วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Where where the first violins made?



The violin was first made in Italy during the 16th century. It is a four-stringed instrument that is rested under the chin while a bow made of horsehair is drawn across the strings. This causes the strings to vibrate, providing a great flexibility in range and tone.

Early stringed instruments were played by plucking the strings with the fingers. The origin of stringed instruments played by rubbing the strings is linked to the appearance of the bow. The very first bow was a simple stick before the hair-bow was adopted.

Exquisitely crafted instruments created by the Italian master Antonio Stradivari continue to be the most highly prized musical instruments in the world. His design for the violin has served as a role model for violin makers for more than 250 years. Stradivari also made harps, guitars, violas and cellos – more than 1,100 instruments in total. About 650 of these instruments survive today.

Not only can the violin be played as a solo instrument, it is also the predominant instrument of the orchestra. A symphony orchestra uses more than thirty violinists.

Fact File: The history of bongo drumming can be traced to the Cuban music styles known as Changüi and Son. These styles first developed in eastern Cuba in the 19th century about the time that slavery was abolished.



ที่มา : http://bicycle2011.com/where-where-the-first-violins-made/#more-9911

ทำไมคนเราถึงต้องเรียนดนตรี? : โดย พี่แบงค์

สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่าน คนเขียนไม่ได้อัพฯมาสักพักล่ะ เลยกลับมารีบอัพฯ อย่างเร็วไว อิอิ
วันนี้คนเขียนขอนำเสนอบทความดีๆ จากนักดนตรีคนหนึ่ง นะคะ

คนเขียนได้รู้จักเขาในนาม "พี่แบงค์" (M.Kimura Cantabile : in facebook)

พอดีเขาได้เขียนบทความนี้ขึ้นมา ซึ่งคนเขียนมีความสนใจ จึงนำมาแบ่งปัน ณ ที่นี้ค่ะ ^ ^

ทำไมคนเราถึงต้องเรียนดนตรี

ทำไมคนเราถึงต้องเรียนดนตรี ทั้งๆ ที่ดูเหมือนศาสตร์ในสาขานี้จะไม่ใช่ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตแม้แต่น้อย ไม่เหมือนศาสตร์ในสาขาอื่นที่ล้วนเกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 ของมนุษย์ หากเราได้ย้อนดูถึงต้นตอของศาสตร์ทุกแขนงในโลกนี้ ล้วนถูกศึกษาและคิดค้นเพราะเชื่อว่าสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ของมนุษย์ได้ แรกเริ่มจากศาสตร์ด้านการเกษตรเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานของมนุษย์, ดาราศาสตร์ เพื่อคำนวณฤดูกาลเพาะปลูก และตามมาด้วยศาสตร์อีกมากมาย ฉะนั้นแล้วดนตรีศาสตร์ในตรรกะเดียวกันจะมีความหมายก็ต่อเมื่อ ใช้เพื่อแก้ปัญหาของมนุษย์ หากดนตรีไม่สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของมนุษย์หรือเป็นการศึกษาไปตามกระแส ดนตรีคงเป็นแค่ศาสตร์ลวงโลกเท่านั้น

การเรียนดนตรีนั้น คือ การเรียน ดนตรี อย่างจริงจัง อันประกอบไปด้วย การปฏิบัติ ทฤษฏี การทราบที่มา และการนำไปประยุกต์ใช้ การปฏิบัตินั้นก็คือ การเล่น ทฤษฏี คือ การเรียนทฤษฏี อย่างเช่น การทราบโครงสร้างคอร์ด ขั้นคู่ เป็นต้น การทราบที่มา คือ การเรียน ประวัติของดนตรีนั้นเอง ว่า ดนตรี ประเภทนั้นๆ มาจากไหน อย่างไร อาทิเช่น ประวัติดนตรีคลาสิค ประวัติดนตรีแจ๊ส เป็นต้น

การนำไปประยุกต์ใช้ คือ การนำทุกอย่างที่เรียนมามาผสมกัน เช่น นำการปฏิบัติมาบันทึกเสียง หรือ การนำทฤษฏี และที่มา มาแต่งเป็น บทเพลงใหม่

เรียนดนตรี มีอะไรมากกว่าที่คิด เป็นประโยคที่ช่วยบอกให้เรารู้ว่าดนตรีมีประโยชน์มากมายซ่อนอยู่ นอกจากการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ สร้างความไพเราะ สร้างความเพลิดเพลิน ฝึกความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้แล้วยังซ่อนประโยชน์ที่ซับซ้อนและมีค่าเรียกได้ว่ามหาศาลอย่างคาด ไม่ถึงเมื่อเราย้อนกลับมาดูว่าการเรียนดนตรีได้อะไรบ้าง ในระดับผิวเผิน คือใช้เป็นอาชีพเลี้ยงปากท้องได้ แต่ในโลกนี้ก็มีอาชีพนักดนตรีไม่ถึง 1% ด้วยซ้ำ หากเรามองลึกลงไปอีกขั้นหนึ่ง การเรียนดนตรีนอกจากเป็นการเพิ่มเสน่ห์ในการเข้าสังคมกับผู้เรียนแล้ว ยังเป็นกลอุบายในการฝึกทักษะพื้นฐานของมนุษย์ได้อย่างดี เช่น ความอดทน วินัย สมาธิ สติ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์พัฒนาด้านอารมณ์ พัฒนาด้านภาษา พัฒนาด้านร่างกาย พัฒนาด้านปัญญา พัฒนาด้านความเป็นเอกบุคคลพัฒนาด้านสุนทรียะซึ่งล้วนเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐาน ไม่ว่าบุคคลนั้นจะอยู่ในสาขาอาชีพอะไรก็ตาม ผู้ที่ศึกษาดนตรีอย่างแท้จริงและได้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง คือผู้ที่ศึกษาดนตรีเพื่อยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น มีคนกลุ่มหนึ่งที่เรียนเพื่อไปประกอบอาชีพ แต่ก็มีอีกหลายกลุ่มที่ไม่ได้เรียนไปเพื่อประกอบอาชีพ แต่เรียนเพื่อ เป็นงานอดิเรก เพราะ ดนตรีนั้นช่วยลดความเครียด ทำให้ผ่อนคลายจากการทำงานหรือเรียนมา อีกทั้งเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ทำให้เยาวชนไทยไม่ต้องไปมั่วสุมกับสิ่งชั่วร้ายอย่างอื่น หรือเรียนเพื่อเป็นวิชาประดับความรู้ ถ้าวิชาต่าง ๆ เปรียบได้กับเสื้อผ้า ดนตรีคงเป็นเหมือนกับเครื่องประดับคือ แหวน สร้อย ที่ช่วยเสริมให้คนคนนั้นดูเด่นเป็นสง่าขึ้น ซึ่งก็คือนอกจากจะมีความรู้ในวิชาที่ตนเองเรียนอยู่แล้วยังสามารถเล่นดนตรี ได้อีก ไปต่างประเทศ ก็สามารถนำไปแสดงโชว์ได้อีกด้วย ทั้งเรียนเพื่อพัฒนาสมอง ซึ่งดนตรีช่วยพัฒนาสมองทั้งซีกซ้ายและขวา อีกทั้งเรียนเพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเรียนดนตรีคือ การฝึกซ้อมและความตั้งใจ การเรียนดนตรีนั้นเป็นทักษะด้านการปฏิบัติ ดังนั้น ยิ่งซ้อม ก็ยิ่งเข้าใจ ยิ่งเข้าใจก็ยิ่งทำได้ดีขึ้น หากผู้เรียนยิ่งฝึกซ้อมมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งพัฒนาฝีมือได้มากเท่านั้น และยิ่งผู้เรียนพัฒนาขึ้นเท่าไหร่ก็เท่ากับว่าครูประสบความสำเร็จในการสอน มากเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้เรียนสามารถพัฒนาได้เก่งมากกว่าครูผู้สอน ก็ยิ่งเป็นความสำเร็จสูงสุดอย่างแท้จริงในการเรียนดนตรีของทั้งผู้สอนและผู้เรียน

ที่มา : http://www.facebook.com/profile.php?id=1305661200&ref=ffl#!/notes/kimura-cantabile/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5/259179497429006

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Biographie de Gregor Mendel

ได้แรงบันดาลใจ มาจาก Google เช่นเคย (Gregor Mendel's 189th Birthday) แต่เห็นเพื่อนอัพเป็นภาษาไทยไปแล้ว เลยขออัพเป็นภาษาฝรั่งเศสดีกว่า 555+





Johann Gregor Mendel (20 juillet 1822 - 6 janvier 1884), moine dans le monastère de Brno (en Moravie)[1] et botaniste tchèque germanophone, est communément reconnu comme le père fondateur de la génétique. Il est à l'origine de ce qui est aujourd'hui appelé les lois de Mendel, qui définissent la manière dont les gènes se transmettent de génération en génération.

Biographie
Johann Mendel naît le 20 juillet 1822[2] à Heinzendorf (Hynčice, district de Nový Jičín), petit village de Moravie, dans une famille de paysans. Doué pour les études, mais de tendance dépressive qui lui vaudra de multiples indispositions dans la suite de sa carrière, le jeune garçon est très vite remarqué par le curé du village qui décide de l’envoyer poursuivre ses études loin de chez lui. En 1840, il rejoint l’Institut de philosophie d’Olmutz afin d’y suivre deux années préparatoires à l’entrée à l’Université. En septembre 1843, Mendel est reçu au noviciat du monastère de Brunn où il prend le prénom de Gregor ; il sera ordonné prêtre en 1847. Ce monastère est dirigé par Cyrill Franz Napp, un prélat scientifique et ouvert, et comporte, outre une bibliothèque fournie, un jardin botanique. Dès son arrivée au monastère, Mendel sent tout ce qu’un milieu culturel particulièrement stimulant peut apporter à ses aspirations. Il consacre tout son temps libre à l’étude des sciences naturelles. Parallèlement, il assure des enseignements scientifiques dans les collèges et lycées des environs mais rechigne aux tâches pastorales. En 1849, il accepte un poste d'enseignant dans une ville voisine mais échoue à deux reprises aux épreuves de l'examen d'aptitude à l'enseignement.

Mendel part en 1851 pour suivre les cours, en tant qu'auditeur libre, de l’Institut de physique de Christian Doppler ; il y étudie, en plus des matières obligatoires, la botanique, la physiologie végétale, l’entomologie, la paléontologie. Durant deux années, il acquiert toutes les bases méthodologiques qui lui permettront de réaliser plus tard ses expériences. Au cours de son séjour à Vienne, Mendel est amené à s’intéresser aux théories de Franz Unger, professeur de physiologie végétale. Celui-ci préconise l’étude expérimentale pour comprendre l’apparition des caractères nouveaux chez les végétaux au cours de générations successives. Il espère ainsi résoudre le problème que pose l’hybridation chez les végétaux.

De retour au monastère, Mendel installe un jardin expérimental dans la cour et dans la serre, en accord avec son abbé, et met sur pied un plan d’expériences visant à comprendre les lois de l’origine et de la formation des hybrides. Il choisit pour cela le pois qui a l'avantage d'être facilement cultivé avec de nombreuses variétés décrites. En 1863 une épidémie dévaste ses cultures et Mendel se tourne alors vers d'autres espèces. Il expose et publie les résultats de ces études en 1865 dans un article intitulé : Recherches sur des hybrides végétaux. Après dix années de travaux minutieux, Mendel a ainsi posé les bases théoriques de la génétique et de l’hérédité moderne.

Son travail ne va pas susciter d'enthousiasme auprès de ses contemporains qui ont du mal à comprendre la formalisation mathématique de ses expériences. Très peu de scientifiques de son temps vont citer son travail et Mendel ne reçoit guère de réponses auprès des différents correspondants à qui il envoie un tiré-à-part. Parmi ces derniers, seul Karl Wilhelm von Nägeli, professeur de botanique à Munich, lui écrit, doutant d'ailleurs de certaines de ses conclusions.

En 1868, Mendel est élu supérieur de son couvent à la mort de l'abbé Napp. Obligé de consacrer beaucoup de son temps aux devoirs de sa charge, il abandonne ses recherches très poussées sur l’hybridation des végétaux. Il s’investit alors dans d’autres domaines plus compatibles avec ses obligations, notamment l’horticulture et l’apiculture. Il se passionne également pour la météorologie qui sera le domaine qu’il aura le plus longtemps étudié, de 1856 jusqu’à sa mort en 1884, faisant des relevés systématiques sur une longue durée et colligeant l'ensemble des résultats des stations météorologiques de son pays. Il sera d'ailleurs plus connu par ses contemporains pour son apport à cette matière que pour sa contribution à la génétique naissante.

En 1883, il commence à souffrir d'une probable insuffisance rénale qui va l'emporter un an plus tard.

Les lois de Mendel
Première loi : Uniformité des hybrides en première génération (F1).
Deuxième loi : Ségrégation de plusieurs couples de caractères en seconde génération (F2).

ที่มา : http://fr.wikipedia.org/wiki/Gregor_Mendel

ไมโครบล็อก ต่างจากบล็อกอย่างไร

ไมโครบล็อก ต่างจากบล็อกอย่างไร?



คนที่ชอบเขียนข้อความหรืออ่านเว็บไซต์จะรู้จักกันดีกับบล็อกหรือเว็บบล็อก แต่ถ้าพูดถึงไมโครบล็อกคืออะไรหรือแตกต่างอย่างไรกับบล็อกที่เรารู้จักกันดี

บล็อกหรือเว็บบล็อกจะมีลักษณะเป็นเว็บไซต์ที่ใช้เก็บข้อมูล เผยแพร่ข่าวสาร บทความรูปภาพหรือบันทึกเรื่องราวต่างๆ ในรูปแบบไดอารี่ออนไลน์ที่เจ้าของบล็อกได้สร้างเอาไว้ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาอ่านและร่วมแสดงความคิดเห็นกัน

ส่วน ไมโครบล็อกจะเป็นบล็อกขนาดจิ๋วที่ปรากฎอยู่ในเว็บบล็อกไว้เพื่อเจ้าของบล็อก หรือบุคคลทั่วไปได้เขียนข้อความทักทายหรือแสดงความคิดเห็นรวมถึงบอกสถานะว่า ตนเองต้องการทำอะไรด้วยข้อความสั้นๆครั้งละไม่เกิน 140 ตัวอักษร
ไมโครบล็อกที่เรารู้จักกันดีก็คือ Twitter,Yammer หรือช่องโพสต์ข้อความบนเว็บไซต์ต่างๆที่ระบุจำนวนตัวอักษรที่สามารถพิมพ์เอาไว้ได้

ใน ตอนนี้ได้มีการพัฒนาไมโครบล็อกต่างให้สามารถใช้ในสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆได้มาก ขึ้นด้วย ดังนั้นบางคนจึงสามารถเขียนข้อความได้มากขึ้นสามารถโหลดรูปภาพลงไปได้เยอะ ขึ้นหรือสามารถอัพโหลดวีดีโอไฟล์ได้อย่างรวดเร็ว


มาสั้นๆ สมกับคำว่า "ไมโคร" จริงๆ 555555+ แต่ก็ได้ความรู้ใช่ไหมคะ อิอิ

ที่มา : http://variety.mwake.net/story/1025/%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%9a%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%ad%e0%b8%81-%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%9a%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%a3.html

13 อาการ ตกหลุมรัก


สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่าน สำหรับบทความนี้ ไม่มีอะไรมาก เพราะชอบ...เลยเอามาฝาก....

13 อาการ ตกหลุมรัก

13. ทั้งๆ ที่คุณอยากโกรธเค้าใจจะขาด แต่คุณก็ทนโกรธ หรืองอนให้เค้าง้อได้อย่างเก่งก็ไม่เกิน 2 นาที เดี๋ยวคุณก็หายโกรธเค้าแล้ว

12. คุณจะอ่านข้อความที่เค้าส่งมา โดยไม่รู้จักเบื่อทั้งๆ ที่มันเก่าเป็นชาติแล้วก็ตามทีเหอะ

11. ถึงแม้ว่าคุณจะรีบขนาดไหน แต่เมื่ออยู่กับเค้าคนนั้น คุณจะเดินช้าลง ลองนับจังหวะการเดินของคุณดูสิ

10. คุณจะเขินอายทุกครั้งที่อยู่ใกล้เค้าคนนั้น

9.หัวใจคุณจะเต้นแรงขึ้น แรงขึ้น และแรงขึ้น เมื่อคุณคิดถึงเค้า

8. แค่ได้ยินเสียงเค้า คุณก็ยิ้มได้โดยไม่มีเหตุผล (ถามจริง บ้ารึป่าวคะ?)

7. เมื่อคุณมองเค้า ภาพที่เห็นก็จะมีเพียงเค้าคนเดียว ถึงแม้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นข้างหลังของเค้าจะมีอุบัติเหตุหรือไฟไหม้ หรือคนอื่นๆที่หน้าตาดีกว่าก็ตาม !!

6. แม้ว่าคุณเป็นสาวกตัวจริงของ Eminem แต่คุณจะเริ่มฟังเพลงช้าก็คราวนี้แหละ

5.ทุกครั้งทึ่คุณคิดถึงใครสักคน คนเดียวที่คุณคิดถึงคือ เค้า

4. คุณจะเพ้อ ฝันหวานทุกครั้งเพียงแค่ได้กลิ่นน้ำหอมของเค้า

3. คุณจะยิ้มทุกครั้งเวลาที่คุณคิดถึงเค้า

2. อะไรๆ ก็เป็นเรื่องง่ายๆ ที่คุณสามารถทำได้ทั้งนั้น เพื่อเค้า ทั้งๆ ที่ในชีวิตนี้ไม่เค๊ย ไม่เคยทำมาก่อนเลย

1. เมื่อคุณอ่านมาถึงตรงนี้ คุณรู้ตัวไหมคะว่า มีคนคนนึงอยู่ในใจคุณมาตั้งแต่ข้อที่ 13 จนถึง ข้อนี้เลย น่านแหละ คุณกำลังตกหลุมรักเค้าเข้าแล้ว

ที่มา : http://variety.mwake.net/story/89/13-%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3-%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b8%e0%b8%a1%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%81.html

เอื้อเฟื้อโดย : ป้าพิม (เพื่อนคนเขียนเอง)

ไม่อยากเอ่ยเลยว่า... เป็นทุกข้อ 555+ แต่ความรักที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็คือ ความรักของพ่อ-แม่ และ"พระเจ้า"ค่ะ
เพราะ "พระเจ้าทรงเป็นความรัก"

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒



"วิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒" เป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ในอดีตที่สร้างความเศร้าโศก เสียพระราชหฤทัยให้กับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ไม่เป็นอันเสวยหรือบรรทมจนประชวรหนัก เพราะเหตุทรงเจ็บช้ำพระราชหฤทัย ขมขื่นและระทมทุกข์ จากชาิติฝรั่งเศสที่เข้ามารุกรานแผ่นดินสยาม จนท้อพระทัยว่า พระนามของพระองค์จะถูกลูกหลานในอนาคตติฉินนินทาไม่รู้จบสิ้น เปรียบเสมือนสองกษัตริย์ "ทวิราช" ที่สูญเสียเศวตฉัตรแห่งแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาให้กับอังวะในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ และเป็นที่ทราบกันดีว่าวิฤติการณ์ ร.ศ.๑๑๒ ในครั้งนี้ ได้เป็นจุดเริ่มแห่งความเจ็บช้ำในพระทัยต่อพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์และทรงจดจำมิลืมเลือน จึงทรงสักยันต์ ตราด ร.ศ.๑๑๒ ไว้ตรงพระอุระของพระองค์ เพื่อเป็นการย้ำเตือนถึงความเจ็บช้ำที่เกิดจากเหตุการณ์ในกาลนั้น

"วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒" (เอกสารภาษาอังกฤษเรียกว่า Franco-Siamese War หรือ "สงครามฝรั่งเศส-สยาม") เป็นเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรสยามกับฝรั่งเศสในสมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ซึ่งเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2436 จากการอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง (พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศลาวในปัจจุบัน)
ผู้มีบทบาทสำคัญในวิกฤตการณ์ครั้งนี้คือนายโอกุสต์ ปาวี รองกงสุลฝรั่งเศสประจำนครหลวงพระบาง ซึ่งเป็นหัวหอกสำคัญในการแสวงหาผลประโยชน์ของฝ่ายฝรั่งเศสในดินแดนลาว โดยใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนของสยามที่ไม่สามารถดูแลหัวเมืองชายแดนได้ทั่วถึง การก่อกบฏในเวียดนามที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ การปราบฮ่อซึ่งแตกพ่ายจากเหตุการณ์กบฏไท่ผิงในจีน และการทวีความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลฝรั่งเศสที่กรุงปารีส


"วิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒" เกิดขึ้นในปีมะเส็ง เดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖(ร.ศ.๑๑๒) หกเดือนหลังจากพระราชพิธีโสกันต์ของพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์


ได้เกิด " วิกฤติการณ์ปากน้ำ" " กรณี ร.ศ.๑๑๒" เริ่มต้นขึ้นเมื่อ จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครองอินโดจีน อันประกอบด้วย โคชิน ตังเกี๋ย อันนัม กัมพูชา และบางส่วนของลาวมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ ๔

ต่อมาฝรั่งเศสก็อ้างว่าดินแดนของลาวเคยเป็นสิทธิของเวียดนาม (เจ้าอนุวงศ์เคยทำสัญญายกเมืองลาวให้เวียดนามเพื่อขอลี้ภัยการเมือง ในคราวที่เจ้าอนุวงศ์ก่อกบฏในสมัยรัชกาลที่ ๓) และในเมื่อเวียดนามเป็นดินแดนในคุ้มครองของฝรั่งเศสแล้ว จึงสมควรที่แผ่นดินลาวต้องเข้ามาอยู่ในการดูแลของฝรั่งเศสด้วย

รัฐบาลสยามจึงได้ส่ง พลตรีพระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าน้องยาเธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (พระองค์เจ้าชายทองก้อนทองใหญ่) ให้ขึ้นไปตั้งกองบัญชาการลาวพวน อยู่ที่เมืองหนองคาย เพื่อป้องกันการรุกรานของฝรั่งเศส

๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ ร.ศ.๑๑๒ มองซิเออลุซ ชาวฝรั่งเศส คุมทหารญวนในสังกัดฝรั่งเศสเข้าปล้นค่ายยึดเมืองคำมวน เมืองหน้าด่าน ราชอาณาเขตสยาม โดยมี พระยอดเมืองขวาง เป็นข้าหลวงรักษาเมือง ฝรั่งเศสเข้ายึดเมืองคำมวน และจับ พระยอดเมืองขวาง และพวกเอาไว้ แต่มีทหารเข้ามาช่วย พระยอดเมืองขวางและพวกเอาไว้ และได้ฆ่าทหารฝรั่งเศส เหลือรอดกลับไปเพียง ๓ คน (บางแหล่งระบุว่า มิไ้ด้ต่อสู้ขัดขวาง เพราะเกรงกระทบไมตรีระหว่าง สยามกับฝรั่งเศส)

รัฐบาลสยามได้พยายามประท้วงไปทางฝรั่งเศส แต่ก็ไม่เป็นผล ฝรั่งเศสยืนกรานว่าเมืองคำมวนเป็นของฝรั่งเศส และพระยอดเมืองขวาง คือผู้บุกรุก โดยพระยอดเมืองขวาง พร้อมทหารและอาวุธครบมือ บุกเข้าไปในเขตยึดครองของฝรั่งเศส การที่จับพระยอดเมืองขวาง นั้นชอบแล้ว มองซิเออร์ ออกุสต์ ปาวี ยื่นประท้วงโดย "ให้ลงโทษพระยอดเมืองขวางสถานหนักและให้สยามประเทศจ่ายค่าทำขวัญให้แก่ครอบครัวทหารฝรั่งเศส ญวนและเขมรที่ถูกฆ่าตาย" เหตุการณ์ครั้งนี้ได้นำไปสู่คดีประวัติศาสตร์ "คดีพระยอดเมืองขวาง" และ "วิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒" ในเวลาต่อมา
เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๖ ทหารญวน เขมรในสังกัดของฝรั่งเศส ก็ได้ยกเข้ามาประชิดฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และส่งเรือปืนลูแตงล่องปากเจ้าพระยาเข้ามายังพระนคร โดยอ้างว่า เป็นการคุ้มครองผลประโยชน์ของฝรั่งเศสที่มีอยู่ในสยาม (ตอนนั้นมีชาวฝรั่งเศสอยู่ในสยามเพียง ๓ คน และไม่มีกิจการค้าใดๆ อันเป็นผลประโยชน์ตามที่กล่าวอ้าง)

ผลของวิกฤตการณ์ครั้งนี้ทำให้ฝ่ายไทยจำต้องยอมยกดินแดนลาวฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส นับเป็นการขยายอิทธิพลครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของฝรั่งเศสในภูมิภาคอินโดจีน และจะนำไปสู่การสูญเสียดินแดนประเทศราชของไทยในเขมรและลาวที่เหลืออยู่ในเวลาต่อมา



ที่มา : http://www.abhakara.com/index.php?option=com_content&view=article&id=25&Itemid=28

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_%E0%B8%A3.%E0%B8%A8._112