วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

ทายนิสัยจากรูปหน้าจอมือถือ ^^

ภาพต้นไม้หรือดอกไม้
คุณชอบการท่องเที่ยวเเละความสวยงามตามธรรมชาติ มีความละเอียดอ่อ นโรเเมนติก ช่างคิดฝัน สร้างสรรค์วิมานการโฆษนาของการท่องเที่ยวที่มีสุดหล่อ - คุณติ๊ก เจษฎาภรณ์ เลยเชียว ในด้านความรัก คุณเปรียบเสมือนเจ้าหญิงที่มองความรักสวยเลิศหรูอลังการ แต่ตอนนี้ รอเดินเลือกดูเพื่อจะเด็ดดอกไม่ในสวนจนหมดสวย จนเวลาผ่านล่วงเลยมามากเเล้ว

=============================================
ภาพตัวโน๊ต หรือเครื่องดนตรี
(เจ้าของบล็อกชอบอันนี้ที่สุดเลยค่ะ ^^ โดยเฉพาะไวโอลินสวยๆนี่ยิ่งชอบบบ อิอิ)
คุณชื่นชอบความสนุกสนาน โดยเฉพาะงานที่มีการสังสรรค์แสงสีเสียง คุณมักหาความสุขจากการ ท่องเที่ยวไปไมสถานที่ต่างๆ ยามค่ำคืน ชอบคิดฝันจินตนาการ ทั้งยังชอบเปิดเพลงฟังในห้อง คนเดียว มีความสุขตามอารมณ์จะพาไป แต่คุณก็เป็นคนอ่อนไหวง่ายเพราะคุณเป็นศิลปินเดียว ไมโครโฟนตามตู้ไปรษณีย์ที่ยืนโดดเดียว (รึเปล่า?)

=============================================
ภาพการ์ตูนคุณหนู
คุณมองโลกในเเง่ดี อาจเป็นเเบบคุณหนู เด็กๆ ที่ไม่ยอมโต คุณชอบคิดฝัน ไม่ชอบอยู่ใน กรอบกฎระเบียบเท่าใดนัก แต่ต้องปฏิบัติเพราะทำตัวเป็นเด็กมองดูเเล้วคุณอ่อนกว่าวัย (โดยไม่ ต้องไปออกอุบายเชียว) คุณอาจเชื่อคนง่าย เจ้าอารมณ์ไปบ้างยามเมื่อเอาเเต่ใจตัวเอง เเละคุณก็ มีวิธีอ้อนผู้ใหญ่ให้ตายใจ ค่อยๆ ควักเงินออกจากกระเป๋าให้คุณซื้อของขวัญเล่นเป็นประจำ ระวัง ของเล่นนั้นจะไม่ใช่ของเล่นเด็กนะ

=============================================

ภาพผีน่ารัก
คุณอยากรู้อยากเห็นอยากพิสูจน์ในเเบบเด็กๆ เสียจริง มักให้ความสนใจในเรื่องลึกลับ ที่ไม่ สามารถพิสูจน์ได้ ชอบทำอะไรแปลกๆ เข้าใจยาก คุณอาจชอบเสาะหาเครื่องรางของขลังไว้ครอบ- ครอง ชอบเเสดงความคิดเห็นโต้เเย้งนิดๆ คุณจะชอบหลอกชาวบ้านให้ใจสั่นขวัญผวา โดยเฉพาะแฟนคุณนั่นแหละตัวหลอกได้ดีเชียว

=============================================

ภาพทะลึ่งทะเล้นในเเบบน่ารัก
คุณชอบคิดฝันสร้าสวรรค์ไว้ในใจ ออกจะเจ้าชู้ แต่อารมณ์รักหรือกามาอารมณ์มากไปหน่อย ขณะเดียวกันก็ชอบความอิสระ ไม่ชอบให้ใครมาผูกมัด ไม่ชอบอยู่ในกฎกติกาเเละกฎระเบียบของสังคม ไม่ชอบความจำเจ ออกจะขี้เบื่อเอาง่ายๆ เเต่คุณเป็นคนมองโลกในแง่ดี มองความรักอย่างสวยหรู สนุก และไม่จริงจังกับชีวิตมากจนเกินไป คุณเป็นคนเปิดเผย ไม่ค่อยมีความลับนัก สำหรับเพื่อนสนิทเเล้วคุณให้ความไว้วางใจเขามากเชียวหล่ะ อ้อ1 อารมณ์ขันมุขคุณเยอะจังเลย

=============================================

ภาพหัวใจ หรือความรัก
คุณมองโลกในแง่ดี ช่างฝันในแบบเด็กๆ ที่คิดว่าชีวิตต้องโรยด้วยกลีบกุหลาบแสนหวาน ออกจะเจ้าชู้ในความรักเเละความคาดหวังสูง ต้องการให้ชีวิตมีความรักที่อบอุ่นซึ่งอาจไม่จริงในสถานการณ์ปัจจุบัน สงสารผู้ที่อ่อนด้อยกว่า ความอ่อนไหวของคุณก็ให้ดูตอนคุณน้อยใจ (น่ารักซะไม่มีเชียว) คุณอาจเก็บความรู้สึกลึกๆ โดยไม่แสดงออก มักแสดงออกในสิ่งสวยงามโรแมนติก เเต่ถ้าบทคุณเอาเเต่ใจตัวเองแล้ว คุณไม่เป็นรองใครเลยเชียว (ถามแฟนหรือเพื่อนสนิทของคุณดูก็ได้)

=============================================

ภาพกีฬาพาชื่นใจ
คุณชอบใช้ชีวิตในแบบนักต่อสู้เเข่งขัน เพราะคุณมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด คุณรักที่จะเสี่ยงภัยต่างๆ มักแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ดีในสภาพความเป็นจริง ตุณเคารพตวามมีระเบียบแบบแผนเเละ อุดมการณ์จนอาจซีเรียสกับชีวิตเกินไป นั่นเพราะความทะเยอทะยานของคุณในการตั้งเป้าหมายชีวิต มีอยู่สูงแม้แต่เรื่องความรักเพราะคุณจะเอาแต่เหรียญทองในแบบ To Be Number One.

=============================================

ภาพตลกน่าขำกลิ้ง
ุคุณมีอารมณ์ดี ไม่ชอบเรื่องจริงจังเท่าไร อาจแคร์ความผิดหวังในอดีต อย่าโปรยเสน่ห์มากนักเดี๋ยว ชาวบ้านเดือดร้อน คุณชอบใช้ชีวิตเเบบเรียบง่าย ชอบเเสวงหาความสนุกสนานในเเบบของคนที่มอง โลกในเเง่ดีเเละขี้เล่น คุณเป็นคนใจกว้าง เปิดเผย ไม่ใส่ผงชูรส เรื่องความรักคุณอาจจะหัวเราะ เเละพูดว่าอาจผิดพลาดทางเทคนิคบางประการ ไปบ้างเเต่คุณก็ยังเเก้ ้ปัญหาได้ (ที่สำคัญ แฟนสวย - หล่อทุกคนเลยนะ)

=============================================
ภาพวิวทิวทัศน์

คุณชอบความอิสระ ช่างคิดช่างฝัน ชอบท่องเที่ยวไปยังที่ต่างๆที่สวยงามตามธรรมชาติ ไม่ชอบความซ้ำซากจำเจ เว้นแต่ภาระหน้าที่การงานเท่านั้น ถ้ามีโอกาสที่ดีคุณอาจชวนพรรคพวกไปท่องเที่ยวเปลี่ยน บรรยากาศให้ถูกคลื่นลมแสงแดดในธรรมชาติดูดซับอารมณ์อ่อนไหวของคุณให้มีความสบายใจ เหมือนเอาความหลังที่ไม่ดีใส่ขวดลอยไปกับทะเล

=============================================

ภาพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชา
คุณเป็นคนเคารพศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มักชอบเรื่องเร้นลับเเละพิสูจน์ไม่ได้ เชื่อในกฎเเห่งกรรม เคารพผู้อาวุโสหรือมีประสบการณ์มากกว่า การคิดตัดสินใจอาจช้าไปบ้าง แต่เพื่อความรอบคอบอาจ ขอคำปรึกษาจากผู้อื่น ลำพังตัวคุณมีจิตใตดีวื่อสัตย์สุจริต รักเกียรติยศชื่อเสียง เคารพกฎระเบียบ ชอบช่วยเหลือผู้อ่อนวัยกว่า มีความมานะอดทนรอคอยเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่มุ่งหวัง ถ้าคุณขับรถอยู่ อย่ายกมือไหว้บ่อยๆ นานๆ เดี๋ยวคนข้างๆ จะไม่กล้านั่งด้วย...เพราะความกลัว

=============================================

ภาพสัตว์โลกน่ารัก
คุณมีจิตใจดี อ่อนโยน จริงใจ มีมนุษยสัมพันธ์กับคนรอบข้างชอบช่วยเหลือคนที่มีความทุกยาก โดยเฉพาะคนที่อ่อนวัยกว่า อารมณ์ดี ชอบจินตนาการ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เเต่ส่วนลึกๆ คุณอาจขี้เหงาว้าเหว่จนต้องเลี้ยงลูกสุนัขอุ้มไปไหนต่อไหนจนคนอื่นอิจฉา
อยากให้คุณอุ้มบ้างเเล้ว

=============================================

ภาพมอเตอร์ไซค์ หรือรถยนต์เก๋ไก๋
คุณมีความกระตือรือร้น ไม่ชอบอยู่นิ่ง ชอบเเข่งขันในเเบบท้าทาย ขณะเดียวกันมีความมานะอดทน เพียรพยายามพัฒนาตนให้มีความมั่นคงในชีวิต รักความสนุก สรวลเสเฮฮายามค่ำคืน รักชื่อเสียงเ กียรติยศ เปิดเผย อาจชอบโอ้อวดบารมีความร่ำรวยบ้างเเต่อย่าอวดมากนะ เดี๋ยวคนข้างๆ อาจทำให้ คุณไม่มีโอ้อวด (เพราะกระเป๋าฉีก)

=============================================

รูปภาพคนโปรดที่ชื่นชอบ
(อันนี้คืออีกอันที่ชอบ อิอิ ^^)
คุณชื่นชอบความสวยงามหล่อเทห์ มีความโรแมนติก มองโลกในเเง่ดี มีความรักผูกพันต่อเพื่อน พ้อง เอื้อเฟื้อต่อผู้อ่อนวัยกว่า ชอบคิดฝัน สนุกเฮฮา แต่อาจอ่อนไหว เจ้าเเง่แสนงอนต่อคนรัก ถ้าเขาเผลอชมใครให้คุณได้ยิน ยิ่เเย่กว่านั้นคือ คิดว่าคุณมีใจให้คนอื่นสิ...สำคัญ ยกเว้นแต่พ่อ สุดหล่อเบ็คแฮมก็ไม่เป็นไร

=============================================

ภาพอาหารน่าเจี้ยะ
คุณชอบรับประทานอาหารดีๆ ในแบบนักชิมไปบ่นไป ชอบรสชาติอาหารที่เอร็ดอร่อย โดยเฉพาะอาหาร รสเด็ด อาจเพลิดเพลินกับของหวานจนลืมสังเกตร่างกายตัวเองเพราะ คุณชอบ ความสะดวกสบาย ที่สุด อาจต้องพึ่งพ่ยาลดความอ้วน นอกจาากนั้นยังชอบความสวยหรูเก๋ไก๋ ในแบบคุณเองชอบคิด ฝันถึงสิ่งใหม่ให้ตัวคุณเสมอ เเต่อย่าปล่อยใจกับสิ่งรอบกายนักไม่เช่นนั้น กว่าจะรู้ตัวต่อเมื่อมี เเมวมองมาชวนประกวดธิดาช้าง

=============================================

ภาพสัญลักษณ์ อักษร หรือโลโก้ต่าง
(อันนี้ก็ใช้บ่อยนะ)
คุณชอบหาความรู้เเละศิลปะในการประดิษฐ์คิดค้นออกจะมีอุดมการณ์มากพอดู มีความทะเยอ ทะยาน รักความก้าวหน้าจนดูเป็นคนใจร้อน สมองแจ่มใสอารมณ์ดี สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคภัย เบียดเบียน ขยันขันแข็ง มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ชอบช่วยเหลือผู้ที่อ่อนวัยกว่า รักสุขภาพร่างกายเเละความสะอาดมากจนบางครั้งดูเหมือนจุกจิกจู้จี้จนเกินไป จนเขาจะหนีไปหม่ำที่อื่นอยู่เเล้ว

=============================================

ภาพเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเทคโนโลยี
คุณชอบความก้าวหน้าใรชีวิต หัวสมัยใหม่ ชอบการเปลี่ยนเเปลงด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโ,ยีที่อำนวยความสะดวกสบายตามประสาคนหัวไอที มีความสุขกับสิ่งขิงทางวิทยาศาสตร์ที่จับต้องได้ ช่างประดิษฐ์คิดค้น ชอบวิเคราะห์หาเหตุผล ชอบความตื่นเต้นเร้าใจในเเบต้องนับ 3 2 1 เเละ 0 โดยมีกฎระเบียบแบบแผนของสังคมเป็นที่ตั้ง มีความอดทนที่ต้องฝ่าฟันด้วยตนเอง อะไรไม่ว่า...อย่าหมกมุ่นกับเทคโนโ,ยีมากจนคิดว่า แฟนคุณเป็นหุ่นยนต์ตัวหนึ่งล่ะ

=============================================

ภาพโป๊ เซ้กซี่วับๆ แวมๆ
คุณชื่นชอบและให้ความสนใจความงามของสรีระมากเป็นพิเศษ ว้าว!!! ออกจะเจ้าชู้ประตูดินเเละ มีเสน่ห์ต่อเพศตรงข้าม ชอบจินตนาการ ออกจะทะเล้น ทะลึ่ง มองโลกในแง่ดี ชอบความสนุกสนาน ยามค่ำคืน รวมทั้งเป็นนักโต้วาที พูดสองแง่สองง่ามตัวฉกาจ คุณมีอารมณ์เซ็กซ์จัดเอาการในเรื่อง ความรัก มีอารมณ์อ่อนไหวเเละอาจชอบเก็บตัว ไม่ค่อยกล้าเเสดงออกเท่าใดนัก จนดูเหมือนเป็น คนเก็บกด

ที่มา...http://writer.dek-d.com/ubyi/story/viewlongc.php?id=224074&chapter=36

70 สิ่งที่คุณอาจไม่รู้

70 สิ่งที่คุณอาจไม่รู้ ไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ ^^

1.ยุงบินด้วยความเร็ว 5 ไมล์ต่อชั่วโมง...

2.ผีเสื้อบินด้วยความเร็ว 20 ไมล์ต่อชั่วโมง...

3.เส้นผมคนรับน้ำหนักได้ 3 กิโลกรัม...

4.เสียงกรนที่ดังที่สุดดังถึง 87.5 เดซิเบลล์

5.พอล แมคคาร์ที เป็นเจ้าของลิขสิทธิเพลงแฮป X เบิร์ดเดย์
ถ้าจะนำมาออกรายการต้องซื้อลิขสิทธิก่อน...

6.เหรียญทองโอลิมปิกต้องมีแร่เงินผสมอยู่ 92.5 เปอร์เซนต์...

7.หอเอนเมืองปิซาเอนไปทางใต้...

8.กษัตริย์หลุยส์ที่ 14 อาบน้ำทั้งหมด 3 ครั้งในชีวิต...

9.ฮิตเลอร์แสกผมข้างซ้าย...

10.ผู้หญิงที่เกาะฮาวายที่ทัดดอกไม้ที่หูข้างซ้าย แสดงว่ามีเจ้าของแล้ว...

11.เราไม่สามารถฆ่าตัวตายด้วยการกลั้นหายใจได้...

12.ผู้หญิง 3.9 เปอร์เซนต์ไม่ชอบใส่กางเกงใน...

13.ฮิปโปผายลมทางปาก...

14.ประเทศซาอุดิอราเบียไม่มีแม่น้ำ...

15.กังหันทั้งโลกหมุนทวนเข็มนาฬิกา ยกเว้นที่ไอร์แลนด์...

16.เด็กนักเรียนอายุ15 ปีขึ้นไปในบังคลาเทศจะถูกจับเข้าคุกถ้า"โกงข้อสอบ"...

17.ปลาที่อาศัยในน้ำลึกเกิน 800 เมตร จะไม่มีตา...

18.ผมคนเราจะร่วงประมาณ 200 เส้นต่อวัน...

19.ตัว"โอ"เป็นสระที่เก่าแก่ที่สุดในอังกฤษ...

20.คนพูดประมาณ 120 คำต่อนาที

21.ฝ่ามือและฝ่าเท้าของคนเราไม่สามารถไหม้ได้...

22.เม่นชอบช่วยตัวเอง...

23.ถ้าปลาไหลไฟฟ้าอยู่ในน้ำเค็ม จะถูกช็อตตาย...

24.ขั้นบันไดในไทยจะเป็นเลขคี่...

25.เจ้าฟ้าชายชาลส์ชอบสะสมฝาโถส้วม...

26.คนมีโอกาสตายจากผึ้งต่อยมากกว่างูกัด...

27.ประเทศวาติกันมีประชากรประมาณ 1000 คน

28.เมื่อคุณจาม หัวใจคุณจะหยุดเต้นเสี้ยววินาที

29.มันเปนไปมะได้อ่ะคับ ถ้าคุณจะจามโดยไม่หลับตา (มีคนญี่ปุ่นคนหนึ่งจามแล้วแบบลืมตาได้...เคยดูในclip)

30.เดิมโคคาโคล่าเป็นสีเขียว

31.ชื่อที่โหลที่สุดในโลกคือ Mohammed

32.กล้ามเนื้อที่แข็งแรงที่สุดในร่างกายคือลิ้น

33.แต่ละโพหลังไพ่ แสดงถึงกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่จากประวัติศาสตร์
โพดำกษัตริย์เดวิด - ดอกจิก อเล็กซานเดอร์มหาราช - โพหัวใจ ชาร์ล เลอ มาญ - ข้าวหลามตัด จูเลียส ซีซาร์

34. อนุสาวรีย์ของใครสักคนที่อยู่บนหลังม้า และม้ายกสองขาขึ้นบนอากาศแปลว่าคนนั้นตายในสงคราม

35.ถ้าม้ายกขาข้าเดียวแปลว่า เขาบาดเจ็บในสงคราม และตายจากการบาดเจ็บนั้น

36.ถ้าทั้งสี่ขาของม้าอยู่บนพื้น แสดงว่าตายโดยธรรมชาติ

37.ใน 4000 ปีที่ผ่านมา ไม่มีสัตว์ชนิดใหม่ๆที่ถูกทำให้เชื่อง

38.เชคสเปียร์ เป็นคนคิดค้นคำว่า assassination (การลอบฆ่า) และ bump (ชน กระทบ)

39.หัวใจมนุษย์สร้างความดันเพียงพอที่จะปั๊มเลือดออกจากร่างกายไป 30 ฟุต

40. หนูสามารถสืบพันธ์ได้เร็มาก ใน 18 เดือน หนูสองตัวจะสามารถมีทายาทมากกว่าล้านตัว

41.การใส่หูฟังแค่ชั่วโมงเดียว ทำให้แบคทีเรียในหูเพิ่มขึ้น700 เท่าตัว

42.ลิปสติกส่วนใหญ่มีส่วนประกอบของเกล็ดปลา

43.เหมือนกับลายนิ้วมือ....ลายลิ้นทุกคนต่างกัน

44.นิตยสาร time ได้ยกย่องให้คอมพิวเตอร์เป็นบุคคลแห่งปีในปีค.ศ.1982

45.สถิติจูบนานที่สุดในโลกเป็นของหลุยซา แอลเมโดวาร์ วัย 19 ปีกับแฟนหนุ่ม ริชแลงเลย์ วัย 22 ปี
พวกเขาทำสถิติไว้ที่ 30.59.27 ชม.

46.ตอนที่ f4 ไปเปิดคอนเสิร์ตที่อินโดนีเซียทำให้เด็กนักเรียนเกือบ100 คน
ต้องเรียนซ้ำชั้น เพราะไม่ได้ไปลงทะเบียนเรียนเทอม 2

47.บริษัทผู้ผลิตยาสีฟันดาร์ลี่เป็นเจ้าของเดียวกันกับที่ผลิตยาสีฟันคอลเกต

48.โดนัลด์ ดักส์ ถูกแบนในประเทศฟินแลนด์ เพราะมันไม่ได้สวมกางเกงใน

49.ภาพยนต์เรื่อง nothing hill จ่ายค่าตัวจูเลีย โรเบิร์ต 15ล้านเหรียญ ( 660 ล้านบาท )
ในขณะที่พระเอกอย่างฮิว แกรนจ์รับค่าตัวเพียง 1 ล้านเหรียญ ( 45 ล้านบาท)

50. หนังอนิเมชันเรื่อง SouthPark ได้รับการบันทึกลงในหนังสือกินเนสส์บุ๊กว่าเป็นหนังอนิเมชั่นเรื่องยาวที่หยาบคายที่สุดในโลก
สถิติบันทึกไว้ว่ามีการใช้คำหยาบ 399 คำ พฤติกรรมรุนแรง 221 ครั้ง และแสดงท่าทางหยาบคาย 128 ครั้ง

51.ขนมทอดกรอบตรา ปูไทย ระบุว่าไม่มีส่วนผสมของเนื้อปู

52.ในน้ำทะเล 100 ตัน จะมีทองคำอยู่ประมาณ 4 กรัม

53.จำนวนแถวของข้าวโพดในแต่ละฝักจะเป็นเลขคู่

54.จิงโจ้เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดเดียวที่เดินถอยหลังไม่ได้

57.ยุงชอบเลือดเด็กมากกว่าเลือดผู้ใหญ่

58.แมงมุมทอดรสชาติเหมือนถั่ว

59.ฟันของแมลงสาบอยู่ในท้อง

60.เม่นทุกตัวลอยน้ำได้

61.หมู มีโอกาสเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง

62.นอกจากมนุษย์แล้ว หมีขั้วโลกและจิงโจ้ต่างก็จูบเป็น ส่วนลิงชิมแปนซีนั้นจูบแบบ "เฟรนช์คิส" ได้ด้วย

63.คนถนัดขวามีอายุเฉลี่ยยืนยาวกว่าคนถนัดซ้ายถึง 9 ปี

64.Hippopotomonstrsesquippedaliophobia คือ ชื่ออาการของคนที่หวาดกลัวคำอ่านยาวๆ

65.ผู้ที่เกิดเดือนมกราคม - มีนาคม มีแนวโน้มเป็นโรคจิตและโรคคลั่งมากกว่าเดือนอื่นๆ

66.แก้วไม่ได้เป็นของเเข็ง เเต่เปนของเหลว

67.สมองคนเราหนักประมาณ 3% ของน้ำหนักของร่างกาย แต่ใช้เลือดไปเลี้ยงถึง 15% ของเลือดทั้งหมด

68.เลือดของกุ้งมังกรเปนสีน้ำเงิน

69.อูฐสามารถหมุนหัว 180 องศา

70.รู้หรือเปล่าว่าเว็บ google ไม่ได้มีประโยชน์แค่หาข้อมูล แต่เป็นเครื่องคิดเลขได้
(ลองใส่ 5+2 หรือเลขอะไรก้อได้ในช่องแล้วกด Search ดูจิ)

ที่มา...http://writer.dek-d.com/ubyi/story/viewlongc.php?id=224074&chapter=7

55 ข้อเกี่ยวกับคณะอักษรศาสตร์

จริงๆ ไม่ได้ตั้งใจจะหา 2 บทความนี้หรอกนะเจ้าคะ แต่ตั้งใจจะหาแนวข้อสอบ + ดูข้อมูลคณะนี้ไปพลางๆ เผื่อจะมีแรงฮึด!!
จะได้ทำอะไรดีๆขึ้นมาบ้าง พอดีมาเจอ บทความนี้ (และบทความที่แล้ว)ก็อดที่จะมีลูกฮึด!!!! แล้วก็เอามาอัพไว้มิได้ หุหุ

อนึ่ง ที่เขียนนี่ เป็นของคณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้นนะคะ

1.คณะอักษรศาสตร์ ไม่ได้เรียนแต่ภาษานะคะ

2.นอกจากเอกภาษาต่างๆแล้ว คณะอักษรศาสตร์ยังมี เอกปรัชญา เอกภูมิศาสตร์ เอกการละคร เอกประวัติศาสตร์และเอกสารนิเทศด้วยนะคะ(บรรณารักษ์ศาสตร์)

3.แล้วก็ยังมีสาขาวิชาโทวรรณคดีเปรียบเทียบ ภาษาศาสตร์้ อเมริกันศึกษา ยุโีรปศึกษา ไทยศึกษา ด้วยนะคะ (ตกหล่นอะไรบอกก็ดีนะคะจขบ.พยายามขุดอย่างที่สุดแล้วเนี่ย =w=)

4.ถ้าอยากจะเรียนเอกเกาหลีเพราะกรี๊ดดารา ไม่ต้องมาเข้านะคะ ไม่มีค่ะ มีแต่โทเกาหลีค่ะ

5.ถ้่าไม่อยากเรียนเลขอย่างแรงงง ก็มาเข้าคณะนี้เลยค่ะ

6.แต่ต้องไม่เรียนเอกภูมิศาสตร์นะ เพราะเอกนั้นเรียนเลขค่ะ (เทพมาก T[]T ทนเรียนกันได้ไงอ่ะค้า)

7.ถ้าอยากเจอหนุ่มวิศวะบ่อยๆก็เข้าเอกสารนิเทศโลดค่ะ เพราะเห็นเพื่อนเราบอกมาว่ามันต้องทำงานด้วยกันอ่ะ

8.ปัจจุบัน คณะอักษรศาสตร์ยังไม่มีตึกของคณะตัวเองค่ะ (เป็นข้อมูลเมื่อปี 2009 ค่ะ)

9.ตึกเทวาลัย แปะคำว่า "คณะอักษรศาสตร์" ไว้ตัวบ่ะเฮิ่ม แต่ไม่ใช่ของคณะอักษรศาสตร์แล้วค่ะT[]T

10.ส่วนอาคารบรมราชกุมารีที่ใช้เรียนอยู่ เป็นตึกเรียนรวมที่ใช้กับคณะศิลปกรรมศาสตร์ค่ะ

11.ตึกของคณะอักษรศาสตร์ กำลังก่อสร้าง และไม่มีวี่แววว่าจะเสร็จ... (แต่ตอนนี้ปี 2011 แล้ว เสร็จหรือยังมิทราบ)

12.นิสิตที่เข้าศึกษาในคณะอักษรศาสตร์ ชั้นปีที่1 จะมีแค่เอกภาษาญี่ปุ่น เอกภาษาไทย เอกภูมิศาสตร์ เท่านั้นที่ถือว่าได้สังกัดวิชาเอกแล้ว

13.นิสิตปี1คนอื่นๆก็จะถือว่ายังไม่มีสังกัดสาขาวิชาเอกค่ะ

14.เลือกเอกได้ตอนปี 2 นะคะน้องๆ

15. คณะอักษรศาสตร์ อ่านว่า อัก-สอ-ระ-สาด ค่ะ ไม่ใช่อัก-สอน-สาด แล้วก็ไม่ใช่ อัก-สอน-ระ-สาด ด้วยค่ะ

16. คณะอักษรศาสตร์ เป็น 1 ใน 2 คณะ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีโปรแกรมเกียรตินิยม (อีกคณะคือคณะวิทยาศาสตร์)

17.แต่ก็มีให้เลือกเฉพาะสาขาวิชาเท่านั้น

18.โปรแกรมที่ว่าเนี่ย... มันเรียนฟรีค่ะ!

19.แต่ก็มีเงื่อนไขสุดโหดว่า เกรดเฉลี่ยชั้นปีที่ 1 ต้องได้ 3.75 ขึ้นไป

20. แต่ถ้าเกิดว่าเรียนๆไปแล้วเกรดเฉลี่ยต่ำกว่า 3.6 เมื่อไหร่ จะต้องอกจากโปรแกรมทันที...

21.สาวอักษรไม่ได้สวยทุกคนหรอกนะคะ

22.ไม่ได้คุณหนู เรียบร้อย น่ารักทุกคนหรอกค่ะ

23.ก็ดูคนเขียนบทความนี้เป็นตัวอย่างสิคะ.... ไม่สวย แถมยังรั่วอีก...

24.สาวอักษรไม่ได้กรี๊ดหนุ่มวิศวะทุกคนนะคะ

25.เจ้าของบทความนี่แหละค่ะ อยากจะยกพวกไปต่อยกับมันมากเลยค่ะ(โรงอาหารพวกเอ็งก็มี!!! จะมาแย่งพวกฉันนั่งทำไมล่ะ!!!)

26.สาวอักษร ถ้าไม่กรี๊ดหนุ่มวิศวะก็จะกรี๊ดหนุ่มสถาปัตย์

27.แต่เจ้าของบล็อกขอกรี๊ดหนุ่มฝรั่งที่คณะเศรษฐศาสตร์ค่ะ...

28.คณะอักษรก็มี"ผู้ชาย"แท้ๆเหมือนกันนะคะ (อิอิ)

29.เพียงแต่ว่า.... มีอยู่"น้อย"ค่ะ

30.ใครๆก็ชอบคิดว่าเรียนอักษรต้องเก่งภาษาอังกฤษ

31.ทั้งๆที่มันไม่จริ๊งงง ค่ะ มันไม่จริง T[]T คนเก่งก็มี คนไม่เก่งก็มี เหมือนที่อื่นๆนั่นแหละค่ะ

32.กีฬาเฟรชชี่ทีไร อักษรได้ถ้วยดวลเพลงทู้กกกทีแหละ (ก็ร้องเพราะจริงๆ ^ ^ ชอบๆ)

33.แต่ชั้น(หมายถึงคนเขียนบทความ) ไปแข่งฟันดาบ... แขนช้ำ เนื้อตัวช้ำจนได้ตั้งเหรียญเงินมา ไม่เห็นมีใครเสนอหน้าไปเชียร์... ไม่มีใครรู้ิอีกตะหาก - -+

34.ซึ่งกีฬาอื่นๆก็เป็นเหมือนกัน... ไม่มีใครไปเชียร์... แถมพอได้เหรียญ ก็หาได้มีใครสนใจไม่

35.สรุปว่า... ในงานกีฬาเฟรชชี่ คณะอักษรศาสตร์สนใจแต่สแตนด์เชียร์??

36.ก็แหงอยู่แล้ว อักษรเอาสวยไว้ก่อน แข่งกีฬาให้โทรมทำไม!!(เกี่ยว!!!)

37.ไม่ต้องตกใจ ถ้าจะเห็นสาวอักษรบางคนใส่กางเกงนิสิตมาเรียน

38.เพราะจริงๆแล้ว พวกเธอเป็น"ผู้ชาย"ที่สวยกว่าผู้หญิง T^T (จุฬาห้ามนิสิตชายแต่งหญิงมาเรียนนะคะ แม้ว่าจะสวยแค่ไหนก็ตาม)

39.ห้องน้ำตึกบรมราชกุมารี บางทีก็มี "เพศชาย" เข้าห้องน้ำผู้หญิงด้วยนะคะ

40.แต่ก็ไม่มีใครถือสา

41.เพราะว่า... เราก็ไม่ได้ต่างกันมากหรอกนะ... จริงไหม??? (555+ )

42. เชื่อไหมว่าตึกบรมราชกุมารี(ซึ่งเป็นตึกที่คณะอักษรศาสตร์ใช่อยู่ตอนนี้) มีโดมหิมะเลี้ยงหมีแพนด้าก่อนเชียงใหม่ตั้งนาน (ก็ห้อง 503 ไงคะ)

43. มีตำนานว่า ถ้าเดินสะดุดบันได(ที่ปูพรมสี)แดงในตึกเทวาลัย จะได้แฟนเป็นหนุ่มในคณะอักษรศาสตร์

44.ดังนั้นสาวๆก็เลยเดินกันระมัดระวังมาก... เพราะกลัวจะไม่มีแฟนไปตลอดชาติ...

45.แต่พอเดินที่ลานเกียร์วิศวะเนี่ยอ่ะนะ... แทบจะหลับตาเดินกันเลยเชียว - -+ (เพราะมีตำนานว่า ถ้าสะดุดลานเกียร์ จะได้แฟนเป็นหนุ่มวิศวะ)

46.แต่ก็แค่บางส่วนเท่านั้นนะ เจ้าของบล็อกขอสะดุดหน้าอ๊อกซ์ฟอร์ด หรือไม่ก็โบลันญ่าละกัน :b

47.สาวๆที่คิดจะเรียนคณะอักษรศาสตร์ต้องถึก และแข็งแรง

48.หรือถ้าไม่ถึกและแข็งแรงมาก่อน มาเรียนก็จะถึกขึ้นเอง

49.เพราะแบกหนังสือมาเรียนเยอะมาก

50.เหตุผลอีกประการก็คือ เวลามีงานแบกขนอะไร ก็ต้องใช้แรงงานของผู้หญิงกันเองนี่แหละ เพราะมันไม่ค่อยมีผู้ชาย -*-

51.สีประจำคณะอักษรศาสตร์คือสีเทา

52.สัญลักษณ์ประจำคณะอักษรศาสตร์คือพระสุรัสวตีทรงนกยูง

53. ต้่นไม้ประจำคณะอักษรศาสตร์คือต้นชงโค

54.สังเกตเห็นแล้วใช่ไหมล่ะว่าเจ้าของบล็อกมันหมุดมุกจะเขียนแล้ว

55.เลข 55 นี่สวยดีนะ เอาเป็นว่า... จบที่ข้อนี้เลยละกัน (ดื้อๆ)

555555555555+ ขำๆนะคะ ขำๆ อย่าคิดมากกกกกก ^^

ที่มา...http://pori.exteen.com/20090722/entry

7 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับจุฬาฯ



บังเอิญเปิดเจอค่ะ เห็นว่าน่าสนใจดีเลยเอามาอัพฯ ^^

7 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับจุฬาฯ

1. นิสิตจุฬาฯ ลูกคุณหนู ติดหรู ไฮโซ

ข้อเท็จจริง นิสิตจุฬาฯ หลายคนมาจากต่างจังหวัด (บางคณะมีเด็กตจว.มากกว่าเด็กกรุงเทพแท้ๆซะอีก) หลายคนกินข้าวมื้อละ 17-18 บาท และอีกหลายๆคนเลือกที่จะวิ่งออกกำลังกายแถวๆสวนลุม แทนการไปเข้าฟิตเนส



2. นิสิตจุฬาฯ ต้องฉลาด หัวระดับเทพ เนิ้ดเข้าไว้ ขยันเข้าไว้

ข้อเท็จจริง นิสิตจุฬาฯ ก็คนปกตินี่แหละครับ มีกิน มีเที่ยว ช็อป เล่นเกม เล่นบอล บางคนมีสอบพรุ่งนี้ วันนี้ยังเข้าร้านเน็ทเล่นDotAกันอยู่เลย (แต่ก็ใช่ว่าจะทิ้งการเรียนซะทีเดียว กลับบ้านไปก็ต้องแบ่งเวลามาอ่านหนังสืออยู่ดี)



3. เด็กจุฬาฯ คิดว่าตัวเองเก่ง ชอบดูถูกคนอื่น

ข้อเท็จจริง นิสิตจุฬาฯ มากกว่า 99% เป็นโรคติดต่อชื่อว่า "Over ถ่อมตน Symdrome" สังเกตได้จากเวลาไปถามเกรด หรือคะแนนสอบ คำตอบที่ท่านจะได้ยินคือ "ได้น้อยอ่า ได้แค่ x คะแนนเอง" ถึงแม้คะแนนจะออกมาแล้วได้ A ก็เหอะ



4. จุฬาฯ หยิ่ง พูดแล้วไม่พูดด้วย

ข้อเท็จจริง อย่างที่บอกไว้ในข้อ 2 นิสิตจุฬา ก็คนธรรมดาล่ะครับ ใครชวนคุยก็ต้องคุยตอบอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นถามทาง ซื้อตั๋วรถป๊อบ เหล่านี้พวกเรายินดีให้ความช่วยเหลือ ถ้ามีเวลาว่าง ยกเว้นในกรณีที่คุณเป็นบุคคลภายนอกแล้วทักว่า "จะไปไหนจ๊ะน้องสาว" อันนี้โอกาสไม่คุยด้วยเกือบจะ 100%


5. จุฬาฯ แบ่งชนชั้น ตัวใครตัวมัน

ข้อเท็จจริง เมื่อเข้าสู่ช่วงหายนะ (3 วันก่อนสอบ) ลองแวะไปตามร้านฟาสฟู้ดต่างๆที่เปิด 24ชม. (เช่น Burger King สาขาสีลม) คุณจะพบกับกลุ่มนิสิตที่นัดกันมาติวก่อนสอบ ซึ่งมักจะติวกันโต้รุ่ง ไม่หลับไม่นอนกันเลยทีเดียว



6. นิสิตจุฬาฯทำอะไรไม่เป็นชิ้นเป็นอัน เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ

ข้อเท็จจริง ค่ายอาสา ค่ายอนามัย กิจกรรมแนะแนว งานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯวิชาการ เกิดขึ้นจากฝีมือของนิสิตล้วนๆ อาจารย์จะช่วยเป็นที่ปรึกษาให้เท่านั้น



7. งานฟุตบอลประเพณี จัดกันทำไมทุกปี เปลืองค่าภาษีประชาชน

ข้อเท็จจริง งานทุกปีที่จัดขึ้น จะมีสปอนเซอร์จากที่ต่างๆ ให้การสนับสนุน ไม่ได้ใช้เงินจากภาษีประชาชนแม้แต่บาทเดียว และรายได้ทั้งหมดจะนำไปบริจาคสมทบทุนตามมูลนิธิต่างๆทั้งหมด

แต่ที่เป็นเรื่องจริง...คือ "จุฬาฯน่ารัก" อันนี้ไม่เถียงงงง 5555+

ที่มา...http://yoroichi.exteen.com/20090516/entry

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

เนลสัน แมนเดลา จากนิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย



“งาน ขนมปัง น้ำ และเกลือ สำหรับทุกคน”
คือสุนทรพจน์ในพิธีรับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อปี 1994 ของเนลสัน แมนเดลา ที่กล่าวถึงสิ่งจำเป็นพื้นฐานของชีวิตที่ขาดแคลนอย่างกว้างขวางในยุคเหยียดผิว (Apartheid Era) ในตอนนั้น คนผิวดำซึ่งปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 79 ของประชากร 49 ล้านคนของแอฟริกาใต้ถูกลิดรอนสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง คนผิวดำส่วนใหญ่ถูกจัดให้อยู่ในดินแดนที่กำหนดให้เป็นเขตพักอาศัยของคนผิวดำ (homeland) ขณะที่คนผิวดำอีกหลายล้านคนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองคนผิวดำนอกดินแดนที่กำหนดไว้ และเป็นแรงงานสำคัญในภาคเศรษฐกิจ ต้องพกพาหนังสือผ่านทางติดตัว การเลือกตั้งทั่วไปในระบอบประชาธิปไตยครั้งแรกของแอฟริกาใต้ ซึ่งทำให้เนลสัน แมนเดลา ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี นำไปสู่การยกเลิกดินแดนที่กำหนดไว้เหล่านั้น และจัดตั้งแคว้นทั้งเก้าขึ้น อันได้แก่ เกาเต็ง ควาซูลู-นาตาล อีสเทิร์นเคป ลิมโปโป เวสเทิร์นเคป อึมพูมาลังกา นอร์ทเวสต์ ฟรีสเตต และนอร์เทิร์นเคป เพื่อช่วยหล่อหลอมและประสานรอยร้าวของชาติพันธุ์ต่างๆ

ตลอดระยะเวลากว่า 15 ปีหลังการล่มสลายของระบอบเหยียดผิว แอฟริกาใต้มีประธานาธิบดีผิวดำมาแล้วสามคน ได้แก่ เนลสัน แมนเดลา, เทโบ เอ็มเบกี และเจค็อบ ซูมา ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ประเทศนี้ต้องต่อสู้ฝ่าฟันกับมรดกแห่งความเกลียดชังและการกดขี่ทางเชื้อชาติมาตลอด เช่น มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อความจริงและความสมานฉันท์หรือ ทีอาร์ซี (Truth and Reconciliation Commission: TRC) ซึ่งเป็นองค์กรคล้ายศาลที่ไม่เพียงทำหน้าที่รับฟังและไต่สวนคดีความและข้อพิพาทต่างๆ อันสืบเนื่องมาจากนโยบายเหยียดผิว แต่ยังทำหน้าที่ให้คำแนะนำเพื่อการเยียวยาเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายอีกด้วย
ในระยะแรกๆ หลังการยกเลิกระบอบเหยียดผิว ชาวแอฟริกาใต้ต้องอกสั่นขวัญแขวนกับเหตุการณ์ลอบวางระเบิดหลายครั้ง ซึ่งเชื่อว่าเป็นฝีมือของกลุ่มคนที่เสียผลประโยชน์และพวกหัวรุนแรงที่ต้องการแก้แค้น หรือต่อต้านการล้มเลิกนโยบายเหยียดผิว แม้ในทุกวันนี้ หากดูเผินๆ จะเห็นว่าแอฟริกาใต้พัฒนาไปมากในทางเศรษฐกิจ แต่เพียงลอกผิวหน้าของชุมชนไม่ว่าที่ไหนออก เราจะพบเห็นเรื่องราวที่สะท้อนบาดแผลจากนโยบายเหยียดผิวไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2008 มีคนถูกฆ่าตายกว่า 60 คน ขณะที่อีกหลายหมื่นคนต้องพลัดพรากจากถิ่นที่อยู่ หลังเกิดการจลาจลเหยียดผิวขึ้นหลายครั้งโดยพุ่งเป้าไปยังชาวโมซัมบิกและชาวซิมบับเวเป็นหลัก นโยบายเหยียดผิวทำให้ความไม่ไว้วางใจใน “คนที่แตกต่างจากเรา” ฝังรากลึก และทัศนคติที่ว่าสิทธิในทรัพยากรของประเทศขึ้นอยู่กับสีผิวหรือชาติพันธุ์ของคุณ มากกว่าสิ่งที่คุณทำให้แก่ประเทศชาติ ยังคงติดตามหลอกหลอนอยู่จนทุกวันนี้

ผลกระทบอันลึกล้ำกว้างไกลและความโหดร้ายของนโยบายเหยียดผิวไม่ใช่เรื่องที่พูดกันเกินเลยความจริง นับตั้งแต่ปี 1948 ถึง 1994 ซึ่งเป็นปีที่นโยบายเหยียดผิวถูกล้มเลิก พรรคชาตินิยมแอฟริคาน (Afrikaans National Party) นำมาตรการแบ่งแยกชาติพันธุ์อย่างเข้มข้นมาบังคับใช้กับทุกแง่มุมชีวิตของประชาชน ทเชโป แมดลินโกซี อาจารย์อาวุโสด้านกฎหมายวัย 31 ปีจากมหาวิทยาลัยพริทอเรียและผู้ประสานงานด้านกฎหมายของกลุ่มสงเคราะห์คูลูมานี องค์กรช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้ายจากความรุนแรงทางการเมือง 58,000 คน กล่าวว่า

“การเหยียดผิวทำให้คนจำนวนหยิบมือร่ำรวยมหาศาล ขณะที่คนส่วนใหญ่ยากจนข้นแค้นแสนสาหัส นี่ยังไม่พูดถึงการจับกุมคุมขังผู้คนจำนวนมาก การเนรเทศ การหายตัวไปอย่างมีเงื่อนงำ และการเสียชีวิตอย่างโหดร้าย กระทั่งการล้มเลิกนโยบายนี้ไปเฉยๆไม่อาจเยียวยาความเสียหายได้เลย บางคนอาจพูดว่าทุกคนเสมอภาคกันหมดแล้วตอนนี้ ทำไมเราไม่ลืมเรื่องเก่าๆ แล้วเดินหน้ากันต่อเถิด ก็พูดได้สิสำหรับพวกที่ได้ประโยชน์จากนโยบายนี้ แต่มันไม่ได้ช่วยอะไรเลยกับการคืนความเป็นธรรม และไม่สามารถล้มล้างทัศนคติเหยียดผิวที่ฝังรากลึก ความจงเกลียดจงชังที่ท่วมท้นล้นอก หรือความรู้สึกของความอัตคัตขาดแคลน”

ส่วนคุณหมอมาร์จอรี จ็อบสัน ผู้อำนวยการระดับชาติของกลุ่มสงเคราะห์คูลูมานี บอกว่า
“พอถึงปี 1994 ทุกคนก็เหนื่อยหน่ายจนเอือมระอาแล้ว ฉันคิดว่าสิ่งที่พวกเขาต้องการก็แค่อยากเห็นการยกเลิกนโยบายเหยียดผิว และให้รัฐบาลจัดการแก้ไขทุกอย่าง แต่มันก็ไม่เกิดขึ้น ฉันคิดว่าเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับชาวแอฟริกาแต่ละคนที่จะมีส่วนร่วมลงมือทำอะไรในการชดใช้ความผิดหรือล้างบาปที่เราร่วมกันก่อขึ้น นี่แหละค่ะพลังของปัจเจกบุคคล เราแต่ละคนมีพลังอำนาจที่จะสืบทอดอดีตอันโหดร้ายรุนแรงต่อไป หรือจะใช้อำนาจนั้นในการสร้างสังคมที่เป็นธรรมและสงบสุข”

กฎหมายแอฟริกาใต้ให้การรับรองการแบ่งแยกและความหวาดระแวงซึ่งกันและกันมาช้านาน บัดนี้ รัฐธรรมนูญของประเทศเชิดชูศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์และความเสมอภาคของปวงชน แต่อำนาจของรัฐธรรมนูญจะศักดิ์สิทธิ์ได้ก็เท่าที่ผู้คนเต็มใจจะปฏิบัติตาม คำพูดของเนลสัน แมนเดลาหลังจากที่คนหนุ่มสาวในเมืองโซเวโทลุกฮือขึ้นต่อต้านนโยบายเหยียดผิวครั้งประวัติศาสตร์เมื่อปี 1976 ยังคงแว่วเตือนและตอกย้ำความจริงว่า

“เราประสบความสำเร็จมากโขอยู่ แต่ยังมีอีกมากที่เราต้องทำต่อไป”

แต่แล้วจุดเปลี่ยนก็มาถึง การที่แอฟริกาใต้ได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพมหกรรมฟุตบอลโลกปี 2010 ช่วยปลุกเร้าความรู้สึกมั่นใจของผู้คน ต่อจากนี้ประเทศของพวกเขาจะได้รับการจดจำในฐานะประเทศที่จัดการแข่งขันฟุตบอลให้คนทั้งโลกเฝ้าชม มากกว่าประเทศที่มีตราบาปเรื่องนโยบายเหยียดผิว โครงสร้างพื้นฐานสมัยใหม่ของแอฟริกาใต้ ไม่ว่าจะเป็นสนามบินทันสมัยจนน่าอิจฉา หรือร้านอาหารนานาชาติ รูปลักษณ์ที่ปรากฏแก่สายตาชาวโลกเหล่านี้มีส่วนทำให้ หลายคนเชื่อว่าประวัติศาสตร์อันน่าเศร้าได้กลายเป็นอดีตไปแล้ว พื้นที่ส่วนใหญ่ในโซเวโท ย่านเมืองของโจฮันเนสเบิร์ก ที่มักตกเป็นข่าวอื้อฉาวเพราะเหตุรุนแรงในยุคเหยียดผิว บัดนี้กลายเป็นชานเมืองที่สวยงามน่าอยู่ (สลัมตามชายขอบยังพบเห็นอยู่บ้างก็จริง) แอฟริกาใต้มีชนชั้นกลางผิวดำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และตั้งแต่ปี 1994 รัฐบาลได้สร้างบ้านพักอาศัยไปเกือบสามล้านหลังแล้ว เพียงแค่ข้ามถนนจากกาสิโนและสวนสนุกในโจฮันเนสเบิร์ก นักท่องเที่ยวก็สามารถเข้าชมพิพิธภัณฑ์การเหยียดผิว (Apartheid Museum) อันน่าทึ่งได้

เรื่องโดย อเล็กซานดรา ฟุลเลอร์ ภาพถ่ายโดย เจมส์ แนชต์เวย์

ที่มา : http://www.ngthai.com/ngm/1006/feature.asp?featureno=5

“เนลสัน แมนเดลา” บำเหน็จเลอค่า สำหรับผู้รู้จักอดทนและรอคอย : ว.วชิรเมธี



โลกในยุคโลกาภิวัตน์ มนุษยชาติผิวสี กำลังก้าวย่างเข้าสู่ยุคทองของพวกเขาหลังจากที่อดทนและรอคอยมาอย่างยาวนาน นับได้เป็นหลายศตวรรษ ชนชั้นนำผิวสีมากมายต้องสังเวยชีวิตให้กับอคติที่มาจากการประเมินค่าแห่งความเป็นมนุษย์กันอย่างผิวเผินเพียงเพราะมองกันแค่ “ผิวสี” ที่เกิดจาก “สีผิว” อันเป็นเพียง “เปลือกของความเป็นมนุษย์” ภายนอกอย่างตื้นเขิน แต่พลันที่บารัค ฮุสเซน โอ บามา ผู้ชายผิวสี จากรัฐอิลลินอยส์ ชายหนุ่มผู้มีบิดาเป็นชาวเคนยา มารดาเป็นอเมริกันผิวขาว ก้าวขึ้นสู่บัลลังก์แห่งอำนาจหมายเลขหนึ่งของโลกได้สำเร็จ ก็ดูเหมือนว่า นับจากนาทีนี้เป็นต้นไป ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติผิวสีจะไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว

แต่ก่อนหน้าที่ บารัค โอบามา จะได้เสวยโอชารสของอิสรภาพและความเสมอภาคอันหอมหวานเช่นวันนี้ เส้นทางของเขาล้วนปูด้วยรอยเลือดและหยาดน้ำตาของชนผิวสีชั้นนำอย่าง โรซาร์ พาร์คส, มาร์ติน ลูเธอร์ คิงส์ จูเนียร์,มหาตมะ คานธี,อับราฮัม ลินคอร์น (ปธน.ผู้ปลดปล่อยทาสผิวดำให้เป็นไท) จนเกิดเป็นกวีนิพนธ์ที่เกริกก้องทั่วไปในอเมริกาเวลานี้ว่า

“เพราะ โรซาร์ พาร์ค นั่ง มาร์ติน จึงได้เดิน, โอบามา จึงได้วิ่ง, และลูกหลานของอเมริกันจึงได้บิน”

อย่างไรก็ตาม เส้นทางการต่อสู้ของชนผิวดำผู้ปรารถนาจะลิ้มรสเสรีภาพและความเสมอภาคอย่างเสมอหน้ากับชนผิวขาวนั้น ไม่ได้มีอยู่แต่ในอเมริกาเท่านั้น แต่เมื่อว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพและสมภาพเช่นนี้เกิดขึ้นกระจายอยู่ และดำเนินไปในทุกภูมิภาคของโลก และที่เข้มข้นยิ่งกว่าอเมริกาก็คือ แอฟริกาทั้งทวีป เพราะที่นั่นคือบ้านของคนผิวดำที่ถูกพวกยุโรปผิวขาวในยุคล่าอาณานิคมเข้าไปยึดครอง กดขี่ และเหยียดคนผิวดำลงเป็นมนุษย์ชั้นสอง ผู้ปราศจากสิทธิพลเมือง (Civil Right) หรือศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์อย่างสิ้นเชิง คนผิวสีในแอฟริกาช่วงก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่สอง ถูกกระทำจากพวกนักล่าอาณานิคมผิวขาวดังหนึ่งพวกเขาเป็นสัตว์ดิรัจฉานที่บังเอิญมีสภาวะทางกายภาพเป็นมนุษย์เท่านั้น

และที่ทวีปแอฟริกาซึ่งมากด้วย คนผิวดำนี่เอง

ที่แอฟริกาซึ่งมากด้วย การเหยียดสีผิวนี่เอง

ที่แอฟริกาซึ่งมากด้วย การกดขี่นี่เอง

ที่ผู้ชายผิวสีคนหนึ่ง ถือกำเนิดขึ้นมา พร้อมกับที่ได้รับมรดกเป็นผิวสีที่มีการเหยียดหยาม กดขี่ ย่ำยี ดูหมิ่นถิ่นแคลนมาเป็นของแถม

และที่แอฟริกานี่เอง ที่ผู้ชายผิวสีคนนั้น ได้เปลี่ยนอุปสรรคทั้งมวลให้กลายเป็นนั่งร้านแห่งการประสบความสำเร็จในชีวิต อย่างงดงาม เลอค่า จนตัวเขาได้กลายเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของโลกไปอย่างคาดไม่ถึง

ผู้ชายคนนั้นชื่อ “เนลสัน แมนเดลา”

อดีตประธานาธิบดีของประเทศแอฟริกาใต้ ผู้ที่นิตยสารไทม์ยกย่องให้เป็น บุคคลแห่งปี ประจำ ค.ศ. ๑๙๙๓ และ ผู้เป็นเจ้าของ รางวัลโนเบล สาขาสันติภาพในปีเดียวกัน และเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและเป็นทูตแห่งสันติภาพ ที่มีเกียรติมากที่สุดคนหนึ่งของโลก ที่ไม่ว่าในเวลานี้เขาจะย่างกรายไปเยือนประเทศใดในโลกนี้ รัฐบาล และประชาชนแห่งประเทศนั้น ล้วนยินดีต้อนรับเขาอย่างสมเกียรติ เพราะเขาคือชายผู้มีเกียรติมากที่สุดคนหนึ่งเท่าที่โลกนี้เคยมี วันเกิดของเขาในรอบหลายปีที่ผ่านมา มีประชาชนหลายประเทศจัดงานเฉลิมฉลองให้เขาเสมือนหนึ่งว่า เขาเป็นพลเมืองของประเทศนั้นเสียเอง

แต่กว่าจะมีวันชื่นคืนสุขเช่นทุกวันนี้ ใครเลยจะรู้ว่า ชายผิวดำนาม เนลสัน แมนเดลา เคยมีชีวิตที่ทุกข์ตรมขมไหม้และต้องถูกจองจำอย่างยาวนานโดยไร้ความผิดในเรือนจำมากว่า ๒๗ ปีเต็ม จนเขากลายเป็นนักโทษการเมืองที่ถูกจองจำนานที่สุดในโลก แต่เมื่อได้รับอิสรภาพแล้ว เขาก็เป็นนักโทษทางการเมืองที่มีชื่อเสียงหอมฟุ้งมากที่สุดในโลกเช่นกัน

๒๗ ปี ในเรือนจำของแมนเดลา จึงเป็น ๒๗ ปีแห่งการอดทนและรอคอยอย่างยาวนานที่สุด เท่าที่มนุษย์คนหนึ่งจะพึงอดทนและรอคอยได้ ทั้งยังเป็น ๒๗ ปี แห่งการบ่มบำเพ็ญบารมีทางความคิดและทางการเมืองที่เข้มข้น แหลมคมที่สุดเช่นเดียวกัน

ไม่น่าเชื่อว่า ๒๗ ปีที่อยู่ในคุก ความหวังและความฝันอันรุ่งโรจน์ของเขา ไม่เคยผุกร่อนหรือมอดไหม้

บนเส้นทางของการรอคอยอันยาวนาน ที่มีความอดทนเป็นน้ำหล่อเลี้ยง มีความหวังเป็นจุดหมาย ในที่สุด เนลสัน แมนเดลา กลับได้รับบำเหน็จรางวัลเลอค่าที่ตัวเขาเองก็คงไม่เคยคาดฝัน

เนลสัน แมนเดลา ต่อสู้มาอย่างไร นี่ย่อมเป็นเรื่องควรพิจารณาอย่างยิ่ง

เนลสัน แมนเดลา เป็นลูกชายของหัวหน้าเผ่าเทมบู ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งในแอฟริกาใต้ เมื่อบิดาเสียชีวิตลง เขาจึงทำหน้าที่หัวหน้าเผ่าแทนบิดา โดยมีลุงคอยเป็นพี่เลี้ยงอยู่ใกล้ๆ และด้วยความที่เป็นลูกของชนชั้นนำประจำเผ่า เขาจึงได้เรียนหนังสืออย่างดีที่สุดกับครูที่เป็นมิชชันนารีชาวอังกฤษ การได้เรียนกับครูที่เป็นผู้ดีอังกฤษทำให้เขามีโลกทัศน์ที่แตกต่างไปจากคนในเผ่าอย่างยากที่จะกลับไปเหมือนเดิมได้อีก เมื่อโตขึ้นเนลสัน แมนเดลา ได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำชื่อฟอร์ต แฮร์ คอลเลจ ต่อมา แมนเดลา ย้ายไปอาศัยอยู่ที่เมืองโจฮันเนสเบิร์ก เพื่อประกอบอาชีพทนายความและศึกษาต่อทางด้านกฎหมาย ที่มหาวิทยาลัย วิตวอร์เตอร์สแรนด์ หลังสำเร็จการศึกษาเขาก็เริ่มงานทางด้านสิทธิมนุษยชน โดยสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสภาแห่งชาติแอฟริกัน (African National Congress : ANC) ซึ่งตอนนั้นเขามีอายุเพียง ๒๕ ปีเท่านั้น เป้าหมายของการทำงานทางการเมืองครั้งแรกก็เพราะต้องการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับคนผิวดำให้มีสิทธิเสมอภาคเท่ากับคนผิวขาวในการเข้าถึงโอกาส และสิทธิพลเมืองในระดับเดียวกันทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์

เนลสัน แมนเดลา เป็นทั้งทนาย เป็นทั้งโฆษกขององค์กรที่เขาสังกัด และที่สำคัญเขาเป็นผู้นำโดยธรรมชาติที่มี “วาทศิลป์” อย่างยอดเยี่ยม (ควรสังเกตด้วยว่า “วาทศิลป์” ล้วนเป็นองค์ประกอบของผู้นำแทบทุกคน) ต่อมาปี ค.ศ.๑๙๕๖ แมนเดลา ก็ได้ลิ้มรสของชีวิตหลังลูกกรง ด้วยข้อหากระทำการอันผิดกฎหมายต่อต้านคอมมิวนิสต์ พอถึงปี ๑๙๖๐ ประชาชนผิวดำถูกตำรวจกราดยิงเสียชีวิตถึง ๖๙ คน เหตุการณ์นี้สะเทือนขวัญคนไปทั้งโลก หลังถูกจับอยู่หลายปี แมนเดลา ก็ได้รับการปล่อยตัวเพราะไม่มีความผิด แต่ครั้นถึงปี ๑๙๖๒ ก็ถูกจับอีกเป็นครั้งที่สอง ด้วยข้อหายุยงให้มีการสไตรก์และเดินทางออกนอกประเทศโดยไม่มีหนังสือเดินทาง

ค.ศ.๑๙๖๓ แมนเดลา ถูกหวยรางวัลใหญ่ที่สุดอีกครั้งหนึ่ง เมื่อรัฐบาลแห่งชาติแอฟริกาใต้ค้นพบเอกสารบางชิ้นว่า สภาแอฟริกันแห่งชาติที่เขาสังกัดมีการวางแผนเป็นกบฏต่อต้านอำนาจรัฐด้วยอาวุธสงคราม คราวนี้เขาและผองเพื่อนจึงถูกตีตรวนยาวกลายเป็นนักโทษทางการเมือง “ตลอดชีวิต”

อย่างไรก็ตาม แม้เขาจะถูกจำขังอยู่ในคุก แต่สำหรับปัญญาชนอย่างเขานั้น คุกขังได้ก็แต่กาย ส่วนจิตวิญญาณและปัญญานั้นยังคงเรืองแสงเจิดจรัสตลอดเวลา ในเรือนจำของนักโทษการเมืองนั้น เนลสันและผองเพื่อน ยังคงแบ่งกลุ่มกันศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ว่ากันว่าการได้อ่านหนังสือพิมพ์จากโลกภายนอกสักฉบับหนึ่ง มีค่ายิ่งกว่าอาหารหลายมื้อ เพราะพวกเขาต้องลักลอบติดตามความเป็นไปของโลกภายนอกอย่างมิดชิดและเงียบเชียบที่สุด ผลของการ “ลาศึกษาต่อ” ในคุก ทำให้เนลสันได้ข้อค้นพบอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นดังหนึ่งปลายทางของงานวิจัยชั้นยอดว่า

“…กล่าวกันว่า ไม่มีใครจะรู้จักประเทศหนึ่งได้อย่างแท้จริง จนกว่าเขาจะได้เข้าไปอยู่ในคุกของประเทศนั้น เราไม่ควรวัดประเทศจากวิธีการที่รัฐบาลปฏิบัติต่อพลเมืองชั้นสูง หากควรดูจากวิธีการที่พวกเขาปฏิบัติต่อพลเมืองที่อยู่ในสถานะต่ำต้อยที่สุด และ(ในทัศะของข้าพเจ้า- – รัฐบาลของ) สหภาพแอฟริกาปฏิบัติต่อพลเมืองแอฟริกันเหมือนกับปฏิบัติต่อสัตว์”

ประโยคสุดท้ายที่ว่า “- – รัฐบาลของสหภาพแอฟริกาปฏิบัติต่อพลเมืองแอฟริกันเหมือนกับปฏิบัติต่อสัตว์” คงชัดเจนเป็นอย่างยิ่งว่า ทำไม เนลสัน แมนเดลา จึงต้องลุกขึ้นสู้ เป็นการลุกขึ้นสู้เหมือนกับที่ครั้งหนึ่ง มหาตมะ คานธี ซึ่งเคยถูกไล่ลงจากรถไฟที่แอฟริกาใต้เคยลุกขึ้นสู้มาแล้วนั่นเอง

ตลอดเวลาที่ แมนเดลา ถูกจองจำนั้น สายธารแห่งการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิเสมอภาคระหว่างคนผิวดำยังคงไหลเอื่อยไม่ขาดสาย ระหว่างทศวรรษ ๑๙๘๐ มีประชาชนผิวดำบาดเจ็บล้มตายกว่า ๖๐๐ คน แม้ตัวเขาและพวกพ้องไม่สามารถสู้ต่ออย่างเปิดเผยในโลกภายนอกร่วมกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ แต่ทว่า ในโลกแห่งความคิดนั้น เขายังคงต่อ “ท่อน้ำเลี้ยง ทางความคิด” ถึงคนหนุ่มคนสาวอยู่เสมอ บ่อยครั้งที่คนหนุ่มสาวถูกรัฐบาลล้อมปราบ จับกุมคุมขังอย่างทารุณ และตลอดเวลาดังกล่าวนั้น เนลสัน แมนเดลา และนานาชาติ รู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้นที่แอฟริกาใต้ รัฐบาลของสหภาพแอฟริกาใต้จึงถูกกดดันจากนานาชาติอยู่เนืองๆ ให้ยกเลิกนโยบายแบ่งแยกสีผิว และพยายามเจรจาต่อรองกับกลุ่มของแมนเดลา แต่เสียงตอบกลับออกมาจากปัญญาชนในคุกก็คือ

“ผมไม่อาจ และจะไม่ยอมรับข้อตกลงใดๆก็ตาม ในยามที่ผม, พวกคุณ และประชาชนทั้งหลายยังไม่เป็นอิสระ เสรีภาพของพวกคุณและเสรีภาพของพวกผม ไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้”

การต่อสู้ของประชาชน คนหนุ่มสาว การบาดเจ็บล้มตายของผู้บริสุทธิ์หลายครั้ง ผนวกกับการกดดันจากนานาชาติ ทำให้รัฐบาลแห่งสหภาพแอฟริกาใต้ไม่อาจต้านทานกระแสธารของความเปลี่ยนแปลงได้อีกต่อไป ในที่สุด ค.ศ.๑๙๙๐ เนลสัน แมนเดลา ก็ได้รับเทียบเชิญให้ไปเจรจากับ เฟรเดอริ ดับเบิลยู เดอ คลาร์ก ประธานาธิบดีแห่งสหภาพแอฟริกาใต้ เพื่อแสวงหาทางออกในการที่จะทำให้แอฟริกาใต้มีประชาธิปไตยเต็มใบ นโยบายแบ่งแยกสีผิวถูกยกเลิก ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศอย่างแท้จริงเหมือนนานาอารยประเทศทั้งหลาย ผลของการเจรจาทำให้พรรคแอฟริกันแห่งชาติ (ANC) ซึ่งเคยถูกรัฐตราหน้าว่าเป็นพรรคผิดกฎหมายได้รับการรับรอง และ เนลสัน แมนเดลา ได้รับอิสรภาพ หลังจากรอคอยอย่างยาวนานมาถึง ๒๗ ปีเศษ

ปีที่ได้รับอิสรภาพ เนลสัน แมนเดลา อายุสังขารล่วงมากว่า ๗๑ ปีแล้ว แต่เป็น ๗๑ ปี ที่ไฟในหัวใจยังคงคุโชน กระชุ่มกระชวย และเปี่ยมไปด้วยความหวังถึงรุ่นอรุณแห่งเสรีภาพ พลังแห่งความหวังในตัวเขา และความหอมหวานแห่งเสรีภาพและเสมอภาพ ทำให้เขายังคงแข็งแกร่ง สุขภาพดี ดวงตาทอประกาย สติปัญญาแหลมคมเพราะถูกบ่มมาอย่างยาวนานจนสุกปลั่ง เขา- -ผู้ชายสูงอายุที่ถูกพันธนาการมากว่าครึ่งชีวิต พลันที่ได้รับอิสรภาพก็ก้าวขึ้นสู่ความเป็นผู้นำของประชาชนอย่างชนิดที่ไม่มีใครสงสัยในภาวะผู้นำแม้แต่น้อย อย่างไรก็ตาม หลังได้รับอิสรภาพ สงครามระหว่างผิวยังคงมีอยู่อย่างเข้มข้น การบาดเจ็บล้มตายระหว่างคนผิวดำและคนผิวขาวยังมีอยู่ทั่วไป แต่ เนลสัน แมนเดลา ในฐานะผู้นำของพรรคแอฟริกันแห่งชาติ (African National Congress : ANC) และ เฟรเดอริค ดับเบิลยู เดอ คลาร์ก ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคประชาชาติ (NATIONAL PARTY) ได้จับมือกันเจรจาสันติภาพ เพื่อหาวิธีสร้างประชาธิปไตยของคนผิวสีร่วมกันและยุติความรุนแรงทั้งปวงด้วย สันติวิธี

แล้วบำเหน็จสำหรับนักสู้ผู้เรียนรู้ที่จะอดทนและรอคอยก็เดินทางมาถึง นั่นคือ ในปลายปี ๑๙๙๓ เนลสัน แมนเดลา และ เดอ คลาร์ก ได้รับการประกาศให้เป็นผู้คู่ควรแก่รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ อันเป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุดสำหรับมนุษยชาติทั้งโลก ลุถึงปี ๑๙๙๔ ฟ้าหลังฝนเริ่มสดใส การเมืองใหม่ที่คนผิวดำ คนผิวขาว มีสิทธิเสมอภาคทัดเทียมกันก็เกิดขึ้น เมื่อ เนลสัน แมนเดลา ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของแอฟริกาใต้ เขาอยู่ในตำแหน่งนี้อย่างยาวนาน และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีจนถึงจุดอิ่มตัว

ปี ๑๙๙๙ เนลสัน แมนเดลา ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี และอุทิศตนให้กับงานการกุศลระดับโลก ทุกวันนี้ แม้เขาไม่ได้นั่งอยู่ในเก้าอี้แห่งอำนาจ ในทำเนียบประธานาธิบดีของแอฟริกาใต้อีกต่อไปแล้ว แต่เขาได้ยกตัวเองให้สูงขึ้นไปยิ่งกว่านั้น นั่นคือ การเป็นคนของโลกผู้เข้าไปนั่งอยู่ในใจของใครต่อใครมากมายทั่วโลก ในฐานะทูตสันติภาพโลก และผู้บริหารกองทุน เนลสัน แมนเดลา เพื่อเด็กและเยาวชน

เนลสัน แมนเดลา : บำเหน็จเลอค่า สำหรับผู้รู้จักอดทนและรอคอย

ว.วชิรเมธี

ที่มา : http://www.vimuttayalaya.net/DharmaDaily.aspx?id=76&page=5

เนลสัน มันเดลา



เนลสัน โรลิฮฺลาฮฺลา มันเดลา(อังกฤษ: Nelson Rolihlahla Mandela; สำเนียงภาษาคโฮซา: [xoˈliɬaɬa manˈdeːla])
เกิดวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 ที่เมืองทรานส์คีย์ ประเทศแอฟริกาใต้ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในช่วงปี พ.ศ. 2537-2542 และเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งตามกระบวนการทางประชาธิปไตยอย่างถูกต้อง ก่อนหน้าการดำรงตำแหน่งนี้นี้ เขาได้เป็นที่รู้จักกันทั้งในและนอกประเทศในฐานะที่เคยเป็นนักเคลื่อนไหวตัวยงเพื่อต่อต้านนโยบายแยกคนต่างผิวออกจากกันในแอฟริกาใต้ จากที่แรกเริ่มเป็นผู้เคลื่อนไหวในทางสันติ ได้กลายมาเป็นผู้นำกลุ่มกองกำลังติดอาวุธของพรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา และได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่อต้านใต้ดินโดยใช้อาวุธ เช่น การก่อวินาศกรรม ในช่วงเวลาดังกล่าว ผู้นำต่างชาติที่นิยมนโยบายแยกคนต่างผิวออกจากกันในแอฟริกาใต้ เช่น มากาเรท เท็ตเชอร์ และโรนัลด์ เรแกน ได้ประณามกิจกรรมเหล่านี้ว่าเป็นการก่อการร้าย

เขาถูกจำคุกเป็นเวลาทั้งสิ้น 27 ปี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นการถูกคุมขังในห้องขังเล็ก ๆ บนเกาะร็อบเบิน การถูกคุมขังนี้ได้กลายมาเป็นกรณีตัวอย่างของความอยุติธรรมของนโยบายแยกคนต่างผิวที่ถูกกล่าวถึงไปทั่ว เมื่อเขาได้รับการปล่อยตัวในปี พ.ศ. 2533 นโยบายประสานไมตรีที่เนลสันได้นำมาใช้ทำให้แอฟริกาใต้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่แห่งประชาธิปไตย ในขณะนี้ เนลสัน มันเดลา มีอายุกว่า 90 ปีแล้ว เป็นที่ยกย่องอย่างสูงภายในประเทศแอฟริกาใต้ในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส ชาวแอฟริกันจะขนานนามสมาชิกชายอาวุโสของตระกูลมันเดลาอย่างให้เกียรติว่า มาดิบา แต่มักเจาะจงหมายถึงเนลสัน มันเดลาเท่านั้น

เนลสัน มันเดลา ได้รับรางวัลต่าง ๆ มากกว่า 250 รางวัลตลอดช่วงเวลา 4 ทศวรรษ รางวัลที่สำคัญที่สุดคือ รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ประจำปี พ.ศ. 2536

ช่วงแรกของชีวิต
เนลสัน มันเดลา เป็นผู้สืบทายาทสายหนึ่งของราชวงศ์เทมบู ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ปกครองแคว้นทรานส์คีย์ในจังหวัดเคปของประเทศแอฟริกาใต้[2] เขาเกิดที่มเวโซ (Mvezo) ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ อยู่ในเมืองอุมตาตา เมืองหลวงของทรานส์คีย์ ปู่ทวดของเขาคือ งูเบงคูคา (Ngubengcuka, เสียชีวิตปี พ.ศ. 2375) เป็นผู้ครองแคว้นในตำแหน่ง อิงโคซี เองคูลู (Inkosi Enkhulu) หรือ "กษัตริย์" ของชาวเทมบู โอรสองค์หนึ่งของกษัตริย์มีชื่อว่า มันเดลา เป็นปู่ของเนลสัน และเป็นที่มาของนามสกุลของเขา อยางไรก็ดี เนื่องจากเขาเป็นบุตรแห่ง อิงโคซี เพียงคนเดียวที่เกิดจากภรรยาจากตระกูล อิกซิบา (หรือบ้างเรียกว่า "ราชวงศ์ฝั่งซ้าย") ดังนั้นผู้สืบตระกูลในสายนี้จึงไม่มีสิทธิ์สืบทอดราชบัลลังก์ของเทมบู

บิดาของมันเดลาคือ กัดลา เฮนรี มพาคันยิสวา (Gadla Henry Mphakanyiswa) มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหมู่บ้านมเวโซ[4] แต่ในช่วงที่ประเทศตกเป็นอาณานิคม เขาถูกยึดตำแหน่งไปและขับไล่ให้ไปอยู่ที่ควูนู อย่างไรก็ดี มพาคันยิสวายังคงเป็นหนึ่งในคณะที่ปรึกษาส่วนพระองค์ของ อิงโคซี อยู่ มีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือจองกินตาบา ดาลินเยโบ (Jongintaba Dalindyebo) ให้ขึ้นสู่ราชบัลลังก์ของเทมบู ดาลินเยโบผู้นี้ต่อมาได้ให้การช่วยเหลือตอบแทนโดยรับตัวมันเดลาเอาไว้ในอุปถัมภ์หลังจากที่มพาคันยิสวาเสียชีวิต บิดาของมันเดลามีภริยา 4 คน และมีบุตรทั้งสิ้น 13 คน เป็นชาย 4 คน หญิง 9 คน มันเดลาเป็นบุตรที่เกิดจาก โนซีคีนี แฟนนี ภริยาคนที่สาม (ตามลำดับอันซับซ้อนของทางราชวงศ์) แฟนนีเป็นบุตรสาวของนเคดามาแห่งตระกูลมเพมวู ธอห์ซา ซึ่งเป็นราชวงศ์ฝั่งขวา เป็นที่ซึ่งมันเดลาเจริญเติบโตขึ้น ชื่อจริงของมันเดลาคือ โรลีห์ลาห์ลา มีความหมายว่า "ดึงกิ่งก้านของต้นไม้" หรือเรียกอย่างเป็นกันเองว่า "เจ้าตัวยุ่ง"

โรลีห์ลาห์ลา มันเดลา เป็นสมาชิกราชวงศ์คนแรกที่ได้ไปโรงเรียน ครูของเขาคือนางสาวมดินกานี (Mdingane) เป็นผู้ตั้งชื่อภาษาอังกฤษให้เขาว่า "เนลสัน"

เมื่อมันเดลาอายุได้ 9 ปี พ่อของเขาเสียชีวิตด้วยวัณโรค และทางราชสำนักของจองกินตาบาได้รับเขาไว้ในอุปถัมภ์ มันเดลาได้เข้าโรงเรียนศาสนาของนิกายเวซเลียนซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับพระราชวัง ตามประเพณีของชาวเทมบู เขาต้องผ่านพิธีศักดิ์สิทธิ์เมื่ออายุ 16 ปี จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่ Clarkebury Boarding Institute และสำเร็จอนุปริญญาในเวลาเพียง 2 ปีขณะที่หลักสูตรปกติต้องใช้เวลา 3 ปี มันเดลาเข้ารับตำแหน่งที่ปรึกษาส่วนพระองค์แทนตำแหน่งของบิดา ปี พ.ศ. 2480 มันเดลาย้ายไปเมืองเฮลด์ทาวน์ และเข้าเรียนในวิทยาลัยเวซเลียนที่ฟอร์ตโบฟอร์ต อันเป็นที่ซึ่งราชวงศ์เทมบูส่วนมากพำนักอยู่ เมื่ออายุได้ 19 ปี เขาเริ่มสนใจการชกมวยและการวิ่งแข่งที่โรงเรียน

หลังจากจบการศึกษา มันเดลาเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีด้านศิลปศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยฟอร์ตแฮร์ ที่ซึ่งเขาได้พบกับโอลิเวอร์ แทมโบ แทมโบกับมันเดลาได้เป็นเพื่อนร่วมงานและเพื่อนสนิทกันไปตลอดชีวิต มันเดลายังได้เป็นเพื่อนสนิทกับญาติคนหนึ่งชื่อ ไคเซอร์ (Kaiser "K.D.") มาตันซิมา ซึ่งเป็นทายาทของราชวงศ์เทมบูฝั่งขวา และอยู่ในฐานะผู้สืบทอดแคว้นทรานส์คีย์ ด้วยตำแหน่งนี้ทำให้เขาเข้าไปเกี่ยวพันกับนโยบาย Bantustan การที่เขาให้การสนับสนุนนโยบายนี้ทำให้เขากับมันเดลามีความคิดเห็นทางการเมืองขัดแย้งกัน เมื่อมันเดลาเรียนจบชั้นปีที่หนึ่ง เขาได้เข้าร่วมในสภาผู้แทนนักศึกษา (Students' Representative Council หรือ SRC) เดินขบวนต่อต้านนโยบายของมหาวิทยาลัย จนถูกไล่ออกและไม่ให้กลับมาอีก นอกจากจะยอมรับนโยบายของทางมหาวิทยาลัย มันเดลาจึงหันไปศึกษาปริญญาตรีด้านกฎหมายหลักสูตรทางไกลกับมหาวิทยาลัยลอนดอน

หลังจากออกจากฟอร์ตแฮร์ไม่นาน กษัตริย์จองกินตาบาก็ประกาศจัดการแต่งงานให้กับมันเดลาและจัสติส (ราชโอรสและรัชทายาทผู้สืบทอดบัลลังก์) เด็กหนุ่มทั้งสองไม่พอใจกับเรื่องนี้มาก จึงหนีออกไปยังเมืองโยฮันเนสเบิร์ก เมื่อไปถึงที่นั่น มันเดลาได้เริ่มทำงานเป็นยามเฝ้าเหมือง แต่ต่อมาไม่นานก็ถูกเลิกจ้าง เพราะนายจ้างทราบมาว่าเขาเป็นสมาชิกราชวงศ์ที่หนีมา หลังจากนั้นมันเดลาได้เข้าทำงานเป็นเสมียนตรวจเอกสารในสำนักงานทนายความแห่งหนึ่งในโยฮันเนสเบิร์กที่มีชื่อว่า Witkin, Sidelsky and Edelman โดยอาศัยเส้นสายของเพื่อนและพี่เลี้ยง คือ วอลเตอร์ ซิซูลู ขณะกำลังทำงานที่นี่ มันเดลาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยแห่งแอฟริกาใต้โดยการเรียนทางไกล จากนั้นเขาศึกษาต่อทางกฎหมายที่มหาวิทยาลัยวิตวอเตอร์สรันด์ ซึ่งเป็นที่ที่เขาได้พบกับเพื่อนร่วมอุดมการณ์มากมายที่ต่อมาได้ร่วมขบวนการต่อต้านการเหยียดผิว เช่น โจ สโลโว, แฮร์รี่ ชวาร์ซ และ รูธ เฟิสต์ ระหว่างเวลานี้มันเดลาอาศัยอยู่ที่เมืองอเล็กซานดรา ทางตอนเหนือของโยฮันเนสเบิร์ก

กิจกรรมทางการเมือง
หลังจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2491 ชัยชนะได้ตกเป็นของพรรคชาตินิยม (National Party) ซึ่งสนับสนุนนโยบายการแบ่งแยกสีผิวอย่างรุนแรง มันเดลาเริ่มต้นเข้าร่วมมีบทบาททางการเมือง เขาเป็นผู้นำคนสำคัญในโครงการรณรงค์ต่อต้านของสมัชชาแห่งชาติแอฟริกัน (เอเอ็นซี) ในปี พ.ศ. 2495 และเข้าร่วมสมัชชาประชาชนในปี พ.ศ. 2498 ซึ่งมีหลักการพื้นฐานในการต่อต้านการแบ่งแยกสีผิว ระหว่างเวลานี้ มันเดลากับเพื่อนนักกฎหมายคือ โอลิเวอร์ แทมโบ ได้เปิดสำนักกฎหมาย Mandela and Tambo ขึ้น โดยให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่ชนผิวดำผู้ด้อยโอกาสโดยไม่คิดราคาหรือด้วยราคาต่ำ

ผู้มีอิทธิพลต่อแนวคิดของมันเดลาอย่างมากคือ มหาตมา คานธี ในเวลาต่อมาได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อต้านการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ มันเดลาเคยไปเข้าร่วมการประชุมที่นิวเดลี ระหว่างวันที่ 29-30 มกราคม พ.ศ. 2550 ในโอกาสครบรอบ 100 ปีการก่อตั้ง สัตยคราหะ ของคานธี ในแอฟริกาใต้

มันเดลาเริ่มต้นจากการรณรงค์ต่อต้านรัฐบาลโดยวิธีไม่ใช้ความรุนแรง แต่เขากับเพื่อนร่วมขบวนการกว่า 150 คนถูกจับกุมเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ในข้อหากบฎ การไต่สวนคดีกบฎคราวนี้กินเวลายาวนานมากตั้งแต่ พ.ศ. 2499-2504 และสิ้นสุดลงโดยที่จำเลยทั้งหมดไม่มีความผิด ในระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2495-2502 ได้เกิดการก่อตั้งขบวนการคนผิวดำกลุ่มใหม่ขึ้นเรียกว่า "กลุ่มนิยมแอฟริกัน" (Africanist) ขึ้นมาขัดขวางขบวนการเอเอ็นซีเดิม โดยเรียกร้องให้ทำการตอบโต้รัฐบาลของพรรคชาตินิยมอย่างรุนแรงขึ้น ผู้นำเอเอ็นซีในยุคนั้นภายใต้การนำของ อัลเบิร์ต ลูธูลี โอลิเวอร์ แทมโบ และวอลเตอร์ ซิซูลู รู้สึกว่ากลุ่มนิยมแอฟริกันนั้นรุกหน้าเร็วเกินไป ทั้งยังบังอาจท้าทายอำนาจของพวกเขาด้วย ทางกลุ่มผู้นำของเอเอ็นซีได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรหลายฝ่าย ได้แก่ กลุ่มชนผิวขาวกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มคนผิวสี (ลูกผสม) และพรรคการเมืองในอินเดีย ซึ่งเป็นการพยายามสร้างภาพพจน์ให้เหนือกว่ากลุ่มนิยมแอฟริกัน ในปี พ.ศ. 2498 กลุ่มเอเอ็นซีถูกฉีกหน้าในที่ประชุม Freedom Charter Kliptown Conference โดยได้รับเพียงเสียงโหวตเดียวจากที่ประชุมกลุ่มพันธมิตร ด้วยในจำนวนเลขาธิการกลุ่มพันธมิตรทั้งห้ากลุ่มนั้นมีถึง 4 คนที่มีสัมพันธ์อย่างลับ ๆ กับพรรคเกิดใหม่ คือ พรรคคอมมิวนิสต์แอฟริกาใต้ (South African Communist Party; SACP) ซึ่งเป็นมิตรแข็งแรงอยู่กับทางฝ่ายมอสโก

เมื่อถึงปี พ.ศ. 2502 ขบวนการเอเอ็นซีสูญเสียการสนับสนุนทางยุทโธปกรณ์ ขณะที่กลุ่มนิยมแอฟริกันภายใต้การสนับสนุนทางการเงินจากกานา และการสนับสนุนทางการเมืองอย่างเด่นชัดจากชนเผ่าบาโซโธซึ่งมีฐานใหญ่อยู่ที่ทรานส์วาลล์ ได้แยกตัวออกไปเป็นกลุ่มแพนแอฟริกันนิสต์คองเกรส (Pan Africanist Congress; PAC) ภายใต้การนำของ โรเบิร์ต โซบูเคว และ โพตลาโค เลบัลโล

กิจกรรมต่อต้านการเหยียดผิวในปี พ.ศ. 2504 มันเดลาได้ร่วมริเริ่มและเป็นผู้นำกองกำลังติดอาวุธของเอเอ็นซี เรียกชื่อว่า Umkhonto we Sizwe (หมายถึง หอกแห่งชาติ บ้างเรียกย่อว่า MK) เขาจัดการให้มีการลอบวางระเบิดสถานที่สำคัญทางราชการและทางทหารหลายแห่ง และใช้แผนการรบแบบกองโจรถ้าการลอบวางระเบิดล้มเหลว เพื่อให้ยุติการแบ่งแยกสีผิว[28] มันเดลายังจัดการระดมทุนให้กองกำลัง MK และทำการฝึกฝนทางทหารให้กลุ่มควบคู่กันไป

สมาชิกเอเอ็นซีคนหนึ่งคือ โวลฟี คาเดช เล่าถึงโครงการรณรงค์วางระเบิดที่นำโดยมันเดลาว่า : "ตอนที่รู้ว่าเราจะเริ่มลงมือในวันที่ 16 ธันวาคม 2504 โดยจะระเบิดสถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์ของการแบ่งแยกผิว เช่น สถานีโดยสาร ศาลปกครองท้องถิ่น และอะไรจำพวกนั้น... ที่ทำการไปรษณีย์ และ.. ที่ทำการรัฐบาล แต่เราต้องทำอย่างระวังเพื่อไม่ให้มีใครได้รับบาดเจ็บ ต้องไม่มีใครเสียชีวิต" มันเดลาพูดถึงโวลฟีว่า "ความรู้เรื่องการสู้รบและประสบการณ์ต่อสู้มือเปล่าของเขาจะช่วยฉันได้อย่างมาก"

มันเดลาพูดถึงการยกระดับการต่อต้านไปสู่การใช้กำลังอาวุธนี้เป็นมาตรการสุดท้าย เนื่องจากรัฐบาลได้เพิ่มความรุนแรงในการปราบปรามมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้เขาคิดว่าการประท้วงคัดค้านการเหยียดผิวแบบสันติไม่สามารถและไม่มีวันประสบความสำเร็จได้

ช่วงต่อมาราวปี พ.ศ. 2523-2532 หน่วย MK ทำสงครามกองโจรกับนโยบายแบ่งแยกสีผิวอย่างรุนแรงจนมีพลเรือนเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก มันเดลายอมรับกับเอเอ็นซีในภายหลังว่า ในการทำสงครามต่อต้านการแบ่งแยกสีผิวกลับกลายเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เขาวิพากษ์วิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนในการที่คนในพรรคบางคนพยายามเอาเนื้อความที่ยืนยันความจริงข้อนี้ออกไปเสียจากรายงานของกรรมาธิการสืบสวนข้อเท็จจริงและไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (Truth and Reconciliation Commission)

ตราบถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 มันเดลาและสมาชิกพรรคเอเอ็นซีเป็นบุคคลต้องห้ามในการเดินทางเข้าสหรัฐอเมริกา - เว้นแต่เพียงสำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติที่แมนฮัตตัน - เนื่องมาจากการเป็นผู้ก่อการร้ายในการต่อต้านการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้

การไต่สวนริโวเนียวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2505มันเดลาถูกจับหลังจากหลบหนีอยู่นาน 17 เดือน และถูกจำคุกที่เรือนจำโยฮันเนสเบิร์กฟอร์ต เนื่องจากหน่วยข่าวกรองกลางของสหรัฐอเมริกาให้ข้อมูลแก่ตำรวจความมั่นคงถึงถิ่นที่อยู่และการปลอมแปลงตัวของเขา สามวันต่อมาจึงมีการประกาศข้อกล่าวหาแก่เขาต่อหน้าศาลว่าเป็นผู้นำขบวนการประท้วงของคนงานในปี พ.ศ. 2504 และทำให้ประเทศตกอยู่ในความวุ่นวาย วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2505 มันเดลาถูกตัดสินจำคุก 5 ปี สองปีต่อมาในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 คณะลูกขุนจึงได้ข้อสรุปโดยประเมินจากความสัมพันธ์ของเขากับขบวนการเอเอ็นซี

ขณะที่มันเดลาติดคุก ทางตำรวจก็สามารถจับกุมผู้นำคนสำคัญ ๆ ของเอเอ็นซีได้อีกที่ฟาร์มลิลลี่ส์ลิฟ ริโวเนีย ทางตอนเหนือของโยฮันเนสเบิร์ก เมื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 มันเดลาถูกกล่าวหาอีกครั้งในการไต่สวนริโวเนียโดยหัวหน้าอัยการ ดร. เพอร์ซี ยูทาร์ ด้วยความผิดอุกฉกรรจ์ฐานการก่อการร้าย (ซึ่งมันเดลายอมสารภาพ) และอาชญากรรมอื่น ๆ อันเปรียบได้กับการเป็นกบฎ ซึ่งฝ่ายรัฐบาลสามารถพิสูจน์ได้อย่างง่ายดาย ข้อกล่าวหาที่สองนี้ยังรวมถึงการที่ฝ่ายจำเลยพยายามชักนำการรุกรานจากภายนอกมาสู่แอฟริกาใต้ ซึ่งมันเดลาปฏิเสธ

มันเดลาได้ขึ้นให้การในคอกจำเลยเมื่อตอนเปิดการไต่สวนในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2507 ที่ศาลพรีโทเรียสุพรีม เขาได้ตีแผ่เหตุผลที่กลุ่มเอเอ็นซีจำเป็นต้องดำเนินการด้วยความรุนแรง คำให้การของเขาเผยว่ากลุ่มเอเอ็นซีได้พยายามใช้สันติวิธีเพื่อต่อต้านการแบ่งแยกสีผิวมาเป็นเวลานานหลายปี จนกระทั่งถึงเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ชาร์เพวิลล์ จากเหตุการณ์นี้ร่วมกับการลงคะแนนเพื่อจัดตั้งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ การประกาศภาวะฉุกเฉินในประเทศ และการสั่งแบนกลุ่มเอเอ็นซี ทำให้พวกเขาเหลือทางเลือกแต่เพียงการต่อต้านด้วยการลอบวางระเบิด เพราะการเลือกทำวิธีอื่นใดนอกไปจากนี้จะเป็นเสมือนการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข มันเดลายังคงอธิบายต่อไปอีกว่า พวกเขาได้ก่อตั้งกองกำลังติดอาวุธ Umkhonto we Sizwe ขึ้นในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2504 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายจะชี้ให้เห็นความล้มเหลวของนโยบายของพรรคชาตินิยม หลังจากที่เศรษฐกิจในประเทศต้องถูกขู่เข็ญด้วยความไม่เต็มใจของนักลงทุนต่างชาติในการต้องเสี่ยงลงทุนในประเทศ เขาปิดการให้การด้วยถ้อยคำต่อไปนี้:

ตลอดชีวิตของข้าพเจ้า ได้อุทิศตัวเองแก่การต่อสู้เพื่อประชาชนแอฟริกัน ข้าพเจ้าต่อต้านผู้ปกครองผิวขาว และก็ต่อต้านผู้ปกครองผิวดำ ข้าพเจ้ายินดีต่อประชาธิปไตยอันเป็นอุดมคติและสังคมอันเสรี ซึ่งประชาชนทุกหมู่เหล่าสามารถอยู่ด้วยกันอย่างสันติและด้วยความเสมอภาค นี่คืออุดมคติอันข้าพเจ้าหวังจะมีชีวิตอยู่ให้ถึง แต่หากจำเป็น ข้าพเจ้าก็พร้อมจะตายเพื่ออุดมคตินี้

จำเลยในการไต่สวนคราวนี้รวมไปถึง แบรม ฟิสเชอร์, เวอร์นอน เบอร์รังกี, แฮร์รี่ ชวาร์ซ, โจเอล จอฟฟี, อาร์เทอร์ ชาสคัลสัน และ จอร์จ บิโซส ฮาโรลด์ แฮนสัน ได้เข้ามาเป็นทนายแก้ต่างให้ในภายหลังเพื่อขอลดหย่อนโทษ ทุกคนถูกตัดสินว่ามีความผิด ยกเว้นเพียง รัสตี้ เบิร์นสไตน์ พวกเขารอดจากโทษประหารชีวิตไปได้ แต่ก็ถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิตตั้งแต่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ข้อกล่าวหาในคดีนี้ยังรวมไปถึงการวางแผนโดยใช้อาวุธ และอีกสี่คดีเกี่ยวกับการลอบวางระเบิด ซึ่งมันเดลาให้การยอมรับ และการสมคบคิดกับต่างชาติเพื่อรุกรานแอฟริกาใต้ ซึ่งมันเดลาให้การปฏิเสธ



การถูกคุมขัง
เนลสัน มันเดลา ถูกจำคุกที่เกาะร็อบเบินเป็นเวลา 18 ปีจากจำนวนการติดคุกทั้งสิ้น 27 ปี ขณะอยู่ในคุก ชื่อเสียงของเขาก็เพิ่มพูนมากขึ้นและกลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในฐานะผู้นำชนผิวดำคนสำคัญที่สุดในแอฟริกาใต้ ระหว่างที่อยู่ในเรือนจำนั้น เขาต้องทำงานบนเกาะโดยการขุดเหมืองหินปูน กฎภายในคุกนี้มีง่าย ๆ นักโทษจะแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ตามเชื้อชาติ โดยที่นักโทษผิวดำจะได้รับปันส่วนอาหารในสัดส่วนน้อยที่สุด แต่นักโทษการเมืองจะถูกแยกออกจากนักโทษอาชญากรรมทั่วไปและถือเป็นชั้นต่ำที่สุดยิ่งกว่านักโทษทั้งหมด ซึ่งเรียกว่า "นักโทษกลุ่ม D" มันเดลาได้อธิบายว่า ทุก ๆ 6 เดือน เขาจะได้รับอนุญาตให้มีคนมาเยี่ยมได้หนึ่งคน และจดหมายหนึ่งฉบับเท่านั้น และเมื่อได้รับจดหมาย การส่งนั้นก็มักจะล่าช้าไปเป็นเวลานานมาก และยังถูกเซ็นเซอร์เสียจนแทบอ่านไม่ได้

ขณะอยู่ในคุก มันเดลาได้เรียนต่อกับมหาวิทยาลัยลอนดอนผ่านหลักสูตรทางไกล และได้รับปริญญาตรีสาขากฎหมาย ในภายหลังเขาได้รับเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีของมหาวิทยาลัยลอนดอนในการคัดเลือกปี พ.ศ. 2524 แต่ก็แพ้ให้แก่ เจ้าฟ้าหญิงแอนน์

จากบันทึกความทรงจำของมันเดลาในปี พ.ศ. 2524 Inside BOSS นักสืบลับ กอร์ดอน วินเทอร์ ได้บรรยายส่วนที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับแผนการช่วยเหลือมันเดลาออกจากคุกในปี พ.ศ. 2512 วินเทอร์แทรกซึมเข้าไปในแผนนี้ในฐานะหน่วยสืบราชการลับของแอฟริกาใต้ ซึ่งต้องการให้มันเดลาหลบหนีออกจากคุกจะได้จัดการยิงเขาทิ้งเสียระหว่างการจับกุม แต่แผนนี้ถูกทำลายไปโดยหน่วยสืบราชการลับของอังกฤษ

เดือนมีนาคม พ.ศ. 2525 มันเดลาถูกย้ายจากเกาะร็อบเบินไปยังเรือนจำโพลส์มัวร์ พร้อมกับกลุ่มผู้นำอาวุโสของเอเอ็นซี คือ วอลเตอร์ ซิซูลู แอนดรูว์ มลังเกนี อาห์เหม็ด คาธราดา และเรย์มอนด์ มฮลาบา ซึ่งเชื่อว่าได้ทำไปเพื่อลดอิทธิพลจากเหล่าผู้นำอาวุโสเหล่านี้ที่มีต่อนักโทษผิวดำอายุน้อยรุ่นใหม่ที่ถูกขังอยู่ที่เกาะร็อบเบิน และจัดตั้งกลุ่มขึ้นเรียกว่า "มหาวิทยาลัยมันเดลา" อย่างไรก็ดี โคบี โคตซี รัฐมนตรีจากพรรคชาตินิยมกล่าวว่าการเคลื่อนย้ายคราวนี้ได้ทำให้เกิดการพบปะอย่างลับ ๆ ขึ้นระหว่างพวกเขากับรัฐบาลแอฟริกาใต้

เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ประธานาธิบดี พี.ดับเบิลยู. โบทา ได้เสนอเงื่อนไขในการปล่อยตัวมันเดลาให้เป็นอิสระ โดยให้ยกเลิกการต่อสู้โดยใช้อาวุธ โคตซีกับรัฐมนตรีคนอื่น ๆ ล้วนคัดค้านโบทาเรื่องนี้ โดยกล่าวว่ามันเดลาไม่มีวันจะยินยอมให้ขบวนการของเขาปลดอาวุธเพื่อแลกกับอิสรภาพส่วนตัว มันเดลาปฏิเสธข้อเสนอนี้อย่างไม่ไยดี และยังออกแถลงการณ์ผ่านบุตรสาวของเขา ซินด์ซี โดยกล่าวว่า "ฉันจะได้อิสรภาพแบบใดกันขณะที่องค์กรแห่งผองชนยังถูกย่ำยี? มีแต่เสรีชนเท่านั้นที่จะเจรจาได้ นักโทษไม่อาจทำสัญญาใดๆ ได้"

การพบปะครั้งแรกระหว่างมันเดลากับรัฐบาลพรรคชาตินิยมเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2528 เมื่อโคบี โคตซี พบกับมันเดลาที่โรงพยาบาลโฟล์คสในเคปทาวน์ ขณะที่มันเดลาต้องไปรับการผ่าตัดต่อมลูกหมากที่นั่น[55] ตลอดเวลาสี่ปีต่อมา ก็มีการพบปะกันระหว่างทั้งสองฝ่ายกันอีกหลายครั้ง เป็นพื้นฐานของการติดต่อและเจรจาต่อรองในลำดับถัด ๆ ไป แต่ก็ไม่ได้มีความคืบหน้าอย่างจริงจังมากนัก

ตลอดช่วงเวลาที่มันเดลาติดอยู่ในคุก มีแรงกดดันทั้งในท้องถิ่นและจากนานาชาติต่อรัฐบาลแอฟริกาใต้เพื่อให้ปล่อยตัวเขา ภายใต้คำขวัญที่ว่า Free Nelson Mandela! เมื่อถึงปี พ.ศ. 2532 ประเทศแอฟริกาใต้ก็มาถึงจุดเปลี่ยน เมื่อประธานาธิบดีโบทาป่วยหนักและถูกแทนที่ด้วย เฟรเดอริค วิลเลม เดอ เคลิร์ก และได้ประกาศปล่อยตัวมันเดลาเป็นอิสระในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533

การเจรจาต่อรองหลังจากที่มันเดลาได้รับการปล่อยตัวจากคุก เขาได้กลับมาเป็นผู้นำพรรคเอเอ็นซีระหว่างปี พ.ศ. 2533-2537 และนำพรรคเข้าสู่การเจรจาร่วมหลายพรรค ซึ่งนำไปสู่การเลือกตั้งหลายชนชาติเป็นครั้งแรกของประเทศ

ปี พ.ศ. 2534 พรรคเอเอ็นซีได้จัดการประชุมระดับชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในแอฟริกาใต้หลังจากได้รับประกาศยกเลิกการแบนแล้ว และเลือกให้มันเดลาขึ้นเป็นประธานขององค์กร เพื่อนและสหายเก่าของเขาคือ โอลิเวอร์ แทมโบ ซึ่งเป็นผู้นำขบวนการภายใต้การลี้ภัยมาตลอดเวลาที่มันเดลาอยู่ในคุก ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นท่านประธานแห่งชาติ (National Chairperson)

บทบาทการเป็นผู้นำของมันเดลาในการเจรจาร่วมกันกับประธานาธิบดี เอฟ.ดับเบิลยู. เดอ เคลิร์ก เป็นที่ประจักษ์อย่างโดดเด่น และทำให้ทั้งสองได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพร่วมกันในปี พ.ศ. 2536 อย่างไรก็ดี สัมพันธภาพระหว่างคนทั้งสองในบางคราวก็ค่อนข้างตึงเครียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแลกหมัดครั้งใหญ่ใน พ.ศ. 2534 ซึ่งเขาเอ่ยถึงเดอ เคลิร์ก อย่างดุเดือดว่าเป็นหัวโจกของ "รัฐบาลเสียงข้างน้อย ไม่มีความน่าเชื่อถือ และนอกกฎหมาย" การเจรจาแตกหักนี้เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์สังหารหมู่ที่บัวปาตง ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 มันเดลานำพรรคเอเอ็นซีออกจากการเจรจา และกล่าวหารัฐบาลของเดอ เคลิร์ก ว่าสมรู้ร่วมคิดกับการสังหารหมู่ครั้งนี้ แต่การเจรจาก็ได้หวนมาดำเนินสืบต่อหลังจากการสังหารหมู่ที่บิโช ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 เมื่อเหตุการณ์ส่อให้เห็นว่ามีแต่เพียงการเจรจากันเท่านั้นจะหลีกเลี่ยงการประจันหน้าที่รุนแรงลงไปได้

หลังจากการลอบสังหารผู้นำพรรคเอเอ็นซี คริส ฮานิ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2536 ก็มีภัยชนิดใหม่เกิดขึ้นที่อาจนำประเทศไปสู่ความรุนแรงอีกครั้ง มันเดลาได้กล่าวอ้อนวอนขอให้ประเทศอยู่ในความสงบ ในสุนทรพจน์คราวนั้นเรียกกันว่าเป็นสุนทรพจน์ "ของประธานาธิบดี" แม้ว่าเวลานั้นเขาจะยังไม่ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีของประเทศ

คืนนี้ ข้าพเจ้าขอกล่าวแก่ชาวแอฟริกาใต้ทุก ๆ คน ทั้งผิวดำหรือผิวขาว จากส่วนลึกแห่งจิตใจของข้าพเจ้าโดยแท้ ชายผิวขาวคนหนึ่งที่เต็มไปด้วยอคติและความเกลียดชัง ได้มาถึงประเทศของเราและทำสิ่งที่เลวร้ายเหลือทนต่อประเทศของเรา ทำให้เรากำลังอยู่บนขอบอันหมิ่นเหม่ของหายนะ หญิงผิวขาวคนหนึ่งผู้มีกำเนิดเป็นชาวแอฟริกัน ได้เสี่ยงชีวิตของเธอเพื่อให้เราได้ตระหนักถึงการลอบสังหารนี้ และนำมาซึ่งความยุติธรรม ฆาตกรเลือดเย็นผู้สังหารคริส ฮานิ ได้ส่งคลื่นแห่งความอกสั่นขวัญหายแผ่ออกไปทั่วทั้งประเทศและทั่วโลก... บัดนี้เป็นเวลาที่ชาวแอฟริกันทุกคนจะต้องยืนขึ้นอย่างพร้อมเพรียง เพื่อต่อต้านผู้ที่หมายจะทำลายในสิ่งที่คริส ฮานิ ได้สละชีวิตอุทิศให้ นั่นคือเสรีภาพของพวกเราทุกคน
การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
การเลือกตั้งแบบหลากชนชาติครั้งแรกในแอฟริกาใต้โดยที่พลเมืองทุกคนมีสิทธิเสียงเท่ากัน เกิดขึ้นในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2537 พรรคเอเอ็นซีชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียง 62% และมันเดลาในฐานะผู้นำพรรคเอเอ็นซีได้เข้าพิธีรับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 เป็นประธานาธิบดีผิวดำคนแรกของประเทศ โดยมี เดอ เคลิร์ก จากพรรคชาตินิยม และทาโบ มเบคี เป็นรองประธานาธิบดีทั้งสองคนในการตั้งรัฐบาลผสมแห่งชาติ เขาเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2537 จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542 ได้เปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับการเหยียดสีผิวหรือชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ และได้รับความยกย่องจากนานาชาติสำหรับการอุทิศตนเพื่อการประสานไมตรีทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ มันเดลาให้การสนับสนุนแก่ชาวแอฟริกันผิวดำให้เข้าร่วมและสนับสนุนทีมสปริงบอกส์ ซึ่งเป็นทีมชาติรักบี้ของแอฟริกาใต้ ในโอกาสที่ประเทศแอฟริกาใต้ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรักบี้โลกในปี พ.ศ. 2538 หลังจากทีมสปริงบอกส์สามารถเอาชนะทีมรักบี้จากนิวซีแลนด์ได้ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ มันเดลาเป็นผู้มอบถ้วยรางวัลให้แก่กัปตันทีม ฟรังซัวส์ ปีเยนาร์ ชาวแอฟริกันซึ่งสวมเสื้อทีมสปริงบอกส์กับตัวเลข 6 บนหลังซึ่งเป็นหมายเลขประจำตัวของเขา ภาพนี้เผยแพร่ไปทั่วไปในฐานะก้าวย่างอันสำคัญแห่งการสมานฉันท์ระหว่างชนผิวขาวและผิวดำในแอฟริกาใต้

หลังจากที่เป็นประธานาธิบดี สัญลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของมันเดลาคือการสวมเสื้อบาติก ที่เรียกกันว่า "เสื้อมาดิบา" แม้กระทั่งในงานพิธีการต่าง ๆ ในการปฏิบัติการทางทหารของแอฟริกาใต้ครั้งแรกหลังจากยุติการแบ่งแยกสีผิว มันเดลาสั่งการให้กองทัพเคลื่อนเข้าไปเลโซโท ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2541 เพื่อช่วยปกป้องรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี Pakalitha Mosisili หลังจากที่มีการเลือกตั้งอันวุ่นวายและเกิดการประจันหน้ากันระหว่างฝ่ายตรงข้ามกับฝ่ายรัฐบาลที่ไร้เสถียรภาพ นักวิจารณ์จำนวนมากรวมถึงนักรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์ เช่น เอ็ดวิน คาเมรอน ได้วิพากษ์วิจารณ์มันเดลาอย่างมากในความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลของเขากับการรับมือวิกฤตการณ์โรคเอดส์ หลังจากที่เขาเกษียณแล้ว มันเดลายอมรับว่าเขาทำให้ประเทศต้องผิดหวังเนื่องจากมิได้ให้ความสำคัญกับการระบาดของเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์เท่าที่ควร นับแต่นั้นมันเดลาได้ขึ้นพูดในหลายโอกาสเพื่อรณรงค์ต่อต้านการแพร่กระจายของโรคเอดส์

การฟื้นฟูเศรษฐกิจ
หลังจากเสร็จสิ้นการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2537 รัฐบาลได้ริเริ่มโครงการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน (Reconstruction and Development Program; RDP) เพื่อสร้างความเสมอภาคทางเศรษฐกิจแก่ประชาชนหลังสิ้นสุดยุคของอาพาร์ไทด์ ซึ่งเคยมีแต่ความลำบากยากแค้นและไม่ได้รับการเหลียวแล ทำให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมในระดับมหภาคด้วย ขนาดของโครงการนี้อาจเทียบได้กับ "New Deal" ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเมื่อคราววิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรทางการเมืองทุกองค์กร

ระหว่าง พ.ศ. 2537 ถึงต้นปี พ.ศ. 2544 รัฐบาลแอฟริกาใต้ได้ให้ความช่วยเหลือในการสร้างบ้านอยู่อาศัยต้นทุนต่ำมากกว่า 1.1 ล้านหลัง เพื่อรองรับชาวแอฟริกาใต้ 5 ล้านคนจากจำนวนคนยากจน 12.5 ล้านคน ระหว่าง พ.ศ. 2537-2543 ชาวบ้านกว่า 4.9 ล้านคนที่อาศัยอยู่ตามท้องถิ่นสามารถเข้าถึงแหล่งน้ำดื่มสะอาด อีกกว่า 1.75 ล้านครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ สัดส่วนครอบครัวชนบทที่เข้าถึงระบบไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 12% เป็น 42% ปี พ.ศ. 2542 มีครอบครัวที่ได้รับประโยชน์จากการจัดสรรที่ทำกิน 3550 ตารางกิโลเมตร จำนวน 39,000 ครอบครัว เมื่อเทียบกับวาระ 4 ปีของรัฐบาล ประชาชนได้รับที่ทำกินรวม 250,000 คน จากเดือนเมษายน พ.ศ. 2537 ถึงปลายปี 2541 มีคลินิกใหม่ 500 แห่งเพื่อให้บริการสาธารณสุขแก่พลเมือง 5 ล้านคน พร้อมโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอและตับอักเสบ เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2541 ซึ่งช่วยให้เด็กๆ กว่า 8 ล้านคนมีชีวิตขึ้นมาสู่ระดับมาตรฐานภายในเวลา 2 ปี มีโครงการก่อสร้างถนนและระบบระบายน้ำ ช่วยสร้างงานแก่ประชาชน 240,000 คนตลอดเวลา 5 ปี อย่างไรก็ดี โครงการ RDP ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากว่า กว่า 30% ของบ้านต้นทุนต่ำเหล่านั้นสร้างต่ำกว่ามาตรฐาน ระบบจ่ายน้ำต้องขึ้นกับแม่น้ำและเขื่อนมากมาย และโครงการเว้นการเก็บเงินจากชาวชนบทผู้ยากจนก็ใช้เงินสูงมาก การจัดสรรที่ทำกินสามารถแจกจ่ายที่ดินออกไปได้จริงเพียง 1% และระบบสาธารณสุขไม่มีความสามารถพอจะต่อสู้กับการระบาดของโรคเอดส์ ซึ่งทำให้คุณภาพชีวิตเฉลี่ยของชาวแอฟริกาใต้ลดต่ำลงจาก 64.1% เป็น 53.2% ตั้งแต่ปี 2538 ถึง 2541

การไต่สวนคดีล็อกเคอร์บี
ประธานาธิบดีมันเดลามีความสนใจอย่างยิ่งที่จะช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทอันยาวนานระหว่าง กัดดาฟี แห่งลิเบีย กับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ โดยการร้องขอให้มีการไต่สวนผู้ต้องหาชาวลิเบีย 2 คนซึ่งถูกฟ้องร้องเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2534 ในข้อหาวางระเบิดสายการบิน แพน แอม เที่ยวบิน 103 ที่ระเบิดที่เมืองล็อกเคอร์บีในสก๊อตแลนด์ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2531 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 270 คน ช่วงต้นปี พ.ศ. 2535 มันเดลาได้แจ้งข้อเสนออย่างเป็นทางการต่อประธานาธิบดี จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช เพื่อขอให้ชาวลิเบียทั้งสองได้รับการไต่สวนในประเทศที่สาม บุชตอบรับข้อเสนอนี้อย่างยินดี เช่นกันกับประธานาธิบดี ฟรองซัวส์ มิตแตร์รองด์ แห่งฝรั่งเศส และกษัตริย์ ควน การ์โลส ที่ 1 แห่งสเปน เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2537 - หกเดือนหลังจากเขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี - มันเดลาได้ยื่นข้อเสนออย่างเป็นทางการว่า ประเทศแอฟริกาใต้ควรเป็นผู้จัดการไต่สวนคดีวางระเบิดสายการบิน แพน แอม 103

ทว่านายกรัฐมนตรีอังกฤษ จอห์น เมเจอร์ ปฏิเสธข้อเสนอนี้โดยกล่าวว่ารัฐบาลอังกฤษไม่มีความมั่นใจในการไต่สวนของศาลต่างประเทศ เวลาล่วงผ่านไปอีก 3 ปีจนกระทั่งมันเดลายื่นข้อเสนออีกครั้งต่อผู้สืบตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษคนใหม่ คือ โทนี แบลร์ ในคราวที่ท่านประธานาธิบดีไปเยือนลอนดอน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 ถัดมาในปีเดียวกัน ในที่ประชุม การประชุมกลุ่มประเทศเครือจักรภพ (Commonwealth Heads of Government Meeting หรือ CHOGM) ที่เมืองเอดินบะระ ซึ่งจัดขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2540 มันเดลาก็กล่าวเตือนว่า :

ประเทศหนึ่งประเทศใดไม่ควรเป็นทั้งผู้ร้องทุกข์ อัยการ และผู้พิพากษาในคราวเดียว


ข้อสรุปอันประนีประนอมได้ความว่าการไต่สวนจะจัดขึ้นที่ Camp Zeist ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งใช้กฎหมายของสก๊อต ประธานาธิบดีมันเดลาเริ่มการเจรจากับนายพลกัดดาฟีให้ส่งมอบตัวผู้ต้องหา (เมกราฮี กับฟีห์มาห์) ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2542 เมื่อสิ้นสุดการไต่สวนอันยาวนานกว่า 9 เดือน มีการประกาศคำตัดสินของคณะลูกขุนเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2544 ฟีห์มาห์ไม่มีความผิด แต่เมกราฮีมีความผิดและต้องโทษจำคุก 27 ปีในเรือนจำของสก๊อตแลนด์ คำอุทธรณ์ครั้งแรกของเมกราฮีถูกปฏิเสธเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2545 อดีตประธานาธิบดีมันเดลาได้เดินทางไปเยี่ยมเขาที่เรือนจำบาร์ลินนี เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2545

"เมกราฮีโดดเดี่ยวอย่างแท้จริง" มันเดลากล่าวในการแถลงข่าวสั้น ๆ ที่ห้องเยี่ยมของเรือนจำ "เขาไม่สามารถคุยกับใครได้เลย มันเป็นการประหารทางจิตใจแท้ๆ เมื่อคนๆ หนึ่งจะต้องใช้ชีวิตของเขาในการรับโทษอันยาวนานโดยอยู่เพียงลำพังคนเดียว คงจะดีกว่านี้หากเขาได้รับอนุญาตให้ย้ายไปอยู่ในประเทศมุสลิม มีประเทศมุสลิมมากมายที่ทางฝั่งตะวันตกเชื่อใจได้ ครอบครัวของเขาจะได้ไปเยี่ยมเขาได้บ้างหากเขาอยู่ในประเทศ เช่น โมร็อกโก ตูนิเซีย หรืออียิปต์"


ในเวลาต่อมา เมกราฮีได้ย้ายไปยังเรือนจำกรีน็อค และไม่ต้องถูกขังเดี่ยวอีกต่อไป วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการทบทวนคดีอาชญากรรมแห่งสก๊อตแลนด์ (Scottish Criminal Cases Review Commission) ได้มีข้อสรุปว่า หลังจากทบทวนการตัดสินโทษของเมกราฮีเป็นเวลา 3 ปี เชื่อได้ว่ามีการตัดสินลงโทษแก่ผู้มิได้กระทำความผิดจริง อ้างตามคำอุทธรณ์ครั้งที่ 2 จากศาลอุทธรณ์คดีอาชญากรรม



-----------------------

เยอะจัง.....แค่นี้ก่อนนะคะ ^^
เชิญอ่านต่อได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99_%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B2

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

เทศกาลปามะเขือเทศ



เทศกาลถล่มมะเขือเทศ (La Tomatina en España)

เมื่อพูดถึงประเทศสเปน ที่เลื่องชื่ออีกอย่างหนึ่งของประเทศนี้ คือ การจัดเทศกาลและงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ ซึ่งมีหลากหลายตลอดปี และเป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจไปซะหมด ดูกี่รอบ ๆ ก็ไม่เบื่อ ส่วนมากแล้ว งานฉลองต่าง ๆ หรือที่เรียกกันในภาษาสเปนว่า La fiesta ลา เฟียซต้า นั้น จะจัดฉลองกันเพื่อประเทศชาติ และคนในประเทศ แต่ก็มีบางงาน ที่เล่นกันในเฉพาะเมือง เพราะว่าแต่ละเมืองของสเปน มีที่มาที่ไปไม่เหมือนกัน ถ้าใครไปสเปน ไม่ว่าจะช่วงไหนของปี ก็จะมีงานฉลอง หรืองานเทศกาลให้ดูกันทั้งปีเลย มันต้องมีที่ไหนซักแห่งในสเปนล่ะน่า อิอิ

เทศกาลที่มีชื่อเสียงอันหนึ่งของสเปน แม้แต่คนไทยยังรู้จักกัน เพราะความแปลก คือ เทศกาลปามะเขือเทศ หรือ เรียกว่า La Tomatina ลา โตมาติ๊หน่า ในภาษาสเปน ซึ่งเฉลิมฉลอง เริ่มปามะเขือเทศใส่หัวกัน ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคมของทุกปี ที่เฉพาะเมือง บุนโยล (Bunyol) ทางภาคตะวันออกของสเปน ซึ่งอยู่ห่างจากบาเลนเซียไป 30 กิโลเมตร เทศกาลปามะเขือเทศนี้ ดุเดือด เข้มข้น ด้วย “ศึกปามะเขือเทศ” ซึ่งจะจัดขึ้นในวันพุธของสัปดาห์นั้น(เดือนสิงหาคม) ชื่อก็บอก ว่าเป็นศึกปามะเขือเทศ ดังนั้น คนที่มาร่วมงานเทศกาลนี้ ทั้งชาวเมืองเอง และผู้มาเยือน ต่างก็ปามะเขือเทศใส่กันอย่างสนุกสนาน อิอิ

ในแต่ละปี ลา โตมาติ๊นา ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าประเทศสเปนเป็นจำนวนมาก แล้วก็มีคนมาร่วมมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็เลยต้องมีการตั้งกฎกติการกันซักหน่อย เพื่อความปลอดภัยและเพื่อรักษาประเพณีอันดีงามไว้ กฎก็มีอยู่ดังนี้

- ไม่ปาขวดหรือของแข็งใส่กัน


- ห้ามฉีกเสื้อยืดกัน


- ต้องทุบมะเขือเทศให้น่วม ก่อนมาปาใส่กัน


- ระวังรถบรรทุกที่บรรทุกมะเขือเทศมาด้วย เดี๋ยวรถเหยียบเอา


- เมื่อเสียงประทัดสัญญาณดังขึ้น ให้หยุดปามะเขือเทศทันที

ฮ่า ๆๆ อย่างว่า กฎมีไว้แหก พอเล่นกันจริง ๆ ไม่มีใครสนใจกฎหรอกค่า ปาได้ปาเอา ซัดกันลูกเดียว ใครไปเล่น ก็เอาตัวรอดกันให้ดี อิอิ มะเขือเทศต้องเต็มสองมืออยู่ตลอดเวลา ไม่งั้นน่วม จริง ๆ ขอเตือนไว้ก่อน ฮี่ ๆๆๆ



นอกจากนี้ ก่อนและหลังวันพุธซึ่งเป็นวันทำศึก ก็จะมีการจัดงานเฉลิมฉลองกัน ส่วนช่วงเวลาเด็ดสุดในเทศกาลนี้ คือช่วงตี 1 ถึงช่วงบ่ายโมงของวันพุธนั่นแหละ อ้าว ซัดกันเข้าไป เอาให้น่วมมมม ฮี่ ๆๆ

ส่วนประวัติของการทำศึกปามะเขือเทศ ก็มีอยู่สองกระแส กระแสแรกบอกว่า ครั้งหนึ่ง มีกลุ่มคนเกิดอยากจะแกล้งคนที่กำลังเดินถนนอยู่ในเมืองโดยร้องเพลงและเล่นดนตรีไปด้วย แต่เขาร้องเพลงและเล่นดนตรีประกอบได้ห่วยมาก ๆ คนในเมืองเลยตัดสินใจว่าน่าจะหาอะไรปาใส่มันซะหน่อย หันไปหันมา เจอมะเขือเทศ เออ ก็เอามะเขือเทศนี่ละว้า ปาใส่เจ้านักร้องเสียงหลงซะเลย อิอิ แถมยังปาผักและผลไม้อื่นๆ ใส่ไปด้วย แล้วก็มีคนมาช่วยปาเยอะขึ้นเรื่อย ๆ สุดท้าย กลายเป็นศึกปามะเขือเทศใส่กันเองไป อ้าวววววววววว

ส่วนอีกกระแสหนึ่ง ซึ่งน่าเชื่อถือมากที่สุด บอกว่า เริ่มจากในปี ค.ศ. 1945 บริเวณทาวน์ สแควร์ ที่จัดศึกปามะเขือเทศในปัจจุบัน นั้นมีคนหนุ่มสาว พากันมาดูขบวนพาเหรด "Gigantes y Cabezudos" กิอ๊านเต่ส อี ก่าเบ๊ซูโดส ซึ่งเป็นขบวนพาเหรดที่โชว์ยักษ์แบบต่าง ๆ ที่มีหัวโคตรน่าเกลียด แล้วหนุ่มสาวกลุ่มนั้น ได้เข้ามาร่วมในวงดุริยางค์ในขบวนพาเหรด แล้วก็ไปผลักคนที่แต่งตัวเป็นยักษ์หัวหน้าเกลียดในขบวนเข้า เจ้ายักษ์ตัวหนึ่งล้มลง พอลุกขึ้น ก็ชกต่อยทุกคนรอบ ๆ ทีนี้ทุกคนเลยต่อสู้กันนัวเนียไปหมด พอดีมีแผงขายผลไม้อยู่ข้างทาง พวกหนุ่มสาวเหล่านั้น เลยไปคว้ามะเขือเทศมาปาใส่กัน จนกระทั่งตำรวจต้องเข้ามายุติศึกในครั้งนั้น แต่พวกในขบวนก็ยังไม่หายแค้น เพราะต้องเป็นคนจ่ายค่าเสียหายทั้งหมดด้วย

พอปีต่อมา เป็นวันพุธเดิม ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคม พวกหนุ่มสาวจอมซ่าส์ก็มาเจอกับพวกในขบวนพาเหรดอีกครั้ง คราวนี้ ขนมะเขือเทศกันมาเอง แล้วก็เริ่มทำศึกกันในวันนั้นเอง แต่ก็มีตำรวจมายุติศึกจนได้ ส่วนในปีหลังจากนั้น ทางการได้สั่งห้ามการทำศึกมะเขือเทศ ซึ่งได้กลายมาเป็น “วันทำศึกมะเขือเทศ ”โดยปริยาย แต่กระนั้น ผู้คนก็เริ่มฉลองวันทำศึกดังกล่าว ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งในแต่ละปี มีคนมาร่วมงานประมาณ 10,000 คนเลยเชียว



ที่มา : yoo_cho http://www.oknation.net/blog/print.php?id=192913

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

ดนตรีคลาสสิค : รสนิยมกับอำนาจ



คอลัมน์เวิ้งวิภาษ หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2554
อติภพ ภัทรเดชไพศาล


เมื่อหลายอาทิตย์ที่แล้วผมได้ชมข่าวช่วงบันเทิงเทศของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสจากการรับชมทาง youtube.com ซึ่งในข่าวมีการพูดถึงบทบาทของรัฐบาลจีนในการสนับสนุนดนตรีคลาสสิค และแทรกด้วยบทสัมภาษณ์คุณประภัสสร เสวิกุลและผู้เชี่ยวชาญดนตรีคลาสสิคบางคนถึงกรณีนี้ (ดู http://www.youtube.com/watch?v=9RFkrEIpaWk)


คุณประภัสสรทำให้ผมแปลกใจมากตรงที่บอกว่ารัฐบาลจีนส่งเสริมดนตรีคลาสสิค ในขณะที่จำเป็นต้องปิดกั้นดนตรีป๊อป เพราะดนตรีป๊อปเป็นสิ่งที่รับช่วงอารยธรรมหรือวัฒนธรรมของตะวันตกมากไป



ก็ดนตรีคลาสสิคนั้นไม่ใช่อารยธรรมหรือวัฒนธรรมตะวันตกหรืออย่างไร?


แต่อย่างไรก็ตามการให้สัมภาษณ์นั้นเห็นได้ชัดว่ามีการตัดต่อ และจริงๆ แล้วคุณประภัสสรก็อาจมีคำอธิบายบางอย่างที่สมเหตุสมผลมาขยายความความข้อนี้ก็เป็นได้ เพียงแต่ไม่ได้ถูกนำมาออกอากาศเท่านั้น


แต่จากรายการสั้นๆ เพียงห้านาทีนี้ ผมคิดว่าผู้เสนอข่าวหรือผู้ให้สัมภาษณ์คนใดก็ตาม ดูเหมือนจะลืมหรือจงใจที่จะไม่พูดถึงความเป็นตะวันตกของดนตรีคลาสสิคเลยสักนิดเดียว ซึ่งสาเหตุที่เป็นอย่างนั้นก็คงจะอย่างที่รู้ๆ กัน คือคนจำนวนมากในสังคมไทยมักถูกครอบงำอยู่ด้วยความคิดที่ว่าดนตรีคลาสสิคเป็นของ “สากล” และดีสำหรับทุกชนชาตินั่นเอง


แนวคิดเรื่องความเป็น “สากล” ของดนตรีตะวันตกเป็น myth ที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยระยะเวลายาวนานกว่าร้อยปี หรืออาจจะเป็นพันปีถ้าเราจะเริ่มด้วยความเชื่อที่ว่า สัดส่วนของบันไดเสียงดนตรีตะวันตกนั้นสร้างขึ้นมาจากกฏเกณฑ์ทางธรรมชาติ ซึ่ง Pythagoras เป็นผู้ให้คำอธิบายเป็นคนแรกๆ ว่าเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงอยู่กับสัดส่วนทางธรรมชาติและจักรวาลนั่นเลยทีเดียว


ดนตรีคลาสสิคที่มีรากฐานมาจากดนตรีในโบสถ์คริสต์ เมื่อผนวกเข้ากับภูมิปัญญาแบบกรีกโบราณ จึงกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนธรรมดาไม่สามารถเข้าไปเกี่ยวข้องได้ โดยเฉพาะในสมัยแรกๆ นั้นถึงกับมีการกีดกันไม่ให้ผู้หญิงเข้าไปมีส่วนร่วมในการร้องเพลงในโบสถ์ด้วยซ้ำ


การแต่งเพลงคลาสสิคไม่ใช่สิ่งที่บุคคลทั่วๆ ไปจะทำได้ ดังจะเห็นได้จากนักแต่งเพลงคลาสสิคคนแรกของโลกคือ Hildegard von Bingen ที่เป็นถึงแม่ชีคนสำคัญและมีบทบาทอยู่ในศาสนจักรเป็นอย่างมาก (ดังนั้นจึงข้ามพ้นข้อห้ามที่เกี่ยวกับความเป็นเพศหญิงไปได้) โดยที่ยังไม่ต้องพูดถึงกรณีของ Gregorian Chant (เพลงสวดบทแรกๆ ของโลกตะวันตกที่มีการบันทึกไว้) ที่เชื่อกันโดยทั่วไปว่าจดบันทึกโดยพระสันตปาปาเกรกอรีด้วยซ้ำ


กฏเกณฑ์มากมายในการแต่งเพลงคลาสสิคเป็นสิ่งที่คนทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงได้แน่ๆ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ดนตรีคลาสสิคจะมีบทบาทอยู่แต่ในวัด (โบสถ์) กับในวังเท่านั้นเอง


บางคนอาจจะอ้างกรณีของ Mozart ว่าได้แต่งเพลงหรือ opera เกี่ยวกับสามัญชนไว้เหมือนกัน และมีการบรรเลงในโรงละครเก็บเงินที่ประชาชนทั่วๆ ไปก็สามารถชมได้


แต่คำว่า “ประชาชน” ทั่วๆ ไปที่ชมงานของ Mozart นั้นก็ไม่ใช่ตาสีตาสาแน่ๆ ผู้ชม opera ของ Mozart นั้นเป็นประชาชนในแง่ของ “ชนชั้นกลาง” หรือ bourgeois ที่เป็นชนชั้นที่เกิดขึ้นใหม่ในตอนนั้น และมีบทบาทในสังคมที่ตีเสมอขึ้นมากับชนชั้นเจ้านายเก่าๆ ต่างหาก


ดนตรีคลาสสิคจึงไม่เคยเป็นของ “ประชาชน” ส่วนใหญ่อย่างแท้จริงมาก่อน แม้จนกระทั่งในปัจจุบัน (ราคาบัตรคอนเสิร์ตดนตรีคลาสสิคทั่วๆ ไปอย่างถูก เฉลี่ยก็อยู่ที่ราวๆ 500 บาทต่อที่นั่ง - ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่ราคาที่คนหาเช้ากินค่ำทั่วๆ ไปจะซื้อได้อยู่แล้ว)


ดนตรีคลาสสิคชนิดที่พอจะเรียกได้ว่าเข้าถึง “ประชาชน” มากที่สุดนั้นก็คือดนตรีคลาสสิคที่ใช้ประกอบภาพยนตร์ Hollywood ซึ่งก็เป็นดนตรีคลาสสิคที่ถูกจับโยนออกมาจากบริบทดั้งเดิมของมัน และถูกทำให้กลายเป็นรสนิยมสาธารณ์แบบป๊อปๆ ไปแล้ว


แต่คนส่วนมากก็คงไม่พอใจที่จะนั่งฟังเพลงแบบนี้โดยไม่มีภาพประกอบแน่ๆ โดยเฉพาะในสังคมไทยที่เห็นกันมาตลอดว่าดนตรีคลาสสิคไม่ใช่รสนิยมของประชาชนส่วนใหญ่ เพราะถ้าคนส่วนใหญ่ชอบฟังดนตรีคลาสสิคจริง ป่านนี้เราคงมีสถานีวิทยุที่จัดแต่เพลงคลาสสิคเป็นร้อยๆ รายการไปแล้ว


นับตั้งแต่ขั้นตอนการแต่งเพลง ไปจนถึงการกำกับวงดนตรีอย่าง orchestra เห็นได้ชัดว่าดนตรีคลาสสิคมีบุคลิกแบบเผด็จการอำนาจนิยม คือเน้นที่ความถูกต้อง ความพร้อมเพรียง และการตีความเพลงโดย conductor เพียงคนเดียวเบ็ดเสร็จ


ลักษณะเผด็จการนี้มาคู่กันกับความเป็น elite (เงินค่าตอบแทนของ conductor เพียงคนเดียวในการกำกับวง orchestra นั้นอยู่ในระดับหลายแสนถึงหลายล้านในแต่ละคอนเสิร์ต) การจัดงานเลี้ยงหลังคอนเสิร์ตนั้นเป็นวัฒนธรรมแบบชนชั้นสูงตะวันตกอย่างไม่ต้องสงสัย นับตั้งแต่การแต่งกายแบบสากลนิยม ใส่สูทแต่งชุดราตรีของผู้ร่วมงาน ไปจนถึงการเปิดไวน์ขวดละหลายหมื่นหลายแสน อาหารตะวันตกชั้นดีจากโรงแรมห้าดาวนั้นอยู่คู่กับงานเลี้ยงหลังคอนเสิร์ตประเภทนี้จนแทบจะกลายเป็นเรื่องปกติ


(ในการแสดงคอนเสิร์ต SONG OF THE NIGHT ซิมโฟนีหมายเลข 7 โดย กุสตาฟ มาห์เล่อร์ ของ สยาม ฟิลฮาร์โมนิค ออร์เคสตร้า ในวันที่ 27 กรกฎาคม ที่ผ่านมา จำหน่ายบัตรในราคาที่นั่งละ 600, 800 และ 1,200 บาท โดยมีบัตรพิเศษชนิดหนึ่ง ชื่อว่าบัตรพิเศษ “เทวทูตกุสตาฟ” จำหน่ายในราคาที่นั่งละ 5,000 บาท โดยระบุว่าผู้ที่ซื้อบัตรชนิดนี้จะสามารถเข้าร่วมในงานเลี้ยงหลังคอนเสิร์ตได้ด้วย)



การผลักดันดนตรีคลาสสิคให้เป็นวาระแห่งชาติ “เพื่อประชาชน” อย่างฝืนความจริงจึงทำได้เพียงในประเทศเผด็จการสังคมนิยมอย่างโซเวียตหรือจีน (ที่มีสิทธิ์ขาดในการควบคุมสื่อและทิศทางเศรษฐกิจ) เท่านั้น แต่การกระทำเช่นนั้นก็ย่อมเป็นการกระทำที่ย้อนแย้งในตัวเองเชิงอุดมคติ เพราะดนตรีคลาสสิคซึ่งเป็นมรดกตกทอดจากชนชั้นกลาง-ชนชั้นสูงนี้ ย่อมขัดกับระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมอย่างไม่ต้องสงสัย


ทัศนคติของคนทั่วๆ ไปในสหภาพโซเวียต (เมื่อสมัยที่ยังเป็นสังคมนิยม) ที่มีต่อนักแต่งเพลง-นักดนตรีคลาสสิค จึงเป็นทัศนคติครึ่งๆ กลางๆ ที่ทั้งนับถือยกย่องและดูถูกดูแคลนไปพร้อมๆ กัน


และเอาเข้าจริงๆ ผมว่าในกรณีของจีนหรือเกาหลีที่ถูกนำเสนอในข่าวนั้น ก็เป็นเพียงการกระทำที่หวังจะกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นสำคัญเท่านั้นเอง โดยที่คงไม่ได้มีความคิดที่จะยกย่องเชิดชูศิลปะการดนตรีอะไรมาเกี่ยวข้องด้วยสักเท่าไร