง ได้เงินด้วย ผมก็ตั้งใจซ้อม ขยันซ้อมมาก เพราะอยากไปทัวร์คอนเสิร์ต"

"ครอบครัวผมไม่ใช่คนมีสตางค์ แล้วไม่ใช่เพราะดนตรีหรือครับ ที่ทำให้ผมได้ไปเห็นในสิ่งที่ผมไม่คิดว่าจะมีวันได้เห็น ได้ไปในที่ที่หลายคนยังไม่เคยไป ไปเล่นคอนเสิร์ตที่ทำเนียบขาว ไปเล่นที่คาเนกี้ ฮอลล์ ไปเล่นที่สหประชาชาติ หรือแม้แต่ที่อิมแพคอารีน่าผมก็ยังตื่นเต้น ผมไม่ใช่คนมีตังค์ แต่ไวโอลินพาผมไป ดนตรีพาผมไป



"ไม่ต่างกับที่ไวโอลินพาพ่อที่เป็นลูกชาวนา แต่ไม่อยากเป็นชาวนา ให้มามาสมัครเป็นทหารเรือเพราะเขามีเบี้ยเลี้ยงให้ แล้วก็ถูกจับให้ไปเล่นดนตรี จนกลายเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งวงบางกอกซิมโฟนี ก่อตั้งวงดนตรีเยาวชน ผลิตนักไวโอลินที่มีชื่อเสียงอย่างอาจารย์ ทัศนา นาควัชระนี่ก็ลูกศิษย์พ่อผม
ผมชอบไวโอลินมากกว่าเปียโน แม้ว่าตอนเป็นเด็กผมจะเล่นเปียโนไปด้วย แต่ผมว่า ไวโอลินมันคงเป็น ‘ทาง’ ที่ผมไปได้ และนอกจากเสียงร้องของมนุษย์แล้ว ผมว่าไวโอลินคือเครื่องดนตรีที่มีความใกล้เคียงกับเสียงมนุษย์มากที่สุด"
"ทำไมเสียงไวโอลินถึงกินใจ ไพเราะ และบาดความรู้สึก เพราะไม่มีเสียงไหนอีกแล้วที่กินใจได้เท่ากับเสียงมนุษย์ ไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีที่หากคุณเล่นดี เล่นเก่ง จะเป็นเสียงที่ใกล้เคียงกับเสียงมนุษย์ที่สุด แต่ถ้าเล่นไม่ได้ก็เป็นเสียงที่น่ารำคาญที่สุดในโลกเหมือนกัน"







สุดท้ายก่อนจบบทความ อยากบอกว่า พี่เป้ "น่าร้ากกกกกอ้ะ!!!" อิอิ

ที่มา : http://www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9540000115875

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

2562 ปี HBD ขงจื๊อ ^^

สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่าน คนเขียนไม่ได้อัพบล็อกเสียนานเลย เพราะไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้คอมพิวเตอร์ เมื่อวันก่อนดูข่าว เห็นชาวจีนเขาฉลองครบรอบ วันคล้ายวันเกิด 2562 ปี ของขงจื๊อ เลยนำประวัติของขงจื๊อมาฝากกันค่ะ ^^



ขงจื้อ (จีนตัวย่อ: 孔子; อังกฤษ: Confucius ; ภาษาไทยมีเรียกกันหลายชื่อ เช่น ขงฟู่จื่อ ขงจื่อ ข่งชิว) (ตามธรรมเนียม, 28 กันยายน 551 ปีก่อน ค.ศ. - 479 ปีก่อน ค.ศ.)

ชื่อรอง จ้งหนี เป็นนักคิดและนักปรัชญาสังคมที่มีชื่อเสียงของจีน คำสอนของขงจื๊อนั้น ฝังรากอิทธิพลลึกลงไปในสังคมเอเชียตะวันออกมาเป็นเวลาถึง 20 ศตวรรษ หลักปรัชญาของขงจื๊อนั้นเน้นเกี่ยวกับศีลธรรมส่วนตัว และศีลธรรมในการปกครอง ความถูกต้องเหมาะสมของความสัมพันธ์ในสังคม และ ความยุติธรรมและบริสุทธิ์ใจ

ก่อนสิ้นใจ ขงจื๊อได้ทิ้งท้ายข้อความไว้กับ ซื่อคง ไว้ว่า
"ขุนเขาต้องพังทลาย ขื่อคานแข็งแรงปานใด สุดท้ายต้องพังลงมา เหมือนเช่น บัณฑิตที่สุดท้ายต้องร่วงโรย"

ประวัติเมื่อขงจื๊อเกิดมาได้เพียง3ปี บิดาที่มีร่างกายสูงใหญ่และแข็งแรงได้เสียชีวิตจากไป ขงจื๊อในวัยเยาว์ชอบเล่นตั้งโต๊ะเซ่นไหว้ ชอบเลียนแบบท่าทางพิธีกรรมของผู้ใหญ่ เมื่ออายุได้ 15 ปี ฝักใฝ่การเล่าเรียน อายุ 19 ปี ได้แต่งงานกับแม่นางหยวนกวน ในปีถัดมาได้ลูกชาย ให้ชื่อว่า คงลี้ อายุ 20 ขงจื๊อได้เป็น เสมียนยุ้งฉาง และได้ใส่ใจความถูกต้องเนื่องจากทำงานกับตัวเลข ต่อมาได้ทำหลายหน้าที่รวมทั้ง คนดูแลสัตว์ คนคุมงานก่อสร้าง และในระหว่างที่ศึกษาพิธีกรรมจากรัฐโจว ได้โอกาสไปเยี่ยมเล่าจื๊อ ขงจื๊อมีความสัมพันธ์อันดีกับ เสนาธิบดีของอ๋องจิง และได้ฝากตัวเป็นพ่อบ้าน และได้มีการพูดคุยกับอ๋องในการวางแผน และหลักการปกครอง แต่เนื่องจากโดนใส่ความจากที่ปรึกษาของรัฐ ขงจื๊อจึงเดินทางต่อไปรัฐอื่น ภายหลังได้ฝากฝังตัวเองช่วยบ้านเมือง กับอ๋องติง และได้รับการแต่งตั้งดินแดนส่วนกลางของลู่ เป็นเสนาธิบดีใหญ่ บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง อาชญากรลดลง คนมีคุณธรรมและเคารพผู้อาวุโส และในระหว่างนั้น ได้มีการแบ่งแย่งดินแดน การแย่งชิงเมืองต่างๆ เกิดขึ้น ขงจื๊อได้เดินทางจากเมืองไปสู่เมืองต่างๆ เรียนรู้หลักการปกครอง และวัฒนธรรมท้องถิ่นแต่ละที่ ภายหลังได้ถูกหมายเอาชีวิต และถูกขับไล่ให้ตกทุกข์ได้ยาก และได้กลับมาสู่แคว้นลู่อีกครั้ง ขงจื๊อได้เริ่มรวบรวบพิธีกรรมโบราณ บทเพลง ตำราโบราณ และลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และได้สอนสั่งลูกศิษย์แถบแม่น้ำซูกับแม่น้ำสี ภายหลังขงจื๊อได้ล้มป่วยหนัก และเจ็ดวันให้หลัง ได้อำลาโลก ตรงกับเดือนสี่ทางจันทรคติ ในปีที่ 16 รัชสมัยอ๋องอี้ รวมอายุได้ 73 ปี

หลักความรู้
ศาสตร์สี่แขนง
ที่ขงจื๊อวางรากฐานไว้ ได้แก่ วัฒนธรรม ความประพฤติ ความจงรักภักดี และ ความซื่อสัตย์ โดยวัฒนธรรมเน้นถึงการเคารพบรรพบุรุษและพิธีการโบราณ ยึดถือผู้อาวุโสเป็นหลัก แต่ไม่ยึดติดหรืออายที่จะหาความรู้จากคนที่ต่ำชั้นหรืออายุน้อยกว่า
แปดหลักการพื้นฐานในการเรียนรู้
ได้แก่ สำรวจตรวจสอบ ขยายพรมแดนความรู้ จริงใจ แก้ไขดัดแปลงตน บ่มความรู้ ประพฤติตามกฎบ้านเมือง ประเทศต้องได้รับการดูแล นำความสงบสุขมาสู่โลก
ลำดับการเรียนรู้
ได้แก่ พิธีกรรม ดนตรี ยิงธนู ขี่ม้า ประวัติศาสตร์ และ คณิตศาสตร์
คุณธรรมทั้งสาม
ที่ได้จากการเรียนรู้ ได้แก่ ภูมิปัญญา เมตตากรุณา และความกล้าหาญ
สี่ขั้นตอนหลักการสอน
ได้แก่ ตั้งจิตใจไว้บนมรรควิธี ตั้งตนในคุณธรรม อาศัยหลักเมตตาเกื้อกูล สร้างสรรค์ศิลปะใหม่
สี่ลำดับการสอน
ได้แก่ คุณธรรมและความประพฤติ ภาษาและการพูดจา รัฐบาลและกิจการบ้านเมือง และสุดท้ายคือวรรณคดี

72 ศิษย์เอกขงจื๊อ
ชั่วชีวิตของขงจื๊อมีลูกศิษย์ทั้งสิ้นกว่าสามพันคน ในจำนวนนี้มีลูกศิษย์เอก 72 คน
เอี๋ยนหุย (Yan Hui)
หมิ่นสุ่น (Min Sun)
หย่านเกิง (Ran Geng)
หย่านหยง (Ran Yong)
หย่านฉิว (Ran Qiu)
ตวนมู่ซื่อ (Duanmu Ci)
จ้งอิ๋ว (Zhong You)
จ่ายอวี๋ (Zai Yu)
เอี๋ยนเอี่ยน (Yan Yan)
ปู่ซาง (Pu Shang)
จวานซุนซือ (Zhuansun Shi)
เจิงชัน (Zeng Shen)
ต้านไถเมี่ยหมิง (Dantai Mieming)
มี่ปู้ฉี (Fu Buji)
เอี๋ยนจี๋ (Yan Zu)
หยวนเซี่ยน (Yuan Xian)
กงเหย่ฉาง (Gongye Chang)
หนานกงควา (Nangong Kuo)
กงซีอาย (Gongxi Ai)
เจิงเตี่ยน (Zeng Dian)
เอี๋ยนอู๋หยาว (Yan Wuyao)
สูจ้งหุ้ย (Shuzhung Hui)
ซางฉวี (Shang Zhu)
เกาไฉ (Gao Chai)
ชีเตียวคาย (Qidiao Kai)
กงป๋อเหลียว (Gongbo Liao)
ซือหม่าเกิง (Sima Geng)
ฝานซวี (Fan Xu)
โหย่วยั่ว (You Ruo)
กงซีฉื้อ (Gongxi Chi)
อูหม่าซือ (Wuma Shi)
เหลียงจาน (Liang Zhan)
เอี๋ยนซิ่ง (Yan Xing)
หย่านหยู (Ran Ru)
เฉาซวี่ (Cao Xu)
ป๋อเฉียน (Bo Qian)
กงซุนหลง (Gongsun Long)
ซีหยงเตี่ยน (Xi Yongdian)
หย่านจี้ (Ran Ji)
กงจู่จวี้จือ (Gongzu Gouzi)
ซือจือฉาง (Shi Zhichang)
ฉินจู่ (Qin Zu)
ซีเตียวตัว (Qidiao Chi)
เอี๋ยนเกา (Yan Gao)
ซีเตียวถูฝู้ (Qidiao Dufu)
หย่างซื่อชื่อ (Zeng Sichi)
ซางเจ๋อ (Shang Zhai)
สือจั้วสู่ (Shi Zuo)
เยิ่นปู้ฉี (Ren Buji)
โห้วชู่ (Hou Chu)
ฉินหย่าน (Qin Ran)
ฉินซาง (Qin Shang)
เซินต่าง (Shen Dang)
เอี๋ยนจือผู (Yan Zhipo)
หยงฉี (Yan Zhi)
เซี่ยนเฉิง (Xian Chang)
จั่วเหยินอิ่ง (Zuo Renying)
เจิ้งกั๋ว (Zhang Guo)
ฉินเฟย (Qin Fei)
เอี๋ยนขว้าย (Yan Kuai)
ปู้สูเฉิง (Bu Shusheng)
เยว่เขอ (Yue Ke)
เหลียนเจี๋ย (Lian Jie)
ตี๋เฮย (Di Hei)
ปานซวิ่น (Kui [al. Bang] Sun)
ขงจง (Kong Zhong)
กงซีเตี่ยน (Gongxi Dian)
จวี้อ้าย
ฉินเหลา
หลินฟ่าง (Lin Fang)
เฉิงค่าง (Chan Kang)
และ เซินเฉิง

------------------------------



เมื่อกล่าวถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน ก็ต้องเอ่ยถึงชื่อของขงจื้อ เมื่อทศวรรษ1970 มีนักวิชาการชาวอเมริกันผู้หนึ่งได้จัดให้ขงจื้อเป็น อันดับที่5ใน100คนที่มีอิทธิพลสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ แต่กล่าวสำหรับคนจีนแล้ว อิทธิพลของขงจื้อน่าจะอยู่อันดับแรกมาก กว่า กล่าวได้ว่าคนจีนทุกคนต่างได้รับอิทธิพลจากสำนักปรัชญาขงจื้อ ไม่มากก็น้อย

ขงจื้อ (ก่อนค.ศ. 551-479) มีชื่อตัวว่า ชิว เป็นคนรัฐหลู่ (คำว่า”จื้อ ” เป็นคำยกย่องผู้ที่ถูกเรียกว่าเป็น“อาจารย์”) เป็นนักคิดและนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ในปลายสมัยชุนชิวและเป็นผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญา“หยูเจีย”หรือสำนักปรัชญาขงจื้อนั่นเอง ได้รับการยกย่องว่า เป็นปรมาจารย์แห่งจริยธรรมผู้ยิ่งใหญ่

ขงจื้อเกิดที่รัฐหลู่ซึ่งถือว่าเป็นเมืองที่เก็บรักษาคัมภีร์โบราณสมัยราชวงศ์โจวได้สมบูรณ์ที่สุด ถึงกับได้ชื่อว่าเป็น“เมืองแห่งจารีตและ ดนตรี”มาแต่โบราณกาล การก่อรูปแนวคิดขงจื้อขึ้นอาจได้รับ อิทธิพลจากขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและบรรยากาศทางการศึกษา ของรัฐหลู่

ขงจื่อสูญเสียบิดาตั้งแต่อายุ3ขวบ มารดาเป็นหญิงผู้ซื่อ สัตย์สุจริตเลี้ยงดูขงจื้อมาด้วยความเข้มงวดกวดขัน เพื่อให้ลูกได้เป็น ผู้มีความรู้และมีคุณธรรม

ขงจื้อมีความรักและสนใจในการศึกษาหาความรู้ตลอดจนศึกษาพิธีกรรม การเซ่นสรวงต่างๆที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล

ขงจื้อ“ตั้งตนเป็นอาจารย์เมื่ออายุ30”และเริ่มถ่ายทอดความรู้แก่ ลูกศิษย์อย่างไม่ท้อถอย การถ่ายทอดความรู้ของขงจื้อได้พลิกโฉม การศึกษาในสมัยนั้นโดยทำลายธรรมเนียมการเรียนการสอนที่จำกัดอยู่เฉพาะแต่ในราชสำนัก ทำให้ประชาชนทั่วไปตื่นตัวทางการศึกษา และวัฒนธรรมมากขึ้น ขงจื้อมีวิธีของตนในการรับศิษย์ ไม่ว่าจะเป็นคนในชนชั้นใด แค่มอบสิ่งของเล็กน้อยเป็นค่าเล่าเรียนแม้“เนื้อตากแห้ง”เพียง ชิ้นเดียวก็รับไว้เป็นลูกศิษย์ เล่ากันว่า ท่านมีลูกศิษย์มากถึง 3,000 คน ที่ยกย่องกันว่า มีความรู้ปราดเปรื่องและมีคุณธรรมสูงส่งมี70คน จากสานุศิษย์70คนนี้ คนรุ่นหลังจึงได้ทราบถึงแนวคิดต่างๆของขงจื้อ เนื่องจากลูกศิษย์ขงจื้อ ได้บันทึกคำสอนของอาจารย์ตนไว้ในรูปของ คำสนทนาระหว่างอาจารย์กับศิษย์โดยขึ้นต้นว่า“อาจารย์กล่าวว่า...” ภายหลังลูกศิษย์ได้นำคำสอนของขงจื้อมาประมวลแล้วเรียบเรียงขี้น เป็นหนังสือชื่อว่า“หลุนอวี่” บั้นปลายชีวิต ขงจื้อก็ได้รวบรวม บันทึกพงศาวดารและปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆมีชื่อว่า“ชุนชิว”ขงจื้อยัง เป็นบรรณาธิการหนังสือสำคัญๆทางวรรณคดีจีนซึ่งเป็นที่ยกย่องกันภาย หลัง ได้แก่“ซูจิง”(ตำราประวัติศาสตร์)“ซือจิง”(ตำราว่าด้วยลำนำกวี) เป็นผู้ตรวจแก้”อี้ว์จิง”(ตำราว่าด้วยการดนตรี-แต่สาบสูญไปในภาย หลัง)และ”หลี่จี้”(ตำราว่าด้วยจารีตประเพณี) หนังสือทั้ง5เล่มนี้เรียก รวมกันใน ภาษาจีนว่า”อู่จิง”(คัมภีร์ทั้งห้า)

ขงจื้อเน้นหนักในการบ่มเพาะเรื่องเมตตาธรรม ความชอบธรรม และจารีตประเพณี คำสอนของท่านเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและงดงามอย่าง ยิ่ง ความคิดของขงจื้อได้กลายเป็นแกนหลักสำคัญในวัฒนธรรมจีน และมีอิทธิพลสำคัญต่อความคิดของชนชาติจีน คุณธรรมอันดับแรก ที่ขงจื้อสอนสั่งคือ”เหริน”หรือเมตตาธรรม เมื่อลูกศิษย์แต่ละคนของ ท่านขงจื่อเรียนถามท่านอาจารย์ว่า "อะไรเรียกว่า

เหริน ?" ท่านก็จะตอบโดยพิจารณาตามบุคลิกอุปนิสัยใจคอของลูกศิษย์คนนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อเห็นคำอธิบายกับลูกศิษย์แต่ละคนแล้วก็ไม่เหมือนกันเลย แต่ต้องเอาคำอธิบายทั้งหลายมารวมความกันจึงเป็นความหมายอัน สมบูรณ์แบบของ "เหริน"

พอถึงวัยชรา ขงจื้อใช้เวลาทุ่มเทอยู่กับการจัดการประวัติศาสตร์ และดำเนินการด้านการศึกษาต่อไป ขงจื้อก็ถึงแก่กรรมปี479ก่อนคริสต์ศักราช ร่างถูกฝังไว้ที่ซื่อสุ่ยทางเหนือของรัฐหลู่(ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซานตง)



ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B7%E0%B9%8A%E0%B8%AD

http://www.tcbl-thai.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538845762

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

ทายนิสัยจากรูปหน้าจอมือถือ ^^

ภาพต้นไม้หรือดอกไม้
คุณชอบการท่องเที่ยวเเละความสวยงามตามธรรมชาติ มีความละเอียดอ่อ นโรเเมนติก ช่างคิดฝัน สร้างสรรค์วิมานการโฆษนาของการท่องเที่ยวที่มีสุดหล่อ - คุณติ๊ก เจษฎาภรณ์ เลยเชียว ในด้านความรัก คุณเปรียบเสมือนเจ้าหญิงที่มองความรักสวยเลิศหรูอลังการ แต่ตอนนี้ รอเดินเลือกดูเพื่อจะเด็ดดอกไม่ในสวนจนหมดสวย จนเวลาผ่านล่วงเลยมามากเเล้ว

=============================================
ภาพตัวโน๊ต หรือเครื่องดนตรี
(เจ้าของบล็อกชอบอันนี้ที่สุดเลยค่ะ ^^ โดยเฉพาะไวโอลินสวยๆนี่ยิ่งชอบบบ อิอิ)
คุณชื่นชอบความสนุกสนาน โดยเฉพาะงานที่มีการสังสรรค์แสงสีเสียง คุณมักหาความสุขจากการ ท่องเที่ยวไปไมสถานที่ต่างๆ ยามค่ำคืน ชอบคิดฝันจินตนาการ ทั้งยังชอบเปิดเพลงฟังในห้อง คนเดียว มีความสุขตามอารมณ์จะพาไป แต่คุณก็เป็นคนอ่อนไหวง่ายเพราะคุณเป็นศิลปินเดียว ไมโครโฟนตามตู้ไปรษณีย์ที่ยืนโดดเดียว (รึเปล่า?)

=============================================
ภาพการ์ตูนคุณหนู
คุณมองโลกในเเง่ดี อาจเป็นเเบบคุณหนู เด็กๆ ที่ไม่ยอมโต คุณชอบคิดฝัน ไม่ชอบอยู่ใน กรอบกฎระเบียบเท่าใดนัก แต่ต้องปฏิบัติเพราะทำตัวเป็นเด็กมองดูเเล้วคุณอ่อนกว่าวัย (โดยไม่ ต้องไปออกอุบายเชียว) คุณอาจเชื่อคนง่าย เจ้าอารมณ์ไปบ้างยามเมื่อเอาเเต่ใจตัวเอง เเละคุณก็ มีวิธีอ้อนผู้ใหญ่ให้ตายใจ ค่อยๆ ควักเงินออกจากกระเป๋าให้คุณซื้อของขวัญเล่นเป็นประจำ ระวัง ของเล่นนั้นจะไม่ใช่ของเล่นเด็กนะ

=============================================

ภาพผีน่ารัก
คุณอยากรู้อยากเห็นอยากพิสูจน์ในเเบบเด็กๆ เสียจริง มักให้ความสนใจในเรื่องลึกลับ ที่ไม่ สามารถพิสูจน์ได้ ชอบทำอะไรแปลกๆ เข้าใจยาก คุณอาจชอบเสาะหาเครื่องรางของขลังไว้ครอบ- ครอง ชอบเเสดงความคิดเห็นโต้เเย้งนิดๆ คุณจะชอบหลอกชาวบ้านให้ใจสั่นขวัญผวา โดยเฉพาะแฟนคุณนั่นแหละตัวหลอกได้ดีเชียว

=============================================

ภาพทะลึ่งทะเล้นในเเบบน่ารัก
คุณชอบคิดฝันสร้าสวรรค์ไว้ในใจ ออกจะเจ้าชู้ แต่อารมณ์รักหรือกามาอารมณ์มากไปหน่อย ขณะเดียวกันก็ชอบความอิสระ ไม่ชอบให้ใครมาผูกมัด ไม่ชอบอยู่ในกฎกติกาเเละกฎระเบียบของสังคม ไม่ชอบความจำเจ ออกจะขี้เบื่อเอาง่ายๆ เเต่คุณเป็นคนมองโลกในแง่ดี มองความรักอย่างสวยหรู สนุก และไม่จริงจังกับชีวิตมากจนเกินไป คุณเป็นคนเปิดเผย ไม่ค่อยมีความลับนัก สำหรับเพื่อนสนิทเเล้วคุณให้ความไว้วางใจเขามากเชียวหล่ะ อ้อ1 อารมณ์ขันมุขคุณเยอะจังเลย

=============================================

ภาพหัวใจ หรือความรัก
คุณมองโลกในแง่ดี ช่างฝันในแบบเด็กๆ ที่คิดว่าชีวิตต้องโรยด้วยกลีบกุหลาบแสนหวาน ออกจะเจ้าชู้ในความรักเเละความคาดหวังสูง ต้องการให้ชีวิตมีความรักที่อบอุ่นซึ่งอาจไม่จริงในสถานการณ์ปัจจุบัน สงสารผู้ที่อ่อนด้อยกว่า ความอ่อนไหวของคุณก็ให้ดูตอนคุณน้อยใจ (น่ารักซะไม่มีเชียว) คุณอาจเก็บความรู้สึกลึกๆ โดยไม่แสดงออก มักแสดงออกในสิ่งสวยงามโรแมนติก เเต่ถ้าบทคุณเอาเเต่ใจตัวเองแล้ว คุณไม่เป็นรองใครเลยเชียว (ถามแฟนหรือเพื่อนสนิทของคุณดูก็ได้)

=============================================

ภาพกีฬาพาชื่นใจ
คุณชอบใช้ชีวิตในแบบนักต่อสู้เเข่งขัน เพราะคุณมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด คุณรักที่จะเสี่ยงภัยต่างๆ มักแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ดีในสภาพความเป็นจริง ตุณเคารพตวามมีระเบียบแบบแผนเเละ อุดมการณ์จนอาจซีเรียสกับชีวิตเกินไป นั่นเพราะความทะเยอทะยานของคุณในการตั้งเป้าหมายชีวิต มีอยู่สูงแม้แต่เรื่องความรักเพราะคุณจะเอาแต่เหรียญทองในแบบ To Be Number One.

=============================================

ภาพตลกน่าขำกลิ้ง
ุคุณมีอารมณ์ดี ไม่ชอบเรื่องจริงจังเท่าไร อาจแคร์ความผิดหวังในอดีต อย่าโปรยเสน่ห์มากนักเดี๋ยว ชาวบ้านเดือดร้อน คุณชอบใช้ชีวิตเเบบเรียบง่าย ชอบเเสวงหาความสนุกสนานในเเบบของคนที่มอง โลกในเเง่ดีเเละขี้เล่น คุณเป็นคนใจกว้าง เปิดเผย ไม่ใส่ผงชูรส เรื่องความรักคุณอาจจะหัวเราะ เเละพูดว่าอาจผิดพลาดทางเทคนิคบางประการ ไปบ้างเเต่คุณก็ยังเเก้ ้ปัญหาได้ (ที่สำคัญ แฟนสวย - หล่อทุกคนเลยนะ)

=============================================
ภาพวิวทิวทัศน์

คุณชอบความอิสระ ช่างคิดช่างฝัน ชอบท่องเที่ยวไปยังที่ต่างๆที่สวยงามตามธรรมชาติ ไม่ชอบความซ้ำซากจำเจ เว้นแต่ภาระหน้าที่การงานเท่านั้น ถ้ามีโอกาสที่ดีคุณอาจชวนพรรคพวกไปท่องเที่ยวเปลี่ยน บรรยากาศให้ถูกคลื่นลมแสงแดดในธรรมชาติดูดซับอารมณ์อ่อนไหวของคุณให้มีความสบายใจ เหมือนเอาความหลังที่ไม่ดีใส่ขวดลอยไปกับทะเล

=============================================

ภาพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชา
คุณเป็นคนเคารพศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มักชอบเรื่องเร้นลับเเละพิสูจน์ไม่ได้ เชื่อในกฎเเห่งกรรม เคารพผู้อาวุโสหรือมีประสบการณ์มากกว่า การคิดตัดสินใจอาจช้าไปบ้าง แต่เพื่อความรอบคอบอาจ ขอคำปรึกษาจากผู้อื่น ลำพังตัวคุณมีจิตใตดีวื่อสัตย์สุจริต รักเกียรติยศชื่อเสียง เคารพกฎระเบียบ ชอบช่วยเหลือผู้อ่อนวัยกว่า มีความมานะอดทนรอคอยเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่มุ่งหวัง ถ้าคุณขับรถอยู่ อย่ายกมือไหว้บ่อยๆ นานๆ เดี๋ยวคนข้างๆ จะไม่กล้านั่งด้วย...เพราะความกลัว

=============================================

ภาพสัตว์โลกน่ารัก
คุณมีจิตใจดี อ่อนโยน จริงใจ มีมนุษยสัมพันธ์กับคนรอบข้างชอบช่วยเหลือคนที่มีความทุกยาก โดยเฉพาะคนที่อ่อนวัยกว่า อารมณ์ดี ชอบจินตนาการ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เเต่ส่วนลึกๆ คุณอาจขี้เหงาว้าเหว่จนต้องเลี้ยงลูกสุนัขอุ้มไปไหนต่อไหนจนคนอื่นอิจฉา
อยากให้คุณอุ้มบ้างเเล้ว

=============================================

ภาพมอเตอร์ไซค์ หรือรถยนต์เก๋ไก๋
คุณมีความกระตือรือร้น ไม่ชอบอยู่นิ่ง ชอบเเข่งขันในเเบบท้าทาย ขณะเดียวกันมีความมานะอดทน เพียรพยายามพัฒนาตนให้มีความมั่นคงในชีวิต รักความสนุก สรวลเสเฮฮายามค่ำคืน รักชื่อเสียงเ กียรติยศ เปิดเผย อาจชอบโอ้อวดบารมีความร่ำรวยบ้างเเต่อย่าอวดมากนะ เดี๋ยวคนข้างๆ อาจทำให้ คุณไม่มีโอ้อวด (เพราะกระเป๋าฉีก)

=============================================

รูปภาพคนโปรดที่ชื่นชอบ
(อันนี้คืออีกอันที่ชอบ อิอิ ^^)
คุณชื่นชอบความสวยงามหล่อเทห์ มีความโรแมนติก มองโลกในเเง่ดี มีความรักผูกพันต่อเพื่อน พ้อง เอื้อเฟื้อต่อผู้อ่อนวัยกว่า ชอบคิดฝัน สนุกเฮฮา แต่อาจอ่อนไหว เจ้าเเง่แสนงอนต่อคนรัก ถ้าเขาเผลอชมใครให้คุณได้ยิน ยิ่เเย่กว่านั้นคือ คิดว่าคุณมีใจให้คนอื่นสิ...สำคัญ ยกเว้นแต่พ่อ สุดหล่อเบ็คแฮมก็ไม่เป็นไร

=============================================

ภาพอาหารน่าเจี้ยะ
คุณชอบรับประทานอาหารดีๆ ในแบบนักชิมไปบ่นไป ชอบรสชาติอาหารที่เอร็ดอร่อย โดยเฉพาะอาหาร รสเด็ด อาจเพลิดเพลินกับของหวานจนลืมสังเกตร่างกายตัวเองเพราะ คุณชอบ ความสะดวกสบาย ที่สุด อาจต้องพึ่งพ่ยาลดความอ้วน นอกจาากนั้นยังชอบความสวยหรูเก๋ไก๋ ในแบบคุณเองชอบคิด ฝันถึงสิ่งใหม่ให้ตัวคุณเสมอ เเต่อย่าปล่อยใจกับสิ่งรอบกายนักไม่เช่นนั้น กว่าจะรู้ตัวต่อเมื่อมี เเมวมองมาชวนประกวดธิดาช้าง

=============================================

ภาพสัญลักษณ์ อักษร หรือโลโก้ต่าง
(อันนี้ก็ใช้บ่อยนะ)
คุณชอบหาความรู้เเละศิลปะในการประดิษฐ์คิดค้นออกจะมีอุดมการณ์มากพอดู มีความทะเยอ ทะยาน รักความก้าวหน้าจนดูเป็นคนใจร้อน สมองแจ่มใสอารมณ์ดี สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคภัย เบียดเบียน ขยันขันแข็ง มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ชอบช่วยเหลือผู้ที่อ่อนวัยกว่า รักสุขภาพร่างกายเเละความสะอาดมากจนบางครั้งดูเหมือนจุกจิกจู้จี้จนเกินไป จนเขาจะหนีไปหม่ำที่อื่นอยู่เเล้ว

=============================================

ภาพเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเทคโนโลยี
คุณชอบความก้าวหน้าใรชีวิต หัวสมัยใหม่ ชอบการเปลี่ยนเเปลงด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโ,ยีที่อำนวยความสะดวกสบายตามประสาคนหัวไอที มีความสุขกับสิ่งขิงทางวิทยาศาสตร์ที่จับต้องได้ ช่างประดิษฐ์คิดค้น ชอบวิเคราะห์หาเหตุผล ชอบความตื่นเต้นเร้าใจในเเบต้องนับ 3 2 1 เเละ 0 โดยมีกฎระเบียบแบบแผนของสังคมเป็นที่ตั้ง มีความอดทนที่ต้องฝ่าฟันด้วยตนเอง อะไรไม่ว่า...อย่าหมกมุ่นกับเทคโนโ,ยีมากจนคิดว่า แฟนคุณเป็นหุ่นยนต์ตัวหนึ่งล่ะ

=============================================

ภาพโป๊ เซ้กซี่วับๆ แวมๆ
คุณชื่นชอบและให้ความสนใจความงามของสรีระมากเป็นพิเศษ ว้าว!!! ออกจะเจ้าชู้ประตูดินเเละ มีเสน่ห์ต่อเพศตรงข้าม ชอบจินตนาการ ออกจะทะเล้น ทะลึ่ง มองโลกในแง่ดี ชอบความสนุกสนาน ยามค่ำคืน รวมทั้งเป็นนักโต้วาที พูดสองแง่สองง่ามตัวฉกาจ คุณมีอารมณ์เซ็กซ์จัดเอาการในเรื่อง ความรัก มีอารมณ์อ่อนไหวเเละอาจชอบเก็บตัว ไม่ค่อยกล้าเเสดงออกเท่าใดนัก จนดูเหมือนเป็น คนเก็บกด

ที่มา...http://writer.dek-d.com/ubyi/story/viewlongc.php?id=224074&chapter=36

70 สิ่งที่คุณอาจไม่รู้

70 สิ่งที่คุณอาจไม่รู้ ไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ ^^

1.ยุงบินด้วยความเร็ว 5 ไมล์ต่อชั่วโมง...

2.ผีเสื้อบินด้วยความเร็ว 20 ไมล์ต่อชั่วโมง...

3.เส้นผมคนรับน้ำหนักได้ 3 กิโลกรัม...

4.เสียงกรนที่ดังที่สุดดังถึง 87.5 เดซิเบลล์

5.พอล แมคคาร์ที เป็นเจ้าของลิขสิทธิเพลงแฮป X เบิร์ดเดย์
ถ้าจะนำมาออกรายการต้องซื้อลิขสิทธิก่อน...

6.เหรียญทองโอลิมปิกต้องมีแร่เงินผสมอยู่ 92.5 เปอร์เซนต์...

7.หอเอนเมืองปิซาเอนไปทางใต้...

8.กษัตริย์หลุยส์ที่ 14 อาบน้ำทั้งหมด 3 ครั้งในชีวิต...

9.ฮิตเลอร์แสกผมข้างซ้าย...

10.ผู้หญิงที่เกาะฮาวายที่ทัดดอกไม้ที่หูข้างซ้าย แสดงว่ามีเจ้าของแล้ว...

11.เราไม่สามารถฆ่าตัวตายด้วยการกลั้นหายใจได้...

12.ผู้หญิง 3.9 เปอร์เซนต์ไม่ชอบใส่กางเกงใน...

13.ฮิปโปผายลมทางปาก...

14.ประเทศซาอุดิอราเบียไม่มีแม่น้ำ...

15.กังหันทั้งโลกหมุนทวนเข็มนาฬิกา ยกเว้นที่ไอร์แลนด์...

16.เด็กนักเรียนอายุ15 ปีขึ้นไปในบังคลาเทศจะถูกจับเข้าคุกถ้า"โกงข้อสอบ"...

17.ปลาที่อาศัยในน้ำลึกเกิน 800 เมตร จะไม่มีตา...

18.ผมคนเราจะร่วงประมาณ 200 เส้นต่อวัน...

19.ตัว"โอ"เป็นสระที่เก่าแก่ที่สุดในอังกฤษ...

20.คนพูดประมาณ 120 คำต่อนาที

21.ฝ่ามือและฝ่าเท้าของคนเราไม่สามารถไหม้ได้...

22.เม่นชอบช่วยตัวเอง...

23.ถ้าปลาไหลไฟฟ้าอยู่ในน้ำเค็ม จะถูกช็อตตาย...

24.ขั้นบันไดในไทยจะเป็นเลขคี่...

25.เจ้าฟ้าชายชาลส์ชอบสะสมฝาโถส้วม...

26.คนมีโอกาสตายจากผึ้งต่อยมากกว่างูกัด...

27.ประเทศวาติกันมีประชากรประมาณ 1000 คน

28.เมื่อคุณจาม หัวใจคุณจะหยุดเต้นเสี้ยววินาที

29.มันเปนไปมะได้อ่ะคับ ถ้าคุณจะจามโดยไม่หลับตา (มีคนญี่ปุ่นคนหนึ่งจามแล้วแบบลืมตาได้...เคยดูในclip)

30.เดิมโคคาโคล่าเป็นสีเขียว

31.ชื่อที่โหลที่สุดในโลกคือ Mohammed

32.กล้ามเนื้อที่แข็งแรงที่สุดในร่างกายคือลิ้น

33.แต่ละโพหลังไพ่ แสดงถึงกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่จากประวัติศาสตร์
โพดำกษัตริย์เดวิด - ดอกจิก อเล็กซานเดอร์มหาราช - โพหัวใจ ชาร์ล เลอ มาญ - ข้าวหลามตัด จูเลียส ซีซาร์

34. อนุสาวรีย์ของใครสักคนที่อยู่บนหลังม้า และม้ายกสองขาขึ้นบนอากาศแปลว่าคนนั้นตายในสงคราม

35.ถ้าม้ายกขาข้าเดียวแปลว่า เขาบาดเจ็บในสงคราม และตายจากการบาดเจ็บนั้น

36.ถ้าทั้งสี่ขาของม้าอยู่บนพื้น แสดงว่าตายโดยธรรมชาติ

37.ใน 4000 ปีที่ผ่านมา ไม่มีสัตว์ชนิดใหม่ๆที่ถูกทำให้เชื่อง

38.เชคสเปียร์ เป็นคนคิดค้นคำว่า assassination (การลอบฆ่า) และ bump (ชน กระทบ)

39.หัวใจมนุษย์สร้างความดันเพียงพอที่จะปั๊มเลือดออกจากร่างกายไป 30 ฟุต

40. หนูสามารถสืบพันธ์ได้เร็มาก ใน 18 เดือน หนูสองตัวจะสามารถมีทายาทมากกว่าล้านตัว

41.การใส่หูฟังแค่ชั่วโมงเดียว ทำให้แบคทีเรียในหูเพิ่มขึ้น700 เท่าตัว

42.ลิปสติกส่วนใหญ่มีส่วนประกอบของเกล็ดปลา

43.เหมือนกับลายนิ้วมือ....ลายลิ้นทุกคนต่างกัน

44.นิตยสาร time ได้ยกย่องให้คอมพิวเตอร์เป็นบุคคลแห่งปีในปีค.ศ.1982

45.สถิติจูบนานที่สุดในโลกเป็นของหลุยซา แอลเมโดวาร์ วัย 19 ปีกับแฟนหนุ่ม ริชแลงเลย์ วัย 22 ปี
พวกเขาทำสถิติไว้ที่ 30.59.27 ชม.

46.ตอนที่ f4 ไปเปิดคอนเสิร์ตที่อินโดนีเซียทำให้เด็กนักเรียนเกือบ100 คน
ต้องเรียนซ้ำชั้น เพราะไม่ได้ไปลงทะเบียนเรียนเทอม 2

47.บริษัทผู้ผลิตยาสีฟันดาร์ลี่เป็นเจ้าของเดียวกันกับที่ผลิตยาสีฟันคอลเกต

48.โดนัลด์ ดักส์ ถูกแบนในประเทศฟินแลนด์ เพราะมันไม่ได้สวมกางเกงใน

49.ภาพยนต์เรื่อง nothing hill จ่ายค่าตัวจูเลีย โรเบิร์ต 15ล้านเหรียญ ( 660 ล้านบาท )
ในขณะที่พระเอกอย่างฮิว แกรนจ์รับค่าตัวเพียง 1 ล้านเหรียญ ( 45 ล้านบาท)

50. หนังอนิเมชันเรื่อง SouthPark ได้รับการบันทึกลงในหนังสือกินเนสส์บุ๊กว่าเป็นหนังอนิเมชั่นเรื่องยาวที่หยาบคายที่สุดในโลก
สถิติบันทึกไว้ว่ามีการใช้คำหยาบ 399 คำ พฤติกรรมรุนแรง 221 ครั้ง และแสดงท่าทางหยาบคาย 128 ครั้ง

51.ขนมทอดกรอบตรา ปูไทย ระบุว่าไม่มีส่วนผสมของเนื้อปู

52.ในน้ำทะเล 100 ตัน จะมีทองคำอยู่ประมาณ 4 กรัม

53.จำนวนแถวของข้าวโพดในแต่ละฝักจะเป็นเลขคู่

54.จิงโจ้เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดเดียวที่เดินถอยหลังไม่ได้

57.ยุงชอบเลือดเด็กมากกว่าเลือดผู้ใหญ่

58.แมงมุมทอดรสชาติเหมือนถั่ว

59.ฟันของแมลงสาบอยู่ในท้อง

60.เม่นทุกตัวลอยน้ำได้

61.หมู มีโอกาสเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง

62.นอกจากมนุษย์แล้ว หมีขั้วโลกและจิงโจ้ต่างก็จูบเป็น ส่วนลิงชิมแปนซีนั้นจูบแบบ "เฟรนช์คิส" ได้ด้วย

63.คนถนัดขวามีอายุเฉลี่ยยืนยาวกว่าคนถนัดซ้ายถึง 9 ปี

64.Hippopotomonstrsesquippedaliophobia คือ ชื่ออาการของคนที่หวาดกลัวคำอ่านยาวๆ

65.ผู้ที่เกิดเดือนมกราคม - มีนาคม มีแนวโน้มเป็นโรคจิตและโรคคลั่งมากกว่าเดือนอื่นๆ

66.แก้วไม่ได้เป็นของเเข็ง เเต่เปนของเหลว

67.สมองคนเราหนักประมาณ 3% ของน้ำหนักของร่างกาย แต่ใช้เลือดไปเลี้ยงถึง 15% ของเลือดทั้งหมด

68.เลือดของกุ้งมังกรเปนสีน้ำเงิน

69.อูฐสามารถหมุนหัว 180 องศา

70.รู้หรือเปล่าว่าเว็บ google ไม่ได้มีประโยชน์แค่หาข้อมูล แต่เป็นเครื่องคิดเลขได้
(ลองใส่ 5+2 หรือเลขอะไรก้อได้ในช่องแล้วกด Search ดูจิ)

ที่มา...http://writer.dek-d.com/ubyi/story/viewlongc.php?id=224074&chapter=7

55 ข้อเกี่ยวกับคณะอักษรศาสตร์

จริงๆ ไม่ได้ตั้งใจจะหา 2 บทความนี้หรอกนะเจ้าคะ แต่ตั้งใจจะหาแนวข้อสอบ + ดูข้อมูลคณะนี้ไปพลางๆ เผื่อจะมีแรงฮึด!!
จะได้ทำอะไรดีๆขึ้นมาบ้าง พอดีมาเจอ บทความนี้ (และบทความที่แล้ว)ก็อดที่จะมีลูกฮึด!!!! แล้วก็เอามาอัพไว้มิได้ หุหุ

อนึ่ง ที่เขียนนี่ เป็นของคณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้นนะคะ

1.คณะอักษรศาสตร์ ไม่ได้เรียนแต่ภาษานะคะ

2.นอกจากเอกภาษาต่างๆแล้ว คณะอักษรศาสตร์ยังมี เอกปรัชญา เอกภูมิศาสตร์ เอกการละคร เอกประวัติศาสตร์และเอกสารนิเทศด้วยนะคะ(บรรณารักษ์ศาสตร์)

3.แล้วก็ยังมีสาขาวิชาโทวรรณคดีเปรียบเทียบ ภาษาศาสตร์้ อเมริกันศึกษา ยุโีรปศึกษา ไทยศึกษา ด้วยนะคะ (ตกหล่นอะไรบอกก็ดีนะคะจขบ.พยายามขุดอย่างที่สุดแล้วเนี่ย =w=)

4.ถ้าอยากจะเรียนเอกเกาหลีเพราะกรี๊ดดารา ไม่ต้องมาเข้านะคะ ไม่มีค่ะ มีแต่โทเกาหลีค่ะ

5.ถ้่าไม่อยากเรียนเลขอย่างแรงงง ก็มาเข้าคณะนี้เลยค่ะ

6.แต่ต้องไม่เรียนเอกภูมิศาสตร์นะ เพราะเอกนั้นเรียนเลขค่ะ (เทพมาก T[]T ทนเรียนกันได้ไงอ่ะค้า)

7.ถ้าอยากเจอหนุ่มวิศวะบ่อยๆก็เข้าเอกสารนิเทศโลดค่ะ เพราะเห็นเพื่อนเราบอกมาว่ามันต้องทำงานด้วยกันอ่ะ

8.ปัจจุบัน คณะอักษรศาสตร์ยังไม่มีตึกของคณะตัวเองค่ะ (เป็นข้อมูลเมื่อปี 2009 ค่ะ)

9.ตึกเทวาลัย แปะคำว่า "คณะอักษรศาสตร์" ไว้ตัวบ่ะเฮิ่ม แต่ไม่ใช่ของคณะอักษรศาสตร์แล้วค่ะT[]T

10.ส่วนอาคารบรมราชกุมารีที่ใช้เรียนอยู่ เป็นตึกเรียนรวมที่ใช้กับคณะศิลปกรรมศาสตร์ค่ะ

11.ตึกของคณะอักษรศาสตร์ กำลังก่อสร้าง และไม่มีวี่แววว่าจะเสร็จ... (แต่ตอนนี้ปี 2011 แล้ว เสร็จหรือยังมิทราบ)

12.นิสิตที่เข้าศึกษาในคณะอักษรศาสตร์ ชั้นปีที่1 จะมีแค่เอกภาษาญี่ปุ่น เอกภาษาไทย เอกภูมิศาสตร์ เท่านั้นที่ถือว่าได้สังกัดวิชาเอกแล้ว

13.นิสิตปี1คนอื่นๆก็จะถือว่ายังไม่มีสังกัดสาขาวิชาเอกค่ะ

14.เลือกเอกได้ตอนปี 2 นะคะน้องๆ

15. คณะอักษรศาสตร์ อ่านว่า อัก-สอ-ระ-สาด ค่ะ ไม่ใช่อัก-สอน-สาด แล้วก็ไม่ใช่ อัก-สอน-ระ-สาด ด้วยค่ะ

16. คณะอักษรศาสตร์ เป็น 1 ใน 2 คณะ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีโปรแกรมเกียรตินิยม (อีกคณะคือคณะวิทยาศาสตร์)

17.แต่ก็มีให้เลือกเฉพาะสาขาวิชาเท่านั้น

18.โปรแกรมที่ว่าเนี่ย... มันเรียนฟรีค่ะ!

19.แต่ก็มีเงื่อนไขสุดโหดว่า เกรดเฉลี่ยชั้นปีที่ 1 ต้องได้ 3.75 ขึ้นไป

20. แต่ถ้าเกิดว่าเรียนๆไปแล้วเกรดเฉลี่ยต่ำกว่า 3.6 เมื่อไหร่ จะต้องอกจากโปรแกรมทันที...

21.สาวอักษรไม่ได้สวยทุกคนหรอกนะคะ

22.ไม่ได้คุณหนู เรียบร้อย น่ารักทุกคนหรอกค่ะ

23.ก็ดูคนเขียนบทความนี้เป็นตัวอย่างสิคะ.... ไม่สวย แถมยังรั่วอีก...

24.สาวอักษรไม่ได้กรี๊ดหนุ่มวิศวะทุกคนนะคะ

25.เจ้าของบทความนี่แหละค่ะ อยากจะยกพวกไปต่อยกับมันมากเลยค่ะ(โรงอาหารพวกเอ็งก็มี!!! จะมาแย่งพวกฉันนั่งทำไมล่ะ!!!)

26.สาวอักษร ถ้าไม่กรี๊ดหนุ่มวิศวะก็จะกรี๊ดหนุ่มสถาปัตย์

27.แต่เจ้าของบล็อกขอกรี๊ดหนุ่มฝรั่งที่คณะเศรษฐศาสตร์ค่ะ...

28.คณะอักษรก็มี"ผู้ชาย"แท้ๆเหมือนกันนะคะ (อิอิ)

29.เพียงแต่ว่า.... มีอยู่"น้อย"ค่ะ

30.ใครๆก็ชอบคิดว่าเรียนอักษรต้องเก่งภาษาอังกฤษ

31.ทั้งๆที่มันไม่จริ๊งงง ค่ะ มันไม่จริง T[]T คนเก่งก็มี คนไม่เก่งก็มี เหมือนที่อื่นๆนั่นแหละค่ะ

32.กีฬาเฟรชชี่ทีไร อักษรได้ถ้วยดวลเพลงทู้กกกทีแหละ (ก็ร้องเพราะจริงๆ ^ ^ ชอบๆ)

33.แต่ชั้น(หมายถึงคนเขียนบทความ) ไปแข่งฟันดาบ... แขนช้ำ เนื้อตัวช้ำจนได้ตั้งเหรียญเงินมา ไม่เห็นมีใครเสนอหน้าไปเชียร์... ไม่มีใครรู้ิอีกตะหาก - -+

34.ซึ่งกีฬาอื่นๆก็เป็นเหมือนกัน... ไม่มีใครไปเชียร์... แถมพอได้เหรียญ ก็หาได้มีใครสนใจไม่

35.สรุปว่า... ในงานกีฬาเฟรชชี่ คณะอักษรศาสตร์สนใจแต่สแตนด์เชียร์??

36.ก็แหงอยู่แล้ว อักษรเอาสวยไว้ก่อน แข่งกีฬาให้โทรมทำไม!!(เกี่ยว!!!)

37.ไม่ต้องตกใจ ถ้าจะเห็นสาวอักษรบางคนใส่กางเกงนิสิตมาเรียน

38.เพราะจริงๆแล้ว พวกเธอเป็น"ผู้ชาย"ที่สวยกว่าผู้หญิง T^T (จุฬาห้ามนิสิตชายแต่งหญิงมาเรียนนะคะ แม้ว่าจะสวยแค่ไหนก็ตาม)

39.ห้องน้ำตึกบรมราชกุมารี บางทีก็มี "เพศชาย" เข้าห้องน้ำผู้หญิงด้วยนะคะ

40.แต่ก็ไม่มีใครถือสา

41.เพราะว่า... เราก็ไม่ได้ต่างกันมากหรอกนะ... จริงไหม??? (555+ )

42. เชื่อไหมว่าตึกบรมราชกุมารี(ซึ่งเป็นตึกที่คณะอักษรศาสตร์ใช่อยู่ตอนนี้) มีโดมหิมะเลี้ยงหมีแพนด้าก่อนเชียงใหม่ตั้งนาน (ก็ห้อง 503 ไงคะ)

43. มีตำนานว่า ถ้าเดินสะดุดบันได(ที่ปูพรมสี)แดงในตึกเทวาลัย จะได้แฟนเป็นหนุ่มในคณะอักษรศาสตร์

44.ดังนั้นสาวๆก็เลยเดินกันระมัดระวังมาก... เพราะกลัวจะไม่มีแฟนไปตลอดชาติ...

45.แต่พอเดินที่ลานเกียร์วิศวะเนี่ยอ่ะนะ... แทบจะหลับตาเดินกันเลยเชียว - -+ (เพราะมีตำนานว่า ถ้าสะดุดลานเกียร์ จะได้แฟนเป็นหนุ่มวิศวะ)

46.แต่ก็แค่บางส่วนเท่านั้นนะ เจ้าของบล็อกขอสะดุดหน้าอ๊อกซ์ฟอร์ด หรือไม่ก็โบลันญ่าละกัน :b

47.สาวๆที่คิดจะเรียนคณะอักษรศาสตร์ต้องถึก และแข็งแรง

48.หรือถ้าไม่ถึกและแข็งแรงมาก่อน มาเรียนก็จะถึกขึ้นเอง

49.เพราะแบกหนังสือมาเรียนเยอะมาก

50.เหตุผลอีกประการก็คือ เวลามีงานแบกขนอะไร ก็ต้องใช้แรงงานของผู้หญิงกันเองนี่แหละ เพราะมันไม่ค่อยมีผู้ชาย -*-

51.สีประจำคณะอักษรศาสตร์คือสีเทา

52.สัญลักษณ์ประจำคณะอักษรศาสตร์คือพระสุรัสวตีทรงนกยูง

53. ต้่นไม้ประจำคณะอักษรศาสตร์คือต้นชงโค

54.สังเกตเห็นแล้วใช่ไหมล่ะว่าเจ้าของบล็อกมันหมุดมุกจะเขียนแล้ว

55.เลข 55 นี่สวยดีนะ เอาเป็นว่า... จบที่ข้อนี้เลยละกัน (ดื้อๆ)

555555555555+ ขำๆนะคะ ขำๆ อย่าคิดมากกกกกก ^^

ที่มา...http://pori.exteen.com/20090722/entry

7 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับจุฬาฯ



บังเอิญเปิดเจอค่ะ เห็นว่าน่าสนใจดีเลยเอามาอัพฯ ^^

7 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับจุฬาฯ

1. นิสิตจุฬาฯ ลูกคุณหนู ติดหรู ไฮโซ

ข้อเท็จจริง นิสิตจุฬาฯ หลายคนมาจากต่างจังหวัด (บางคณะมีเด็กตจว.มากกว่าเด็กกรุงเทพแท้ๆซะอีก) หลายคนกินข้าวมื้อละ 17-18 บาท และอีกหลายๆคนเลือกที่จะวิ่งออกกำลังกายแถวๆสวนลุม แทนการไปเข้าฟิตเนส



2. นิสิตจุฬาฯ ต้องฉลาด หัวระดับเทพ เนิ้ดเข้าไว้ ขยันเข้าไว้

ข้อเท็จจริง นิสิตจุฬาฯ ก็คนปกตินี่แหละครับ มีกิน มีเที่ยว ช็อป เล่นเกม เล่นบอล บางคนมีสอบพรุ่งนี้ วันนี้ยังเข้าร้านเน็ทเล่นDotAกันอยู่เลย (แต่ก็ใช่ว่าจะทิ้งการเรียนซะทีเดียว กลับบ้านไปก็ต้องแบ่งเวลามาอ่านหนังสืออยู่ดี)



3. เด็กจุฬาฯ คิดว่าตัวเองเก่ง ชอบดูถูกคนอื่น

ข้อเท็จจริง นิสิตจุฬาฯ มากกว่า 99% เป็นโรคติดต่อชื่อว่า "Over ถ่อมตน Symdrome" สังเกตได้จากเวลาไปถามเกรด หรือคะแนนสอบ คำตอบที่ท่านจะได้ยินคือ "ได้น้อยอ่า ได้แค่ x คะแนนเอง" ถึงแม้คะแนนจะออกมาแล้วได้ A ก็เหอะ



4. จุฬาฯ หยิ่ง พูดแล้วไม่พูดด้วย

ข้อเท็จจริง อย่างที่บอกไว้ในข้อ 2 นิสิตจุฬา ก็คนธรรมดาล่ะครับ ใครชวนคุยก็ต้องคุยตอบอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นถามทาง ซื้อตั๋วรถป๊อบ เหล่านี้พวกเรายินดีให้ความช่วยเหลือ ถ้ามีเวลาว่าง ยกเว้นในกรณีที่คุณเป็นบุคคลภายนอกแล้วทักว่า "จะไปไหนจ๊ะน้องสาว" อันนี้โอกาสไม่คุยด้วยเกือบจะ 100%


5. จุฬาฯ แบ่งชนชั้น ตัวใครตัวมัน

ข้อเท็จจริง เมื่อเข้าสู่ช่วงหายนะ (3 วันก่อนสอบ) ลองแวะไปตามร้านฟาสฟู้ดต่างๆที่เปิด 24ชม. (เช่น Burger King สาขาสีลม) คุณจะพบกับกลุ่มนิสิตที่นัดกันมาติวก่อนสอบ ซึ่งมักจะติวกันโต้รุ่ง ไม่หลับไม่นอนกันเลยทีเดียว



6. นิสิตจุฬาฯทำอะไรไม่เป็นชิ้นเป็นอัน เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ

ข้อเท็จจริง ค่ายอาสา ค่ายอนามัย กิจกรรมแนะแนว งานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯวิชาการ เกิดขึ้นจากฝีมือของนิสิตล้วนๆ อาจารย์จะช่วยเป็นที่ปรึกษาให้เท่านั้น



7. งานฟุตบอลประเพณี จัดกันทำไมทุกปี เปลืองค่าภาษีประชาชน

ข้อเท็จจริง งานทุกปีที่จัดขึ้น จะมีสปอนเซอร์จากที่ต่างๆ ให้การสนับสนุน ไม่ได้ใช้เงินจากภาษีประชาชนแม้แต่บาทเดียว และรายได้ทั้งหมดจะนำไปบริจาคสมทบทุนตามมูลนิธิต่างๆทั้งหมด

แต่ที่เป็นเรื่องจริง...คือ "จุฬาฯน่ารัก" อันนี้ไม่เถียงงงง 5555+

ที่มา...http://yoroichi.exteen.com/20090516/entry

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

เนลสัน แมนเดลา จากนิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย



“งาน ขนมปัง น้ำ และเกลือ สำหรับทุกคน”
คือสุนทรพจน์ในพิธีรับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อปี 1994 ของเนลสัน แมนเดลา ที่กล่าวถึงสิ่งจำเป็นพื้นฐานของชีวิตที่ขาดแคลนอย่างกว้างขวางในยุคเหยียดผิว (Apartheid Era) ในตอนนั้น คนผิวดำซึ่งปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 79 ของประชากร 49 ล้านคนของแอฟริกาใต้ถูกลิดรอนสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง คนผิวดำส่วนใหญ่ถูกจัดให้อยู่ในดินแดนที่กำหนดให้เป็นเขตพักอาศัยของคนผิวดำ (homeland) ขณะที่คนผิวดำอีกหลายล้านคนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองคนผิวดำนอกดินแดนที่กำหนดไว้ และเป็นแรงงานสำคัญในภาคเศรษฐกิจ ต้องพกพาหนังสือผ่านทางติดตัว การเลือกตั้งทั่วไปในระบอบประชาธิปไตยครั้งแรกของแอฟริกาใต้ ซึ่งทำให้เนลสัน แมนเดลา ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี นำไปสู่การยกเลิกดินแดนที่กำหนดไว้เหล่านั้น และจัดตั้งแคว้นทั้งเก้าขึ้น อันได้แก่ เกาเต็ง ควาซูลู-นาตาล อีสเทิร์นเคป ลิมโปโป เวสเทิร์นเคป อึมพูมาลังกา นอร์ทเวสต์ ฟรีสเตต และนอร์เทิร์นเคป เพื่อช่วยหล่อหลอมและประสานรอยร้าวของชาติพันธุ์ต่างๆ

ตลอดระยะเวลากว่า 15 ปีหลังการล่มสลายของระบอบเหยียดผิว แอฟริกาใต้มีประธานาธิบดีผิวดำมาแล้วสามคน ได้แก่ เนลสัน แมนเดลา, เทโบ เอ็มเบกี และเจค็อบ ซูมา ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ประเทศนี้ต้องต่อสู้ฝ่าฟันกับมรดกแห่งความเกลียดชังและการกดขี่ทางเชื้อชาติมาตลอด เช่น มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อความจริงและความสมานฉันท์หรือ ทีอาร์ซี (Truth and Reconciliation Commission: TRC) ซึ่งเป็นองค์กรคล้ายศาลที่ไม่เพียงทำหน้าที่รับฟังและไต่สวนคดีความและข้อพิพาทต่างๆ อันสืบเนื่องมาจากนโยบายเหยียดผิว แต่ยังทำหน้าที่ให้คำแนะนำเพื่อการเยียวยาเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายอีกด้วย
ในระยะแรกๆ หลังการยกเลิกระบอบเหยียดผิว ชาวแอฟริกาใต้ต้องอกสั่นขวัญแขวนกับเหตุการณ์ลอบวางระเบิดหลายครั้ง ซึ่งเชื่อว่าเป็นฝีมือของกลุ่มคนที่เสียผลประโยชน์และพวกหัวรุนแรงที่ต้องการแก้แค้น หรือต่อต้านการล้มเลิกนโยบายเหยียดผิว แม้ในทุกวันนี้ หากดูเผินๆ จะเห็นว่าแอฟริกาใต้พัฒนาไปมากในทางเศรษฐกิจ แต่เพียงลอกผิวหน้าของชุมชนไม่ว่าที่ไหนออก เราจะพบเห็นเรื่องราวที่สะท้อนบาดแผลจากนโยบายเหยียดผิวไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2008 มีคนถูกฆ่าตายกว่า 60 คน ขณะที่อีกหลายหมื่นคนต้องพลัดพรากจากถิ่นที่อยู่ หลังเกิดการจลาจลเหยียดผิวขึ้นหลายครั้งโดยพุ่งเป้าไปยังชาวโมซัมบิกและชาวซิมบับเวเป็นหลัก นโยบายเหยียดผิวทำให้ความไม่ไว้วางใจใน “คนที่แตกต่างจากเรา” ฝังรากลึก และทัศนคติที่ว่าสิทธิในทรัพยากรของประเทศขึ้นอยู่กับสีผิวหรือชาติพันธุ์ของคุณ มากกว่าสิ่งที่คุณทำให้แก่ประเทศชาติ ยังคงติดตามหลอกหลอนอยู่จนทุกวันนี้

ผลกระทบอันลึกล้ำกว้างไกลและความโหดร้ายของนโยบายเหยียดผิวไม่ใช่เรื่องที่พูดกันเกินเลยความจริง นับตั้งแต่ปี 1948 ถึง 1994 ซึ่งเป็นปีที่นโยบายเหยียดผิวถูกล้มเลิก พรรคชาตินิยมแอฟริคาน (Afrikaans National Party) นำมาตรการแบ่งแยกชาติพันธุ์อย่างเข้มข้นมาบังคับใช้กับทุกแง่มุมชีวิตของประชาชน ทเชโป แมดลินโกซี อาจารย์อาวุโสด้านกฎหมายวัย 31 ปีจากมหาวิทยาลัยพริทอเรียและผู้ประสานงานด้านกฎหมายของกลุ่มสงเคราะห์คูลูมานี องค์กรช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้ายจากความรุนแรงทางการเมือง 58,000 คน กล่าวว่า

“การเหยียดผิวทำให้คนจำนวนหยิบมือร่ำรวยมหาศาล ขณะที่คนส่วนใหญ่ยากจนข้นแค้นแสนสาหัส นี่ยังไม่พูดถึงการจับกุมคุมขังผู้คนจำนวนมาก การเนรเทศ การหายตัวไปอย่างมีเงื่อนงำ และการเสียชีวิตอย่างโหดร้าย กระทั่งการล้มเลิกนโยบายนี้ไปเฉยๆไม่อาจเยียวยาความเสียหายได้เลย บางคนอาจพูดว่าทุกคนเสมอภาคกันหมดแล้วตอนนี้ ทำไมเราไม่ลืมเรื่องเก่าๆ แล้วเดินหน้ากันต่อเถิด ก็พูดได้สิสำหรับพวกที่ได้ประโยชน์จากนโยบายนี้ แต่มันไม่ได้ช่วยอะไรเลยกับการคืนความเป็นธรรม และไม่สามารถล้มล้างทัศนคติเหยียดผิวที่ฝังรากลึก ความจงเกลียดจงชังที่ท่วมท้นล้นอก หรือความรู้สึกของความอัตคัตขาดแคลน”

ส่วนคุณหมอมาร์จอรี จ็อบสัน ผู้อำนวยการระดับชาติของกลุ่มสงเคราะห์คูลูมานี บอกว่า
“พอถึงปี 1994 ทุกคนก็เหนื่อยหน่ายจนเอือมระอาแล้ว ฉันคิดว่าสิ่งที่พวกเขาต้องการก็แค่อยากเห็นการยกเลิกนโยบายเหยียดผิว และให้รัฐบาลจัดการแก้ไขทุกอย่าง แต่มันก็ไม่เกิดขึ้น ฉันคิดว่าเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับชาวแอฟริกาแต่ละคนที่จะมีส่วนร่วมลงมือทำอะไรในการชดใช้ความผิดหรือล้างบาปที่เราร่วมกันก่อขึ้น นี่แหละค่ะพลังของปัจเจกบุคคล เราแต่ละคนมีพลังอำนาจที่จะสืบทอดอดีตอันโหดร้ายรุนแรงต่อไป หรือจะใช้อำนาจนั้นในการสร้างสังคมที่เป็นธรรมและสงบสุข”

กฎหมายแอฟริกาใต้ให้การรับรองการแบ่งแยกและความหวาดระแวงซึ่งกันและกันมาช้านาน บัดนี้ รัฐธรรมนูญของประเทศเชิดชูศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์และความเสมอภาคของปวงชน แต่อำนาจของรัฐธรรมนูญจะศักดิ์สิทธิ์ได้ก็เท่าที่ผู้คนเต็มใจจะปฏิบัติตาม คำพูดของเนลสัน แมนเดลาหลังจากที่คนหนุ่มสาวในเมืองโซเวโทลุกฮือขึ้นต่อต้านนโยบายเหยียดผิวครั้งประวัติศาสตร์เมื่อปี 1976 ยังคงแว่วเตือนและตอกย้ำความจริงว่า

“เราประสบความสำเร็จมากโขอยู่ แต่ยังมีอีกมากที่เราต้องทำต่อไป”

แต่แล้วจุดเปลี่ยนก็มาถึง การที่แอฟริกาใต้ได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพมหกรรมฟุตบอลโลกปี 2010 ช่วยปลุกเร้าความรู้สึกมั่นใจของผู้คน ต่อจากนี้ประเทศของพวกเขาจะได้รับการจดจำในฐานะประเทศที่จัดการแข่งขันฟุตบอลให้คนทั้งโลกเฝ้าชม มากกว่าประเทศที่มีตราบาปเรื่องนโยบายเหยียดผิว โครงสร้างพื้นฐานสมัยใหม่ของแอฟริกาใต้ ไม่ว่าจะเป็นสนามบินทันสมัยจนน่าอิจฉา หรือร้านอาหารนานาชาติ รูปลักษณ์ที่ปรากฏแก่สายตาชาวโลกเหล่านี้มีส่วนทำให้ หลายคนเชื่อว่าประวัติศาสตร์อันน่าเศร้าได้กลายเป็นอดีตไปแล้ว พื้นที่ส่วนใหญ่ในโซเวโท ย่านเมืองของโจฮันเนสเบิร์ก ที่มักตกเป็นข่าวอื้อฉาวเพราะเหตุรุนแรงในยุคเหยียดผิว บัดนี้กลายเป็นชานเมืองที่สวยงามน่าอยู่ (สลัมตามชายขอบยังพบเห็นอยู่บ้างก็จริง) แอฟริกาใต้มีชนชั้นกลางผิวดำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และตั้งแต่ปี 1994 รัฐบาลได้สร้างบ้านพักอาศัยไปเกือบสามล้านหลังแล้ว เพียงแค่ข้ามถนนจากกาสิโนและสวนสนุกในโจฮันเนสเบิร์ก นักท่องเที่ยวก็สามารถเข้าชมพิพิธภัณฑ์การเหยียดผิว (Apartheid Museum) อันน่าทึ่งได้

เรื่องโดย อเล็กซานดรา ฟุลเลอร์ ภาพถ่ายโดย เจมส์ แนชต์เวย์

ที่มา : http://www.ngthai.com/ngm/1006/feature.asp?featureno=5

“เนลสัน แมนเดลา” บำเหน็จเลอค่า สำหรับผู้รู้จักอดทนและรอคอย : ว.วชิรเมธี



โลกในยุคโลกาภิวัตน์ มนุษยชาติผิวสี กำลังก้าวย่างเข้าสู่ยุคทองของพวกเขาหลังจากที่อดทนและรอคอยมาอย่างยาวนาน นับได้เป็นหลายศตวรรษ ชนชั้นนำผิวสีมากมายต้องสังเวยชีวิตให้กับอคติที่มาจากการประเมินค่าแห่งความเป็นมนุษย์กันอย่างผิวเผินเพียงเพราะมองกันแค่ “ผิวสี” ที่เกิดจาก “สีผิว” อันเป็นเพียง “เปลือกของความเป็นมนุษย์” ภายนอกอย่างตื้นเขิน แต่พลันที่บารัค ฮุสเซน โอ บามา ผู้ชายผิวสี จากรัฐอิลลินอยส์ ชายหนุ่มผู้มีบิดาเป็นชาวเคนยา มารดาเป็นอเมริกันผิวขาว ก้าวขึ้นสู่บัลลังก์แห่งอำนาจหมายเลขหนึ่งของโลกได้สำเร็จ ก็ดูเหมือนว่า นับจากนาทีนี้เป็นต้นไป ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติผิวสีจะไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว

แต่ก่อนหน้าที่ บารัค โอบามา จะได้เสวยโอชารสของอิสรภาพและความเสมอภาคอันหอมหวานเช่นวันนี้ เส้นทางของเขาล้วนปูด้วยรอยเลือดและหยาดน้ำตาของชนผิวสีชั้นนำอย่าง โรซาร์ พาร์คส, มาร์ติน ลูเธอร์ คิงส์ จูเนียร์,มหาตมะ คานธี,อับราฮัม ลินคอร์น (ปธน.ผู้ปลดปล่อยทาสผิวดำให้เป็นไท) จนเกิดเป็นกวีนิพนธ์ที่เกริกก้องทั่วไปในอเมริกาเวลานี้ว่า

“เพราะ โรซาร์ พาร์ค นั่ง มาร์ติน จึงได้เดิน, โอบามา จึงได้วิ่ง, และลูกหลานของอเมริกันจึงได้บิน”

อย่างไรก็ตาม เส้นทางการต่อสู้ของชนผิวดำผู้ปรารถนาจะลิ้มรสเสรีภาพและความเสมอภาคอย่างเสมอหน้ากับชนผิวขาวนั้น ไม่ได้มีอยู่แต่ในอเมริกาเท่านั้น แต่เมื่อว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพและสมภาพเช่นนี้เกิดขึ้นกระจายอยู่ และดำเนินไปในทุกภูมิภาคของโลก และที่เข้มข้นยิ่งกว่าอเมริกาก็คือ แอฟริกาทั้งทวีป เพราะที่นั่นคือบ้านของคนผิวดำที่ถูกพวกยุโรปผิวขาวในยุคล่าอาณานิคมเข้าไปยึดครอง กดขี่ และเหยียดคนผิวดำลงเป็นมนุษย์ชั้นสอง ผู้ปราศจากสิทธิพลเมือง (Civil Right) หรือศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์อย่างสิ้นเชิง คนผิวสีในแอฟริกาช่วงก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่สอง ถูกกระทำจากพวกนักล่าอาณานิคมผิวขาวดังหนึ่งพวกเขาเป็นสัตว์ดิรัจฉานที่บังเอิญมีสภาวะทางกายภาพเป็นมนุษย์เท่านั้น

และที่ทวีปแอฟริกาซึ่งมากด้วย คนผิวดำนี่เอง

ที่แอฟริกาซึ่งมากด้วย การเหยียดสีผิวนี่เอง

ที่แอฟริกาซึ่งมากด้วย การกดขี่นี่เอง

ที่ผู้ชายผิวสีคนหนึ่ง ถือกำเนิดขึ้นมา พร้อมกับที่ได้รับมรดกเป็นผิวสีที่มีการเหยียดหยาม กดขี่ ย่ำยี ดูหมิ่นถิ่นแคลนมาเป็นของแถม

และที่แอฟริกานี่เอง ที่ผู้ชายผิวสีคนนั้น ได้เปลี่ยนอุปสรรคทั้งมวลให้กลายเป็นนั่งร้านแห่งการประสบความสำเร็จในชีวิต อย่างงดงาม เลอค่า จนตัวเขาได้กลายเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของโลกไปอย่างคาดไม่ถึง

ผู้ชายคนนั้นชื่อ “เนลสัน แมนเดลา”

อดีตประธานาธิบดีของประเทศแอฟริกาใต้ ผู้ที่นิตยสารไทม์ยกย่องให้เป็น บุคคลแห่งปี ประจำ ค.ศ. ๑๙๙๓ และ ผู้เป็นเจ้าของ รางวัลโนเบล สาขาสันติภาพในปีเดียวกัน และเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและเป็นทูตแห่งสันติภาพ ที่มีเกียรติมากที่สุดคนหนึ่งของโลก ที่ไม่ว่าในเวลานี้เขาจะย่างกรายไปเยือนประเทศใดในโลกนี้ รัฐบาล และประชาชนแห่งประเทศนั้น ล้วนยินดีต้อนรับเขาอย่างสมเกียรติ เพราะเขาคือชายผู้มีเกียรติมากที่สุดคนหนึ่งเท่าที่โลกนี้เคยมี วันเกิดของเขาในรอบหลายปีที่ผ่านมา มีประชาชนหลายประเทศจัดงานเฉลิมฉลองให้เขาเสมือนหนึ่งว่า เขาเป็นพลเมืองของประเทศนั้นเสียเอง

แต่กว่าจะมีวันชื่นคืนสุขเช่นทุกวันนี้ ใครเลยจะรู้ว่า ชายผิวดำนาม เนลสัน แมนเดลา เคยมีชีวิตที่ทุกข์ตรมขมไหม้และต้องถูกจองจำอย่างยาวนานโดยไร้ความผิดในเรือนจำมากว่า ๒๗ ปีเต็ม จนเขากลายเป็นนักโทษการเมืองที่ถูกจองจำนานที่สุดในโลก แต่เมื่อได้รับอิสรภาพแล้ว เขาก็เป็นนักโทษทางการเมืองที่มีชื่อเสียงหอมฟุ้งมากที่สุดในโลกเช่นกัน

๒๗ ปี ในเรือนจำของแมนเดลา จึงเป็น ๒๗ ปีแห่งการอดทนและรอคอยอย่างยาวนานที่สุด เท่าที่มนุษย์คนหนึ่งจะพึงอดทนและรอคอยได้ ทั้งยังเป็น ๒๗ ปี แห่งการบ่มบำเพ็ญบารมีทางความคิดและทางการเมืองที่เข้มข้น แหลมคมที่สุดเช่นเดียวกัน

ไม่น่าเชื่อว่า ๒๗ ปีที่อยู่ในคุก ความหวังและความฝันอันรุ่งโรจน์ของเขา ไม่เคยผุกร่อนหรือมอดไหม้

บนเส้นทางของการรอคอยอันยาวนาน ที่มีความอดทนเป็นน้ำหล่อเลี้ยง มีความหวังเป็นจุดหมาย ในที่สุด เนลสัน แมนเดลา กลับได้รับบำเหน็จรางวัลเลอค่าที่ตัวเขาเองก็คงไม่เคยคาดฝัน

เนลสัน แมนเดลา ต่อสู้มาอย่างไร นี่ย่อมเป็นเรื่องควรพิจารณาอย่างยิ่ง

เนลสัน แมนเดลา เป็นลูกชายของหัวหน้าเผ่าเทมบู ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งในแอฟริกาใต้ เมื่อบิดาเสียชีวิตลง เขาจึงทำหน้าที่หัวหน้าเผ่าแทนบิดา โดยมีลุงคอยเป็นพี่เลี้ยงอยู่ใกล้ๆ และด้วยความที่เป็นลูกของชนชั้นนำประจำเผ่า เขาจึงได้เรียนหนังสืออย่างดีที่สุดกับครูที่เป็นมิชชันนารีชาวอังกฤษ การได้เรียนกับครูที่เป็นผู้ดีอังกฤษทำให้เขามีโลกทัศน์ที่แตกต่างไปจากคนในเผ่าอย่างยากที่จะกลับไปเหมือนเดิมได้อีก เมื่อโตขึ้นเนลสัน แมนเดลา ได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำชื่อฟอร์ต แฮร์ คอลเลจ ต่อมา แมนเดลา ย้ายไปอาศัยอยู่ที่เมืองโจฮันเนสเบิร์ก เพื่อประกอบอาชีพทนายความและศึกษาต่อทางด้านกฎหมาย ที่มหาวิทยาลัย วิตวอร์เตอร์สแรนด์ หลังสำเร็จการศึกษาเขาก็เริ่มงานทางด้านสิทธิมนุษยชน โดยสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสภาแห่งชาติแอฟริกัน (African National Congress : ANC) ซึ่งตอนนั้นเขามีอายุเพียง ๒๕ ปีเท่านั้น เป้าหมายของการทำงานทางการเมืองครั้งแรกก็เพราะต้องการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับคนผิวดำให้มีสิทธิเสมอภาคเท่ากับคนผิวขาวในการเข้าถึงโอกาส และสิทธิพลเมืองในระดับเดียวกันทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์

เนลสัน แมนเดลา เป็นทั้งทนาย เป็นทั้งโฆษกขององค์กรที่เขาสังกัด และที่สำคัญเขาเป็นผู้นำโดยธรรมชาติที่มี “วาทศิลป์” อย่างยอดเยี่ยม (ควรสังเกตด้วยว่า “วาทศิลป์” ล้วนเป็นองค์ประกอบของผู้นำแทบทุกคน) ต่อมาปี ค.ศ.๑๙๕๖ แมนเดลา ก็ได้ลิ้มรสของชีวิตหลังลูกกรง ด้วยข้อหากระทำการอันผิดกฎหมายต่อต้านคอมมิวนิสต์ พอถึงปี ๑๙๖๐ ประชาชนผิวดำถูกตำรวจกราดยิงเสียชีวิตถึง ๖๙ คน เหตุการณ์นี้สะเทือนขวัญคนไปทั้งโลก หลังถูกจับอยู่หลายปี แมนเดลา ก็ได้รับการปล่อยตัวเพราะไม่มีความผิด แต่ครั้นถึงปี ๑๙๖๒ ก็ถูกจับอีกเป็นครั้งที่สอง ด้วยข้อหายุยงให้มีการสไตรก์และเดินทางออกนอกประเทศโดยไม่มีหนังสือเดินทาง

ค.ศ.๑๙๖๓ แมนเดลา ถูกหวยรางวัลใหญ่ที่สุดอีกครั้งหนึ่ง เมื่อรัฐบาลแห่งชาติแอฟริกาใต้ค้นพบเอกสารบางชิ้นว่า สภาแอฟริกันแห่งชาติที่เขาสังกัดมีการวางแผนเป็นกบฏต่อต้านอำนาจรัฐด้วยอาวุธสงคราม คราวนี้เขาและผองเพื่อนจึงถูกตีตรวนยาวกลายเป็นนักโทษทางการเมือง “ตลอดชีวิต”

อย่างไรก็ตาม แม้เขาจะถูกจำขังอยู่ในคุก แต่สำหรับปัญญาชนอย่างเขานั้น คุกขังได้ก็แต่กาย ส่วนจิตวิญญาณและปัญญานั้นยังคงเรืองแสงเจิดจรัสตลอดเวลา ในเรือนจำของนักโทษการเมืองนั้น เนลสันและผองเพื่อน ยังคงแบ่งกลุ่มกันศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ว่ากันว่าการได้อ่านหนังสือพิมพ์จากโลกภายนอกสักฉบับหนึ่ง มีค่ายิ่งกว่าอาหารหลายมื้อ เพราะพวกเขาต้องลักลอบติดตามความเป็นไปของโลกภายนอกอย่างมิดชิดและเงียบเชียบที่สุด ผลของการ “ลาศึกษาต่อ” ในคุก ทำให้เนลสันได้ข้อค้นพบอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นดังหนึ่งปลายทางของงานวิจัยชั้นยอดว่า

“…กล่าวกันว่า ไม่มีใครจะรู้จักประเทศหนึ่งได้อย่างแท้จริง จนกว่าเขาจะได้เข้าไปอยู่ในคุกของประเทศนั้น เราไม่ควรวัดประเทศจากวิธีการที่รัฐบาลปฏิบัติต่อพลเมืองชั้นสูง หากควรดูจากวิธีการที่พวกเขาปฏิบัติต่อพลเมืองที่อยู่ในสถานะต่ำต้อยที่สุด และ(ในทัศะของข้าพเจ้า- – รัฐบาลของ) สหภาพแอฟริกาปฏิบัติต่อพลเมืองแอฟริกันเหมือนกับปฏิบัติต่อสัตว์”

ประโยคสุดท้ายที่ว่า “- – รัฐบาลของสหภาพแอฟริกาปฏิบัติต่อพลเมืองแอฟริกันเหมือนกับปฏิบัติต่อสัตว์” คงชัดเจนเป็นอย่างยิ่งว่า ทำไม เนลสัน แมนเดลา จึงต้องลุกขึ้นสู้ เป็นการลุกขึ้นสู้เหมือนกับที่ครั้งหนึ่ง มหาตมะ คานธี ซึ่งเคยถูกไล่ลงจากรถไฟที่แอฟริกาใต้เคยลุกขึ้นสู้มาแล้วนั่นเอง

ตลอดเวลาที่ แมนเดลา ถูกจองจำนั้น สายธารแห่งการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิเสมอภาคระหว่างคนผิวดำยังคงไหลเอื่อยไม่ขาดสาย ระหว่างทศวรรษ ๑๙๘๐ มีประชาชนผิวดำบาดเจ็บล้มตายกว่า ๖๐๐ คน แม้ตัวเขาและพวกพ้องไม่สามารถสู้ต่ออย่างเปิดเผยในโลกภายนอกร่วมกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ แต่ทว่า ในโลกแห่งความคิดนั้น เขายังคงต่อ “ท่อน้ำเลี้ยง ทางความคิด” ถึงคนหนุ่มคนสาวอยู่เสมอ บ่อยครั้งที่คนหนุ่มสาวถูกรัฐบาลล้อมปราบ จับกุมคุมขังอย่างทารุณ และตลอดเวลาดังกล่าวนั้น เนลสัน แมนเดลา และนานาชาติ รู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้นที่แอฟริกาใต้ รัฐบาลของสหภาพแอฟริกาใต้จึงถูกกดดันจากนานาชาติอยู่เนืองๆ ให้ยกเลิกนโยบายแบ่งแยกสีผิว และพยายามเจรจาต่อรองกับกลุ่มของแมนเดลา แต่เสียงตอบกลับออกมาจากปัญญาชนในคุกก็คือ

“ผมไม่อาจ และจะไม่ยอมรับข้อตกลงใดๆก็ตาม ในยามที่ผม, พวกคุณ และประชาชนทั้งหลายยังไม่เป็นอิสระ เสรีภาพของพวกคุณและเสรีภาพของพวกผม ไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้”

การต่อสู้ของประชาชน คนหนุ่มสาว การบาดเจ็บล้มตายของผู้บริสุทธิ์หลายครั้ง ผนวกกับการกดดันจากนานาชาติ ทำให้รัฐบาลแห่งสหภาพแอฟริกาใต้ไม่อาจต้านทานกระแสธารของความเปลี่ยนแปลงได้อีกต่อไป ในที่สุด ค.ศ.๑๙๙๐ เนลสัน แมนเดลา ก็ได้รับเทียบเชิญให้ไปเจรจากับ เฟรเดอริ ดับเบิลยู เดอ คลาร์ก ประธานาธิบดีแห่งสหภาพแอฟริกาใต้ เพื่อแสวงหาทางออกในการที่จะทำให้แอฟริกาใต้มีประชาธิปไตยเต็มใบ นโยบายแบ่งแยกสีผิวถูกยกเลิก ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศอย่างแท้จริงเหมือนนานาอารยประเทศทั้งหลาย ผลของการเจรจาทำให้พรรคแอฟริกันแห่งชาติ (ANC) ซึ่งเคยถูกรัฐตราหน้าว่าเป็นพรรคผิดกฎหมายได้รับการรับรอง และ เนลสัน แมนเดลา ได้รับอิสรภาพ หลังจากรอคอยอย่างยาวนานมาถึง ๒๗ ปีเศษ

ปีที่ได้รับอิสรภาพ เนลสัน แมนเดลา อายุสังขารล่วงมากว่า ๗๑ ปีแล้ว แต่เป็น ๗๑ ปี ที่ไฟในหัวใจยังคงคุโชน กระชุ่มกระชวย และเปี่ยมไปด้วยความหวังถึงรุ่นอรุณแห่งเสรีภาพ พลังแห่งความหวังในตัวเขา และความหอมหวานแห่งเสรีภาพและเสมอภาพ ทำให้เขายังคงแข็งแกร่ง สุขภาพดี ดวงตาทอประกาย สติปัญญาแหลมคมเพราะถูกบ่มมาอย่างยาวนานจนสุกปลั่ง เขา- -ผู้ชายสูงอายุที่ถูกพันธนาการมากว่าครึ่งชีวิต พลันที่ได้รับอิสรภาพก็ก้าวขึ้นสู่ความเป็นผู้นำของประชาชนอย่างชนิดที่ไม่มีใครสงสัยในภาวะผู้นำแม้แต่น้อย อย่างไรก็ตาม หลังได้รับอิสรภาพ สงครามระหว่างผิวยังคงมีอยู่อย่างเข้มข้น การบาดเจ็บล้มตายระหว่างคนผิวดำและคนผิวขาวยังมีอยู่ทั่วไป แต่ เนลสัน แมนเดลา ในฐานะผู้นำของพรรคแอฟริกันแห่งชาติ (African National Congress : ANC) และ เฟรเดอริค ดับเบิลยู เดอ คลาร์ก ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคประชาชาติ (NATIONAL PARTY) ได้จับมือกันเจรจาสันติภาพ เพื่อหาวิธีสร้างประชาธิปไตยของคนผิวสีร่วมกันและยุติความรุนแรงทั้งปวงด้วย สันติวิธี

แล้วบำเหน็จสำหรับนักสู้ผู้เรียนรู้ที่จะอดทนและรอคอยก็เดินทางมาถึง นั่นคือ ในปลายปี ๑๙๙๓ เนลสัน แมนเดลา และ เดอ คลาร์ก ได้รับการประกาศให้เป็นผู้คู่ควรแก่รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ อันเป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุดสำหรับมนุษยชาติทั้งโลก ลุถึงปี ๑๙๙๔ ฟ้าหลังฝนเริ่มสดใส การเมืองใหม่ที่คนผิวดำ คนผิวขาว มีสิทธิเสมอภาคทัดเทียมกันก็เกิดขึ้น เมื่อ เนลสัน แมนเดลา ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของแอฟริกาใต้ เขาอยู่ในตำแหน่งนี้อย่างยาวนาน และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีจนถึงจุดอิ่มตัว

ปี ๑๙๙๙ เนลสัน แมนเดลา ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี และอุทิศตนให้กับงานการกุศลระดับโลก ทุกวันนี้ แม้เขาไม่ได้นั่งอยู่ในเก้าอี้แห่งอำนาจ ในทำเนียบประธานาธิบดีของแอฟริกาใต้อีกต่อไปแล้ว แต่เขาได้ยกตัวเองให้สูงขึ้นไปยิ่งกว่านั้น นั่นคือ การเป็นคนของโลกผู้เข้าไปนั่งอยู่ในใจของใครต่อใครมากมายทั่วโลก ในฐานะทูตสันติภาพโลก และผู้บริหารกองทุน เนลสัน แมนเดลา เพื่อเด็กและเยาวชน

เนลสัน แมนเดลา : บำเหน็จเลอค่า สำหรับผู้รู้จักอดทนและรอคอย

ว.วชิรเมธี

ที่มา : http://www.vimuttayalaya.net/DharmaDaily.aspx?id=76&page=5

เนลสัน มันเดลา



เนลสัน โรลิฮฺลาฮฺลา มันเดลา(อังกฤษ: Nelson Rolihlahla Mandela; สำเนียงภาษาคโฮซา: [xoˈliɬaɬa manˈdeːla])
เกิดวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 ที่เมืองทรานส์คีย์ ประเทศแอฟริกาใต้ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในช่วงปี พ.ศ. 2537-2542 และเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งตามกระบวนการทางประชาธิปไตยอย่างถูกต้อง ก่อนหน้าการดำรงตำแหน่งนี้นี้ เขาได้เป็นที่รู้จักกันทั้งในและนอกประเทศในฐานะที่เคยเป็นนักเคลื่อนไหวตัวยงเพื่อต่อต้านนโยบายแยกคนต่างผิวออกจากกันในแอฟริกาใต้ จากที่แรกเริ่มเป็นผู้เคลื่อนไหวในทางสันติ ได้กลายมาเป็นผู้นำกลุ่มกองกำลังติดอาวุธของพรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา และได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่อต้านใต้ดินโดยใช้อาวุธ เช่น การก่อวินาศกรรม ในช่วงเวลาดังกล่าว ผู้นำต่างชาติที่นิยมนโยบายแยกคนต่างผิวออกจากกันในแอฟริกาใต้ เช่น มากาเรท เท็ตเชอร์ และโรนัลด์ เรแกน ได้ประณามกิจกรรมเหล่านี้ว่าเป็นการก่อการร้าย

เขาถูกจำคุกเป็นเวลาทั้งสิ้น 27 ปี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นการถูกคุมขังในห้องขังเล็ก ๆ บนเกาะร็อบเบิน การถูกคุมขังนี้ได้กลายมาเป็นกรณีตัวอย่างของความอยุติธรรมของนโยบายแยกคนต่างผิวที่ถูกกล่าวถึงไปทั่ว เมื่อเขาได้รับการปล่อยตัวในปี พ.ศ. 2533 นโยบายประสานไมตรีที่เนลสันได้นำมาใช้ทำให้แอฟริกาใต้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่แห่งประชาธิปไตย ในขณะนี้ เนลสัน มันเดลา มีอายุกว่า 90 ปีแล้ว เป็นที่ยกย่องอย่างสูงภายในประเทศแอฟริกาใต้ในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส ชาวแอฟริกันจะขนานนามสมาชิกชายอาวุโสของตระกูลมันเดลาอย่างให้เกียรติว่า มาดิบา แต่มักเจาะจงหมายถึงเนลสัน มันเดลาเท่านั้น

เนลสัน มันเดลา ได้รับรางวัลต่าง ๆ มากกว่า 250 รางวัลตลอดช่วงเวลา 4 ทศวรรษ รางวัลที่สำคัญที่สุดคือ รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ประจำปี พ.ศ. 2536

ช่วงแรกของชีวิต
เนลสัน มันเดลา เป็นผู้สืบทายาทสายหนึ่งของราชวงศ์เทมบู ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ปกครองแคว้นทรานส์คีย์ในจังหวัดเคปของประเทศแอฟริกาใต้[2] เขาเกิดที่มเวโซ (Mvezo) ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ อยู่ในเมืองอุมตาตา เมืองหลวงของทรานส์คีย์ ปู่ทวดของเขาคือ งูเบงคูคา (Ngubengcuka, เสียชีวิตปี พ.ศ. 2375) เป็นผู้ครองแคว้นในตำแหน่ง อิงโคซี เองคูลู (Inkosi Enkhulu) หรือ "กษัตริย์" ของชาวเทมบู โอรสองค์หนึ่งของกษัตริย์มีชื่อว่า มันเดลา เป็นปู่ของเนลสัน และเป็นที่มาของนามสกุลของเขา อยางไรก็ดี เนื่องจากเขาเป็นบุตรแห่ง อิงโคซี เพียงคนเดียวที่เกิดจากภรรยาจากตระกูล อิกซิบา (หรือบ้างเรียกว่า "ราชวงศ์ฝั่งซ้าย") ดังนั้นผู้สืบตระกูลในสายนี้จึงไม่มีสิทธิ์สืบทอดราชบัลลังก์ของเทมบู

บิดาของมันเดลาคือ กัดลา เฮนรี มพาคันยิสวา (Gadla Henry Mphakanyiswa) มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหมู่บ้านมเวโซ[4] แต่ในช่วงที่ประเทศตกเป็นอาณานิคม เขาถูกยึดตำแหน่งไปและขับไล่ให้ไปอยู่ที่ควูนู อย่างไรก็ดี มพาคันยิสวายังคงเป็นหนึ่งในคณะที่ปรึกษาส่วนพระองค์ของ อิงโคซี อยู่ มีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือจองกินตาบา ดาลินเยโบ (Jongintaba Dalindyebo) ให้ขึ้นสู่ราชบัลลังก์ของเทมบู ดาลินเยโบผู้นี้ต่อมาได้ให้การช่วยเหลือตอบแทนโดยรับตัวมันเดลาเอาไว้ในอุปถัมภ์หลังจากที่มพาคันยิสวาเสียชีวิต บิดาของมันเดลามีภริยา 4 คน และมีบุตรทั้งสิ้น 13 คน เป็นชาย 4 คน หญิง 9 คน มันเดลาเป็นบุตรที่เกิดจาก โนซีคีนี แฟนนี ภริยาคนที่สาม (ตามลำดับอันซับซ้อนของทางราชวงศ์) แฟนนีเป็นบุตรสาวของนเคดามาแห่งตระกูลมเพมวู ธอห์ซา ซึ่งเป็นราชวงศ์ฝั่งขวา เป็นที่ซึ่งมันเดลาเจริญเติบโตขึ้น ชื่อจริงของมันเดลาคือ โรลีห์ลาห์ลา มีความหมายว่า "ดึงกิ่งก้านของต้นไม้" หรือเรียกอย่างเป็นกันเองว่า "เจ้าตัวยุ่ง"

โรลีห์ลาห์ลา มันเดลา เป็นสมาชิกราชวงศ์คนแรกที่ได้ไปโรงเรียน ครูของเขาคือนางสาวมดินกานี (Mdingane) เป็นผู้ตั้งชื่อภาษาอังกฤษให้เขาว่า "เนลสัน"

เมื่อมันเดลาอายุได้ 9 ปี พ่อของเขาเสียชีวิตด้วยวัณโรค และทางราชสำนักของจองกินตาบาได้รับเขาไว้ในอุปถัมภ์ มันเดลาได้เข้าโรงเรียนศาสนาของนิกายเวซเลียนซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับพระราชวัง ตามประเพณีของชาวเทมบู เขาต้องผ่านพิธีศักดิ์สิทธิ์เมื่ออายุ 16 ปี จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่ Clarkebury Boarding Institute และสำเร็จอนุปริญญาในเวลาเพียง 2 ปีขณะที่หลักสูตรปกติต้องใช้เวลา 3 ปี มันเดลาเข้ารับตำแหน่งที่ปรึกษาส่วนพระองค์แทนตำแหน่งของบิดา ปี พ.ศ. 2480 มันเดลาย้ายไปเมืองเฮลด์ทาวน์ และเข้าเรียนในวิทยาลัยเวซเลียนที่ฟอร์ตโบฟอร์ต อันเป็นที่ซึ่งราชวงศ์เทมบูส่วนมากพำนักอยู่ เมื่ออายุได้ 19 ปี เขาเริ่มสนใจการชกมวยและการวิ่งแข่งที่โรงเรียน

หลังจากจบการศึกษา มันเดลาเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีด้านศิลปศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยฟอร์ตแฮร์ ที่ซึ่งเขาได้พบกับโอลิเวอร์ แทมโบ แทมโบกับมันเดลาได้เป็นเพื่อนร่วมงานและเพื่อนสนิทกันไปตลอดชีวิต มันเดลายังได้เป็นเพื่อนสนิทกับญาติคนหนึ่งชื่อ ไคเซอร์ (Kaiser "K.D.") มาตันซิมา ซึ่งเป็นทายาทของราชวงศ์เทมบูฝั่งขวา และอยู่ในฐานะผู้สืบทอดแคว้นทรานส์คีย์ ด้วยตำแหน่งนี้ทำให้เขาเข้าไปเกี่ยวพันกับนโยบาย Bantustan การที่เขาให้การสนับสนุนนโยบายนี้ทำให้เขากับมันเดลามีความคิดเห็นทางการเมืองขัดแย้งกัน เมื่อมันเดลาเรียนจบชั้นปีที่หนึ่ง เขาได้เข้าร่วมในสภาผู้แทนนักศึกษา (Students' Representative Council หรือ SRC) เดินขบวนต่อต้านนโยบายของมหาวิทยาลัย จนถูกไล่ออกและไม่ให้กลับมาอีก นอกจากจะยอมรับนโยบายของทางมหาวิทยาลัย มันเดลาจึงหันไปศึกษาปริญญาตรีด้านกฎหมายหลักสูตรทางไกลกับมหาวิทยาลัยลอนดอน

หลังจากออกจากฟอร์ตแฮร์ไม่นาน กษัตริย์จองกินตาบาก็ประกาศจัดการแต่งงานให้กับมันเดลาและจัสติส (ราชโอรสและรัชทายาทผู้สืบทอดบัลลังก์) เด็กหนุ่มทั้งสองไม่พอใจกับเรื่องนี้มาก จึงหนีออกไปยังเมืองโยฮันเนสเบิร์ก เมื่อไปถึงที่นั่น มันเดลาได้เริ่มทำงานเป็นยามเฝ้าเหมือง แต่ต่อมาไม่นานก็ถูกเลิกจ้าง เพราะนายจ้างทราบมาว่าเขาเป็นสมาชิกราชวงศ์ที่หนีมา หลังจากนั้นมันเดลาได้เข้าทำงานเป็นเสมียนตรวจเอกสารในสำนักงานทนายความแห่งหนึ่งในโยฮันเนสเบิร์กที่มีชื่อว่า Witkin, Sidelsky and Edelman โดยอาศัยเส้นสายของเพื่อนและพี่เลี้ยง คือ วอลเตอร์ ซิซูลู ขณะกำลังทำงานที่นี่ มันเดลาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยแห่งแอฟริกาใต้โดยการเรียนทางไกล จากนั้นเขาศึกษาต่อทางกฎหมายที่มหาวิทยาลัยวิตวอเตอร์สรันด์ ซึ่งเป็นที่ที่เขาได้พบกับเพื่อนร่วมอุดมการณ์มากมายที่ต่อมาได้ร่วมขบวนการต่อต้านการเหยียดผิว เช่น โจ สโลโว, แฮร์รี่ ชวาร์ซ และ รูธ เฟิสต์ ระหว่างเวลานี้มันเดลาอาศัยอยู่ที่เมืองอเล็กซานดรา ทางตอนเหนือของโยฮันเนสเบิร์ก

กิจกรรมทางการเมือง
หลังจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2491 ชัยชนะได้ตกเป็นของพรรคชาตินิยม (National Party) ซึ่งสนับสนุนนโยบายการแบ่งแยกสีผิวอย่างรุนแรง มันเดลาเริ่มต้นเข้าร่วมมีบทบาททางการเมือง เขาเป็นผู้นำคนสำคัญในโครงการรณรงค์ต่อต้านของสมัชชาแห่งชาติแอฟริกัน (เอเอ็นซี) ในปี พ.ศ. 2495 และเข้าร่วมสมัชชาประชาชนในปี พ.ศ. 2498 ซึ่งมีหลักการพื้นฐานในการต่อต้านการแบ่งแยกสีผิว ระหว่างเวลานี้ มันเดลากับเพื่อนนักกฎหมายคือ โอลิเวอร์ แทมโบ ได้เปิดสำนักกฎหมาย Mandela and Tambo ขึ้น โดยให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่ชนผิวดำผู้ด้อยโอกาสโดยไม่คิดราคาหรือด้วยราคาต่ำ

ผู้มีอิทธิพลต่อแนวคิดของมันเดลาอย่างมากคือ มหาตมา คานธี ในเวลาต่อมาได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อต้านการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ มันเดลาเคยไปเข้าร่วมการประชุมที่นิวเดลี ระหว่างวันที่ 29-30 มกราคม พ.ศ. 2550 ในโอกาสครบรอบ 100 ปีการก่อตั้ง สัตยคราหะ ของคานธี ในแอฟริกาใต้

มันเดลาเริ่มต้นจากการรณรงค์ต่อต้านรัฐบาลโดยวิธีไม่ใช้ความรุนแรง แต่เขากับเพื่อนร่วมขบวนการกว่า 150 คนถูกจับกุมเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ในข้อหากบฎ การไต่สวนคดีกบฎคราวนี้กินเวลายาวนานมากตั้งแต่ พ.ศ. 2499-2504 และสิ้นสุดลงโดยที่จำเลยทั้งหมดไม่มีความผิด ในระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2495-2502 ได้เกิดการก่อตั้งขบวนการคนผิวดำกลุ่มใหม่ขึ้นเรียกว่า "กลุ่มนิยมแอฟริกัน" (Africanist) ขึ้นมาขัดขวางขบวนการเอเอ็นซีเดิม โดยเรียกร้องให้ทำการตอบโต้รัฐบาลของพรรคชาตินิยมอย่างรุนแรงขึ้น ผู้นำเอเอ็นซีในยุคนั้นภายใต้การนำของ อัลเบิร์ต ลูธูลี โอลิเวอร์ แทมโบ และวอลเตอร์ ซิซูลู รู้สึกว่ากลุ่มนิยมแอฟริกันนั้นรุกหน้าเร็วเกินไป ทั้งยังบังอาจท้าทายอำนาจของพวกเขาด้วย ทางกลุ่มผู้นำของเอเอ็นซีได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรหลายฝ่าย ได้แก่ กลุ่มชนผิวขาวกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มคนผิวสี (ลูกผสม) และพรรคการเมืองในอินเดีย ซึ่งเป็นการพยายามสร้างภาพพจน์ให้เหนือกว่ากลุ่มนิยมแอฟริกัน ในปี พ.ศ. 2498 กลุ่มเอเอ็นซีถูกฉีกหน้าในที่ประชุม Freedom Charter Kliptown Conference โดยได้รับเพียงเสียงโหวตเดียวจากที่ประชุมกลุ่มพันธมิตร ด้วยในจำนวนเลขาธิการกลุ่มพันธมิตรทั้งห้ากลุ่มนั้นมีถึง 4 คนที่มีสัมพันธ์อย่างลับ ๆ กับพรรคเกิดใหม่ คือ พรรคคอมมิวนิสต์แอฟริกาใต้ (South African Communist Party; SACP) ซึ่งเป็นมิตรแข็งแรงอยู่กับทางฝ่ายมอสโก

เมื่อถึงปี พ.ศ. 2502 ขบวนการเอเอ็นซีสูญเสียการสนับสนุนทางยุทโธปกรณ์ ขณะที่กลุ่มนิยมแอฟริกันภายใต้การสนับสนุนทางการเงินจากกานา และการสนับสนุนทางการเมืองอย่างเด่นชัดจากชนเผ่าบาโซโธซึ่งมีฐานใหญ่อยู่ที่ทรานส์วาลล์ ได้แยกตัวออกไปเป็นกลุ่มแพนแอฟริกันนิสต์คองเกรส (Pan Africanist Congress; PAC) ภายใต้การนำของ โรเบิร์ต โซบูเคว และ โพตลาโค เลบัลโล

กิจกรรมต่อต้านการเหยียดผิวในปี พ.ศ. 2504 มันเดลาได้ร่วมริเริ่มและเป็นผู้นำกองกำลังติดอาวุธของเอเอ็นซี เรียกชื่อว่า Umkhonto we Sizwe (หมายถึง หอกแห่งชาติ บ้างเรียกย่อว่า MK) เขาจัดการให้มีการลอบวางระเบิดสถานที่สำคัญทางราชการและทางทหารหลายแห่ง และใช้แผนการรบแบบกองโจรถ้าการลอบวางระเบิดล้มเหลว เพื่อให้ยุติการแบ่งแยกสีผิว[28] มันเดลายังจัดการระดมทุนให้กองกำลัง MK และทำการฝึกฝนทางทหารให้กลุ่มควบคู่กันไป

สมาชิกเอเอ็นซีคนหนึ่งคือ โวลฟี คาเดช เล่าถึงโครงการรณรงค์วางระเบิดที่นำโดยมันเดลาว่า : "ตอนที่รู้ว่าเราจะเริ่มลงมือในวันที่ 16 ธันวาคม 2504 โดยจะระเบิดสถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์ของการแบ่งแยกผิว เช่น สถานีโดยสาร ศาลปกครองท้องถิ่น และอะไรจำพวกนั้น... ที่ทำการไปรษณีย์ และ.. ที่ทำการรัฐบาล แต่เราต้องทำอย่างระวังเพื่อไม่ให้มีใครได้รับบาดเจ็บ ต้องไม่มีใครเสียชีวิต" มันเดลาพูดถึงโวลฟีว่า "ความรู้เรื่องการสู้รบและประสบการณ์ต่อสู้มือเปล่าของเขาจะช่วยฉันได้อย่างมาก"

มันเดลาพูดถึงการยกระดับการต่อต้านไปสู่การใช้กำลังอาวุธนี้เป็นมาตรการสุดท้าย เนื่องจากรัฐบาลได้เพิ่มความรุนแรงในการปราบปรามมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้เขาคิดว่าการประท้วงคัดค้านการเหยียดผิวแบบสันติไม่สามารถและไม่มีวันประสบความสำเร็จได้

ช่วงต่อมาราวปี พ.ศ. 2523-2532 หน่วย MK ทำสงครามกองโจรกับนโยบายแบ่งแยกสีผิวอย่างรุนแรงจนมีพลเรือนเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก มันเดลายอมรับกับเอเอ็นซีในภายหลังว่า ในการทำสงครามต่อต้านการแบ่งแยกสีผิวกลับกลายเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เขาวิพากษ์วิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนในการที่คนในพรรคบางคนพยายามเอาเนื้อความที่ยืนยันความจริงข้อนี้ออกไปเสียจากรายงานของกรรมาธิการสืบสวนข้อเท็จจริงและไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (Truth and Reconciliation Commission)

ตราบถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 มันเดลาและสมาชิกพรรคเอเอ็นซีเป็นบุคคลต้องห้ามในการเดินทางเข้าสหรัฐอเมริกา - เว้นแต่เพียงสำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติที่แมนฮัตตัน - เนื่องมาจากการเป็นผู้ก่อการร้ายในการต่อต้านการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้

การไต่สวนริโวเนียวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2505มันเดลาถูกจับหลังจากหลบหนีอยู่นาน 17 เดือน และถูกจำคุกที่เรือนจำโยฮันเนสเบิร์กฟอร์ต เนื่องจากหน่วยข่าวกรองกลางของสหรัฐอเมริกาให้ข้อมูลแก่ตำรวจความมั่นคงถึงถิ่นที่อยู่และการปลอมแปลงตัวของเขา สามวันต่อมาจึงมีการประกาศข้อกล่าวหาแก่เขาต่อหน้าศาลว่าเป็นผู้นำขบวนการประท้วงของคนงานในปี พ.ศ. 2504 และทำให้ประเทศตกอยู่ในความวุ่นวาย วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2505 มันเดลาถูกตัดสินจำคุก 5 ปี สองปีต่อมาในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 คณะลูกขุนจึงได้ข้อสรุปโดยประเมินจากความสัมพันธ์ของเขากับขบวนการเอเอ็นซี

ขณะที่มันเดลาติดคุก ทางตำรวจก็สามารถจับกุมผู้นำคนสำคัญ ๆ ของเอเอ็นซีได้อีกที่ฟาร์มลิลลี่ส์ลิฟ ริโวเนีย ทางตอนเหนือของโยฮันเนสเบิร์ก เมื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 มันเดลาถูกกล่าวหาอีกครั้งในการไต่สวนริโวเนียโดยหัวหน้าอัยการ ดร. เพอร์ซี ยูทาร์ ด้วยความผิดอุกฉกรรจ์ฐานการก่อการร้าย (ซึ่งมันเดลายอมสารภาพ) และอาชญากรรมอื่น ๆ อันเปรียบได้กับการเป็นกบฎ ซึ่งฝ่ายรัฐบาลสามารถพิสูจน์ได้อย่างง่ายดาย ข้อกล่าวหาที่สองนี้ยังรวมถึงการที่ฝ่ายจำเลยพยายามชักนำการรุกรานจากภายนอกมาสู่แอฟริกาใต้ ซึ่งมันเดลาปฏิเสธ

มันเดลาได้ขึ้นให้การในคอกจำเลยเมื่อตอนเปิดการไต่สวนในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2507 ที่ศาลพรีโทเรียสุพรีม เขาได้ตีแผ่เหตุผลที่กลุ่มเอเอ็นซีจำเป็นต้องดำเนินการด้วยความรุนแรง คำให้การของเขาเผยว่ากลุ่มเอเอ็นซีได้พยายามใช้สันติวิธีเพื่อต่อต้านการแบ่งแยกสีผิวมาเป็นเวลานานหลายปี จนกระทั่งถึงเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ชาร์เพวิลล์ จากเหตุการณ์นี้ร่วมกับการลงคะแนนเพื่อจัดตั้งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ การประกาศภาวะฉุกเฉินในประเทศ และการสั่งแบนกลุ่มเอเอ็นซี ทำให้พวกเขาเหลือทางเลือกแต่เพียงการต่อต้านด้วยการลอบวางระเบิด เพราะการเลือกทำวิธีอื่นใดนอกไปจากนี้จะเป็นเสมือนการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข มันเดลายังคงอธิบายต่อไปอีกว่า พวกเขาได้ก่อตั้งกองกำลังติดอาวุธ Umkhonto we Sizwe ขึ้นในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2504 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายจะชี้ให้เห็นความล้มเหลวของนโยบายของพรรคชาตินิยม หลังจากที่เศรษฐกิจในประเทศต้องถูกขู่เข็ญด้วยความไม่เต็มใจของนักลงทุนต่างชาติในการต้องเสี่ยงลงทุนในประเทศ เขาปิดการให้การด้วยถ้อยคำต่อไปนี้:

ตลอดชีวิตของข้าพเจ้า ได้อุทิศตัวเองแก่การต่อสู้เพื่อประชาชนแอฟริกัน ข้าพเจ้าต่อต้านผู้ปกครองผิวขาว และก็ต่อต้านผู้ปกครองผิวดำ ข้าพเจ้ายินดีต่อประชาธิปไตยอันเป็นอุดมคติและสังคมอันเสรี ซึ่งประชาชนทุกหมู่เหล่าสามารถอยู่ด้วยกันอย่างสันติและด้วยความเสมอภาค นี่คืออุดมคติอันข้าพเจ้าหวังจะมีชีวิตอยู่ให้ถึง แต่หากจำเป็น ข้าพเจ้าก็พร้อมจะตายเพื่ออุดมคตินี้

จำเลยในการไต่สวนคราวนี้รวมไปถึง แบรม ฟิสเชอร์, เวอร์นอน เบอร์รังกี, แฮร์รี่ ชวาร์ซ, โจเอล จอฟฟี, อาร์เทอร์ ชาสคัลสัน และ จอร์จ บิโซส ฮาโรลด์ แฮนสัน ได้เข้ามาเป็นทนายแก้ต่างให้ในภายหลังเพื่อขอลดหย่อนโทษ ทุกคนถูกตัดสินว่ามีความผิด ยกเว้นเพียง รัสตี้ เบิร์นสไตน์ พวกเขารอดจากโทษประหารชีวิตไปได้ แต่ก็ถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิตตั้งแต่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ข้อกล่าวหาในคดีนี้ยังรวมไปถึงการวางแผนโดยใช้อาวุธ และอีกสี่คดีเกี่ยวกับการลอบวางระเบิด ซึ่งมันเดลาให้การยอมรับ และการสมคบคิดกับต่างชาติเพื่อรุกรานแอฟริกาใต้ ซึ่งมันเดลาให้การปฏิเสธ



การถูกคุมขัง
เนลสัน มันเดลา ถูกจำคุกที่เกาะร็อบเบินเป็นเวลา 18 ปีจากจำนวนการติดคุกทั้งสิ้น 27 ปี ขณะอยู่ในคุก ชื่อเสียงของเขาก็เพิ่มพูนมากขึ้นและกลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในฐานะผู้นำชนผิวดำคนสำคัญที่สุดในแอฟริกาใต้ ระหว่างที่อยู่ในเรือนจำนั้น เขาต้องทำงานบนเกาะโดยการขุดเหมืองหินปูน กฎภายในคุกนี้มีง่าย ๆ นักโทษจะแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ตามเชื้อชาติ โดยที่นักโทษผิวดำจะได้รับปันส่วนอาหารในสัดส่วนน้อยที่สุด แต่นักโทษการเมืองจะถูกแยกออกจากนักโทษอาชญากรรมทั่วไปและถือเป็นชั้นต่ำที่สุดยิ่งกว่านักโทษทั้งหมด ซึ่งเรียกว่า "นักโทษกลุ่ม D" มันเดลาได้อธิบายว่า ทุก ๆ 6 เดือน เขาจะได้รับอนุญาตให้มีคนมาเยี่ยมได้หนึ่งคน และจดหมายหนึ่งฉบับเท่านั้น และเมื่อได้รับจดหมาย การส่งนั้นก็มักจะล่าช้าไปเป็นเวลานานมาก และยังถูกเซ็นเซอร์เสียจนแทบอ่านไม่ได้

ขณะอยู่ในคุก มันเดลาได้เรียนต่อกับมหาวิทยาลัยลอนดอนผ่านหลักสูตรทางไกล และได้รับปริญญาตรีสาขากฎหมาย ในภายหลังเขาได้รับเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีของมหาวิทยาลัยลอนดอนในการคัดเลือกปี พ.ศ. 2524 แต่ก็แพ้ให้แก่ เจ้าฟ้าหญิงแอนน์

จากบันทึกความทรงจำของมันเดลาในปี พ.ศ. 2524 Inside BOSS นักสืบลับ กอร์ดอน วินเทอร์ ได้บรรยายส่วนที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับแผนการช่วยเหลือมันเดลาออกจากคุกในปี พ.ศ. 2512 วินเทอร์แทรกซึมเข้าไปในแผนนี้ในฐานะหน่วยสืบราชการลับของแอฟริกาใต้ ซึ่งต้องการให้มันเดลาหลบหนีออกจากคุกจะได้จัดการยิงเขาทิ้งเสียระหว่างการจับกุม แต่แผนนี้ถูกทำลายไปโดยหน่วยสืบราชการลับของอังกฤษ

เดือนมีนาคม พ.ศ. 2525 มันเดลาถูกย้ายจากเกาะร็อบเบินไปยังเรือนจำโพลส์มัวร์ พร้อมกับกลุ่มผู้นำอาวุโสของเอเอ็นซี คือ วอลเตอร์ ซิซูลู แอนดรูว์ มลังเกนี อาห์เหม็ด คาธราดา และเรย์มอนด์ มฮลาบา ซึ่งเชื่อว่าได้ทำไปเพื่อลดอิทธิพลจากเหล่าผู้นำอาวุโสเหล่านี้ที่มีต่อนักโทษผิวดำอายุน้อยรุ่นใหม่ที่ถูกขังอยู่ที่เกาะร็อบเบิน และจัดตั้งกลุ่มขึ้นเรียกว่า "มหาวิทยาลัยมันเดลา" อย่างไรก็ดี โคบี โคตซี รัฐมนตรีจากพรรคชาตินิยมกล่าวว่าการเคลื่อนย้ายคราวนี้ได้ทำให้เกิดการพบปะอย่างลับ ๆ ขึ้นระหว่างพวกเขากับรัฐบาลแอฟริกาใต้

เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ประธานาธิบดี พี.ดับเบิลยู. โบทา ได้เสนอเงื่อนไขในการปล่อยตัวมันเดลาให้เป็นอิสระ โดยให้ยกเลิกการต่อสู้โดยใช้อาวุธ โคตซีกับรัฐมนตรีคนอื่น ๆ ล้วนคัดค้านโบทาเรื่องนี้ โดยกล่าวว่ามันเดลาไม่มีวันจะยินยอมให้ขบวนการของเขาปลดอาวุธเพื่อแลกกับอิสรภาพส่วนตัว มันเดลาปฏิเสธข้อเสนอนี้อย่างไม่ไยดี และยังออกแถลงการณ์ผ่านบุตรสาวของเขา ซินด์ซี โดยกล่าวว่า "ฉันจะได้อิสรภาพแบบใดกันขณะที่องค์กรแห่งผองชนยังถูกย่ำยี? มีแต่เสรีชนเท่านั้นที่จะเจรจาได้ นักโทษไม่อาจทำสัญญาใดๆ ได้"

การพบปะครั้งแรกระหว่างมันเดลากับรัฐบาลพรรคชาตินิยมเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2528 เมื่อโคบี โคตซี พบกับมันเดลาที่โรงพยาบาลโฟล์คสในเคปทาวน์ ขณะที่มันเดลาต้องไปรับการผ่าตัดต่อมลูกหมากที่นั่น[55] ตลอดเวลาสี่ปีต่อมา ก็มีการพบปะกันระหว่างทั้งสองฝ่ายกันอีกหลายครั้ง เป็นพื้นฐานของการติดต่อและเจรจาต่อรองในลำดับถัด ๆ ไป แต่ก็ไม่ได้มีความคืบหน้าอย่างจริงจังมากนัก

ตลอดช่วงเวลาที่มันเดลาติดอยู่ในคุก มีแรงกดดันทั้งในท้องถิ่นและจากนานาชาติต่อรัฐบาลแอฟริกาใต้เพื่อให้ปล่อยตัวเขา ภายใต้คำขวัญที่ว่า Free Nelson Mandela! เมื่อถึงปี พ.ศ. 2532 ประเทศแอฟริกาใต้ก็มาถึงจุดเปลี่ยน เมื่อประธานาธิบดีโบทาป่วยหนักและถูกแทนที่ด้วย เฟรเดอริค วิลเลม เดอ เคลิร์ก และได้ประกาศปล่อยตัวมันเดลาเป็นอิสระในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533

การเจรจาต่อรองหลังจากที่มันเดลาได้รับการปล่อยตัวจากคุก เขาได้กลับมาเป็นผู้นำพรรคเอเอ็นซีระหว่างปี พ.ศ. 2533-2537 และนำพรรคเข้าสู่การเจรจาร่วมหลายพรรค ซึ่งนำไปสู่การเลือกตั้งหลายชนชาติเป็นครั้งแรกของประเทศ

ปี พ.ศ. 2534 พรรคเอเอ็นซีได้จัดการประชุมระดับชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในแอฟริกาใต้หลังจากได้รับประกาศยกเลิกการแบนแล้ว และเลือกให้มันเดลาขึ้นเป็นประธานขององค์กร เพื่อนและสหายเก่าของเขาคือ โอลิเวอร์ แทมโบ ซึ่งเป็นผู้นำขบวนการภายใต้การลี้ภัยมาตลอดเวลาที่มันเดลาอยู่ในคุก ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นท่านประธานแห่งชาติ (National Chairperson)

บทบาทการเป็นผู้นำของมันเดลาในการเจรจาร่วมกันกับประธานาธิบดี เอฟ.ดับเบิลยู. เดอ เคลิร์ก เป็นที่ประจักษ์อย่างโดดเด่น และทำให้ทั้งสองได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพร่วมกันในปี พ.ศ. 2536 อย่างไรก็ดี สัมพันธภาพระหว่างคนทั้งสองในบางคราวก็ค่อนข้างตึงเครียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแลกหมัดครั้งใหญ่ใน พ.ศ. 2534 ซึ่งเขาเอ่ยถึงเดอ เคลิร์ก อย่างดุเดือดว่าเป็นหัวโจกของ "รัฐบาลเสียงข้างน้อย ไม่มีความน่าเชื่อถือ และนอกกฎหมาย" การเจรจาแตกหักนี้เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์สังหารหมู่ที่บัวปาตง ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 มันเดลานำพรรคเอเอ็นซีออกจากการเจรจา และกล่าวหารัฐบาลของเดอ เคลิร์ก ว่าสมรู้ร่วมคิดกับการสังหารหมู่ครั้งนี้ แต่การเจรจาก็ได้หวนมาดำเนินสืบต่อหลังจากการสังหารหมู่ที่บิโช ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 เมื่อเหตุการณ์ส่อให้เห็นว่ามีแต่เพียงการเจรจากันเท่านั้นจะหลีกเลี่ยงการประจันหน้าที่รุนแรงลงไปได้

หลังจากการลอบสังหารผู้นำพรรคเอเอ็นซี คริส ฮานิ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2536 ก็มีภัยชนิดใหม่เกิดขึ้นที่อาจนำประเทศไปสู่ความรุนแรงอีกครั้ง มันเดลาได้กล่าวอ้อนวอนขอให้ประเทศอยู่ในความสงบ ในสุนทรพจน์คราวนั้นเรียกกันว่าเป็นสุนทรพจน์ "ของประธานาธิบดี" แม้ว่าเวลานั้นเขาจะยังไม่ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีของประเทศ

คืนนี้ ข้าพเจ้าขอกล่าวแก่ชาวแอฟริกาใต้ทุก ๆ คน ทั้งผิวดำหรือผิวขาว จากส่วนลึกแห่งจิตใจของข้าพเจ้าโดยแท้ ชายผิวขาวคนหนึ่งที่เต็มไปด้วยอคติและความเกลียดชัง ได้มาถึงประเทศของเราและทำสิ่งที่เลวร้ายเหลือทนต่อประเทศของเรา ทำให้เรากำลังอยู่บนขอบอันหมิ่นเหม่ของหายนะ หญิงผิวขาวคนหนึ่งผู้มีกำเนิดเป็นชาวแอฟริกัน ได้เสี่ยงชีวิตของเธอเพื่อให้เราได้ตระหนักถึงการลอบสังหารนี้ และนำมาซึ่งความยุติธรรม ฆาตกรเลือดเย็นผู้สังหารคริส ฮานิ ได้ส่งคลื่นแห่งความอกสั่นขวัญหายแผ่ออกไปทั่วทั้งประเทศและทั่วโลก... บัดนี้เป็นเวลาที่ชาวแอฟริกันทุกคนจะต้องยืนขึ้นอย่างพร้อมเพรียง เพื่อต่อต้านผู้ที่หมายจะทำลายในสิ่งที่คริส ฮานิ ได้สละชีวิตอุทิศให้ นั่นคือเสรีภาพของพวกเราทุกคน
การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
การเลือกตั้งแบบหลากชนชาติครั้งแรกในแอฟริกาใต้โดยที่พลเมืองทุกคนมีสิทธิเสียงเท่ากัน เกิดขึ้นในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2537 พรรคเอเอ็นซีชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียง 62% และมันเดลาในฐานะผู้นำพรรคเอเอ็นซีได้เข้าพิธีรับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 เป็นประธานาธิบดีผิวดำคนแรกของประเทศ โดยมี เดอ เคลิร์ก จากพรรคชาตินิยม และทาโบ มเบคี เป็นรองประธานาธิบดีทั้งสองคนในการตั้งรัฐบาลผสมแห่งชาติ เขาเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2537 จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542 ได้เปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับการเหยียดสีผิวหรือชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ และได้รับความยกย่องจากนานาชาติสำหรับการอุทิศตนเพื่อการประสานไมตรีทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ มันเดลาให้การสนับสนุนแก่ชาวแอฟริกันผิวดำให้เข้าร่วมและสนับสนุนทีมสปริงบอกส์ ซึ่งเป็นทีมชาติรักบี้ของแอฟริกาใต้ ในโอกาสที่ประเทศแอฟริกาใต้ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรักบี้โลกในปี พ.ศ. 2538 หลังจากทีมสปริงบอกส์สามารถเอาชนะทีมรักบี้จากนิวซีแลนด์ได้ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ มันเดลาเป็นผู้มอบถ้วยรางวัลให้แก่กัปตันทีม ฟรังซัวส์ ปีเยนาร์ ชาวแอฟริกันซึ่งสวมเสื้อทีมสปริงบอกส์กับตัวเลข 6 บนหลังซึ่งเป็นหมายเลขประจำตัวของเขา ภาพนี้เผยแพร่ไปทั่วไปในฐานะก้าวย่างอันสำคัญแห่งการสมานฉันท์ระหว่างชนผิวขาวและผิวดำในแอฟริกาใต้

หลังจากที่เป็นประธานาธิบดี สัญลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของมันเดลาคือการสวมเสื้อบาติก ที่เรียกกันว่า "เสื้อมาดิบา" แม้กระทั่งในงานพิธีการต่าง ๆ ในการปฏิบัติการทางทหารของแอฟริกาใต้ครั้งแรกหลังจากยุติการแบ่งแยกสีผิว มันเดลาสั่งการให้กองทัพเคลื่อนเข้าไปเลโซโท ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2541 เพื่อช่วยปกป้องรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี Pakalitha Mosisili หลังจากที่มีการเลือกตั้งอันวุ่นวายและเกิดการประจันหน้ากันระหว่างฝ่ายตรงข้ามกับฝ่ายรัฐบาลที่ไร้เสถียรภาพ นักวิจารณ์จำนวนมากรวมถึงนักรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์ เช่น เอ็ดวิน คาเมรอน ได้วิพากษ์วิจารณ์มันเดลาอย่างมากในความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลของเขากับการรับมือวิกฤตการณ์โรคเอดส์ หลังจากที่เขาเกษียณแล้ว มันเดลายอมรับว่าเขาทำให้ประเทศต้องผิดหวังเนื่องจากมิได้ให้ความสำคัญกับการระบาดของเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์เท่าที่ควร นับแต่นั้นมันเดลาได้ขึ้นพูดในหลายโอกาสเพื่อรณรงค์ต่อต้านการแพร่กระจายของโรคเอดส์

การฟื้นฟูเศรษฐกิจ
หลังจากเสร็จสิ้นการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2537 รัฐบาลได้ริเริ่มโครงการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน (Reconstruction and Development Program; RDP) เพื่อสร้างความเสมอภาคทางเศรษฐกิจแก่ประชาชนหลังสิ้นสุดยุคของอาพาร์ไทด์ ซึ่งเคยมีแต่ความลำบากยากแค้นและไม่ได้รับการเหลียวแล ทำให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมในระดับมหภาคด้วย ขนาดของโครงการนี้อาจเทียบได้กับ "New Deal" ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเมื่อคราววิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรทางการเมืองทุกองค์กร

ระหว่าง พ.ศ. 2537 ถึงต้นปี พ.ศ. 2544 รัฐบาลแอฟริกาใต้ได้ให้ความช่วยเหลือในการสร้างบ้านอยู่อาศัยต้นทุนต่ำมากกว่า 1.1 ล้านหลัง เพื่อรองรับชาวแอฟริกาใต้ 5 ล้านคนจากจำนวนคนยากจน 12.5 ล้านคน ระหว่าง พ.ศ. 2537-2543 ชาวบ้านกว่า 4.9 ล้านคนที่อาศัยอยู่ตามท้องถิ่นสามารถเข้าถึงแหล่งน้ำดื่มสะอาด อีกกว่า 1.75 ล้านครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ สัดส่วนครอบครัวชนบทที่เข้าถึงระบบไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 12% เป็น 42% ปี พ.ศ. 2542 มีครอบครัวที่ได้รับประโยชน์จากการจัดสรรที่ทำกิน 3550 ตารางกิโลเมตร จำนวน 39,000 ครอบครัว เมื่อเทียบกับวาระ 4 ปีของรัฐบาล ประชาชนได้รับที่ทำกินรวม 250,000 คน จากเดือนเมษายน พ.ศ. 2537 ถึงปลายปี 2541 มีคลินิกใหม่ 500 แห่งเพื่อให้บริการสาธารณสุขแก่พลเมือง 5 ล้านคน พร้อมโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอและตับอักเสบ เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2541 ซึ่งช่วยให้เด็กๆ กว่า 8 ล้านคนมีชีวิตขึ้นมาสู่ระดับมาตรฐานภายในเวลา 2 ปี มีโครงการก่อสร้างถนนและระบบระบายน้ำ ช่วยสร้างงานแก่ประชาชน 240,000 คนตลอดเวลา 5 ปี อย่างไรก็ดี โครงการ RDP ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากว่า กว่า 30% ของบ้านต้นทุนต่ำเหล่านั้นสร้างต่ำกว่ามาตรฐาน ระบบจ่ายน้ำต้องขึ้นกับแม่น้ำและเขื่อนมากมาย และโครงการเว้นการเก็บเงินจากชาวชนบทผู้ยากจนก็ใช้เงินสูงมาก การจัดสรรที่ทำกินสามารถแจกจ่ายที่ดินออกไปได้จริงเพียง 1% และระบบสาธารณสุขไม่มีความสามารถพอจะต่อสู้กับการระบาดของโรคเอดส์ ซึ่งทำให้คุณภาพชีวิตเฉลี่ยของชาวแอฟริกาใต้ลดต่ำลงจาก 64.1% เป็น 53.2% ตั้งแต่ปี 2538 ถึง 2541

การไต่สวนคดีล็อกเคอร์บี
ประธานาธิบดีมันเดลามีความสนใจอย่างยิ่งที่จะช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทอันยาวนานระหว่าง กัดดาฟี แห่งลิเบีย กับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ โดยการร้องขอให้มีการไต่สวนผู้ต้องหาชาวลิเบีย 2 คนซึ่งถูกฟ้องร้องเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2534 ในข้อหาวางระเบิดสายการบิน แพน แอม เที่ยวบิน 103 ที่ระเบิดที่เมืองล็อกเคอร์บีในสก๊อตแลนด์ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2531 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 270 คน ช่วงต้นปี พ.ศ. 2535 มันเดลาได้แจ้งข้อเสนออย่างเป็นทางการต่อประธานาธิบดี จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช เพื่อขอให้ชาวลิเบียทั้งสองได้รับการไต่สวนในประเทศที่สาม บุชตอบรับข้อเสนอนี้อย่างยินดี เช่นกันกับประธานาธิบดี ฟรองซัวส์ มิตแตร์รองด์ แห่งฝรั่งเศส และกษัตริย์ ควน การ์โลส ที่ 1 แห่งสเปน เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2537 - หกเดือนหลังจากเขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี - มันเดลาได้ยื่นข้อเสนออย่างเป็นทางการว่า ประเทศแอฟริกาใต้ควรเป็นผู้จัดการไต่สวนคดีวางระเบิดสายการบิน แพน แอม 103

ทว่านายกรัฐมนตรีอังกฤษ จอห์น เมเจอร์ ปฏิเสธข้อเสนอนี้โดยกล่าวว่ารัฐบาลอังกฤษไม่มีความมั่นใจในการไต่สวนของศาลต่างประเทศ เวลาล่วงผ่านไปอีก 3 ปีจนกระทั่งมันเดลายื่นข้อเสนออีกครั้งต่อผู้สืบตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษคนใหม่ คือ โทนี แบลร์ ในคราวที่ท่านประธานาธิบดีไปเยือนลอนดอน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 ถัดมาในปีเดียวกัน ในที่ประชุม การประชุมกลุ่มประเทศเครือจักรภพ (Commonwealth Heads of Government Meeting หรือ CHOGM) ที่เมืองเอดินบะระ ซึ่งจัดขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2540 มันเดลาก็กล่าวเตือนว่า :

ประเทศหนึ่งประเทศใดไม่ควรเป็นทั้งผู้ร้องทุกข์ อัยการ และผู้พิพากษาในคราวเดียว


ข้อสรุปอันประนีประนอมได้ความว่าการไต่สวนจะจัดขึ้นที่ Camp Zeist ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งใช้กฎหมายของสก๊อต ประธานาธิบดีมันเดลาเริ่มการเจรจากับนายพลกัดดาฟีให้ส่งมอบตัวผู้ต้องหา (เมกราฮี กับฟีห์มาห์) ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2542 เมื่อสิ้นสุดการไต่สวนอันยาวนานกว่า 9 เดือน มีการประกาศคำตัดสินของคณะลูกขุนเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2544 ฟีห์มาห์ไม่มีความผิด แต่เมกราฮีมีความผิดและต้องโทษจำคุก 27 ปีในเรือนจำของสก๊อตแลนด์ คำอุทธรณ์ครั้งแรกของเมกราฮีถูกปฏิเสธเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2545 อดีตประธานาธิบดีมันเดลาได้เดินทางไปเยี่ยมเขาที่เรือนจำบาร์ลินนี เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2545

"เมกราฮีโดดเดี่ยวอย่างแท้จริง" มันเดลากล่าวในการแถลงข่าวสั้น ๆ ที่ห้องเยี่ยมของเรือนจำ "เขาไม่สามารถคุยกับใครได้เลย มันเป็นการประหารทางจิตใจแท้ๆ เมื่อคนๆ หนึ่งจะต้องใช้ชีวิตของเขาในการรับโทษอันยาวนานโดยอยู่เพียงลำพังคนเดียว คงจะดีกว่านี้หากเขาได้รับอนุญาตให้ย้ายไปอยู่ในประเทศมุสลิม มีประเทศมุสลิมมากมายที่ทางฝั่งตะวันตกเชื่อใจได้ ครอบครัวของเขาจะได้ไปเยี่ยมเขาได้บ้างหากเขาอยู่ในประเทศ เช่น โมร็อกโก ตูนิเซีย หรืออียิปต์"


ในเวลาต่อมา เมกราฮีได้ย้ายไปยังเรือนจำกรีน็อค และไม่ต้องถูกขังเดี่ยวอีกต่อไป วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการทบทวนคดีอาชญากรรมแห่งสก๊อตแลนด์ (Scottish Criminal Cases Review Commission) ได้มีข้อสรุปว่า หลังจากทบทวนการตัดสินโทษของเมกราฮีเป็นเวลา 3 ปี เชื่อได้ว่ามีการตัดสินลงโทษแก่ผู้มิได้กระทำความผิดจริง อ้างตามคำอุทธรณ์ครั้งที่ 2 จากศาลอุทธรณ์คดีอาชญากรรม



-----------------------

เยอะจัง.....แค่นี้ก่อนนะคะ ^^
เชิญอ่านต่อได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99_%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B2