วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

โขนธรรมศาสตร์

เปิดเทอมใหม่แล้ว ไม่ได้อัพเสียนาน คือจริงๆมันมีเรื่องอยู่ในหัวมากมาย แต่มันไม่มีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตจะไปอัพ ต้องขออภัยท่านผู้อ่านจริงๆนะคะ(แหะๆ)TTT^TTT เข้าเรื่องกันดีกว่าเนาะ

เมื่อวันที่ 20 เมษายน ที่ผ่านมา ก็ได้มีการจัดรำลึก 100 ปี ชาตกาล หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช บุคคลสำคัญของโลก
ที่คนเขียนชอบมาก และรู้สึกประทับใจกับหนึ่งผลงานของท่านนั่นก็คือ "โขนธรรมศาสตร์" (คนเขียนขอบดูโขนมากๆค่ะ ^^)เลยอยากจะนำประวัติของชุมนุมนี้มาอัพไว้ที่นี้ ^^



การแสดง ”โขน” ถือได้ว่าเป็นการแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทย
ที่ถ่ายทอดศิลปะและอารมณ์ผ่านการร่ายรำที่สง่างดงาม ในบทบาททั้งพระ นาง ยักษ์ ลิง
ภายใต้หัวโขน โขนจึงเป็นวิจิตรศิลป์อันละเอียดอ่อนเป็นเอกลักษณ์ และมรดกทางวัฒนธรรมที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา
และเป็นสมบัติสำคัญของ ชาติที่คนไทยควรสำนึกและภูมิใจในคุณค่าและภูมิปัญญาของบรรพชนไทย

เป็นที่น่าภูมิใจยิ่งที่เยาวชนไทยรุ่นหลังกลุ่มหนึ่งได้อนุรักษ์และสืบทอด ศิลปะแขนงนี้ไว้ด้วยความวิริยะอุตสาหะ
จนมีนามเป็นที่เลื่องลือทั่วไปว่า “โขนธรรมศาสตร์”

ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นต้นมา
สังคมไทยมีความมีวิตกในเรื่องของการ หลั่งไหลทางวัฒนธรรมตะวันตก
ที่เริ่มแพร่เข้ามาในประเทศไทยอย่างรุนแรง
เยาวชนไทย กำลังจะห่างไกลจากศิลปวัฒนธรรมมากขึ้นทุกขณะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งนาฏศิลป์และ ดนตรีไทยที่กำลังถูกนาฏศิลป์ตะวันตกเข้ามามีบทบาทแทนที่

จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๕๐๙ ชุมนุมพุทธศาสตร์และประเพณี ร่วมกับชุมนุมศิลปะ การละคร สโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เข้าพบ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ปรึกษาของชุมนุม
และได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดในเรื่องของบทบาทและแนวทาง ของนักศึกษาในส่วนของการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของไทย
ดังนั้น “โขนธรรมศาสตร์”จึงถือกำเนิดขึ้นด้วยหลักการที่ว่า “โขนจะอยู่ได้ก็ด้วยคนดู”
เมื่อใดก็ตามที่นักศึกษาเล่น โขนเป็น นักศึกษาก็จะดูโขนเป็น ซึ่งจะถือเป็นการแสดงบทบาทในเชิง อนุรักษ์ที่ดีที่สุดนั่นเอง

หลังจากที่ได้ทำการคัดเลือกและฝึกหัดนักแสดง อย่างจริงจังเป็นระยะเวลาประมาณ ๓ เดือน
“โขนธรรมศาสตร์” ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้แสดงโขนถวาย หน้าพระที่นั่งในชุด “ศึกนาคบาศ” เป็นครั้งแรก
หลังจากนั้น เป็นต้นมาคณะโขนธรรมศาสตร์ก็ได้แสดงโขนชุดอื่นๆ ถวายหน้าพระที่นั่งเรื่อยมา
ทั้งยังได้แสดงให้ประชาชนโดยทั่วไปทั้งในพระนครและต่างจังหวัดได้รับชมโดยทั่วกัน

เมื่อ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม “อาจารย์หม่อม” ของศิลปะทางโขนละคร
ได้ถึงแก่ชีวิตลง โขนธรรมศาสตร์ก็เริ่มเลือนหายไป จากสังคมไทย
บรรดาศิษย์โขนธรรมศาสตร์รุ่นเก่าได้พยายามรวมตัวกันขึ้นใหม่ อีกครั้ง
โดยร่วมมือกับนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบัน จัดตั้ง “ชุมนุมโขนธรรมศาสตร์” ให้กลับฟื้นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
โดยได้มีการเปิด ชุมนุมอย่างเป็นทางการเมื่อวันที ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๔


ถึงแม้ประวัติที่คนเขียนหามาจะสั้น แต่สำหรับคนเขียนแล้ว ชุมนุมนี้เป็นอะไรที่น่าสนใจ และน่าอนุรักษ์ไว้อย่างมากมายค่ะ ^^


ที่มา : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=maprangoz&date=02-06-2007&group=2&gblog=1