วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555

โอกาส คำที่ทุกคนอ่านได้เหมือนกัน แต่มีไม่เท่ากัน โดย Kimura Cantabile

โอ้โห...บล็อกรูปแบบใหม่ ไม่ค่อยคุ้นเลยแฮะ -*-

สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่าน วันนี้คนเขียนขอนำเสนอ บทความที่(รุ่น)พี่ชาย เป็นผู้เขียนอีกสักครั้ง จริงๆก็ไม่เชิงบทความหรอกค่ะ เป็นสเตตัสที่เขาโพสต์ไว้หน้าเฟซบุ๊ค ซึ่งเห็นว่าน่าสนใจดีเลยนำมาแบ่งปัน

 

 หลังจากที่ได้ดูเทปนี้...ก็เห็นด้วยกับน้องธนัช เห็นเขาตั้งแต่เด็กๆเล็กละ แต่อย่างนึงอยากให้รู้ว่า "เด็กไทยทุกคนไม่ได้ไม่เก่ง และเด็กไทยทุกคนไม่ได้โง่ ทุกคนมีความอัจฉริยะและพรสวรรค์อยู่ในตัวเอง"
 แต่ขาดแรงสนับสนุนจากครอบครัวและเรื่องของการเงิน
เด็กทุกคนมีพัฒนาการที่ดีได้ ถ้าเราได้รับโอกาสและการสนับสนุน
ตอนเด็กๆ กระผมก็เป็นแบบน้องธนัชนะ พูดได้หลายภาษา + ดนตรีก็เล่นได้
ก็เพราะตัวเองได้รับการสนับสนุนมากกว่าชาวบ้าน จากพ่อแม่ครูบาอาจารย์
แถมสมัยก่อนเทคโนโลยีไม่ได้ก้าวไปไกลแบบนี้อีก
การหาความรู้ก็ยิ่งยากกว่าด้วยเลย คนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้มีเงิน
แล้วรัฐบาลก็ไม่ได้สนับสนุนอะไรเลย (มัวแต่มานั่งดูดกินผลประโยชน์กันเอง)
จะให้เด็กไทยมันอัจฉริยะกันทุกคนเหมือน ญี่ปุ่น เหมือน จีน เหมือน อเมริกาได้ไงล่ะ?
 ทำไมเขาทำได้ล่ะ ประเทศเหล่านั้น?
 ถ้าลูกอยากเรียนดนตรี พ่อแม่คนไทยจะบอกว่า เรียนไปทำไม เปลือง?
ลูกอยากเรียนศิลปะ ก็บอกว่า วาดๆขีดๆเอาเองก็ได้
แล้วอิหรอบนี้อยากให้ลูก "อัจฉริยะ" เนี่ย ถ้าไม่ให้โอกาสเขาค้นหาตัวเอง
เขาก็จบลงที่"ความธรรมดา"เหมือนอย่างที่เรารู้ๆกัน
และเรื่องของการ "ไม่มีเงิน" มันก็ปัญหาใหญ่เหมือนกัน
ระดับการที่สามารถเรียนไวโอลินได้ พ่อแม่ก็คงต้องมีเงินพอสมควร
ทำให้ค่านิยมการเล่นไวโอลินตกไปอยู่ในภาพพจน์ของ "ลูกคนรวย"
ทั้งๆที่จริงๆแล้ว ดนตรีถูกสร้างมาเพื่อทุกคน ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อ "คนรวย"
ดังนั้น โครงการดนตรีแบบฟรีๆที่ผมทำอยู่ทุกๆวันนี้ เป็นการแย้งกับความคิดของสังคมที่ว่า
"ดนตรีพวกนี้เป็นดนตรีของคนรวย" สำหรับผมแล้ว "ดนตรีไม่มีวรรณะ ไม่มีรวย ไม่มีจน"
จะมีก็แค่ "คนที่มีหัวใจที่จะฟังมากกว่าจะมานั่งโวยวายโต้เถียงและรื่นรมย์กับเสียงที่เกิดขึ้น" มากกว่า

------------------------------------------------

 หลังจากอ่านข้อความข้างต้นแล้วทำให้คนเขียนเกิดสงสัยในคำว่า

"ตัวเองได้รับการสนับสนุนมากกว่าชาวบ้าน"
ว่าพี่เขาได้รับการสนับสนุนอย่างไรบ้าง เลยไปถามเขาตรงๆ แล้วเขาก็ตอบมาว่า...
 การสนับสนุนมีทั้งจากคนรอบข้าง ไม่ปิดกั้นโอกาส ไม่บั่นทอนจิตใจ ช่วยกันผลักดัน เสริมโอกาสด้วยการเงินสนับสนุน และเวลา ให้ความเข้าใจไม่ขัดขวาง
ที่บ้านแม่ก็ไม่เคยห้าม เพราะแม่พี่ชอบร้องเพลง รักเสียงเพลง แม่ส่งเสริมมาตั้งแต่เด็กละ
เป็นเเฟนวิทยุ แล้วก็ตีสนิทกับดีเจ คลื่นวิทยุท้องถิ่นด้วยซ้ำนะ
พี่กะน้องสาว (พี่ Yumiko)ไม่เคยร้องเพลงเพี้ยนเลย เพราะอยู่กับแม่เนี่ยแหละ
แม่ฟังเพลงบ่อย พ่อก็บ้าเครื่องเสียง อยากเรียนดนตรีอยากทำไร ทำไป เพราะเขาเห็นผลงานเราไง
ว่าเราไมไ่ด้เล่นๆ เราจริงจัง คนรอบข้างก็ไม่เคยมีใครห้าม มีแต่ส่งเสริมอยากทำอะไรก็ทำ
ยอมรับ สนับสนุน แล้วก็เข้าใจเห็นด้วย มีอะไรก็คุยกันได้ตลอด มีผู้ใหญ่ใจดีรับฟังเสมอ
ไม่ว่าจะมีปัญหาอะไร ไปเรียนก็ได้รับการยอมรับในทักษะและความสามารถ
ชีวิตเหมือนได้เปรียบกับชาวบ้าน เพราะ เราวิ่งเข้าหาโชค แล้วโชคก็วิ่งเข้าหาเรา
เหมือนที่พี่บัณฑิต (คุณบัณฑิต อึ้งรังษี วาทยกรไทยระดับโลก) บอกไว้จริงๆนั่นแหละ
ชีวิตที่ทำตัวเองให้เอื้อกับโอกาส อะไรๆมันก็ดูง่ายไปหมด

อ่านแล้วคนเขียนอยากจะกรีดร้องเป็นภาษาอารเมค ทำไมมันช่างตรงข้ามกับชีวิตข้าพเจ้าเช่นนี้ TTT^TTT คนเขียนน่ะเรอะ...เฮอะ....
เกิดมาก็มีปมด้อยประจำตัวอยู่แล้ว ก็พูดกันตรงๆว่ามี "อะไรบางอย่าง" ที่ไม่เหมือนคนอื่นๆ

ยิ่งถ้าเทียบเป็นข้อๆ กรณีเดียวกับพี่เขานะ เฮ้อ....... ไปดูกันดีกว่า...

พ่อก็ทิ้งไปตั้งแต่ 5 ขวบละ แม่เห็นคนเขียนฟังเพลงบรรเลงไม่ได้เลยนะ ต้องบ่น ต้องทะเลาะ

บอกว่า "ฟังทำไม ฟังไม่เห็นจะรู้เรื่อง" ก็เข้าใจนะคะ ว่ารสนิยมมันต่างกัน แต่ก็ไม่ควรจะขัดขวางกันนี่นา 

เวลาจะฟังทีไร ก็จะเปลี่ยนช่องบ้างละ เหน็บแนมบ้างละ ทำให้ไม่มีความสุขในการฟังเอาซะเลย รายการพวกนี้ในฟรีทีวีเมืองไทยมันก็น้อยอยู่แล้ว จะขัดขวางกันไปถึงไหน TTT^TTT

อยากเล่นไวโอลินก็หาว่ากระแดะ ทำตัวเป็นไฮโซ เล่นของเล่นคนรวย พอมาที่โรงเรียน ก็ยอมรับว่าตัวเองเป็นคนนิสัยไม่ดี ทำให้ใครๆไม่ยอมรับ ไม่พอใจ ในตัวคนเขียน จะมีก็ไม่กี่คนที่ยอมรับ และให้โอกาส แต่ก็ขอพูดตรงๆ บางทีก็แรงเกิ๊นนนนนนนนนนนน

และบางเรื่องก็นะ...ต่อให้เป็นคนที่ให้โอกาส แต่ก็ยังไม่เห็นด้วยอยู่ดี

คนเขียนไม่เข้าใจ การเล่นดนตรีมันผิดตรงไหนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนน???

ในเมื่อเห็นถึงความแตกต่างมากมายแล้ว คนเขียนจึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมพี่เขาถึงเป็นคนที่เก่งได้มากขนาดนี้
คนที่กำลังอ่านบทความนี้ อาจจะคิดว่า คงเป็นเพราะเขารวยน่ะสิ อย่างนั้นอย่างนี้
แต่คนเขียนขอบอกตรงนี้เลยนะคะ ว่าเขาไม่ได้รวยเลย ออกไปทางจน เคยไม่มีจะกิน ไม่ต่างจากคนเขียน (ไม่เชื่อไปถามเขาได้) แต่ทุกวันนี้เขาได้มีชีวิตอยู่อย่างสบาย เป็นคนมีความสามารถ มีความเก่งในหลายๆด้าน เป็นเพราะว่าเขามีความพยายามที่จะผลักดันตัวเอง และได้รับโอกาสที่เหมาะสม แต่คนเขียนไม่ได้รับโอกาสเช่นนั้น... TT^TT

พูดถึงคำว่า "โอกาส" นึกถึงคำเทศน์ ที่ อ.ชัยวิทย์ ผิวเรืองนนท์ ศิษยาภิบาล คริสตจักรความหวังนครปฐมเคยพูดติดตลกไว้ว่า...
 โอกาสเนี่ยนะ มันมีปีก บินได้เร็วมวาก มาเร็ว เคลมเร็ว ไปเร็ว ยิ่งกว่าประกันภัย หลายๆคนพยายามจะจิก จะจับโอกาสไว้เมื่อตอนมันกำลังจะไปแล้ว คิดจะดึงผมตัวโอกาสไว้ แต่เสียใจ โอกาสมันหัวล้านด้วย คนบางคนถึงคว้าโอกาสไว้ไม่ทัน เท่านั้นยังไม่พอ ตัวมันก็ลื่นมวาก เพราะทาน้ำมันเอาไว้ บางคนถึงจะคว้าไว้ได้ แต่สุดท้ายก็ทำมันหลุดมือ แต่มีวิธีเดียวที่เราจะได้รับโอกาส คือทำตัวให้เหมาะสมกับกับมัน ทำชีวิตให้ดีที่สุด แล้วพระเจ้าจะประทานโอกาสให้เอง ^ ^

 ความพยายามอย่างมาก + โอกาส = ความสำเร็จ
ก็เลยคิดว่า...สงสัยเป็นเพราะตัวเองยังทำตัวไม่ดี ยังพยายามไม่มากพอ จึงไม่ได้รับโอกาสนั้นๆ สุดท้าย...ก็ต้องเริ่มใหม่ เอาใหม่ เพื่อหวังว่าสักวัน พระเจ้าจะประทานโอกาสดีๆแบบนั้นให้กับคนเขียนบ้าง

ขอขอบคุณพิเศษ : พี่ Kimura Cantabile ค่ะ ^^

วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

นางสงกรานต์

สวัสดีปีใหม่ไทยค่าท่านผู้อ่าน สงกรานต์เช่นนี้ คนเขียนมิได้ออกไปไหนเลย เพราะหม่อมแม่มิได้หยุดงานเจ้าค่ะ T^T ไม่ได้เปียกมา 3 ปีละ และก็คงจะมีปีต่อๆไป T^T วันนี้เลยขอโอกาสอัพเรื่องนางสงกรานต์สักนิดนะคะ

นางสงกรานต์ เป็นคติความเชื่ออยู่ในตำนานสงกรานต์ อันเป็นเรื่องเล่าถึงความเป็นมาของประเพณีดังกล่าว เป็นอุบายเพื่อให้คนโบราณได้รู้ว่าวัน มหาสงกรานต์ คือ วันที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ ซึ่งสมัยนั้นถือเป็นการเถลิงศกใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่ตามสุริยคติตรงกับวันใด โดยสมมุติผ่านนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดเทียบกับแต่ละวันในสัปดาห์ ปีไหนตรงกับวันใดนางสงกรานต์ที่มีชื่อสมมุติเข้ากับวันนั้นๆก็จะเป็น ผู้อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมออกแห่ไปสรงน้ำ ซึ่งนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดนี้ เป็นเทพธิดาลูกสาวท้าวกบิลพรหม และเป็นบาทบริจาริกาของพระอินทร์



จากตำนานเล่าถึงท้าวกบิลพรหมแพ้พนันธรรมบาลกุมาร ต้องตัดเศียรออกบูชาธรรมบาลกุมารตามสัญญาแต่เนื่องจากพระเศียรของพระองค์ตกไปอยู่ที่ใด ก็จะเป็นอันตรายต่อที่นั้นไม่ว่าจะเป็นบนอากาศ บนดินหรือในน้ำ ดังนั้น ธิดาทั้งเจ็ดจึงต้องนำพานมารองรับ และนำไปประดิษฐานไว้ในถ้ำคันธชุลี ณ เขาไกรลาส ครั้นถึงกำหนด ๓๖๕ วัน ซึ่งโลกสมมุติว่าเป็นปีหนึ่งเวียนมาถึงวันมหาสงกรานต์ เทพธิดาทั้งเจ็ดก็จะทรงพาหนะต่างๆ ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของบิดาออกแห่ โดยที่เทพธิดาทั้งเจ็ดนี้ปรากฏในวันมหาสงกรานต์เป็นประจำ จึงได้ชื่อว่า “นางสงกรานต์” ส่วนท้าวกบิลพรหมนั้น โดยนัยก็คือ พระอาทิตย์ นั่นเอง เพราะกบิล หมายถึง สีแดง นอกจากตำนานข้างต้น

ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับนางสงกรานต์ที่กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จะขอนำมาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมดังนี้

นางสงกรานต์ของแต่ละวัน จะมีนาม อาหาร อาวุธ และสัตว์ที่เป็นพาหนะ ต่างๆ กันดังต่อไปนี้

วันอาทิตย์ ชื่อ ทุงษ
ทัดดอกทับทิม เครื่องประดับปัทมราค ภักษาหารผลมะเดื่อ อาวุธขวาจักร ซ้ายสังข์ พาหนะครุฑ

วันจันทร์ ชื่อ โคราค
ทัดดอกปีบ เครื่องประดับมุกดา ภักษาหารน้ำมัน อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายไม้เท้า พาหนะเสือ

วันอังคาร ชื่อ รากษส
ทัดดอกบัวหลวง เครื่องประดับโมรา ภักษาหารโลหิต อาวุธขวา ตรีศูล ซ้ายธนู พาหนะสุกร

วันพุธ ชื่อ มัณฑา
ทัดดอกจำปา เครื่องประดับไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย อาวุธขวาเข็ม ซ้ายไม้เท้า พาหนะลา

วันพฤหัสบดี ชื่อ กิริณี
ทัดดอกมณฑา เครื่องประดับมรกต ภักษาหารถั่วงา อาวุธขวาขอ ซ้ายปืน พาหนะช้าง

วันศุกร์ ชื่อ กิมิทา
ทัดดอกจงกลนี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำว้า อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายพิณ พาหนะกระบือ

วันเสาร์ ชื่อ มโหทร
ทัดดอกสามหาว เครื่องประดับนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย อาวุธขวาจักร ซ้ายตรีศูล พาหนะนกยูง



ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.songkran.net

วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

น้อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย...สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี



พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 — 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) เป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ก่อนที่สมเด็จพระบรมชนกนาถจะเสด็จสวรรคตในอีกหนึ่งวันต่อมา

พระนาม เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ในพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวยังโปรดให้ใช้คำนำหน้าพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ออกคำนำหน้าพระนามเป็น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ และคำนำหน้าพระนามนี้ยังใช้จนถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน

หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สิ้นพระชนม์ พระองค์ก็นับเป็นพระกุลเชษฐ์โดยพระชนมายุ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นพระญาติชั้นที่ 3 ของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ อดีตพระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชา

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16.37 น. ณ ตึก 84 ปี โรงพยาบาลศิริราช สิริพระชันษา 85 พรรษา

พระประวัติ
ประสูติ
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติเมื่อวันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ก่อนพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จสวรรคตเพียงวันเดียว

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สถาปนานางสาวสุวัทนา อภัยวงศ์ ขึ้นเป็นเจ้าจอมสุวัทนา และในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้นเองก็ได้มีการสถาปนาเจ้าจอมสุวัทนาซึ่งเป็นที่แน่นอนแล้วว่าจะประสูติกาลพระบุตรในไม่ช้า ขึ้นเป็น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี เพื่อ "...ผดุงพระราชอิศริยยศแห่งพระกุมารที่จะมีพระประสูติการในเบื้องหน้า"

เมื่อครั้งที่พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวียังทรงพระครรภ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระปีติโสมนัสเป็นอย่างพ้นประมาณ ทรงเฝ้ารอพระประสูติการของพระหน่อพระองค์แรกอย่างจดจ่อ ด้วยทรงคาดหวังว่าจะประสูติกาลพระโอรส ซึ่งพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ได้มีพระดำรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ความว่า "...เมื่อฉันตั้งครรภ์เจ้าฟ้า ล้นเกล้าฯ ก็ทรงโสมนัส ทรงคาดคิดว่าจะได้เป็นชาย ได้ราชสมบัติสืบต่อจากพระองค์ เมื่อยังมีพระอนามัยดีอยู่ ก็มีรับสั่งอย่างสนิทเสน่หาทรงกะแผนการชื่นชมต่อ พระเจ้าลูกยาเธอที่จะเกิดใหม่..."

อีกทั้งยังทรงพระราชนิพนธ์บทกล่อมบรรทมสำหรับสมโภชเดือนพระราชกุมารประกอบเพลงปลาทองไว้ล่วงหน้า ความว่า

พระเอยพระหน่อนาถ งามพิลาสดั่งดวงมณีใส

พระเสด็จจากฟากฟ้าสุราลัย มาเพื่อให้ฝูงชนกมลปรีดิ์

ดอกเอยดอกจัมปา หอมชื่นจิตติดนาสา

ยิ่งดมยิ่งพาให้ดมเอยฯ

หอมพระเดชทรงยศโอรสราช แผ่เผยผงาดในแดนไกล

พึ่งเดชพระหน่อไท เป็นสุขสมใจไม่วางวายฯ

รูปละม้ายคล้ายพระบิตุราช ผิวผุดผาดเพียงชนนีศรี

ขอพระจงทรงคุณวิบุลย์ทวี เพื่อเป็นที่ร่มเกล้าข้าเฝ้าเทอญฯ

ดอกเอยดอกพุทธิชาต หอมเย็นใจใสสะอาด

หอมบมิขาดสุคนธ์เอยฯ

หอมพระคุณการุณเป็นประถม เย็นเกล้าเหมือนร่มโพธิ์ทอง

เหล่าข้าทูลละออง ภักดีสนองพระคุณไทฯ


(ได้มีการน้ำบทกล่อมนี้มาแต่งและเรียบเรียงทำนองขึ้นใหม่ โดยวาทยกรระดับโลกรุ่นใหม่ของไทย คุณทฤษฎี ณ พัทลุง โดยมีชื่อเพลงว่า "พระหน่อนาถ")

วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2468 แต่แล้วเมื่อใกล้พระประสูติการ ความชื่นบานทั้งหลายกลับกลายเป็นความกังวล เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรหนักด้วยโรคพระอันตะ มีพระอาการรุนแรงขึ้นอย่างมิคาดฝัน ในยามนั้น พระองค์ประทับ ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระนางเจ้าสุวัทนาฯ ประทับ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ซึ่งติดกับพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เพื่อทรงรอฟังข่าวพระประสูติการอย่างใกล้ชิด จนกระทั่งพระนางเจ้าสุวัทนาฯ มีพระประสูติการเจ้าฟ้าหญิงในวันที่ 24 พฤศจิกายน จากนั้นในเวลาบ่าย เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) ได้เข้าเฝ้าฯ กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า พระนางเจ้าสุวัทนาฯ ประสูติ “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ” เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว มีพระราชดำรัสว่า “ก็ดีเหมือนกัน”

จนรุ่งขึ้นในวันพุธที่ 25 พฤศจิกายน เจ้าพระยารามราฆพ เชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์น้อยไปเฝ้าฯ สมเด็จพระบรมชนกนาถผู้ทรงพระประชวรหนักบนพระแท่น เมื่อทอดพระเนตรแล้ว ทรงพยายามยกพระหัตถ์ขึ้นสัมผัสพระราชธิดา แต่ก็ทรงอ่อนพระกำลังมากจนไม่สามารถจะทรงยกพระหัตถ์ได้เนื่องจากขณะนั้นมีพระอาการประชวรอยู่ในขั้นวิกฤต เจ้าพระยารามราฆพจึงเชิญพระหัตถ์ขึ้นสัมผัสพระราชธิดา เมื่อจะเชิญเสด็จพระราชกุมารีกลับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงโบกพระหัตถ์แสดงพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรพระราชธิดาอีกครั้ง จึงเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกเธอมาเฝ้าฯ เป็นครั้งที่สอง และเป็นครั้งสุดท้ายแห่งพระชนมชีพจนกลางดึกคืนนั้นเองก็เสด็จสวรรคต

พระนม (แม่นม) ของสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 คือ คุณบุปผา พนมวัน ณ อยุธยา ซึ่งเป็นพระนมโดยตำแหน่ง เพราะสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชธิดาในรัชกาลที่ 6 เสวยพระกษิรธาราจากพระชนนี มีคณะพยาบาลจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ถวายอภิบาลในเบื้องต้น จากนั้นจึงมีคณะพระอภิบาลจำนวน 12 คน ซึ่งเป็นอดีตคุณพนักงานในรัชกาลที่ 6 โดยผลัดเปลี่ยนกันเฝ้าอภิบาลจนทรงเจริญพระวัยพอสมควร

พระนาม
พระนามของสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 นั้นได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2468 และมีคำนำพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ (ภาติกา หมายถึง หลานสาวที่เป็นลูกสาวของพี่ชาย) โดยก่อนหน้านี้มีการสมโภชได้มีการคิดพระนามไว้ 3 พระนาม ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชอรสา สิริโสภาพัณณวดี, สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนจุฬิน สิริโสภิณพัณณวดี และสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ท้ายที่สุด พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงเลือกพระนามสุดท้ายพระราชทาน

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ได้เสด็จผ่านพิภพขึ้นสืบสนองพระองค์ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีประกาศเปลี่ยนคำนำพระนามสมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ผู้เป็นพระขนิษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ

จากนั้นในปี พ.ศ. 2489 เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบแทน ก็ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คงคำนำพระนามของสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ ว่า สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ แม้ว่าสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ จะเป็นพระเชษฐภคินีผู้ทรงเจริญพระชนมายุสูงกว่า เนื่องจากคำว่า ภคินี แปลได้ทั้งน้องหญิงและพี่หญิง ดุจเดียวกัน จึงทรงพระนามตามพระฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ดังปรากฏในปัจจุบันว่า สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ส่วนพระนามในภาษาอังกฤษตามทางราชการใช้ว่า "Her Royal Highness Princess Bejaratana"

เมื่อทรงพระเยาว์


หลังจากประสูติแล้วไม่นาน สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอฯ และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ได้ทรงย้ายไปประทับ ณ ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อทรงเจริญวัยขึ้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นห่วงว่าสมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอฯ จะไม่มีสถานที่ทรงวิ่งเล่นเพราะในพระบรมมหาราชวังมีบริเวณคับแคบ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายออกมาประทับ ณ พระตำหนักสวนหงษ์ พระราชวังดุสิต ตามพระประสงค์ของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า ซึ่งเป็นที่กว้างขวางร่มรื่น แวดล้อมด้วยต้นไม้น้อยใหญ่เหมาะแก่การสำราญพระอิริยาบถของสมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอฯ

ขณะสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ยังทรงพระเยาว์ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า ทรงพระเมตตาเอาพระราชหฤทัยใส่ดูแลทั้งด้านพระอนามัยและความเป็นอยู่มาโดยตลอด ด้วยเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงพระประชวรหนักนั้น ได้มีพระราชดำรัสกับสมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าว่า “ขอฝากลูกด้วย” ต่อมา สมเด็จพระพันวัสสามาตุจฉาเจ้ายังได้มีพระราชกระแสถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “เจ้าฟ้านี่ ฉันตายก็นอนตาไม่หลับ พระมงกุฎฝากฝังเอาไว้”

ระหว่างทรงพระเยาว์ มีเหตุการณ์ผันผวนทางการเมืองหลายครั้ง เช่น การเปลี่ยนแปลงการปกครอง และกบฎบวรเดช ทำให้ต้องทรงย้ายที่ประทับอยู่ตลอดเวลา เช่น ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี ในพระบรมมหาราชวัง, พระตำหนักสวนหงส์ พระราชวังดุสิต, ตำหนักเขาน้อย จังหวัดสงขลา, พระตำหนักสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ในสวนสุนันทา และพระตำหนักเขียว วังสระปทุม



จนกระทั่งพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี โปรดให้สร้างตำหนักใหม่ขึ้นเป็นส่วนพระองค์บนที่ดินหัวมุมถนนราชสีมาตัดกับถนนสุโขทัยซึ่งเป็นที่ดินพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่คราวอภิเษกสมรส ตำหนักแห่งนี้ประทานนามว่า สวนรื่นฤดี มีนายหมิว อภัยวงศ์เป็นสถาปนิก และพลโท พระยาศัลวิธานนิเทศ (แอบ รักตะประจิต)เป็นวิศวกร (ต่อมาได้ทรงขายให้แก่ทางราชการขณะเสด็จไปประทับ ณ ประเทศอังกฤษ และปัจจุบันเป็นส่วนราชการของกองทัพบก)

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ได้ทรงพระอักษรเบื้องต้นโดยพระอาจารย์จากโรงเรียนราชินี เช่น หม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา เทวกุล, หม่อมเจ้าหญิงเสมอภาค โสณกุล, ครูพิศ ภูมิรัตน ฯลฯ จากนั้น ได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ โรงเรียนราชินี (หมายเลขประจำพระองค์ 1847) แล้วจึงทรงศึกษาตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการกับท่านผู้หญิงศรีนาถ สุริยะ อาจารย์จากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ณ ตำหนักสวนรื่นฤดี ถนนราชสีมา

ประทับ ณ ประเทศอังกฤษ
ต่อมาใน พ.ศ. 2480 พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ผู้เป็นพระชนนีทรงเห็นว่าพระพลานมัยของพระธิดาไม่สู้สมบูรณ์นักจึงนำพระธิดาไปทรงพระอักษรและประทับรักษาพระอนามัย ณ ประเทศอังกฤษ ซึ่งในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงเสด็จไปประทับอยู่ก่อนการสละราชสมบัติแล้ว ทรงย้ายที่ประทับหลายแห่งตามลำดับ กล่าวคือ ตำหนักแฟร์ฮิลล์ เมืองแคมเบอร์เลย์ มณฑลเซอร์เรย์, ตำหนักหลุยส์เครสเซนต์ เมืองไบรตัน มณฑลซัสเซค และตำหนักไดก์โรด (บ้านรื่นฤดี) เมืองไบรตัน มณฑลซัสเซค ทั้งสองพระองค์ต้องประสบความยากลำบากนานับประการอันเนื่องมาจากเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองในช่วงภาวะสงครามจึงทรงประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงการทำงานบ้านเองเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจ้างข้าหลวงชาวต่างประเทศ โดยผู้ที่รับใช้ภายในพระตำหนักจะเป็นสตรีทั้งหมด

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอได้ทรงศึกษาวิชาภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศส และเปียโนกับพระอาจารย์ชาวต่างประเทศ และได้เสด็จไปทรงศึกษาในโรงเรียนประจำสตรีชื่อโรงเรียนเซเครดฮาร์ต แคว้นเวลส์ ครั้นในช่วงเสด็จลี้ภัยสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งนี้ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่พระองค์ประทับ ณ ประเทศอังกฤษ พระองค์และพระชนนีมีพระกรุณาต่อชาวไทยในประเทศอังกฤษ โดยทรงโปรดให้เข้าเฝ้า และจัดประทานเลี้ยงให้อยู่เสมอ



และพระราชทานพระกรุณาแก่กิจการต่างๆ ของชาวไทยอยู่เสมอ ทรงร่วมงานของสามัคคีสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นสมาคมนักเรียนไทยในสหราชอาณาจักร เป็นประจำ นอกจากนี้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง พระองค์ยังทรงอุทิศพระองค์ช่วยเหลือกิจการสภากาชาดอังกฤษ ประทานแก่ทหารและผู้ประสบภัยสงครามด้วยการเสด็จไปทรงบำเพ็ญประโยชน์ เช่น ม้วนผ้าพันแผล จัดยา และเวชภัณฑ์ สภากาชาดอังกฤษจึงได้ถวายถวายเกียรติบัตรประกาศพระกรุณา และในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีพระชนมชีพหลังการสละราชสมบัติแล้ว พระองค์และพระชนนีได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่เสมอ

พระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงรัดเกล้าพระราชมรดกในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง


นิวัตประเทศไทย
เสด็จกลับประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเมื่อปี พ.ศ. 2500 ทรงพระกรุณาโปรดให้สร้างวังในซอยสุขุมวิท 38 (ซอยสันติสุข) โดยมีพลเรือตรีสมภพ ภิรมย์ ศิลปินแห่งชาติ เป็นสถาปนิก แล้วเสด็จไปประเทศอังกฤษอีกในปี พ.ศ. 2501 เพื่อทรงเตรียมพระองค์เสด็จกลับประเทศไทยเป็นการถาวร จากนั้นจึงได้เสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นการถาวรในปี พ.ศ. 2502 ประทับ ณ วังแห่งใหม่ จึงได้ขนานนามวังดังกล่าวว่า วังรื่นฤดี เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 69 ซอยสุขุมวิท 38 กรุงเทพมหานคร และพระองค์ได้ประทับอยู่ตราบกระทั่งสิ้นพระชนม์ ส่วนในช่วงฤดูร้อนพระองค์จะเสด็จแปรที่ประทับไปยังตำหนักพัชราลัย ถนนเพชรเกษม อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

หลังการสิ้นพระชนม์ของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้องคมนตรีผลัดเปลี่ยนกันอัญเชิญดอกไม้และผลไม้ และสังเกตพระอนามัยของพระองค์เป็นประจำทุก 2 สัปดาห์ มีการจัดตำรวจคอยอารักขาตลอดเวลา และทรงโปรดฯให้ห้องเครื่องสวนจิตรลดาจัดเครื่องเสวยมาทุกวัน นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลขาธิการพระราชวังจัดกรมวัง และสารถีมาปฏิบัติหน้าที่ประจำทั้งภายในวังที่ประทับ และจัดเจ้าหน้าที่มาตกแต่งสถานที่ และปฏิบัติในเวลาที่มีงานพิเศษ เช่น งานวันคล้ายวันประสูติ และการทรงบำเพ็ญพระกุศลอย่างสมพระเกียรติยศทุกประการ ส่วนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเองก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงนราวดี ชัยเฉนียน มาเฝ้าและคอยติดตามพระอนามัย และใส่ใจรายละเอียดเล็กน้อยเช่น คลุมพระบรรทมและปลอกพระเขนยที่สวยงาม รวมไปถึงการจัดดอกไม้ที่พระองค์ทรงโปรดมาไว้ที่ห้องพระบรรทม เพื่อให้ทรงชื่นพระทัย

พระจริยวัตร
ในส่วนพระจริยวัตรส่วนพระองค์นั้น ทรงแสดงความกตัญญูต่อพระบุพการี เช่น ทรงตั้งพระกระยาหารสังเวยแก่พระบรมอัฐิของพระชนก ทั้งเวลาเช้าและกลางวัน ครั้นเมื่อค่ำแล้วก็ทรงสวดมนต์ถวายพระราชกุศล และถวายพระราชสักการะด้วยดอกไม้ธูปเทียน ซึ่งทรงปฏิบัติมาตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ พระองค์ได้รับการปลูกฝังจากพระชนนีให้มีความกตัญญูต่อพระชนก ดังความตอนหนึ่งที่พระองค์เคยตรัสไว้กับคุณหญิงศรีนาถ สุริยะ ขณะเข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ ความว่า "...ฟ้าหญิงรักทูลกระหม่อมก๊ะมาก ชาติหน้าขอให้ได้เกิดเป็นลูกทูลกระหม่อมก๊ะ และขอให้ได้เกิดเป็นคนไทย" รวมไปถึงการที่พระนางเจ้าสุวัทนาได้พระราชทานกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนพระองค์ เพื่อตั้งเป็นโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ซึ่งไม่ใช้พระนามของพระองค์เองเนื่องจากเพื่อเป็นเกียรติแก่บรรพบุรุษ

พระองค์ทรงศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้เคยเสด็จไปทรงศึกษาธรรมะกับ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก นอกจากนี้ยังมีพระอุปนิสัยทรงเคร่งครัดในการตรงต่อเวลา ทรงปฏิบัติพระกิจวัตรประจำวันเป็นเวลาและไม่ทรงปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ ทรงประหยัดอดออมและโปรดความเรียบง่าย ทั้งยังทรงนิยมและภาคภูมิพระทัยในความเป็นไทย โปรดเครื่องใช้รวมถึงฉลองพระองค์ที่ผลิตภายในประเทศ เช่น ชุดผ้าไหม, ฉลองพระบาท, กระเป๋า และพระสุคนธ์ซึ่งทรงโปรดน้ำอบเป็นพิเศษ

ส่วนการใช้ภาษาไทยนั้น ก็เป็นที่ทราบกันในหมู่ข้าราชบริพารว่าไม่โปรดให้ผู้ใดกราบทูลภาษาไทยปนภาษาต่างประเทศ ทรงรับสั่งด้วยวาจาอันสุภาพอ่อนโยน และโดยส่วนพระองค์เองก็มีรับสั่งภาษาไทยถูกต้องชัดเจนเสมอ เช่น ทีวี ให้กราบทูลว่า โทรทัศน์, แอร์ ให้กราบทูลว่า เครื่องปรับอากาศ และล็อกประตู ให้กราบทูลว่า ลงกลอนประตู เป็นต้น พระองค์จะมีรับสั่งภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศสกับชาวต่างประเทศเท่านั้น

พระองค์ทรงใช้จ่ายทรัพย์ส่วนพระองค์อย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะค่าไฟฟ้า ไม่โปรดให้ผู้ใดเปิดไฟไว้ล่วงหน้า และเมื่อเสด็จออกก็ปิดไฟด้วยพระองค์เอง เมื่อครั้งที่พระองค์ยังมีสุขภาพเอื้ออำนวย ได้มีการบันทึกรายรับรายจ่ายส่วนพระองค์ไว้อย่างรอบคอบ

พระองค์ทรงโปรดการถักนิตติ้งมากที่สุด เมื่อครั้งที่ยังมีพระพลานามัยเอื้ออำนวย พระองค์ทรงถักไหมพรมพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และผ้าพันคอพระราชทานแก่ทหารและตำรวจที่ประจำการแถบภาคเหนือที่ต้องรักษาการท่ามกลางความหนาวเย็น พระองค์โปรดการเล่นเปียโน สามารถเล่นเพลงที่สดับนั้นได้โดยไม่ต้องพึ่งตัวโน้ต ทรงโปรดการจัดดอกไม้และการจัดสวน ตั้งแต่ประทับในอังกฤษ และยังทรงมีอัจฉริยภาพในเรื่องความทรงจำและการคำนวณที่แม่นยำ เวลามีผู้เข้าเฝ้าจะรับสั่งถามถึงวันเดือนปีเกิดแล้วจะทรงบอกได้ว่า ตรงกับวันอะไร แต่เมื่อมีพระชันษาสูงได้มีผู้เข้าเฝ้าถามถึงการจำชื่อและวันเดือนปีเกิดที่เคยโปรดได้ไหม พระองค์จึงรับสั่งว่า "สมองฟ้าหญิงแก่แล้ว ทำ (คิดเลข) ไม่ได้แล้ว" แต่กระนั้นพระองค์ก็ทรงใฝ่รู้อยู่เสมอ ทรงรับสั่งกับคุณหญิงศรีนาถ สุริยะ พระอาจารย์ที่เข้าเฝ้าประจำว่า "ฟ้าหญิงอยากเรียนหนังสือ" คุณหญิงศรีนาถจึงถวายบทเรียนง่ายๆ แก่พระองค์

พระกรณียกิจสังเขป
นับแต่เสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นการถาวรใน พ.ศ. 2502 พระกรณียกิจก็ได้เพิ่มพูนขึ้นเป็นลำดับ ได้ทรงแบ่งเบาพระราชภาระของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะในด้านสังคมสงเคราะห์ โดยเสด็จออกเยี่ยมราษฎรตามหัวเมืองทั้งใกล้ไกล พร้อมพระราชทานพระอนุเคราะห์แก่ผู้ยากไร้อยู่เสมอ ครั้นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลปัจจุบัน ทรงเจริญพระวัยขึ้นกระทั่งทรงสามารถแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้ ประกอบกับพระองค์มีพระชนมายุสูงขึ้น จึงได้เสด็จออกทรงเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดารน้อยลง เมื่อพระองค์มีพระชันษาสูงขึ้น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้เข้าเฝ้าและได้ปฏิบัติพระกรณียกิจแทนพระองค์อยู่เนืองๆ

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ได้ทรงรับสถาบันและองค์กรต่างๆ ไว้ในพระอุปถัมภ์เป็นจำนวนกว่า 30 แห่ง ทั้งในส่วนที่สืบสานจากสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ในส่วนของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ และโดยส่วนพระองค์เอง ทั้งในด้านการศึกษา เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร วชิราวุธวิทยาลัย โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย โรงเรียนราชินี โรงเรียนราชินีบน โรงเรียนราชินีบูรณะ โรงเรียนวิเชียรมาตุ โรงเรียนสภาราชินี โรงเรียนศรียานุสรณ์ โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โรงเรียนสายน้ำผึ้ง โรงเรียนศรีอยุธยา โรงเรียนเพชรรัชต์ โรงเรียนเพชรรัตนราชสุดา โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์เพชราวุธวิทยา โรงเรียนสยามธุรกิจ สถาบันสันติราษฎร์บริหารธุรกิจ โรงเรียนพณิชยการสยาม โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ฯลฯ การสาธารณสุข เช่น วชิรพยาบาล โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ศิริราชพยาบาล ฯลฯ กิจการลูกเสือ-เนตรนารี และกิจการอาสาสมัครรักษาดินแดน ตลอดจนการสังคมสงเคราะห์อื่นๆ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ทรงเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระราชทานกำเนิด มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทั้งยังทรงเป็นผู้นำในการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมในรัชกาลที่ 6 เช่น พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน จังหวัดเพชรบุรี และ พระราชวังพญาไท ในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า อย่างไรก็ดี แม้ทุกวันนี้จะได้เสด็จออกไปทรงปฏิบัติพระกรณียกิจนอกสถานที่น้อยลงเนื่องด้วยพระชนมายุที่สูงขึ้น แต่ก็ยังพระราชทานพระวโรกาสให้ผู้แทนองค์กรต่างๆ เฝ้ากราบทูลรายงานความก้าวหน้าพร้อมทั้งรับพระราชทานพระกรุณาโดยประการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ มีพระปณิธานอันแน่วแน่ในการทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจ ดังปรากฏในพระดำรัสที่พระราชทานในงานฉลองพระชนมายุ 61 พรรษา เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 ณ วชิราวุธวิทยาลัย ความตอนหนึ่งว่า

"ฉันขอกล่าวต่อท่านทั้งปวงว่า จะพยายามบำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์แก่บ้านเมือง ด้วยความจงรักภักดีต่อบ้านเกิดและต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นพระประมุขของชาติ ทั้งจะได้รักษาเกียรติศักดิ์แห่งความเป็นราชนารีในมหาจักรีบรมราชวงศ์ไว้ชั่วชีวิต

— สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"


องค์กรในพระอุปถัมภ์
ทรงเป็นนายกกิตติมศักดิ์ - มูลนิธิเพชรรัตน-สุวัทนา

ทรงเป็นอุปนายกกิตติมศักดิ์ - สยามสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์

ทรงเป็นประธานกรรมการ- คณะกรรมการอำนวยการบูรณะพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
- มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์

ทรงเป็นผู้บังคับการพิเศษ - กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 15

ทรงเป็นนายทหารพิเศษ- กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์
- กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
- กรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ
- กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ
- กรมราชองครักษ์
- กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
- ฝูงบิน 602 รักษาพระองค์ กองบิน 6

ทรงรับไว้ในพระอุปถัมภ์
- คณะลูกเสือแห่งชาติ
- ค่ายลูกเสือเพชรรัชต์
- ชมรมคนรักวัง
- มูลนิธิดุลยภาพบำบัดเพื่ออายุและสุขภาพ
- มูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
- มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
- มูลนิธิวชิรพยาบาล
- มูลนิธิศรีรัตนโกสินทร์
- มูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา เทวกุล
- มูลนิธิอาสาสมัครรักษาดินแดนสุรสีห์ร่มเกล้า
- มูลนิธิอนุรักษ์พระราชวังพญาไท
- โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี
- โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ เพชราวุธวิทยา
- โรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา จังหวัดภูเก็ต
- โรงเรียนเพาะปัญญา จังหวัดตรัง
- โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
- โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
- โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
- โรงเรียนเพชรรัชต์
- โรงเรียนศรีอยุธยา
- โรงเรียนสายน้ำผึ้ง
- โรงเรียนสยามธุรกิจพณิชยการ
- โรงเรียนห้องสอนศึกษา จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร
- สถาบันสันติราษฎร์บริหารธุรกิจ
- สมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- สมาคมมิตรภาพกีฬาแข่งนก
- สมาคมศิษย์เก่าพณิชยการสันติราษฎร์
- สมาคมสตรีอาสาสาสมัครรักษาดินแดน กรุงเทพมหานคร
- สมาคมสตรีอาสาสมัครรักษาดินแดนแห่งประเทศไทย
- สมาคมสตรีอาสาสมัครแห่งประเทศไทย
- สหพันธ์สมาคมสตรีอาสาสมัครรักษาดินแดนแห่งประเทศไทย
- สโมสรลูกเสือกรุงเทพ
- สมาคมสโมสรลูกเสือวิสามัญแห่งประเทศไทย
- สามัคคีสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์
- สโมสรเนตรนารีเพชราวุธ
- สำนักงานอาสากาชาด สภากาชาดไทย

ทุนที่ทรงก่อตั้งและทุนในพระนาม- ทุนจุฬาเพชรรัตน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ทุนเพชรรัตน มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ทุนเพชรรัตน สำนักงานบรรเทาทุกข์ สภากาชาดไทย
- ทุนเพชรรัตนการุญ ศิริราชมูลนิธิ
- ทุนเพชรรัตนการุณ กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 15
- ทุนเพชรรัตนอุปถัมภ์ โรงเรียนสายน้ำผึ้ง
- ทุนสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ทุนสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ สำนักงานอาสากาชาด สภากาชาดไทย
- ทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ นิธิวัดราชบพิธ
- ทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ
- กองทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม
- ทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี โรงเรียนราชินี
- ทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี โสสะมูลนิธิแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์
- ทุนสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ สำหรับพระราชทานแก่นักเรียนและนักศึกษาใน โรงเรียนราชินี, โรงเรียนราชินีบน, วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา, โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม, โรงเรียนวิเชียรมาตุ จังหวัดตรัง, โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง, โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, โรงเรียนศรียานุสรณ์ จังหวัดจันทบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และวิทยาลัยพยาบาล สภากาชาดไทย.

สิ้นพระชนม์
สำนักพระราชวังได้ประกาศพระอาการประชวรฉบับสุดท้ายว่า

"สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ได้เสด็จประทับรักษาพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ณ ตึก 84 ปี ชั้น 5 ด้านตะวันออก โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 แม้คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 16 นาฬิกา 37 นาที วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 รวมพระชันษา 85 ปี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สำนักพระราชวังจัดการพระศพถวายพระเกียรติยศสูงสุดตามราชประเพณี ประดิษฐานพระศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทในราชสำนักไว้ทุกข์ มีกำหนด 100 วัน ตั้งแต่วันสิ้นพระชนม์เป็นต้นไป

อนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประชาชนเข้าถวายน้ำสรงพระศพหน้าพระฉายาลักษณ์ ซึ่งประดิษฐาน ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่เวลา 13 นาฬิกา ถึง 16 นาฬิกา วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

— สำนักพระราชวัง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554"


นอกจากนี้ สำนักนายกรัฐมนตรียังได้มีประกาศให้สถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถานศึกษาทุกแห่งลดธงครึ่งเสา กับทั้งให้ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจไว้ทุกข์ ทั้งนี้มีกำหนด 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป (ยกเว้นวันที่ 12 สิงหาคม เนื่องจาก เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ) ซึ่งพระราชพิธีพระศพจะจัดให้สมพระเกียรติเช่นเดียวพระราชพิธีพระศพของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

พระโกศสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี



ตราสัญลักษณ์ทรงเจริญพระชนมายุ 7 รอบ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ


ธงประจำพระองค์




ที่มา (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่...) : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD_%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%B2_%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%93%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B5

182nd Birthday Eadweard Muybridge

หากินกับ อากู๋เกิ้ล อีกแย้วววววววววววววววววว ไปดูกันดีกว่าว่าคราวนี้เป็นใครรรรรรรรรร ^^





Eadweard Muybridge
Eadweard J. Muybridge ( /ˌɛdwərd ˈmaɪbrɪdʒ/; 9 April 1830 – 8 May 1904) was an English photographer of Dutch ancestry who spent much of his life in the United States. He is known for his pioneering work on animal locomotion which used multiple cameras to capture motion, and his zoopraxiscope, a device for projecting motion pictures that pre-dated the flexible perforated film strip.

Names
Born Edward James Muggeridge, he changed his name several times early in his US career. First he changed his forenames to the Spanish equivalent Eduardo Santiago, perhaps because of the Spanish influence on Californian place names. His surname appears at times as Muggridge and Muygridge (possibly due to misspellings), and Muybridge from the 1860s.

In the 1870s he changed his first name again to Eadweard, to match the spelling of King Edward shown on the plinth of the Kingston coronation stone, which was re-erected in Kingston in 1850. His name remained Eadweard Muybridge for the rest of his career.However, his gravestone bears a further variant, Eadweard Maybridge.

He used the pseudonym Helios (Greek god of the sun) on many of his photographs, and also as the name of his studio and his son's middle name.

Early life and career
Muybridge was born at Kingston upon Thames, England on April 9, 1830. He emigrated to the US, arriving in San Francisco in 1855, where he started a career as a publisher's agent and bookseller. He left San Francisco at the end of the 1850s, and after a stagecoach accident in which he received severe head injuries, returned to England for a few years.

While recuperating back in England, he took up photography seriously sometime between 1861 and 1866, where he learned the wet-collodion process.

He reappeared in San Francisco in 1866 and rapidly became successful in photography, focusing principally on landscape and architectural subjects, although his business cards also advertised his services for portraiture. His photographs were sold by various photographic entrepreneurs on Montgomery Street (most notably the firm of Bradley & Rulofson), San Francisco's main commercial street, during those years.

Photographing the West
Muybridge began to build his reputation in 1867 with photos of Yosemite and San Francisco (many of the Yosemite photographs reproduced the same scenes taken by Carleton Watkins). Muybridge quickly gained notice for his landscape photographs, which showed the grandeur and expansiveness of the West, published under his pseudonym Helios. In the summer of 1873 Muybridge was commissioned to photograph the Modoc War, one of the US Army's expeditions against West Coast Indians.

Stanford and the galloping question
1872, former Governor of California Leland Stanford, a businessman and race-horse owner, had taken a position on a popularly-debated question of the day: whether all four of a horse's hooves are off the ground at the same time during the trot. Up until this time, most paintings of horses at full gallop showed the front legs extended forward and the hind legs extended to the rear. Stanford sided with this assertion, called "unsupported transit", and took it upon himself to prove it scientifically. Stanford sought out Muybridge and hired him to settle the question. In later studies Muybridge used a series of large cameras that used glass plates placed in a line, each one being triggered by a thread as the horse passed. Later a clockwork device was used. The images were copied in the form of silhouettes onto a disc and viewed in a machine called a Zoopraxiscope. This in fact became an intermediate stage towards motion pictures or cinematography.

In 1877, Muybridge settled Stanford's question with a single photographic negative showing Stanford's Standardbred trotting horse Occident airborne at the trot. This negative was lost, but it survives through woodcuts made at the time. By 1878, spurred on by Stanford to expand the experiment, Muybridge had successfully photographed a horse in fast motion.



Another series of photos taken at the Palo Alto Stock Farm in Stanford, California, is called Sallie Gardner at a Gallop or The Horse in Motion, and shows that the hooves do all leave the ground simultaneously — although not with the legs fully extended forward and back, as contemporary illustrators tended to imagine, but rather at the moment when all the hooves are tucked under the horse as it switches from "pulling" with the front legs to "pushing" with the back legs.
This series of photos stands as one of the earliest forms of videography.

Eventually, Muybridge and Stanford had a major falling-out concerning his research on equine locomotion. Stanford published a book The Horse in Motion which gave no credit to Muybridge despite containing his photos and his research, possibly because Muybridge lacked an established reputation in the scientific community. As a result of Muybridge's lack of credit for the work, the Royal Society withdrew an offer to fund his stop-motion photography. Muybridge subsequently filed a lawsuit against Stanford, but lost the dispute.

Murder, acquittal and paternity
In 1874, still living in the San Francisco Bay Area, Muybridge discovered that his wife had a lover, a Major Harry Larkyns. On 17 October, he sought out Larkyns and said, "Good evening, Major, my name is Muybridge and here's the answer to the letter you sent my wife"; he then killed the Major with a gunshot.

Muybridge was put on trial for murder. One aspect of his defense was a plea of insanity due to a head injury that Muybridge had sustained following his stagecoach accident. Friends testified that the accident dramatically changed Muybridge's personality from genial and pleasant to unstable and erratic. The jury dismissed the insanity plea, but he was acquitted for "justifiable homicide". The episode interrupted his horse photography experiment, but not his relationship with Stanford, who paid for his criminal defense.

After the acquittal, Muybridge left the United States for a time to take photographs in Central America, returning in 1877. He had his son, Florado Helios Muybridge (nicknamed "Floddie" by friends), put in an orphanage. Muybridge believed Larkyns to be his son's true father, although as an adult, the son bore a remarkable resemblance to Muybridge. As an adult, Floddie worked as a ranch hand and gardener. In 1944 he was hit by a car in Sacramento and killed.

Later work
American bison cantering – set to motion using photos by Eadweard Muybridge


Muybridge often travelled back to England, and on 13 March 1882 he lectured at the Royal Institution in London in front of a sell out audience that included members of the Royal Family, notably the future King Edward VII. He displayed his photographs on screen and described the motion picture via his zoopraxiscope.

At the University of Pennsylvania and the local zoo Muybridge used banks of cameras to photograph people and animals to study their movement. The models, either entirely nude or with very little clothing, were photographed in a variety of undertakings, ranging from boxing, to walking down stairs, to throwing water over one another and carrying buckets of water. Between 1883 and 1886 he made a total of 100,000 images, working under the auspices of the University of Pennsylvania. They were published as 781 plates comprising 20,000 of the photographs in a collection titled Animal Locomotion. Muybridge's work stands near the beginning of the science of biomechanics and the mechanics of athletics.

Recent scholarship has pointed to the influence of Étienne-Jules Marey on Muybridge's later work. Muybridge visited Marey's studio in France and saw Marey's stop-motion studies before returning to the U.S. to further his own work in the same area. However, whereas Marey's scientific achievements in the realms of cardiology and aerodynamics (as well as pioneering work in photography and chronophotography) are indisputable, Muybridge's efforts were to some degree artistic rather than scientific. As Muybridge himself explained, in some of his published sequences he substituted images where exposures failed, in order to illustrate a representative movement (rather than producing a strictly scientific recording of a particular sequence).

Similar setups of carefully timed multiple cameras are used in modern special effects photography with the opposite goal of capturing changing camera angles with little or no movement of the subject. This is often dubbed "bullet time" photography.

At the Chicago 1893 World's Columbian Exposition, Muybridge gave a series of lectures on the Science of Animal Locomotion in the Zoopraxographical Hall, built specially for that purpose in the "Midway Plaisance" arm of the exposition. He used his zoopraxiscope to show his moving pictures to a paying public, making the Hall the very first commercial movie theater.

Death
Eadweard Muybridge returned to his native England for good in 1894, published two further, popular books of his work, and died on 8 May 1904 in Kingston upon Thames while living at the home of his cousin Catherine Smith, Park View, 2 Liverpool Road. The house has a British Film Institute commemorative plaque on the outside wall which was unveiled in 2004. Muybridge was cremated and his ashes interred at Woking in Surrey.

A phenakistoscope disc by Muybridge (1893)


The phenakistoscope – a couple waltzing


ที่มา : Google วันที่ 09 เมษายน 2012
และ http://en.wikipedia.org/wiki/Eadweard_Muybridge