วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

ฮาร์พซิคอร์ด : Clavecin



Clavecin
Un clavecin est un instrument de musique à cordes muni d'un ou plusieurs[note 1] claviers dont chacune des cordes est « pincée » par un dispositif nommé sautereau.

Terme générique, il désigne différents instruments d'une même famille, distincts par leur structure, leur forme, leurs dimensions ou leur timbre, chacun d'entre eux ayant souvent un nom spécifique. Le mot « clavecin », au sens restrictif, désigne alors le plus grand, le plus complet et le plus techniquement développé d'entre eux, généralement appelé « grand clavecin ».

Instruments spécifiques de la musique européenne, les clavecins ont connu leur apogée et suscité un très large répertoire au cours des XVIIe et XVIIIe siècles avant de connaître une longue éclipse pendant tout le XIXe. Ils ont retrouvé la faveur des musiciens et du public depuis le début du XXe siècle.

Comme pour l'orgue, la puissance des sons émis ne dépend pas de la force avec laquelle le claveciniste frappe les touches, c'est la présence de registres affectés à chacun des claviers qui permet de varier les timbres. Pendant toute la période « baroque », le clavecin a été un des instruments privilégiés de l'écriture en contrepoint et de la réalisation de la basse continue. Mais ses possibilités expressives se sont révélées moins appropriées au style du classicisme naissant, et surtout par la suite, à la sensibilité du romantisme. Les compositeurs lui ont préféré le piano-forte, puis le piano nouvellement inventés. C'est à l'occasion de la redécouverte de la musique ancienne que le clavecin a connu son actuel renouveau.

Cet article traite par priorité le grand clavecin. Cependant tous les instruments de la famille partagent une histoire et des techniques de facture communes, ainsi qu'un répertoire en grande partie commun : les points qui leur sont propres sont traités dans des articles séparés.



Description
Les descriptions ci-dessous s'appliquent généralement, quoique avec de nombreuses variantes, aux clavecins historiques fabriqués au cours des XVIIe et XVIIIe siècles ainsi qu'aux instruments contemporains dont la facture s'inspire aujourd'hui, le plus souvent, de leur modèle. Les clavecins « modernes » fabriqués au début et pendant la première partie du XXe siècle pouvaient avoir des caractéristiques assez différentes : un paragraphe spécial leur est consacré.

Le grand clavecin a la forme d’une harpe disposée horizontalement[2]. Cette forme est proche de celle d'un triangle rectangle dont l'hypoténuse serait concave. Le ou les claviers sont placés sur le petit côté de l'angle droit. Les cordes, sont disposées horizontalement, dans une direction perpendiculaire au(x) clavier(s)[note 2].

L'instrument mesure environ de 2 à 2,5 mètres de long sur un mètre de large. Son étendue couvre environ cinq octaves et n'a jamais été normalisée[note 3]. La structure est en bois : contrairement au piano, le clavecin à l'ancienne[note 4] ne comporte pas de cadre métallique ; léger, il peut aisément être déplacé par deux personnes.



เพิ่มเติมได้ที่... http://fr.wikipedia.org/wiki/Clavecin

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

Bon voyage : อุทยานแห่งชาติ เอราวัณ


Voyage - VieTrio

คลับ music-is-life : Voyage - VieTrio



ปิดเทอมแล้ว ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นนักเรียนหลายๆคนคงจะเตรียมตัวไปเที่ยวกันแล้วสินะคะ เพื่อนๆของคนเขียนเค้าก็ไปหัวหินกัน แต่คนเขียนไม่ได้มีโอกาสไปไหนหรอก เพราะไม่มีตังค์...จริงๆแล้วค่าเทอมยังไม่ได้จ่ายเลย...(ฮา) แต่วันนี้คนเขียนขอมาเล่าถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่คนเขียนชอบสักหน่อย นั่นก็คือ "อุทยานแห่งชาติเอราวัณ" หรือ น้ำตกเอราวัณ ที่หลายๆคนรู้จักนั่นเอง 555+



น้ำตกเอราวัณ อุทยานแห่งชาติเอราวัณ

อุทยานแห่งชาติเอราวัณ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอเมือง อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี น้ำตกเอราวัณ เป็นน้ำ ตกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศด้วยอาณาเขตอันกว้างขวาง ประกอบไปด้วยภูเขาสูง หน้าผา น้ำตกเอราวัณ และน้ำตกอื่น ๆ ถ้ำ และทิวทัศน์ที่งดงามตามธรรม ชาติ ทั้งการคมนาคมที่สะดวก จึงทำให้อุทยานฯ เอราวัณ เป็นที่นิยมของ นักท่องเที่ยวเป็นอันมาก โดยมีเนื้อที่ประมาณ 550 ตารางกิโลเมตร หรือ 343,750 ไร่



ประวัติความเป็นมา
สมัย ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีได้มีมติการประชุมเมื่อ วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502 ให้กระ ทรวงเกษตร (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบัน) ดำเนินการจัดตั้ง ป่าเทือกเขาสลอบ ท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี และป่าอื่นๆ ในท้องที่จังหวัด ต่าง ๆ รวม 14 ป่า ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ไป ดำเนินการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 - 2515 โดยใช้บริเวณ น้ำตกเอราวัณ เป็นศูนย์กลางการสำรวจ พบว่าบริเวณป่าเทือกเขาสลอบ จัง หวัดกาญจนบุรี มีธรรมชาติที่สวยงามเป็นพิเศษและมีทรัพยากรธรรมชาติ ที่อุดมสมบูรณ์ ตามรายงานผลการสำรวจอุทยานแห่งชาติเขาสลอบ ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2516 ของนายวิจารณ์ สาระนาค นักวิชาการป่าไม้โท แต่ทั้งนี้พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตหวงห้ามที่ดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนด เขตหวงห้ามที่ดิน ในท้องที่อำเภอเมือง อำเภอวังขนาย อำเภอบ้านทวน และอำเภอวังกะ จังหวัดกาญจนบุรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 55 ลงวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2481 โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและ กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาดัง กล่าว กรมป่าไม้จึงรายงานให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แจ้งให้กระ ทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ตามหนังสือ ที่ กษ 0705/20251 และ 20252 ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2515 ขอเพิกถอนพื้นที่เขตหวง ห้ามที่ดินบางส่วนที่เป็นป่าเทือกเขาสลอบ เพื่อเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 6/2517 เมื่อ วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2517 เห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ ได้ และให้ใช้ชื่อว่า “ อุทยานแห่งชาติเอราวัณ ” ตามความนิยมและคุ้นเคย ของประชาชนที่รู้จัก น้ำตกเอราวัณ เป็นอย่างดี กระทรวงกลาโหมแจ้งไม่ขัด ข้อง ตามหนังสือกระทรวงกลาโหม ที่ กห.0318/23505 ลงวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2517 และกระทรวงมหาดไทยไม่ขัดข้อง กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการ ขอเพิกถอนที่ดินหวงห้ามบริเวณดังกล่าว โดยมีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอน ที่ดินหวงห้ามดังกล่าวลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2518 และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาสลอบ ใน ท้องที่ตำบลไทรโยค ตำบลท่าเสา ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค ตำบลหนอง เป็ด ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ และตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จัง หวัดกาญจนบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2518 ซึ่งประกาศไว้ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 114 ลงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2518 นับ เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 11 ของประเทศ

จุดเด่นที่น่าสนใจ
น้ำตกเอราวัณ เป็นลักษณะน้ำตกที่มีระยะทางยาวประมาณ 1,500 เมตร ติดต่อกันซึ่งแบ่งออกเป็นชั้น ๆ ได้ 7 ชั้นด้วยกัน แต่ละ ชั้นมีความสวยงามร่มรื่นไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ทั้งเถาวัลย์พันเกี่ยว ทอดตัวไปบนต้นไม้ใหญ่ กล้วยไม้ป่าหลายชนิดบนคาคบไม้ สายธาร น้ำที่ไหลตกลดหลั้นลงมาบนโขดหินสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง เสี่ยงสาดซ่า คลอเคล้าด้วยส่งเสียงเรียกของนกป่า ทำให้สภาพความเป็นธรรมชาติ สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น นับเป็นบรรยากาศที่เรียกเอาความมีคุณค่าของป่า เขาลำเนาไพรซึบซับเข้าสู่อารมณ์ผู้ใฝ่หาความสันโดษ และรักธรรม ชาติโดยแท้จริง ในชั้นที่ 7 อันเป็นชึ้นบนสุดของน้ำตก เมื่อมีน้ำตก ไหลบ่าจะมีรูปคล้ายหัวช้างเอราวัณ จนคนทั่วไปรู้จักและขนานนามว่า “ น้ำตกเอราวัณ ”

น้ำตกผาลั่น เป็นน้ำตกชั้นเดียวจะมีน้ำเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น

ถ้ำพระธาตุ เป็นถ้ำมืดที่สวยงาม มีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 790 เมตร อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยาน แห่งชาติประมาณ 12 กิโลเมตร



ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ มีลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาสูงชันอยู่ สูงจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 165 - 996 เมตร สลับกับพื้นที่ราบโดย ภูเขาส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาหินปูน (Lime Stone) ในแถบตะวัน ออกของพื้นที่จะยกตัวสูงขึ้นเป็นแนว โดยเฉพาะบริเวณใกล้น้ำ ตกเอราวัณจะมีลักษณะเป็นหน้าผา ในพื้นที่ซีกตะวันออกนี้จะมี ลำห้วยที่สำคัญคือ ห้วยม่องไล่ และห้วยอมตะลา ซึ่งไหลมาบรร จบกันกลายมาเป็น น้ำตกเอราวัณ ทางตอนเหนือของพื้นที่จะพบ ห้วยสะแดะและห้วยหนองมน โดยห้วยสะแดะจะระบายน้ำลงสู่ เขื่อนศรีนครินทร์ ส่วนห้วยหนองมนจะไหลไปรวมกับห้วยไทร โยค ก่อให้เกิดน้ำตกไทรโยคส่วนทางทิศใต้เป็นต้นกำเนิดของลำ ห้วยหลายสาย เช่น ลำห้วยเขาพัง เป็นต้น ก่อให้เกิดน้ำตกที่สวย งาม ซึ่งเรียกว่า น้ำตกเขาพัง หรือน้ำตกไทรโยคน้อย

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของ อุทยานแห่งชาติเอราวัณ แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ
1. ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม
2. ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
3. ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
แต่ อุทยานแห่งชาติเอราวัณ ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตก เฉียงใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือช่วยพัดพาให้เกิดฝน แต่เนื่องจาก พื้นที่อยู่ในเขตเงาฝน จึงมีปริมาณฝนตกไม่มากนัก และอากาศค่อน ข้างร้อน จากลักษณะอากาศดังกล่าว จึงไม่เป็นปัญหาต่อการเที่ยวชม อุทยานแห่งชาติเอราวัณ สามารถไปเที่ยวได้ทุกฤดู

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
สภาพป่าที่น้ำตกเอราวัณ ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่ สำคัญ ได้แก่ มะค่าโมงตะเคียนทอง ประดู่ กว้าว มะกอก ตะแบก ฯลฯ นอกนั้นเป็นป่าเต็งรัง มีพันธุ์ไม้ คือ เต็ง รัง เหียง พลวงพยอม มะค่า แต้ เป็นต้น
สัตว์ป่าประกอบด้วยสัตว์นานาชนิด ได้แก่ นกแว่น นกกระแต แต้เว๊ด ไก่ฟ้าพญาลอ นกกระปูด นกกางเขนดง นกสาริกา นกขุนทอง ชะนี กวาง อีเก้ง ไก่ป่า หมูป่า กระต่ายป่า กระรอกบิน เสือ เป็นต้น

การเดินทาง
การเดินทางไป น้ำตกเอราวัณ สามารถใช้เส้นทางได้ 2 ทาง คือ
1. เริ่มต้นจากตัวจังหวัดกาญจนบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดิน หมาย เลข 323 ถึงเขตการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเขื่อนศรีนครินทร์ ข้ามสะพานไปยังตลาดเขื่อนศรีนครินทร์ แล้วจึงเลยเข้าไปยังที่ทำการ อุทยานฯ ระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 66 กิโลเมตร ถึง น้ำตกเอราวัณ
2. ถ้าเดินทางมาจากอุทยานแห่งชาติไทรโยค จะมีเส้นทางบริเวณ บ้านวังใหญ่อยู่ตอนใต้ของน้ำตกไทรโยคน้อยประมาณ 6 กิโลเมตร ลัด ออกไปบ้านโป่งปัดบริเวณเขื่อนท่าทุ่งนาระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข 323 อีกประมาณ 30 กิโลเมตร ก็จะ ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ






2 จุดนี้คนเขียนเคยไปมาแล้วเจ้าค่ะ

จำได้ว่าตอนที่ไปนั้น กว่าจะถึงเล่นเอาเหนื่อยเหมือนกัน เพราะกว่าจะถึงน้ำตกนั้น ต้องเดินขึ้นไปอีกนะคะ แต่ไปแล้วก็สวยมากค่ะ สำหรับคนที่ไม่ค่อยได้ออกไปไหนอย่างคนเขียน อิอิ นี่ขนาดเดินออกมาทำข้อสอบ Natda(ที่ยังไม่ได้เต็มสักที)ที่ Lotus ใกล้บ้านแค่นี้ ก็โดนแม่ด่าล่ะ ทั้งที่ๆเคยออกมาก็แค่ 3 ครั้ง (กลับไปโดนด่าอีกเรา...TTTT^TTTT)

กลับมาเข้าเรื่องดีกว่า...ตอนนั้นก็ไปกับครอบครัว น้าและลูกพี่ลูกน้องของแม่ สนุกดีค่ะ

สุดท้ายนี้ ไหนๆก็เขียนเรื่องการเดินทางทั้งที ก็ขอนำเสนอ เพลงใหม่ของ VieTrio นะคะ (นั่น...ขายของอีกแล้ว ไม่รู้จะรักอะไรนักหนา แหม..ทำไงได้หลงรักเฮียเป้ เจ๊ป่าน พี่ปุย ไปแล้วอ่ะ 555+) ชื่อเพลง Voyage ค่ะ เพลงที่ คนเขียนตั้งใจเอาไว้บนสุดนั่นล่ะค่ะ อิอิ

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

Les Filles de Cadix - Léo Delibes

วันนี้ขอนำเสนอ เพลงที่เป็นอุปรากรภาษาฝรั่งเศส เพลงหนึ่งนะคะ ซึ่งเพลงนี้คนเขียนได้ฟังครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ ที่ 25 ที่ผ่านมานี่เอง ในรายการ ดนตรี กวี ศิลป์ ที่ได้นำเยาวชนจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล มาแสดงความสามารถ พอได้ฟังก็รู้สึกชอบ ถึงแม้จะฟังไม่ออกว่ามันร้องว่าอย่างไร...ฮา อย่าว่าแต่จับใจความว่าแปลว่าอะไรเล้ยยย แค่ฟังว่าเขาร้องคำว่าอะไรยังลำบาก อิอิ เพลงนี้มีชื่อเพลงว่า "Les Filles de Cadix" แต่งโดย Léo Delibes ค่ะ



Lyric:

Nous venions de voir le taurreau,
Trois garçon, trois fillettes,
Sur la pelouse il faisait beau
Et nous dansions un boléro
Au son des castagnettes.
Dites-moi, ce matin,
Si j'ai bonne mine,
Vous me trouvez la taille fine?
Vous me trouvez la taille fine?

Ah!ah!Ah!ah!
Les filles de Cadix aiment assez cela!
Ah!ah!Ah!ah!
Les filles de Cadix aiment assez cela!
La-la-la...
Les filles de Cadix aiment assez cela!
Ah!ah!Ah!ah!

Et nous dansions un boléro,
Un soir c'était dimanche
Vers nous s'en vint un hidalgo,
Cousu d'or, la plume au chapeau,
Et le poing sur la hanche:

"Si tu veux de moi,
Brune au doux sourire?
Tu n'as qu'a le dire
Cet or est à toi.
Passez votre chemin beau, sire.
Passez votre chemin beau, sire...

Ah!ah!Ah!ah!
Les filles de Cadix aiment assez cela!
Ah!ah!Ah!ah!
Les filles de Cadix aiment assez cela!
La-la-la...
Les filles de Cadix aiment assez cela!
Ah!ah!Ah!ah!

Review :
This energetic and lighthearted song was composed during 1885 and 1886, to words by Alfred de Musset (1810 - 1857).

Opening in an Allegretto con moto tempo, the accompaniment in D minor is a kind of Spanish trumpet-call dance melody, harmonized in thirds against a steady, pedal-point, guitar-like staccato bass played with subdued intensity at a piano dynamic. The accompaniment changes to a steady guitar strum as the voice enters, the first ascent of which bears a striking resemblance to the gypsy song "Les tringles des sistres tintaient" sung by Carmen, Frasquita, and Mercedes at a "suburban resort of smugglers" in Act II of Bizet's famous opera Carmen (1873 - 1874). The topmost notes of the two melodies are different and the rhythm accent is slightly shifted. However, this is probably only a Spanishism of the period because the rest of the tune goes decidedly along its own path.

"Nous venions de voir le taureau, Trois garcons, trois fillettes" (Three boys and three girls, we went to see the bull). There are some lovely mellismatic turns on the word "fillettes." "Sur la pelouse il faisait beau, Et nous dansions un boléro An son des castagnettes" (Outside the arena it was beautiful, and we danced the bolero to the sound of castanets). The opening ascending melody repeats and then reaches beyond the octave for a lovely grace note before descending an octave on the word "boléro." Another lovely mellisma occurs on the last part of "castegnettes" against a rich dominant ninth chord in a castanet rhythm.

The melody ritards slightly as the music becomes quieter, more intimate and seductive: "Dîtes-moi, voisin, Si j'ai bonne mine, Et si ma basquine Va bien ce matin. Vous me trouvez la taille fine? Vous me trouvez la taille fine?" (Tell me, neighbor, if I look good, and if my skirt is becoming this morning, do you find my waist slender? Do you find my waist slender?).

Made up of many "Ah"s and "la ra la la"s and the line "Les filles de Cadix aiment assez cela" (The girls of Cadiz rather like [to hear] that), the next 24 measures are filled with a glorious vocalise built of trills, arpeggios, chromatic runs, and rhythmic punctuations on repeated notes.

The beginning instrumental introduction is repeated again and all of the above music is recapitulated almost exactly to set the words of the second verse and vocalise: "And we danced a bolero, one evening until it was Sunday. A cavalier came our way, with lace of gold, a feather in his hat, and his fist on his hip. If you will be mine, with your dark and soft smile, you have but to say, and this gold will be yours. Go on your way, handsome sir, go on your way...The maids of Cadiz don't pay attention to such words." ~ "Blue" Gene Tyranny, Rovi.

คนเขียนไม่คุ้นเคยกับ 2 ภาษานี้สักเท่าไหร่ เหอๆๆๆๆๆๆๆ มีข้อผิดพลาดอย่างไรก็ต้องขออภัยด้วยนะเจ้าคะ ^^

มาร์โก โปโล (Marco Polo)


Marco Polo (English pronunciation: /ˈmɑrkoʊ ˈpoʊloʊ/; Italian pronunciation: [ˈmarko ˈpɔːlo]) (c. 1254 – January 8, 1324) was a Christian merchant from the Venetian Republic who wrote Il Milione, which introduced Europeans to Central Asia and China. He learned about trading whilst his father and uncle, Niccolò and Maffeo, travelled through Asia and met Kublai Khan. In 1269, they returned to Venice to meet Marco for the first time. The three of them embarked on an epic journey to Asia, returning after 24 years to find Venice at war with Genoa; Marco was imprisoned, and dictated his stories to a cellmate. He was released in 1299, became a wealthy merchant, married and had 3 children. He died in 1324, and was buried in San Lorenzo.

Il Milione was translated, embellished, copied by hand and adapted; there is no authoritative version. It documents his father's journey to meet the Kublai Khan, who asked them to become ambassadors, and communicate with the pope. This led to Marco's quest, through Acre, into China and to the Mongol court. Marco wrote of his extensive travels throughout Asia on behalf of the Khan, and their eventual return after 15,000 miles (24,140 km) and 24 years of adventures.

Their pioneering journey inspired Columbus and others. Marco Polo's other legacies include Venice Marco Polo Airport, the Marco Polo sheep, and several books and films. He also had an influence on European cartography, leading to the introduction of the Fra Mauro map.

Life :
From childhood through to Genoese captivity
The exact time and place of Marco Polo's birth are unknown, and current theories are mostly conjectural. However, the most quoted specific date is somewhere "around 1254",[Note 2] and it is generally accepted that Marco Polo was born in the Venetian Republic. While the exact birthplace is unknown, most biographers point towards Venice itself as Marco Polo's home town. His father Niccolò was a merchant who traded with the Middle East, becoming wealthy and achieving great prestige. Niccolò and his brother Maffeo set off on a trading voyage, before Marco was born. In 1260, Niccolò and Maffeo were residing in Constantinople when they foresaw a political change; they liquidated their assets into jewels and moved away. According to The Travels of Marco Polo, they passed through much of Asia, and met with the Kublai Khan. Meanwhile, Marco Polo's mother died, and he was raised by an aunt and uncle. Polo was well educated, and learned merchant subjects including foreign currency, appraising, and the handling of cargo ships, although he learned little or no Latin.
In 1269, Niccolò and Maffeo returned to Venice, meeting Marco for the first time. In 1271, Marco Polo (at seventeen years of age), his father, and his uncle set off for Asia on the series of adventures that were later documented in Marco's book. They returned to Venice in 1295, 24 years later, with many riches and treasures. They had travelled almost 15,000 miles (24,140 km).

Upon their return, Venice was at war with Genoa, and Marco Polo was taken prisoner. He spent the few months of his imprisonment dictating a detailed account of his travels to fellow inmate, Rustichello da Pisa, who incorporated tales of his own as well as other collected anecdotes and current affairs from China. The book became known as The Travels of Marco Polo, and depicts the Polos' journeys throughout Asia, giving Europeans their first comprehensive look into the inner workings of the Far East, including China, India, and Japan. While the book describes paper money and the burning of coal, it fails to mention the Great Wall, chopsticks, and footbinding raising a veracity issue. Marco Polo was finally released from captivity in August 1299, and returned home to Venice, where his father and uncle had purchased a large house in the central quarter named contrada San Giovanni Crisostomo. The company continued its activities and Marco soon became a wealthy merchant. Polo financed other expeditions, but never left Venice again. In 1300, he married Donata Badoer, the daughter of Vitale Badoer, a merchant. They had three daughters, called Fantina, Bellela and Moreta.

Death:
In 1323, Polo was confined to bed, due to illness. On January 8, 1324, despite physicians' efforts to treat him, Polo was on his deathbed. To write and certify the will, his family requested Giovanni Giustiniani, a priest of San Procolo. His wife, Donata, and his three daughters were appointed by him as co-executrices. The church was entitled by law to a portion of his estate; he approved of this and ordered that a further sum be paid to the convent of San Lorenzo, the place where he wished to be buried.[10] He also set free a "Tartar slave" who may have accompanied him from Asia.

He divided up the rest of his assets, including several properties, between individuals, religious institutions, and every guild and fraternity to which he belonged. He also wrote-off multiple debts including 300 lire that his sister-in-law owed him, and others for the convent of San Giovanni, San Paolo of the Order of Preachers, and a cleric named Friar Benvenuto. He ordered 220 soldi be paid to Giovanni Giustiniani for his work as a notary and his prayers. The will, which was not signed by Polo, but was validated by then relevant "signum manus" rule, by which the testator only had to touch the document to make it abide to the rule of law, was dated January 9, 1324. Due to the Venetian law stating that the day ends at sunset, the exact date of Marco Polo's death cannot be determined, but it was between the sunsets of January 8 and 9, 1324.

เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน (Ferdinand Magellan)


เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน (อังกฤษ: Ferdinand Magellan), ฟีร์เนา ดี มากาลไยส์ (โปรตุเกส: Fernão de Magalhães) หรือ เฟร์นันโด เด มากายาเนส (สเปน: Fernando de Magallanes)

เป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกส มีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา เขาเกิดที่เมืองซาบรอซา ทางภาคเหนือของประเทศโปรตุเกส หลังจากรับราชการทหารที่อินเดียตะวันออกและโมร็อกโก มาเจลลันได้เสนอตัวทำงานให้กับพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งสเปนเพื่อค้นหาเส้นทางเดินเรือทางทิศตะวันตกสู่ "หมู่เกาะเครื่องเทศ" (หมู่เกาะโมลุกกะในประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน) เขาจึงได้รับสัญชาติสเปนด้วย

มาเจลลันได้เดินเรือออกจากเมืองเซบียาในปี พ.ศ. 2062 การเดินทางในช่วง พ.ศ. 2062-2065 ของเขาเป็นการเดินเรือจากมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าสู่มหาสมุทรที่มาเจลลันตั้งชื่อว่า "แปซิฟิก" เป็นครั้งแรก และยังเป็นการเดินทางรอบโลกครั้งแรกอีกด้วย แต่ตัวมาเจลลันเองไม่ได้เป็นผู้นำการเดินเรือรอบโลกตลอดเส้นทาง เนื่องจากถูกชนพื้นเมืองฆ่าตายที่เกาะมักตันในหมู่เกาะฟิลิปปินส์เสียก่อน (อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มาเจลลันเคยเดินทางจากยุโรปไปทางตะวันออกสู่คาบสมุทรมลายูมาแล้ว จึงเป็นนักสำรวจคนแรก ๆ ที่เดินทางข้ามเส้นเมอริเดียนเกือบทุกเส้นบนโลก) จากลูกเรือ 237 คนที่ออกเดินทางไปกับเรือ 5 ลำ มีเพียง 18 คนที่สามารถเดินเรือรอบโลกได้สำเร็จและกลับไปสเปนได้ในปี พ.ศ. 2065 นำโดยควน เซบัสเตียน เอลกาโน นักเดินเรือชาวบาสก์ซึ่งทำหน้าที่บัญชาการเดินเรือแทนมาเจลลัน ส่วนลูกเรือลำอื่น ๆ อีก 16 คนมาถึงสเปนในภายหลัง โดย 12 คนในจำนวนนี้ถูกโปรตุเกสคุมตัวที่หมู่เกาะเคปเวิร์ดระหว่าง พ.ศ. 2068-2070 และอีก 4 คนเป็นผู้รอดชีวิตจากเรือตรีนีดัดที่เดินทางไปด้วย แต่เรือแตกในหมู่เกาะโมลุกกะ

ชื่อของมาเจลลันยังถูกนำไปตั้งเป็นชื่อของ "เพนกวินมาเจลลัน" ซึ่งเชื่อกันว่าเขาเป็นชาวยุโรปคนแรกที่ค้นพบ,"เมฆมาเจลลัน" ซึ่งเขาสังเกตเห็นระหว่างการเดินเรือ ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันแล้วว่าที่จริงเมฆนี้เป็นกลุ่มดาราจักรแคระใกล้กับดาราจักรทางช้างเผือก, "ช่องแคบมาเจลลัน" เส้นทางที่มาเจลลันใช้เดินเรือเข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิก และ "ยานมาเจลลัน" ยานสำรวจที่องค์การนาซาส่งไปสำรวจดาวศุกร์ในช่วงปี พ.ศ. 2533-2534

วาสโก ดา กามา Vasco da Gama


วาสโก ดา กามา (โปรตุเกส: วาชกู ดา กามา - Vasco da Gama ประมาณ พ.ศ. 2003-2068)

นักเดินเรือสำรวจชาวโปรตุเกส เกิดที่เมืองซีนิช แคว้นอาเลงเตชู ประเทศโปรตุเกส สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการค้บพบเส้นทางการเดินเรือจากยุโรปสู่อินเดียหว่างปี พ.ศ. 2040-42 โดยแล่นเรือตรงจากกรุงลิสบอน ไปถึงชายฝั่งมะละบาร์ ตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย โดยแล่นเรืออ้อมผ่านแหลมกู๊ดโฮป ทางตอนใต้ของแอฟริกาซึ่งบาร์ตูลูเมว ดีอัช (Bartolomeu Dias) เป็นผู้ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2031
วาสโก ดา กามา ได้รับมอบหมายจากกษัตริย์มานูเอล ที่ 1 แห่งโปรตุเกสให้ไปค้นหาอินเดียที่เชื่อกันในสมัยนั้นว่าเป็นแผ่นดินคริสเตียนที่เล่าลือแพร่หลายเกี่ยวกับ เปรสเตอร์ จอห์น พระคริสเตียนแห่งอินเดียผู้ครอบครองนคร 100 แห่งในโลกตะวันออก รวมทั้งเพื่อการหาลู่ทางเปิดตลาดค้าขายกับโลกตะวันออก
ต่อมา อีกครั้งหนึ่งระหว่างปี พ.ศ. 2045-2047 วาสโก ดา กามา ได้นำกองเรือมุ่งสู่กาลิกัต (Calicat) เพื่อล้างแค้นจากการที่กลุ่มนักสำรวจชาวโปรตุเกสที่เปดรู อัลวาริช กาบราล (นักสำรวจสำคัญของโปรตุเกส) ปล่อยไว้ที่นั่นถูกฆ่า ในปี พ.ศ. 2067 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอุปราชแห่งอินเดีย แต่ต่อมาไม่นาน วาสโก ดา กามา ก็ล้มป่วยและเสียชีวิตที่โคชิน (Cochin) และได้รับการนำศพกลับโปรตุเกส

วาสโก ดา กามา มีชีวิตอยู่ในสมัยอยุธยาตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐาธิราช)

วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

เมื่อมนต์เสียงแคนมาผสมกับความอมตะของบีโธเฟน กลายเป็น "ม่วนซื่นบีโธเฟน"



วันนี้ขอนำเสนอ การผสมผสานครั้งยิ่งใหญ่ของบทเพลง 2 ลุ่มแม่น้ำค่ะ ระหว่าง อาจารย์สมบัติ แห่งลุ่มแม่น้ำโขง ประเทศไทย และ Beethoven แห่งลุ่มแม่น้ำไรน์ประเทศเยอรมนี ในบทเพลงนี้จะใช้ 2 บทเพลงที่คุ้นหูของบีโทเฟน คือ ซิมโฟนีหมายเลข 5 และ Fur Elise มาผสมผสานกับทำนองหมอลำ จากแคนของอาจารย์สมบัติ ได้อย่างลงตัว เป็นเพลงที่เพราะและมีเอกลักษณ์ เป็นสีสันใหม่ของวงการดนตรีของประเทศไทยค่ะ

ซิมโฟนีหมายเลข 5 ในบันไดเสียง ซี ไมเนอร์ (Symphony No. 5 in C Minor) ของเบโทเฟน เป็นผลงานที่เขาประพันธ์ขึ้นในช่วง ค.ศ. 1804-1808 ในแคตตาล็อกผลงานของเบโธเฟนระบุเลขโอปุส 67 (Opus 67) ซิมโฟนีบทนี้นับว่าเป็นหนึ่งในงานดนตรีคลาสสิกที่ได้รับความนิยมสูงสุด และรู้จักกันแพร่หลายที่สุด รวมทั้งถูกนำออกแสดงและได้รับการบันทึกเสียงมากที่สุดบทหนึ่ง

ซิมโฟนีบทนี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว หลังจากนำออกแสดงครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1808 ในเวลานั้น เอินสท์ เธโอดอร์ อมาดิอุส ฮอฟมันน์ (Ernst Theodor Amadeus Hoffmann) ได้บรรยายเอาไว้ว่า "นับเป็นหนึ่งในผลงานชิ้นสำคัญที่สุดแห่งยุค"

บทเพลงนี้ขึ้นต้นด้วยตัวโน้ตหลักเพียง 4 พยางค์



เนื่องจากโน้ตหลัก 4 ตัวของเพลงคล้ายกับรหัสมอร์ส (คือ จุด จุด จุด ขีด) ที่ตรงกับอักษรโรมัน V โน้ตหลักนี้จึงใช้เป็นเครื่องหมายของคำว่า "victory" (ชัยชนะ) ในพิธีเปิดการออกอากาศสถานีวิทยุบีบีซี (BBC) ของอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อันเป็นความคิดของวิลเลียม สตีเฟนสัน (William Stephenson)

การบรรเลงรอบปฐมฤกษ์
ซิมโฟนีบทนี้ออกบรรเลงเป็นรอบแรก เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1808 โดยเบโธเฟนเป็นผู้ควบคุมวงด้วยตนเอง โอกาสดังกล่าวถือว่าเป็นคอนเสิร์ตครั้งใหญ่ ประกอบด้วยผลงานใหม่ทั้งหมดของเบโธเฟน โดยได้แสดงที่โรงละครในกรุงเวียนนา และมีรายการแสดงดังนี้

ซิมโฟนีหมายเลข 6 (Symphony No. 6)
Aria: "Ah, perfido", Op. 65
The Gloria movement of the Mass in C Major
Piano Concerto No. 4
-- พักการแสดง --
ซิมโฟนีหมายเลข 5
Sanctus and Benedictus movements of the C Major Mass
Choral Fantasy
การแสดงดังกล่าวใช้เวลานานกว่า 4 ชั่วโมง

สำหรับซิมโฟนีหมายเลข 5 และหมายเลข 6 ซึ่งประพันธ์ขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันนั้น ปรากฏในโปรแกรมคอนเสิร์ตเป็นหมายเลข 6 และ 5 ตามลำดับ แต่ในปัจจุบันมีการลำดับหมายเลขสลับกันตามลำดับการพิมพ์

เบโธเฟนอุทิศซิมโฟนีบทนี้ให้แก่ผู้อุปถัมภ์สองคน ได้แก่ เจ้าชาย F.J. von Lobkowitz และ เคาน์ Andreas Razumovsky คำอุทิศนั้นปรากฏในการพิมพ์ครั้งแรก เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1809

รายละเอียดของแต่ละท่อน
ซิมโฟนีบทนี้มีด้วยกัน 4 ท่อน หรือมูฟเมนต์ ดังนี้

I. Allegro con brio
II. Andante con moto
III. Scherzo, Allegro
IV. Allegro

สามท่อนแรกนั้นเรียบเรียงสำหรับเครื่องดนตรีต่าง ๆ ได้แก่ ฟลู้ต 2 เลา, โอโบ 2 เลา, บีแฟลต คลาริเน็ต 2 เลา , บาสซูน 2 เลา, ฮอร์น 2 คัน, ทรัมเป็ต 2 คัน, กลองทิมปะนี และเครื่องสาย ได้แก่ ไวโอลิน 1 และไวโอลิน 2, วิโอลา, เชลโล และดับเบิลเบส ส่วนท่อนสุดท้ายได้เพิ่มปิคโคโล, คอนทราบาสซูนอย่างละเลา และทรอมโบน 3 คัน (อัลโต,เทเนอร์ และเบส)

การแสดงดนตรีทั้งหมด ใช้เวลาประมาณ 35 นาที

การใช้บันไดเสียง
ซิมโฟนีหมายเลข 5 อยู่บันไดเสียง ซีไมเนอร์ (C minor) มีนักวิจารณ์ให้ความเห็นว่าสำหรับเบโธเฟนแล้ว บันไดเสียงนี้เป็นตัวแทนของ “น้ำเสียงแบบวีรบุรุษ และมีความเกรี้ยวกราด” และเขาใช้บันไดเสียงนี้สำหรับงานที่มีความเข้มข้นเป็นพิเศษ หรือ สงวนไว้สำหรับดนตรีที่แสดงออกทางอารมณ์สูงสุดของเขา

ผลงานอื่น ๆ ของเบโธเฟนในบันไดเสียง ซีไมเนอร์ ที่ให้ภาพในลักษณะดังกล่าว มีดังนี้

"Piano Sonata No. 5", Opus 10 no. 1 (1795-8)
"Piano Sonata No. 8", Opus 13, "Pathetique" (1798)
"Piano Concerto No. 3" no. 3 (1800)
"String Quartet No. 4", Opus 18, no. 4 (1800)
"Sonata in C minor for Violin and Piano", Op. 30, no. 2 (1802)
"Symphony No. 3"; second "Funeral March" movement (1803)
"Coriolanus" overture, Opus 62 (1807)
"Piano Sonata No. 32", Op. 111 (1822)

ซิมโฟนีหมายเลข 5 กับผลงานในรูปแบบอื่น
เสียงโน้ต 4 พยางค์ จากมูฟเมนต์ที่ 1 ของซิมโฟนีหมายเลข 5 ถูกนำมาใช้ซ้ำหลายครั้งในดนตรียุคหลัง เช่น

- ถูกนำมาใช้เป็นเพลงเปิดของสถานีวิทยุบีบีซี ของอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
- เพลง A Fifth of Beethoven เป็นซิมโฟนีหมายเลข 5 ในจังหวะดิสโก โดย Walter Murphy เมื่อ ค.ศ. 1976 และเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ Saturday Night Fever (1977)
- เพลง Roll Over Beethoven โดย Chucker Berry เมื่อ ค.ศ. 1956 และนำมาขับร้องใหม่โดยวง The Beatles, Status Quo และวง ELO - Electic Light Oechestra (ค.ศ. 1973))
- นักกีตาร์ Yngwie Malmsteen โซโล่กีตาร์ ซิมโฟนีหมายเลข 5 แบบเฮฟวี่เมทัล
- ภาพยนตร์ Beethoven(1992) หนังครอบครัวเกี่ยวกับสุนัขพันธุ์เซนต์เบอร์นาร์ด ชื่อว่าเบโธเฟน โดยใช้เสียงโน้ตท่อนนี้ แทนตัวเบโธเฟน
- ภาพยนตร์ V for Vendetta (2005) หนังและหนังสือเกี่ยวกับการต่อสู้ขับไล่ทรราช ใช้เสียงโน้ตท่อนนี้ สื่อถึงการต่อสู้และชัยชนะ โดย V (มาจากเลข 5 และหมายถึง Victory) เป็นชื่อตัวละครเอก
- เพลง Confession ของวงดนตรีคลาสสิกประยุกต์ (String Trio) ที่มีชื่อว่า VieTrio เป็นการเอาทำนองหลักของเพลงนี้ ไปผสมผสานกับดนตรีร็อก และมีการเล่นไวโอลินไฟฟ้าในเทคนิกแบบกีตาร์ไฟฟ้าในตอนท้ายของเพลงด้วย



ส่วนอีกเพลง ชื่อ FUR ELISE มาจากภาษาเยอรมัน แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า FOR ELISE หรือเรียกง่ายๆคือเป็นเพลงที่ Ludwig Van Beethoven ประพันธ์ออกมาเพื่อ "Elise" นั่นเอง เพลงนี้เป็นเพลงที่แสดงถึงความรัก ความงดงาม ถ้าให้แสดงความเห็นคือบรรยายถึงสตรีผู้นี้ เริ่มต้นเพลงด้วยตัวโน้ตที่ค่อนข้างซ้ำ เหมือนจะก้าวไปข้างหน้าแต่กลับมาสู่ท่วงทำนองเดิม น่าจะคล้ายความประหม่า ที่มีความสุขในยามพบ ในส่วนของท่อนกลาง จะฟังดูน่ารักๆ ใสๆ เหมือนกับว่าเรากำลังตกอยู่ในความฝัน เราเดินเล่นกับเธอที่ทุ่งหญ้า ดอกไม้บานเต็มไปหมด เรารู้สึกมีความสุขไม่อยากตื่นจะขึ้นมาจากความฝันนั้นเลยแต่เราก็ทำไม่ได้ และแล้ว เราก็ต้องตื่น (ย้อนกลับมาในท่อนแรกต่อ) ความฝันสิ้นสุดลง เทอหายไปแล้ว แต่ในใจเรายังคงรู้สึกพร่ำเพ้อ เรียกหาเธออยู่ตลอดเวลา

ท่อนก่อนจบน่าจะเป็นท่อนที่ค่อนข้างลุ้นระทึก ใช้ตัวโน้ตมือซ้ายรัวๆ มือขวาเป็นทางเดินคอร์ดซึ่งซ่อนเร้นทำนองหลักไว้ น่าจะเหมือนกับการพูดอย่างซ่อนเร้นความนัย ด้วยใจที่เต้นอย่างสั่นรัว

อาจจะเป็นช่วงเวลาที่เราอาจจะบอกรักใครสักคนก้อได้นะ ^^

เห็นไหมคะ แค่อ่านประวัติก็น่าฟังแล้ว ไปฟังกันเลยดีกว่าค่ะ ^^

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

อยากเป็นเป็นนิสิตจุฬาฯ ต้องทำอย่างไร โดย พี่ปุย VieTrio



เมื่อวันก่อนคนเขียนได้เขียนอีเมลไปถึง พี่ปุย VieTrio นักไวโอลินสุดโปรดของคนเขียน (ดูเพิ่มเติมได้ในบทความเก่าก่อนหน้านี้นะคะ)ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คนเขียนจึงถามไปว่า...
"ทำไงจะเข้าจุฬาฯ ได้อย่างพี่อ่ะ คือหนูอยากเรียนรัฐศาสตร์แบบพี่ ใฝ่ฝันมาตั้งแต่เด็กๆแล้ว แล้วก็ชอบไวโอลินมากด้วย เลยอยากเป็นแบบพี่ค่ะ" (คัดลอกข้อความมาจากบางส่วนของอีเมลเลย)

พี่ปุยก็เลยตอบมาว่า...(อันนี้คัดลอกข้อความมาทั้งหมดมาจากอีเมลเลยนะเนี่ย :)

หลังจากที่ฟังหนูเล่าเรื่องมากมายพี่ก็ดีจัยนะทำให้น้องๆหลายคนรักในดนตรีคลาสสิคเหมือนพี่
ถึงจะไม่ได้เรียนก็ไม่เปนไรหรอกจ้า แค่ได้มีโอกาสฟัง ก็ถือว่าได้เรียนรู้เยอะแยะแล้วหละ
ไม่แน่อนาคตน้องอาจจะเล่นดนตรีเก่งกว่าพี่ก็ได้คัยจะรู้????



ตอนนี้พี่เรียนที่จุฬาฯ เรียนหนักอยู่ค่ะ กว่าจะเข้ามาได้ก็ต้องขยันอ่านหนังสือเยอะๆค่ะ เพราะพี่เองก็ไม่ชอบไปนั่งเรียนพิเศษเยอะๆ อาศัยอ่านเอาเองซะมากกว่า เพราะพี่เชื่อว่าคนที่สอนเราได้ดีที่สุดคือตัวเอง เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งเชื่ออะไรจนกว่าตัวเองจะพิสูจน์เองว่าจริงนะคะ



เรียนหนังสือให้เก่งๆนะ จะได้มีโอกาสดีๆในอนาคตจ้า ตอนนี้"เรียนฟรี" (จริงเรอะ หุหุ) อยู่ต้องกอบโกยให้ได้มากที่สุดนะ
ต่อไปข้างหน้าก็ไม่มีช่วงเวลาแบบนี้อีกแล้ว เพราะฉะนั้นหนังสือทุกเล่มที่น้องมีจงให้มันอย่างคุ้มค่า อ่านให้ครบทุกตัวอักษร จำได้ให้ครบทุกบท

เท่านี้แหละจะ อนาคตน้องสดใสแน่ๆ ^^

พี่เป็นกำลังใจให้นะ ขอให้น้องจงทำตัวเองให้มีความสุข ซื้อสัตย์กับตัวเองให้มากๆนะจ๊ะ
คิดจะทำอะไรแล้วลงมือเลยนะ เพราะวันพรุ่งนี้มันสายไปเสมอจะ (ใครบอกพรุ่งนี้ไม่สายอย่าไปเชื่อ)



สุดท้ายขอให้น้องอ่านหนังสือให้ได้อย่างน้อยวันละสองชั่วโมง นะจ๊ะ
ทำตามพี่บอกเชื่อดิว่าน้องต้องเก่งว่าใครๆแน่นอน ฉลาดกว่าใครๆ(ที่ไปเรียนพิเศษด้วยนะจะบอกให้) อิอิ
ลองเอาเคล็ดลับพี่ไปใช้นะจ๊ะ หวังว่าจะมีประโยชน์กับน้องเหมือนที่มันมีประโยชน์กับพี่

เป็นกำลังใจให้ค่ะ

พี่ปุย VieTrio


วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

คุณปลื้ม หม่อมหลวง ณัฏฐกรณ์ เทวกุล

ใกล้สอบแล้ว คนเขียนต้องขอตัวไปเคลียร์งานที่ตกค้าง + อ่านหนังสือ ทบทวนสิ่งที่เรียนมาค่ะ แล้วช่วงปิดเทอมก็ไม่มีคอมที่จะอัพเสียด้วย วันนี้มีโอกาสเขียนก็ขอเขียนเลยเจ้าคะ อิอิ



ดูจากชื่อ URL ของบล็อกนี้ก็น่าจะพอทราบได้ว่า คนเขียนนั้นนอกจากจะชอบดนตรีคลาสสิกแล้ว คนเขียนก็ชอบคุณปลื้ม หม่อมหลวง ณัฏฐกรณ์ เทวกุล มากมาย (มากเสียจนคนที่ไม่ชอบในตัวคนเขียนบอกว่า คนเขียนมีรสนิยมยังกะแม่ยก...ฮา) จริงๆแล้ว คนเขียนสนใจคำว่า "รัฐศาสตร์" จากคุณปลื้มนี่ล่ะค่ะ และวันนี้ (10 กันยายน 2553 ตามเวลาประเทศไทย) เป็นวันคล้ายวันเกิดของคุณปลื้มด้วย คนเขียนเลยขออัพประวัติของบุคคลที่คนเขียนชอบนะคะ



ทุกคนพอจะคุ้นๆนามสกุล เทวกุล กันบ้างหรือเปล่า เค้าคนนี้เป็นลูกชายอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย คือ ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล เขามีคำนำหน้าว่า ม.ล. ด้วยความที่เค้ารูปร่างสูงใหญ่ ตาตี๋ ผิวขาว และมีบุคลิก รวมไปถึงความคิดที่โดดเด่นของเขา คนเขียนก็เลยอด "ปลื้ม" เขาไม่ได้ อิอิ...มารู้ Profile ของ มล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล กันดีกว่าค่ะ

Profile : M.L.Nattakorn Devakula

ชื่อเต็มๆ : ร้อยตรี หม่อมหลวง ณัฏฐกรณ์ เทวกุล

ชื่อเล่น : คุณปลื้ม แต่ถูกนิยมเรียกว่า "หม่อมปลื้ม" หรือ "ปลื้ม"

วันเกิด : ศุกร์ที่ 10 กันยายน 2519

บิดา : หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล
(อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2549 และอดีตผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย)

มารดา : นางปอลิน อินทสุกิจ

พี่น้อง :
1.ม.ล.ปรมาภรณ์ เทวกุล (คุณเปรม)
2.ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล (คุณปลื้ม)
3.ม.ล.พุดจีบ เทวกุล (คุณพุดจีบ)

หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ มีกำหนดสมรสกับ ณัฐรดา อภิธนานนท์ หรือ "แจ็คเกอลิน" หรือ "แจ๊คกี้" นักแสดงสาวลูกครึ่งไทย-แคนาดา ในวันที่ 7 ตุลาคม 2553 ณ ห้องสกุณตลา บอลรูม โรงแรมเพนนินซูล่า







ลิงค์เพิ่มเติม :
http://women.kapook.com/view15760.html
http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9530000112548&CommentPage=2&#Comment


สิ่งที่ชอบ : ซื้อสูท, รองเท้า (ควงสาวๆ อิอิ)

สิ่งที่ไม่ชอบ(เลย): หนอน สุนัข..เช่นบางแก้ว เป็นต้น (อิอิ)

กีฬาโปรด : กอล์ฟ, บาสเก็ตบอล, ฟุตบอล

การศึกษา : ปริญญาโท ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เน้นเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮฮพคินส์ (School of Advanced International Studies) สหรัฐอเมริกา
ปริญญาตรี รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน สหรัฐอเมริกา
มัธยมศึกษา ณ มลรัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา
ประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

ผลงานด้านสื่อสารมวลชนที่ผ่านมา :
ผู้วิเคราะห์ข่าวเศรษฐกิจ รายการทันคนทันข่าว ช่อง 11
ผู้ดำเนินรายการ วิพากษ์หุ้น ช่อง 9
ผู้วิเคราะห์ข่าวเศรษฐกิจ รายการทันข่าวเศรษฐกิจ ช่อง 5
ผู้ประกาศข่าว วิเคราะห์ข่าว และผู้ช่วยบก. Newsline ช่อง 11
ผู้ประเทศข่าว เรื่องเล่าเช้านี้ ช่อง 3
ผู้ดำเนินรายการ Thailand Insight และ Investment Beat ช่อง Thailand Outlook Channel
ผู้ดำเนินรายการ เป็นปลื้ม ช่อง 9
ผู้วิเคราะห์ข่าวเศรษฐกิจ รายการทันข่าวเศรษฐกิจ ช่อง 5
ผู้ประกาศข่าว วิเคราะห์ข่าว และผู้ช่วยบก. Newsline ช่อง 11
ผู้ดำเนินรายการ แกะดำ ช่อง 3
ผู้ดำเนินรายการ ปากต่อปาก ช่อง 3
เป็น DJ ที่คลื่นเอฟเอ็ม 88 (ภาคภาษาอังกฤษ)
ผู้ประกาศข่าวเช้าช่อง 9 (วันจันทร์ – ศุกร์)

(เพิ่มเติม ความขัดแย้งกับนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา
ในกลางปี พ.ศ. 2550 รายการเรื่องเล่าเช้านี้ทางช่อง 3 โดย นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรและผู้จัดรายการได้เชิญชวน ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ให้มาเป็นหนึ่งในพิธีกรร่วมด้วย แต่หลังจากทำหน้าที่นี้ได้ไม่นาน ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ก็ได้ถอนตัวออกไป โดยอ้างว่านายสรยุทธไม่เคยให้เกียรติตนรวมทั้งไม่ชอบในการนำเสนอข่าวของนายสรยุทธด้วย แต่กระนั้น ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ก็ยังคงทำหน้าที่ผู้ประกาศข่าวทางช่อง 3 เหมือนเดิม จนกระทั่ง ทางช่อง 3 ได้ปรับรายการใหม่ให้เชิงชาย หว่างอุ่น และขวัญชนก เจริญพะกุไพศาลมาทำหน้าที่ประกาศข่าวแทน
)

ลิงค์เพิ่มเติม :
http://hilight.kapook.com/view/12036
http://hilight.kapook.com/view/12063
http://www.positioningmag.com/magazine/Details.aspx?id=39534
http://www.positioningmag.com/Magazine/Details.aspx?id=60660


ผลงานในปัจจุบัน : (มั้ง)
ผู้ดำเนินรายการวิทยุ “Econ Bizz” ทาง FM 96.5 MHz
ผู้ดำเนินรายการวิทยุ “The News Show with คุณปลื้ม” ทาง FM 105 MHz
ผู้ดำเนินรายการวิทยุ “ตั้งวง ชงข่าว” ทาง FM 106 MHz
ผู้ดำเนินรายการวิทยุ “เดินสาย รอบโลก” ทาง FM 106 MHz
ผู้ดำเนินรายการวิทยุ “วิเคราะห์ข่าวข้ามซีกโลก” ทาง FM 97 MHz
ผู้ดำเนินรายการ “The Daily Dose” ทาง Voice TV
ผู้ดำเนินรายการ “Economic Time” ทาง TNN ในช่วงกลางวัน



ผลงานโฆษณา & ถ่ายแบบ :
รถยนต์นิสสัน ทีด้า
ยาสีฟันซอลท์ เซนซิทีฟ
ถ่ายแบบลงปกนิตยสาร Volume, T.V. Inside, สุดสัปดาห์, มติชนสุดสัปดาห์ (รูป) เส้นทางเศรษฐี, Hi class
และ สกู๊ปต่างๆตามนิตยสาร



ผลงานเพลง :
อัลบั้มชุด “THE ALBUM ดิอัลบั้ม อยากบอกต้องออกเทป” (พ.ศ. 2550) ร่วมกับนักแสดงอีก 5 คนคือ หยาด หยาดทิพย์ ราชปาล เชอร์รี่ เข็มอัปสร สิริสุขะ กาละแมร์ พัชรศรี เบญจมาศ แชมป์ พีรพล เอื้ออารียกูล และ ปอ ทฤษฎี สหวงษ์



ผลงานภาพยนตร์ :SOUL'S CODE ถอดรหัส วิญญาณ (พ.ศ. 2551) รับบทเป็น ผ.บ.กานนท์ ซึ่งได้รับรางวัลทุเรียนทองคำ สาขานักแสดงนำชายยอดแย่ไปครอง 5555555555555+



ลิงค์เพิ่มเติม :
http://hilight.kapook.com/view/20183/1
http://murkhsl.multiply.com/journal/item/80


(มาถึงตรงนี้คนเขียนต้องขอเมาท์นิดนึงนะคะ ว่า หนังเรื่องนี้เป็นหนังดราม่า & สยองขวัญที่ตลกมากๆ 555555+ คนเขียนนั่งดูแล้วหัวเราะทั้งเรื่อง เพราะว่าคุณปลื้มของคนเขียนเล่นแข็งยังกะอะไรดี 555555+ นึกแล้วยังขำอยู่เลยอ่ะ หุหุ...ไปต่อกันดีกว่าค่ะ...)

งานด้านราชการ :
พ.ศ. 2540 รับราชการเป็นล่ามและผู้ร่างคำแถลงที่กรมข่าวทหารบก (มียศทางทหารเป็นร้อยตรี)
ปรากฏชื่อเป็นผู้ตรวจทานหนังสือ "มารยาทสากล" จัดทำโดย กองการต่างประเทศ กรมข่าวทหารบก (ดูที่ตอนท้ายเอกสาร)

บทบาททางการเมือง :
ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เคยให้สัมภาษณ์ว่าในชีวิตของตนอยากที่จะเล่นการเมือง ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2551 ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ได้ทำการเปิดตัวเป็นผู้สมัครคนแรก ๆ แต่ยังไม่ทันได้ลงรับสมัครจริง เมื่อทราบว่าคะแนนความนิยมตามโพลล์ยังห่างจากนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน มากนัก จึงได้ถอนตัวไป
ลิงค์เพิ่มเติม :
http://talk.mthai.com/topic/23428




ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552 ซึ่ง ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ได้หมายเลข 8 มีคะแนนนำมาเป็นลำดับที่หนึ่งตามโพลล์แค่ในช่วงต้น ผลการเลือกตั้งสุดท้ายได้คะแนนมาเป็นลำดับที่ 3
ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2552 ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ซึ่งมีบทบาทเป็นสื่อสารมวลชน ได้วิพากษ์วิจารณ์การเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มแนวร่วมอย่างรุนแรงตลอด และวิจารณ์บทบาทการทำหน้าที่ของ นางสาวรสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร อย่างรุนแรง และยังกล่าวว่าคนกรุงเทพฯโง่ที่เลือก น.ส.รสนา
(และมีข่าวว่าคุณปลื้มเค้าเป็น นปช.ด้วยนะคะ)



ลิงค์เพิ่มเติม :
http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=164692
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000031147


ผู้ที่ม.ล.ปลื้ม ชมว่าสวย : นาเดีย พิธีกร รายการ ดาวกระจาย กระแต ศุภักษร ใหม่ สุคนธวา และ นุ่น วรนุช

ติดต่อ & ติดตามข่าวสารได้ที่...
mlnattakorn@yahoo.com (ส่งไปหาเค้าโลดดดด)
http://nattakorn08.hi5.com
http://www.facebook.com search คำว่า M.L.Nattakorn
http://www.facebook.com/pages/We-support-ML-Nattakorn/124928084201116
http://twitter.com/khunpleum
.
.
.
.
.
เฮ้อ...เยอะใช่มั้ยละคะ เชื่อหรือยังว่าคนเขียนชอบเขาจริงๆง่ะ อิอิ

อ้อ...ที่มานะคะ
http://jaopar-culture1181.spaces.live.com/ (สเปซของเจ้าป้า-แฟนคลับคุณปลื้มที่เจอกันในเว็บบอร์ด)

http://khunpleumfanclub-title.spaces.live.com/ (สเปซของคนเขียนเองล่ะค่า)

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%93%E0%B8%B1%E0%B8%8F%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5 (วิกิพีเดีย)


สุดท้ายนี้...คนเขียนขอฝาก Music Video เพลงน้อยใจที่คุณปลื้มร้อง ให้ฟังกันนะคะ อยากบอกว่าคนเขียน "อิน" มากๆ เพราะอะไรหลายๆอย่างในเนื้อเพลง ช่างตรงกับชีวิตคนเขียนเสียเหลือเกิน TTT__TTT c]แล้วคนเขียนอยากจะบอกด้วยว่า ถึงแม้คนเขียนจะชอบคุณปลื้มอย่างมากมาย แต่ก็ไม่ได้เป็น "เสื้อแดง" นะคะ


คลิป Karaoke น้อยใจ โดย คุณปลื้ม หม่อมหลวง ณัฏฐกรณ์ เทวกุล>
Powered by you2play.com

รูปแบบการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อคาบก่อนหน้านี้ที่คนเขียนเรียนภาษาอังกฤษกับอาจารย์นิโคลาส เขามีเกมให้เล่นก็คือ ให้ทุกคนในห้องแบ่งออกเป็น 2 แถว แล้วให้คนที่หัวแถวฟังประโยคที่อาจารย์บอก และกระซิบบอกต่อๆกันไป ถ้าแถวใด พูดประโยคได้ถูกต้อง แถวนั้นก็ชนะ เป็นเกมอะไรที่ตลกมากๆ เป็นเพราะว่า "มันไม่มีทางเป็นไปได้เลย" เรื่องมีอยู่ว่า...

อ.พูดว่า : "I'm going to home in October." 10 คนแรกก็ถูกต้องอยู่
แต่ต่อมาเพี้ยนไปเป็น "I'm going to โมโนโต๊ด." (ภาษาอะไรของมันฟะ)
แต่พอ คนท้ายๆ กลายไปเป็น "Tomorrow I'm going to Moscow."

!!!!!!!!!!! โอ้วววว...พระเจ้า...มันเป็นไปได้อย่างไร !!!!!!!!!!

เลยเป็นเรื่องน่าขันด้วยประการฉะนี้ เห็นได้ชัดเลยว่ามันแสดงให้เห็นถึงการสื่อสารที่มีความผิดพลาด (อย่างมากมาย)
วันนี้คนเขียนจึงขอเสนอบทความก็คือ รูปแบบการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Communication Patterns)ซึ่งเป็นบทความโดย เว็บสาระดีดี.คอม/ WWW.SARA-DD.COM ค่ะ อาจจะเป็นเรื่องที่ดูเครียดสักนิดนึง แต่คนเขียนรับรองว่า เป็นเรื่องที่มีประโยชน์อย่างแน่นอนค่ะ

ไปดูกันเลยดีกว่า........

รูปแบบการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Communication Patterns)

(จากที่คนเขียนได้เรียนมาในวิชาภาษาไทย วิชาสุขศึกษา วิชาคอมพิวเตอร์ และ วิชาโลกศึกษา ได้บอกไว้ว่า องค์ประกอบของการสื่อสารมี ผู้ส่งสาร สื่อ(ในการส่ง) สาร(ที่จะส่ง) และผู้รับสารนะคะ)

"สื่อ" ในภาษาไทยกับคําในภาษาอังกฤษ พบว่ามีความหมายตรงกับคําว่า "media" (ในกรณีที่มีความหมายเป็นเอกพจน์จะใช้คําว่า "medium")คําว่า "สื่อ" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ ความหมายของคํานี้ ไว้ดังนี้ "สื่อ (กริยา) หมายถึงติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย, ชักนําให้รู้จักกัน สื่อ (นาม) หมายถึง ผู้
หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนําให้ รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกัน, เรียกผู้ที่ทํ าหน้าที่ชักนําให้ชายหญิงได้แต่งงานกันว่า พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ; (ศิลปะ) วัสดุต่างๆ ที่ นํามาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ให้มีความหมายตามแนวคิด ซึ่งศิลปินประสงค์แสดงออกเช่นนั้น เช่น สื่อผสม"
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงโดยทั่วไปจะเกิดจากการสื่อสาร ต่อไปนี้
1. การสื่อสารโดยตรงแบบเผชิญหน้า
เป็นการสื่อสารที่ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างเผชิญหน้ากันในการสนทนา เช่น บริกรต้องเข้ามารับ order จากลูกค้า แพทย์ ต้องเข้าตรวจรักษา สอบถามอาการกับคนไข้ เป็นต้น รูปแบบการสื่อสารที่สร้างความสนใจให้แก่ผู้รับสารอย่างตรงไปตรงมา การสื่อสารด้วยวิ ธีนี้จึงเป็นรูปแบบที่ดีในการที่สามารถสื่อสารได้อย่างตรงไปตรงมาและมีข้อผิดพลาดทางการสื่อสารน้อยมาก

2. การสื่อสารสองทาง
การสื่อสารสองทางเป็นการสื่อสารที่มีการโต้ตอบกันไปมาของผู้ส่งสารและรับสารทั้งสองฝ่าย การสื่อสารรูปแบบนี้จะไม่สร้างความสั บสนแก่คู่สนทนา อีกทั้งก่อให้เกิดความน่าสนใจใครรู้ และเกิดสมาธิในการรับสารได่ง่าย

3. การสื่อสารโดยช่องทางและสื่อที่หลากหลาย
การสื่อสารโดยช่องทางและสื่อที่หลากหลายเป็นการเลือกใช้สื่อที่ปัจจุบันมีอยู่มากมายให้เกิดประโยชน์ในการสื่อสาร โดยพิจารณาจากความเหมาะสมของเนื้อหา สภาพแวดล้อม ผู้รับและผู้ส่งสาร รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการรับและส่งสาร เพื่อให้การส่งสารรูปแบบที่เลือกมานั้นเป็นการสื่อสารที่ได้ผลและเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนได้มากที่สุด

4. ผู้รับสามารถรับสารได้ปริมาณมากพอ
ในแต่และบุคคลจะสามารถรับสารในแต่ละชนิดได้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความชอบ ความถนัด ภูมหลังและปัจจัยด้านอื่นๆ การเลือกใช้สารที่สามารถส่งถึงผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือส่งสารได้ในปริมาณมากพอกับความต้องการของผู้รับสารก็นับเป็นรูปแบบที่เหมาะสมของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เมื่อสารถูกส่งไปแล้วนั้นผู้รับซึ่งก็ คือเด็กและเยาวชนหากสามารถนํามาใช้ในการดําเนินชีวิตหรือสามารถนําไปใช้พัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง การยิ่งแสดงให้เห็นถึงความสําเร็จของการสื่อสาร ไม่เพียงลดปัญหาด้านอาการขาดสมาธิ แต่ยังสามารถนําสารที่ได้รับไปพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพสูงยิ่งขึ้นได้อีกด้วย

5. ผู้รับมีความแม่นยําเที่ยงตรงสูง
ความแม่นยําเที่ยงตรงในการรับสารนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายประการในการรับข้อมูลข่าวสารอย่างเที่ยงตรง ทั้งประสบการการรับสาร ประสบการณ์ในข้อมูลข่าวสารที่ถูกส่งมา อีกทั้งการมีสติและสมาธิในการรับสื่อที่ส่งมาจะมีผลอย่างสูงต่อความแม่นยําเที่ยงตรงของข้อมูล

6. การหลีกเลี่ยงอุปสรรคในการสื่อสารดังกล่าวข้างต้น
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพต้องหลีกเลี่ยงอุปสรรคในการสื่อสารที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด
ทั้งนี้เพราะ อุปสรรคการสื่อสารที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่าข้อมูลที่ถูกส่งมามีความถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนเพียงใด การเกิดอุปสรรคต่างๆ ข้างต้นก็นับเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการขาดสมาธิในเด็กและเยาวชนด้วยเช่นกัน หากสามารถลดอุปสรรคต่างๆ ไปได้การสื่อสารย่อมประสบความสําเร็จได้ในที่สุด

และขอต่อด้วยส่วนหนึ่งของบทความของคุณ เกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย เลยนะคะ

การสื่อสารคือทักษะสำคัญ ไม่ว่าตำแหน่งหรือระดับใด การสื่อสารที่ยอดเยี่ยมจะทำให้ประสบความสำเร็จในงานและในชีวิตได้ การสื่อสารแบ่งย่อยเป็นการพูด การฟัง และการเขียน ที่สำคัญคือกระบวนการคิดของเรา ซึ่งเป็นเบื้องหลังคือ มุมมองต่อโลก การประมวลความคิด และการถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นสื่อ ไม่ว่าจะเป็นคำพูด อาการ หรือตัวอักษร (ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง วิธีการปฏิบัติตนที่ดีของผู้ส่งสารและผู้รับสารนะคะ)

การปฏิบัติตนที่ดีของผู้ส่งสาร (ผู้พูด)
1. ก่อนพูดออกไป คิดให้ชัดเจนที่สุดว่า เราต้องการให้เกิดภาพในใจของผู้ฟังอย่างไร เริ่มจากเป้าหมายหรือผลลัพธ์ก่อน

2. คำนึงถึงกรอบทางความคิดของผู้ฟัง พื้นฐาน อายุ เพศ การศึกษา งาน และค่านิยม ปรับแต่งคำพูดให้สอดคล้องกับกรอบทางความคิดของเขา

3. ใช้ภาษากายเสริมคำพูด จะช่วยให้เขาเห็นภาพที่เราต้องการสื่อสารเพิ่มเติมจากเสียงที่เขาได้ยิน ซึ่งเขาต้องไปถอดรหัสเป็นภาพในใจของเขาอีกทอดหนึ่ง

4. อย่าตั้งสมมติฐานว่า ที่เราคิดจะเหมือนกับที่เขาคิด

5. พูดช้า ชัด ดัง และมีจังหวะจะโคนเหมาะกับผู้ฟัง

6. เว้นจังหวะเป็นระยะ อย่าพูดต่อเนื่อง และเต็มไปด้วยข้อมูล ให้เขาได้ย่อยความคิดบ้าง

การปฏิบัติตนที่ดีของผู้รับสาร (ผู้ฟัง)

1. อยู่กับปัจจุบัน อย่าอยู่กับอดีตหรืออนาคตมากไป ฟังด้วยความตั้งใจ

2. อย่าวางแผนจะพูดอะไรระหว่างฟัง

3. คิดตามผู้พูด

4. สังเกตอากัปกิริยา ภาษากายด้วย

5. ถามเมื่อไม่แน่ใจ อย่าด่วนสรุป

6. หยุดทุกอย่างเมื่อฟัง (มือถือ แบล็กเบอร์รี โน้ตบุ๊ก)


หากสื่อสารให้ดีตั้งแต่แรกทั้งผู้พูดและผู้ฟัง ก็จะมีเวลาเหลือเฟือเพื่อทำงานอย่างอื่นอีกมากมายเลยค่ะ ^^

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

ดนตรียุคคลาสสิก

วันนี้ขอนำเสนอยุคของดนตรีสากล นั่นก็คือยุคคลาสสิกค่ะ ระวังอย่าสับสนระหว่าง ดนตรีคลาสสิก กับ ดนตรียุคคลาสสิก นะคะ ดนตรียุคคลาสสิก เป็นเพียงยุคหนึ่งของดนตรีคลาสสิกค่ะ
(เพิ่มเติมได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%81 และ http://www.pantown.com/board.php?id=13220&area=4&name=board2&topic=137&action=view ค่ะ)



เพลงที่พี่ป่าน solo ในช่วงแรก ก็คือ Cello concerto in C I.Moderato ของ Haydn ค่ะ เป็นหนึ่งในเพลงยุคคลาสสิกเหมือนกันค่ะ

ยุคคลาสสิก (Classical period)
เป็นยุคของดนตรีระหว่าง ค.ศ.1750-1820 ดนตรีมีการเปิดกว้างสู่ประชาชนเป็นดนตรีนอกโบสถ์ (secular music) มากขึ้น ดนตรียุคคลาสสิกมีลักษณะความเป็นจริง มีความสมดุล และแจ่มชัดในรูปแบบ ในยุคนี้ดนตรีบรรเลงมีความเด่นกว่าเพลงร้อง ดนตรียุคคลาสสิกเป็นดนตรีบริสุทธิ์ (absolute music) คือ ดนตรีที่ไม่มีจินตนาการอยู่เบื้องหลัง ไม่มีบทกวีประกอบ เป็นดนตรีที่มีแต่เสียงดนตรีบริสุทธิ์ ตรงข้ามกับดนตรีในยุคโรแมนติกที่เป็นดนตรีพรรณนา (program music) คือดนตรีที่มีเรื่องราว ยุคนี้มีกรุงเวียนนาของออสเตรียเป็นศูนย์กลาง

ลักษณะดนตรียุคคลาสสิก
ในยุคคลาสสิกเลิกนิยมการสอดประสานของทำนอง (Counterpoint) แต่หันมานิยมการใส่เสียงประสานแบบโฮโมโฟนี (Homophony) คือการเน้นทำนองหลักเพียงแนวเดียว โดยมีแนวเสียงอื่นประสานให้ทำนองไพเราะมากขึ้น มีแนวประสานเป็นคอร์ด หรืออาร์เพจจิโอ (arpeggio) หลายแนวที่มีจังหวะคล้ายกัน โดยเลิกใช้แนวเบสต่อเนื่อง (basso continuo) และความสำคัญของการด้นสด (Improvisation) เริ่มหมดไปในยุคนี้ เพราะดนตรีส่วนมากมีการเขียนเสียงประสานครบถ้วน คีตกวีจะระบุวิธีการบรรเลงอย่างชัดเจน
เกิดบทเพลงลักษณะใหม่ๆ ขึ้นในยุคนี้ คือ ซิมโฟนี คอนแชร์โต และโซนาตา ลักษณะการผสมวงมีกำหนดแน่นอนว่าเป็นวงเล็กหรือวงใหญ่ คือเป็นวงแชมเบอร์มิวสิก หรือวงออร์เคสตรา เพลงบรรเลงนิยมประพันธ์กันมากขึ้น เพลงร้องยังคงมีการประพันธ์อยู่เช่นเดิม โอเปร่า เป็นที่นิยมชมกันมาก ผู้ประพันธ์หลายคนจึงประพันธ์แต่โอเปร่าเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะของโอเปร่าในยุคนี้จะเน้นเรื่องศิลปะการแสดงมากขึ้น มิใช่เน้นเพียงการร้องเท่านั้น
เครื่องดนตรีในยุคนี้ได้รับการพัฒนามากขึ้น ในวงออร์เคสตรามีการใช้เครื่องดนตรีครบทุกประเภท การใช้เครื่องดนตรีในยุคคลาสสิกจะพบว่าใช้เปียโนเป็นส่วนมาก ไม่ค่อยมีการใช้ฮาร์ปซิคอร์ดอีก ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 มีการใช้เครื่องคลาริเน็ต ฟลูต และบาสซูน

คีตกวีที่สำคัญในยุคคลาสสิก
คริสตอฟ วิลลิบัลด์ กลุ๊ค (Christoph Willibald Gluck)
ฟรานซ์ โจเซฟ ไฮเดิน (Franz Joseph Haydn)
โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart)
ลุดวิก ฟาน เบโธเฟน (Ludwig van Beethoven)

บทประพันธ์ที่สำคัญในยุคคลาสสิก
Orfeo and Eurydice - กลุ๊ค
Symphony No.104 - ไฮเดิน
The Creation (Oratorio) - ไฮเดิน
String Quartet in G Major, Op.64 No.4 - ไฮเดิน
Symphony No.41 in C Major "Jupiter" K.551 - โมซาร์ท
Piano Concerto in C Major, K.467 - โมซาร์ท
String Quartet in G Major, K.387 - โมซาร์ท
The Marriage of Figaro (Opera) - โมซาร์ท
Don Giovanni (Opera) - โมซาร์ท
Thr Magic Flute (Opera) - โมซาร์ท
Requiem Mass, K.626 - โมซาร์ท
Piano Sonata in C Major, Op.2 No.3 - เบโธเฟน
Symphony No.1,2 - เบโธเฟน
Sonata in D Major, K.119 - สกาลัตตี
Concerto for Harpsichord or Piano and Strings in E-flat Major, Op.7 No.5 - บาค