วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สยาม...นามเดิมของประเทศไทย



สยามเมื่อกาลก่อน หรือประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ซึ่งมีประเทศอินเดียทางทิศตะวันตกและ จีนทางทิศตะวันออก ประเทศไทยมีพรมแดนด้านทิศตะวันออกจรดลาวและเขมร ทางใต้จรดอ่าวไทยและมาเลเชีย ฝั่งตะวันตกจรดทะเลอันดามันและพม่า มีพื้นที่ประมาณ 200,148 ตารางไมล์ หรือประมาณ 514,000 ตารางกิโลเมตร มีประชากรรวมทั้งสิ้นประมาณ 62,418,054 คน (จากข้อมูลสถิติประชากรปี 2548 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
"สยาม" คือชื่อเดิมของประเทศไทย ซึ่งเคยใช้เรียกอย่างเป็นทางการ จวบกระทั่ง*วันที่ 17 เดือน กันยายน พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) ในสมัยของรัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก"ประเทศสยาม" เป็น "ประเทศไทย" ทั้งในภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ และในปีพ.ศ.2483 นี้ ด้วยเช่นกันที่รัฐบาลของหลวงพิบูลฯ ได้ประกาศยกเลิกการใช้วันที่ 31 มีนาคมเป็นวันสิ้นปี และวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับสากลนิยม จึงประกาศให้วันที่ 31 ธันวาคมเป็นวันสิ้นปี และวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
(จากหนังสือ เจ้าชีวิต-สยามก่อนยุคประชาธิปไตย พระนิพนธ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์)

ก่อนกรุงศรีอยุธยาจะแตกในปี พ.ศ. 2310 นั้นพม่าได้ยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ปี พ.ศ.2308 พระยาตากซึ่งเป็นเจ้าเมืองตากอยู่ถูกเรียกเข้ามาช่วยป้องกันกรุงศรีอยุธยา ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2310 พระยากตากได้นำทหารราว 1,000 คน ตีฝ่าด่านพม่าหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาไปรวบรวมผู้คนไว้สู้พม่าที่เมืองจันทบูรณ์ในที่สุดกรุงศรีอยุธยาก็ถูกพม่าตีแตกเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 พระยาตากได้รวบรวมผู้คนอยู่จนถึงเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันนั้นก็ยกทัพกลับมาตีทัพพม่าที่ตั้งมั่นอยู่ที่ค่ายโพธิสามต้น อยุธยา และตีค่ายพม่าแตกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 พม่าถูกฆ่าตายเป็นอันมากที่รอดตายก็แตกพ่ายหนีกลับพม่าไป พระยาตากจึงได้กลายเป็นผู้นำคนสำคัญของประเทศในขณะนั้นและเลือกกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง พระเจ้าตากสินมหาราชทรงครองราชย์ ระหว่าง ปี พ.ศ. 2310 ถึงปี พ.ศ. 2325 และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครฯขึ้นเป็นเมืองหลวง เมื่อ พ.ศ. 2325

และหลังจากนั้นก็ปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาจนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 "คณะราษฎร" ได้ทำการยึดอำนาจในการปกครองของประเทศ และเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475

-------------------------------------

ประวัติคร่าวๆของคำว่า "สยาม"สยาม (อักษรละติน: Siam) (สันสกฤต: श्याम) เป็นชื่อเรียกของประเทศไทยในสมัยโบราณ แต่มิใช่ชื่อที่คนไทยใช้เรียกตนเอง สยามเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของไทยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา แต่ได้มีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น "ไทย" เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ในอดีตพระมหากษัตริย์ไทยทรงใช้ชื่อ สยาม ในการทำสนธิสัญญากับต่างชาติเป็นเวลาหลายศตวรรษ อันเนื่องมาจากอาณาจักรสยามนี้ประกอบด้วยคนหลายชาติพันธุ์ อาทิ ไท ลาว มอญ ญวน เขมร แขก จีน ฝรั่ง และมลายู พระมหากษัตริย์ไทยจึงเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า ประเทศสยาม เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชน อีกทั้ง ชื่อ สยาม นั้น ก็ยังคงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในวงการวิชาการของต่างประเทศอีกด้วย

ในปัจจุบันอาจมีความพยายามที่จะเอาชื่อประเทศไทย กลับไปเป็นชื่อสยาม แต่จะเห็นว่าสยาม คนไทยเดิมไม่เรียกตัวเองอย่างนั้น แต่เป็นคนกลุ่มมอญ-เขมร ที่เรียกคนที่ใช้ภาษาตระกูลไท-ลาว เดี๋ยวนี้ชาวบรู (มอญ-เขมร) ในเขตมุกดาหาร เรียกพวกผู้ไท ว่าเซียม รวมถึงในเขตจีน-พม่า คนไท มักถูกพวกละว้า เรียกว่าเซียม และโดยลักษณะการเรียกชื่อชนชาติอื่น ส่วนมากเป็นคำไม่ค่อยดี เซียมหรือสยาม อาจเป็นคำที่ไม่ค่อยดีก็ได้ เหมือนที่จีนเรียกพวกไท ว่า ไป่เยว่ หรือลาว เรียกพวกที่พูดภาษามอญ-เขมร ในลาว ว่า "ข่า" เป็นต้น พอไม่รู้ความหมายก็เอาคำว่า "ข่า" ไปเป็นชื่อชนชาติไป ทั้งที่มาจากการเหยียดหยาม

นายปรีดี พนมยงค์ เคยเขียนไว้ว่า
"มีการใช้ชื่อสยามมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จนถึงสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงนำกฎหมายเก่ามาชำระและรวบรวมเป็นกฎหมายตราสามดวง ชื่อประเทศได้รับการบันทึกเป็นภาษาบาลีว่า "สามปเทส" สาม หรือ สามะ แปลว่าความเสมอภาค ส่วน ปเทส แปลว่า ประเทศ แต่ฝรั่งออกเสียงเพี้ยน เป็นเซียมหรือไซแอม"

ส่วนนายจิตร ภูมิศักดิ์ เคยกล่าวไว้ว่า
"สยาม อาจเป็นคำมาจากภาษาสันสกฤตว่า ศยาม ซึ่งแปลว่า สีดำ สีคล้ำ สีทอง ฯลฯ นั้น ดูเหมือนจะเป็นความเห็นดั้งเดิมที่แพร่หลายมากที่สุด และแทบจะยอมรับกันเป็นความจริงชี้ขาดเรื่องชื่อสยามทีเดียว"

แฝดสยามชื่อก้องโลก "อิน-จัน"

ซ้าย - นายอิน แฝดผู้พี่ และ ขวา - นายจัน แฝดผู้น้อง


อิน-จัน (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2354 — 17 มกราคม พ.ศ. 2417) เป็นชื่อของฝาแฝดสยาม ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก โดยเป็นที่มาของคำว่า "แฝดสยาม" เนื่องจากเกิดที่ประเทศสยาม (ประเทศไทย)ฝาแฝดที่มีหน้าอกติดกันและใช้ตับร่วมกัน คู่แรกของโลกที่สามารถดำรงชีพเหมือนคนธรรมดาได้ตลอดชีวิต

อิน-จันได้สัญชาติอเมริกันเมื่อปี พ.ศ. 2382 และใช้นามสกุลว่า บังเกอร์ (Bunker) มีลูกหลานสืบตระกูลมาจนถึงทุกวันนี้ ชื่อเสียงของอิน-จัน ทำให้เกิดคำเรียกแฝดตัวติดกันว่า แฝดสยาม (Siamese twins) ตามชื่อเรียกประเทศไทยในเวลานั้น

ฝาแฝดอิน-จัน เป็นฝาแฝดที่มีตัวติดกันทางส่วนหน้าอก (บันทึกของชาวตะวันตกบอกว่า เนื้อที่เชื่อมกันระหว่างอกนี้สามารถยืดได้จนทั้งคู่สามารถหันหลังชนกันได้)

อิน-จัน เกิดตรงกับรัชสมัยรัชกาลที่ 2 ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน ที่จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีบิดาเป็นชาวจีนอพยพแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 ชื่อ นายที มารดาเป็นคนไทยชื่อ นางนาก (บันทึกของชาวตะวันตกเรียกว่า นก (Nok)) ซึ่งฝาแฝดคู่นี้สามารถเติบโตและใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ แตกต่างไปจากแฝดติดกันคู่อื่น ๆ ที่มักเสียชีวิตหลังคลอดได้ไม่นาน

ตามกฎหมายในเวลานั้น ทั้งคู่ต้องถูกประหารชีวิตเนื่องจากความเชื่อที่ว่าเป็นตัวกาลกิณี แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็หาได้มีเหตุการณ์ใด ๆ ตามความเชื่อไม่ โทษนั้นจึงได้รับการยกเลิก

เมื่อทั้งคู่อายุได้แค่ 2 ขวบ บิดาก็เสียชีวิตลงด้วยอหิวาตกโรค ภาระจึงตกอยู่ที่มารดาแต่เพียงผู้เดียว แฝดทั้งคู่จึงช่วยเหลือมารดาเท่าที่เด็กในวัยเดียวกันจะทำได้ เช่น จับปลา ขายน้ำมันมะพร้าว และทำไข่เค็มขาย จนในปี พ.ศ. 2367 ความพิเศษของเด็กทั้งคู่ทราบไปถึงพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นางนากและอิน-จันเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท แล้วในปี พ.ศ. 2370 ก็มีพระบรมราชานุญาตให้อิน-จันได้เดินทางร่วมไปกับคณะทูตเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศโคชินไชน่า (เวียดนามในปัจจุบัน)

ในปี พ.ศ. 2367 นายโรเบิร์ต ฮันเตอร์ พ่อค้าชาวอังกฤษ หรือที่คนไทยสมัยนั้นเรียกว่า "นายหันแตร" ได้นั่งเรือผ่านแม่น้ำแม่กลอง และได้พบแฝดคู่นี้กำลังว่ายน้ำเล่นอยู่ ด้วยความประหลาดและน่าสนใจ นายฮันเตอร์จึงคิดที่จะนำฝาแฝดคู่นี้ไปแสดงโชว์ตัวที่สหรัฐอเมริกา จึงเข้าทำความสนิทสนมกับครอบครัวของฝาแฝดอยู่นานนับปี จนพ่อแม่ของทั้งคู่ไว้วางใจ ในที่สุดนายอาเบล คอฟฟิน กัปตันเรือสินค้า เดอะ ชาเคม (The Sachem) ซึ่งขณะนั้นได้เข้ามาทำการค้าในประเทศไทย ก็เป็นผู้นำตัวคู่แฝดออกเดินทางจากประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2372 ขณะนั้นอิน-จัน อายุได้ 18 ปี โดยใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 138 วัน จึงถึงเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ และที่นี่เองที่คู่แฝดได้ทำการเปิดตัว ก่อนจะออกเดินทางแสดงทั่วอเมริกาและยุโรปอีกร่วม 10 ปี (เอกสารบางฉบับบอกว่า ไม่ได้เริ่มที่บอสตัน แต่ไปตั้งหลักที่รัฐแคลิฟอร์เนีย) โดยสัญญาที่ทำไว้กับนายฮันเตอร์และนายคอฟฟินสิ้นสุดลงเมื่อทั้งคู่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ โดยในช่วง 2 ปีแรก ทั้งคู่ก็ได้รับส่วนแบ่งค่าตอบแทน แต่ก็มีบางครั้งก็ถูกเอาเปรียบด้วย เมื่อเป็นอิสระทั้งคู่ก็เปิดการแสดงเอง และได้แสดงไปทั่วสหรัฐอเมริกา

จนเมื่ออายุได้ 28 ปี ใน พ.ศ. 2382 ทั้งคู่ก็ได้ลงหลักปักฐานที่หมู่บ้านแทรปฮิลล์ (Traphill) เขตชานเมืองวิลส์โบโร (Wilkesboro) เคาน์ตีวิลส์ ในรัฐนอร์ทแคโรไลนา พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อและเปลี่ยนสัญชาติเป็นอเมริกัน โดยมีชื่อว่า เอ็ง-ชาง บังเกอร์ (Eng and Chang Bunker) พร้อมกับได้แต่งงานกับหญิงชาวอเมริกัน และมีลูกด้วยกันหลายคน ซึ่งระหว่างที่ทั้งคู่ใช้ชีวิตในต่างประเทศนั้น มีความพยายามหลายครั้งจากหลายบุคคลที่จะทำการผ่าตัดแยกร่างทั้งคู่ออกจากกัน แต่ท้ายที่สุดก็มิได้มีการดำเนินการจริง ๆ

จากบันทึกที่ได้บันทึกไว้ ระบุว่า จัน (คนน้อง) เป็นคนที่มีอารมณ์ร้อน หุนหันพลันแล่น และชอบดื่มสุราจนเมามาย ขณะที่ อิน (ผู้พี่) กลับมีนิสัยตรงกันข้าม คือ ใจเย็น สุขุมกว่า และไม่ทานเหล้า อีกทั้งทั้งคู่เคยทะเลาะวิวาทจนถึงขั้นชกต่อยกันเองมาแล้วด้วย

จากการที่จันผู้น้องนิยมดื่มเหล้าจนเมามายบ่อย ๆ ทำให้เป็นโรคหลายโรค จนในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2417 จันก็เสียชีวิตลงด้วยอาการหัวใจวาย จากนั้นอีกราว 2 ชั่วโมงถัดมา อินก็ได้เสียชีวิตตามไปด้วย ซึ่งจากการชันสูตรและลงความเห็นของแพทย์สมัยใหม่ ระบุว่า อินต้องสูญเสียเม็ดเลือดแดงให้แก่จันที่เสียชีวิตไปแล้ว ผ่านทางเนื้อที่เชื่อมกันที่อก ทั้งคู่เสียชีวิตขณะที่มีอายุได้ 63 ปี

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99

155th Heinrich Rudolph Hertz

สืบเนื่องจาก Google เมื่อวันก่อน มีลายใหม่ๆที่น่าสนใจอีกแว้วววววววว เรามาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าคราวนี้จะเป็นเรื่องอะไร...คราวนี้ขออินเตอร์สักหน่อย อัพเป็นภาษาอังกฤษละกัน อิอิ ^^





Heinrich Rudolf Hertz was born in Hamburg, Germany. His father was a prominent lawyer and legislator. In his youth Heinrich enjoyed building instruments in the family workshop. Hertz began his college studies at the University of Munich. After a short time he transferred to the University of Berlin, where he received his Doctor of Philosophy degree magna cum laude. In Berlin he was an assistant to Hermann von Helmholtz, one of the foremost physicists of the time. In 1883 Hertz became a lecturer in theoretical physics at the University of Kiel. Two years later he was appointed professor of physics at Karlsruhe Polytechnic. In the 1880s physicists were trying to obtain experimental evidence of electromagnetic waves. Their existence had been predicted in 1873 by the mathematical equations of James Clerk Maxwell, a British scientist. (portrait courtesy)

In 1887 Hertz tested Maxwell's hypothesis. He used an oscillator made of polished brass knobs, each connected to an induction coil and separated by a tiny gap over which sparks could leap. Hertz reasoned that, if Maxwell's predictions were correct, electromagnetic waves would be transmitted during each series of sparks.

To confirm this, Hertz made a simple receiver of looped wire. At the ends of the loop were small knobs separated by a tiny gap. The receiver was placed several yards from the oscillator. According to theory, if electromagnetic waves were spreading from the oscillator sparks, they would induce a current in the loop that would send sparks across the gap. This occurred when Hertz turned on the oscillator, producing the first transmission and reception of electromagnetic waves. Hertz also noted that electrical conductors reflect the waves and that they can be focused by concave reflectors. He found that nonconductors allow most of the waves to pass through. Another of his discoveries was the photoelectric effect. In 1889 Hertz was appointed professor of physics at the University of Bonn. (reference)

Hertz opened the way for the development of radio, television, and radar with his discovery of electromagnetic waves between 1886 and 1888. James Clerk Maxwell had predicted such waves in 1864. Hertz used a rapidly oscillating electric spark to produce waves of ultrahigh frequency. He showed that these waves caused similar electrical oscillations in a distant wire loop. He also showed that light waves and electromagnetic waves were identical (see Electromagnetism). Hertz was born in Hamburg.

Heinrich Hertz was posthumously recognized for his contributions to research in the field of electromagnetics by the International Electrotechnical Commission in 1930 by having the unit of measurement of frequency name hertz. This unit replaced the earlier used measurement of cycles per second and was in widespread used by the 1970s. Today the unit hertz is used in everything fromradio broadcasting to measuring the frequency of light reflected by printer inks to measuring the speed of computer processing chips and much much more.