วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

25 กุมภาพันธ์ วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ



กิจการวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยมีมาตั้งแต่ พ.ศ.2470 ด้วยพระดำริของ พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และโทรคมนาคม พระองค์ทรงดำริตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้น เมื่อพ.ศ.2471 โดยสั่งเครื่องส่งกระจายเสียงคลื่นสั้นเข้ามาทดลอง และให้อยู่ในความควบคุมของช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลข ตั้งสถานีที่ตึกที่ทำการไปรษณีย์ปากคลองโอ่งอ่าง ตำบลวัดราชบูรณะเป็นครั้งแรก ใช้ชื่อสถานีว่า "4 พีเจ" ต่อมาได้มีการประกอบเครื่องส่งคลื่นขนาดกลาง 1 กิโลวัตต์ ขึ้น ทำการทดลองที่ตำบลศาลาแดงใช้ชื่อสถานีว่า "11 พีเจ" ซึ่งการใช้ชื่อสถานีว่า "พีเจ" ในยุคนั้น ย่อมาจากคำว่า "บุรฉัตรไชยากร" อันเป็นพระนามเดิมของพระองค์ท่านนั่นเอง หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2473 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคล ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเปิดการส่งวิทยุเป็นปฐมฤกษ์ โดยใช้ชื่อสถานีว่า “สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท” ตั้งอยู่ที่วังพญาไท มีกำลังส่ง 2.5 กิโลวัตต์ พิธีเปิดสถานีกระทำโดยอัญเชิญกระแสพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เข้าไมโครโฟนถ่ายทอดไปตามสาย เข้าเครื่องส่งแล้วกระจายเสียงสู่พสกนิกร นับเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุในประเทศไทย



วิทยุกระจายเสียงเป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญในกระบวนการสื่อสาร และมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ข่าวสาร วิชาการ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคุลมได้กว้างไกลและทั่วทุกพื้นที่ เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนมาโดยตลอดตราบจนปัจจุบัน

จากวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2473 จนถึงปัจจุบัน วิทยุกระจายเสียงมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคงมาตามลำดับ ดังนั้นหากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีเป้าหมายร่วมกัน คือประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญแล้ว กิจการวิทยุกระจายเสียงจะเจริญก้าวหน้า เพิ่มพูนคุณประโยชน์และสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้สังคมไทยได้ตลอดไป

ที่มา : http://www.lib.ru.ac.th/journal/feb/feb25-RadioBroadcastDay.html

24 กุมภาพันธ์ วันศิลปินแห่งชาติ

วันศิลปินแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เนื่องจากวันที่ 24 กุมภาพันธ์ เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงเป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่างๆ หลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านกวีนิพนธ์ ด้านประติมากรรม และด้านดนตรี ทั้งยังทรงเป็นองค์อุปถัมภก ทรงทำนุบำรุง ซ่อมแซมงานศิลปกรรมต่างๆ และทรงส่งเสริมเชิดชูศิลปินผู้มีฝีมือมาตลอดรัชสมัยของพระองค์อีกด้วย ดังนั้น เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่นี้ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ประกาศให้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันศิลปินแห่งชาติ

ทีนี้เราก็มาดูเรื่องราวของรางวัลศิลปินแห่งชาติกันบ้างนะคะ ^^

ศิลปินแห่งชาติ ของประเทศไทย หมายถึงศิลปินผู้มีความสามารถ มีผลงานสร้างสรรค์และพัฒนาเป็นที่ยอมรับของวงการ และมีผลงานเป็นประโยชน์ต่อสังคม

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการศิลปินแห่งชาติ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2527 เพื่อสรรหา ส่งเสริมสนับสนุน และช่วยเหลือศิลปินผู้สร้างสรรค์ ผลงาน ศิลปะที่มีคุณค่าของแผ่นดินไทย โดยมีสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นผู้พิจารณา



คุณสมบัติ และ หลักเกณฑ์การคัดเลือก
คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ 7 ประการ คือ

1.เป็นผู้มีสัญชาติไทย และยังมีชีวิตอยู่ในวันตัดสิน
2.เป็นผู้มีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับของวงการศิลปะแขนงนั้น
3.เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะแขนงนั้นจนถึงปัจจุบัน
4.เป็นผู้ผดุงและถ่ายทอดศิลปะแขนงนั้น
5.เป็นผู้ปฏิบัติงานศิลปะแขนงนั้นอยู่ในปัจจุบัน
6.เป็นผู้มีคุณธรรมและมีความรักในวิชาชีพของตน
7.เป็นผู้มีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ

สาขาของศิลปินแห่งชาติ
มีหลักเกณฑ์การคัดเลือกจำแนกศิลปินแห่งชาติออกเป็น 4 สาขาคือ

1. สาขาทัศนศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่มองเห็นได้ด้วยตา จะเป็นศิลปะสองมิติหรือสามมิติ ซึ่งได้แก่ ผลงานศิลปกรรมประเภทต่างๆ ที่แสดงถึงภูมิปัญญาของผู้สร้างสรรค์และมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ดังต่อไปนี้
- จิตรกรรม หมายถึง ภาพเขียนสีและภาพลายเส้น
- ประติมากรรม หมายถึง งานปั้นและแกะสลัก
- ภาพพิมพ์ หมายถึง ศิลปะการพิมพ์ด้วยกรรมวิธีต่างๆ เช่น การพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ไม้ โลหะ ฯลฯ
- ภาพถ่าย หมายถึง ผลงานศิลปะภาพถ่ายที่เสนอด้วยสื่อและกรรมวิธีต่างๆ
- สื่อประสม หมายถึง ผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยกรรมวิธีและเทคนิคต่างๆอย่างอิสระ

2. สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม หมายถึง งานออกแบบ หรืองานออกแบบและงานก่อสร้างอาคารสวยงาม มีคุณค่าทางศิลปะ และมีวิทยาการ ซึ่งแสดงภูมิปัญญาของผู้ออกแบบอย่างโดดเด่น ได้แก่ สถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมร่วมสมัย

3. สาขาศิลปะการแสดง หมายถึง ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการแสดง ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบดั้งเดิมหรือพัฒนาขึ้นใหม่ ได้แก่

- การละคร ประกอบด้วย ละครรำ เช่น โนห์รา ชาตรี ฯลฯ ละครร้อง โขน ลิเก ระบำ (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) รำ (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) ฟ้อน (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) เซิ้ง (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) หุ่น เช่น หุ่นละครเล็ก หุ่นกระบอก หนังใหญ่ หนังตะลุง การเขียนบทร้องหรือบทละครรำ (เพื่อการแสดง)
- การดนตรี แบ่งออกเป็นดนตรีไทย และดนตรีสากล
- นักดนตรี ต้องเป็นนักดนตรีเด่นเฉพาะเครื่องมือ
- นักร้อง ต้องมีความสามารถทั้งร้องส่งและร้องรับในการแสดงต่างๆ และสามารถแหล่ทำนองต่างๆ ได้ (แหล่เฉพาะแบบดั้งเดิม)
- นักประพันธ์เพลง ต้องประพันธ์ ทั้งทางร้องและทางดนตรี
- ผู้อำนวยเพลง ต้องเป็นผู้อำนวยเพลงดีเด่น
- ผู้ผลิตเครื่องดนตรี
- การแสดงพื้นบ้าน ประกอบด้วย หมอลำ ซอ ลำตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงบอก สวดคฤหัสถ์ ฯลฯ

4. สาขาวรรณศิลป์ หมายถึง บทประพันธ์ที่ปลุกมโนคติของผู้อ่าน ทำให้เกิดจินตนาการความเพลิดเพลิน และเกิดอารมณ์ต่างๆ ตามเจตนารมณ์ของผู้ประพันธ์ ได้แก่ กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น นวนิยาย บันเทิงคดี สำหรับเด็กและเยาวชน อาทิ หนังสือเด็ก วรรณกรรมเยาวชนที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง

สามารถดูรายนามของศิลปินแห่งชาติได้ที่...
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4 ค่ะ
(เนื่องจากเวลาใช้อินเตอร์เน็ตมีน้อย จึงขอเขียนเท่านี้ก่อน วันหลังจะมาเพิ่มในส่วนรายนามทีหลังนะคะ)

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Jules Verne


Jules Verne photographié par Nadar.

Jules Verne, né le 8 février 1828 à Nantes en France et mort le 24 mars 1905 à Amiens en France, est un écrivain français dont une grande partie de l'œuvre est consacrée à des romans d'aventures et de science-fiction (ou d'anticipation).

En 1863 paraît chez l'éditeur Pierre-Jules Hetzel (1814-1886) son premier roman Cinq semaines en ballon qui connaît un immense succès, au-delà des frontières françaises. Lié à l'éditeur par un contrat de vingt ans, Jules Verne travaillera en fait pendant quarante ans à ses Voyages extraordinaires qui compteront 64 volumes et paraîtront pour une partie d'entre eux dans le Magasin d'éducation et de récréation destiné à la jeunesse. Richement documentés, les romans de Jules Verne se situent aussi bien dans le présent technologique de la deuxième moitié du XIXe siècle (Les Enfants du capitaine Grant (1868), Le Tour du monde en quatre-vingts jours (1873), Michel Strogoff (1876), L'Étoile du sud (1884), etc.) que dans un monde imaginaire (De la Terre à la Lune (1865), Vingt mille lieues sous les mers (1870), Robur le conquérant (1886), etc.).

L’œuvre de Jules Verne est populaire dans le monde entier et, selon l’Index Translationum, avec un total de 4 223 traductions, il vient au deuxième rang des auteurs les plus traduits en langue étrangère après Agatha Christie[1]. Il est ainsi en 2011 l'auteur de langue française le plus traduit dans le monde. L'année 2005 a été déclarée « année Jules Verne », à l'occasion du centenaire de la mort de l'auteur.

ขอสั้นๆเท่านี้ก่อนก็แล้วกันนะเจ้าคะ แค่นี้คนเขียนก็ยังแปลไม่ถูกเล้ยย 555+

ว่าด้วยเรืี่อง "ความรัก"



สวัสดีในวันสอบ Final วันแรก ของ ม.4 ค่ะ วันนี้นึกครื้มอกครื้มใจอยากจะเขียนเรื่อง "ความรัก" ขึ้นมา ถึงแม้จะช้าไปนิด แต่ยังไงก็ยังอยู่ในเดือนแห่งความรักใช่ไหมคะ หวังว่าคงจะไม่ช้าเกินไปเนาะ อิอิ (วันวาเลนไทน์ที่ผ่านมาคนเขียนยังได้ดอกกุหลาบตั้ง 2 ดอก แหนะ 555+)

ว่าด้วยคำว่า "อากาเป้"

ความรักแบบ Agape แปลง่ายที่สุดคือ รักของพระเจ้า



ถ้าจะให้ความหมายแค่นั้นมันง่ายเกินไป ดังนั้นจึงขอให้มาศึกษา คำว่ารัก ที่เราใช้กันมากขึ้นทุกวันกันดีกว่าค่ะ ^^

ในภาษาไทย หรือ อังกฤษ ใช้คำว่า "รัก" หรือ "Love" เพียงคำเดียวสำหรับความรักทุกรูปแบบ แต่จริงๆแล้ว ในภาษากรีกซึ่งร่ำรวยคำที่สุดภาษาหนึ่งในโลก ดังนั้นจะเห็นบ่อยๆว่าความคิดเรื่องหนึ่งๆภาษากรีกคำอธิบาย ความหมายในแง่มุมต่างๆ ได้หลายรูปแบบ เช่นคำว่า "รัก" สามารถแยกออกได้อย่างน้อย 4 ประเภท ดังนี้

1.เอโรส
คำนาม (เอราน-คำกริยา)
ใช้หมายถึงความรักระหว่างเพศ หรืออาจจะใช้หมายถึงความกระหายทะเยอทะยาน และเรื่องความรักชาติอย่างรุนแรงก็ได้ (สังเกตว่า คนที่ทำการพลีชีพสังหาร ยังคงจำคุณแม่วัย 22 ปี ชาวปาเลสไตน์ ทิ้งลูกน่ารักวัย 18 เดือน และ 3 ขวบไว้เบื้องหลัง โดยตัวเองติดระเบิดพลีชีพสังหารชาวยิว และอีกหลายๆกรณีที่ได้ยินกัน- พีพี )



2.สเตอร์เก
คำนาม (สเตอร์เกน-คำกริยา)
มีความหมายรักผูกพันฉันญาติแต่ใช้ได้กับประชาชนที่ มีความรักต่อผู้ปกครองหรือความรักของชนชาติ แต่ทั่วๆไปก็ใช้ถึงความรัก ของพ่อแม่ที่มีต่อลูกๆ และลูกๆต่อพ่อแม่



3.ฟิเลีย
คำนาม (ฟิเลน-คำกริยา)
มีความรักที่อบอุ่นอยู่ในคำนี้ หรือแปลว่ามองด้วยความรักใคร่ผูกพัน ใช้ได้ทั้งความรักระหว่างเพื่อนและ ความรักของสามีภรรยา "ฟิเลน" แปลได้ตรงตัวคือรักใคร่อย่างทะนุถนอมรักอย่าง ดูแลเอาใจใส่ "ฟิเลีย" รักใคร่ฝ่ายเนื้อหนังหรือบางครั้งแปลว่าจุมพิตก็ได้




4.อากาเป้

คำนาม (อากาปัน-คำกริยา)
คำนี้ใช้มากในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ของคริสเตียน
ความรักอากาเป้ หรืออากาปัน คือความรักของคริสเตียนที่ต้องปฏิบัติในชีวิตทั้งความคิดและการกระทำ เป็นความรักไม่จำกัดขอบเขตเฉพาะญาติมิตรหรือคนที่ใกล้ชิดเท่านั้น แต่ความรักนี้ต้องแผ่ขยายออกไปจากกลุ่มของตนเอง ออกไปสู่เพื่อนบ้าน ไปสู่คนทั้งโลก และแม้กระทั่งศัตรู ความรักอากาเป้ เกี่ยวข้องกับความคิด ความตั้งใจ ไม่ใช่อารมณ์ ความรักแบบอากาเป้เกิดขึ้นได้ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้รับความรัก ของพระเจ้าโดยพระเยซูคริสต์ครอบครองจิตใจแล้วโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ของ พระองค์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงภายในจิตใจผู้เชื่อที่จะสามารถมีความรักที่ไม่มีเงื่อนไขเช่นนี้ได้ เพราะเป็นความรักที่บริสุทธิ์ เป็นความรักที่ต้องอดทน เป็นความรักที่มีแต่การให้ และให้อภัยเสมอ เพราะความรักอากาเป้ที่พระเยซูทรงสำแดงแก่มนุษย์รักมนุษย์ทั้งๆที่เป็นคนบาป ดื้อด้า นต่อต้าน ฯลฯ แต่พระองค์ทรงยอมวายพระชนม์เพื่อเขาทั้งหลาย

..พอมาถึงคริสเตียน พระเจ้าทรงมีพระประสงค์ให้ผู้เชื่อสวมใส่ความรักอากาเป้ไว้ในชีวิต ทรงสั่งให้รัก อดทน ต่อความผิดของคนอื่น ให้รักศัตรู และเพราะความรักอากาเป้นี้แหละที่ทำให้คริสเตียนอดทนต่อคนที่ด่าที่ข่มเหง ทนต่อคนที่ไม่น่ารัก เป็นต้น

-เพราะความรักอากาเป้นี้แหละที่ทำ ให้องค์กรรคริสตชน เข้าไปช่วยเหลือด้านสังคมกับคนทุกประเภท
ไม่ว่าเขาจะเกลียดชัง หรือต่อต้าน

-เพราะความรักอากาเป้นี้แหละ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1943) จึงเริ่มต้น NGOs
โดยเริ่มจากคริสตชน “คาทอลิก” (Catholic Relife Service)
ถือกำเนิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยพิบัติจากสงคราม ต่อมา องค์กร Church World Service
ของ โปรเตสแตนต์ ถือ กำเนิดในปี ค.ศ.1946 ด้วยวัตถุประสงค์เดียวกัน

-เพราะ ความรักอากาเป้นี้เอง และต่อมาจึงเกิดกลุ่ม NGOs ขึ้นอีกมากมาย เพราะคำว่ารัก
"อากาเป้" ที่คริสตชนได้รวมตัวร่วมมือ สำแดงความรักของพระเจ้า ตามบัญญัติทอง ข้อที่ 2



ที่มา : http://www.jaisamarn.org/1/newsboard/question.asp?QID=1304

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Thomas Alva Edison

บทความนี้ได้แรงบันดาลใจมากจาก Google อีกตามเคยค่ะ คราวนี้มาเนื่องในวันครบรอบ 164 ปี โธมัส อัลวา เอดิสันค่ะ ^^



แต่วันนี้พิเศษตรงที่จะไม่นำเสนอประวัติอย่างละเอียดมากนัก แต่จะนำเสนอในภาษาที่แตกต่างกันไป นั่นก็คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเวียดนามค่ะ ^^



ภาษาอังกฤษ : English

Thomas Alva Edison (February 11, 1847 – October 18, 1931) was an American inventor, scientist, and businessman who developed many devices that greatly influenced life around the world, including the phonograph, the motion picture camera, and a long-lasting, practical electric light bulb. Dubbed "The Wizard of Menlo Park" (now Edison, New Jersey) by a newspaper reporter, he was one of the first inventors to apply the principles of mass production and large teamwork to the process of invention, and therefore is often credited with the creation of the first industrial research laboratory.

Edison is considered one of the most prolific inventors in history, holding 1,093 US patents in his name, as well as many patents in the United Kingdom, France, and Germany. He is credited with numerous inventions that contributed to mass communication and, in particular, telecommunications. These included a stock ticker, a mechanical vote recorder, a battery for an electric car, electrical power, recorded music and motion pictures. His advanced work in these fields was an outgrowth of his early career as a telegraph operator. Edison originated the concept and implementation of electric-power generation and distribution to homes, businesses, and factories – a crucial development in the modern industrialized world. His first power station was on Manhattan Island, New York.

--------------------------------



ภาษาฝรั่งเศส : Français

Thomas Edison (Thomas Alva Edison) (11 février 1847 à Milan, Ohio - 18 octobre 1931 à West Orange, New Jersey). Fondateur de General Electric, l'un des premiers empires industriels mondiaux, il est reconnu comme l'un des inventeurs américains les plus importants et les plus prolifiques, revendiquant le nombre record de 1093 brevets[1]. Pionnier de l'électricité, diffuseur, vulgarisateur et perfectionneur de technologies d'avant-garde, il s'est également auto-proclamé inventeur du téléphone, du cinéma et de l'enregistrement du son[réf. nécessaire]. Il est parfois surnommé le magicien de Menlo Park, ville rebaptisée en son honneur en 1954.

--------------------------------



ภาษาเวียดนาม : Tiếng Việt

Thomas Alva Edison (11 tháng 2 năm 1847 – 18 tháng 10 năm 1931) là một nhà phát minh và thương nhân đã phát triển rất nhiều thiết bị có ảnh hưởng lớn tới cuộc sống trong thế kỷ 20. Ông được một nhà báo đặt danh hiệu "Thầy phù thủy ở Menlo Park", ông là một trong những nhà phát minh đầu tiên ứng dụng các nguyên tắc sản xuất hàng loạt vào quy trình sáng tạo, và vì thế có thể coi là đã sáng tạo ra phòng nghiên cứu công nghiệp đầu tiên. Một số phát minh được gán cho ông tuy ông không hoàn toàn là người đầu tiên có ý tưởng đó, nhưng sau khi bằng sáng chế đầu tiên được thay đổi nó trở thành của ông (nổi tiếng nhất là bóng đèn), trên thực tế là công việc của rất nhiều người bên trong công ty của ông. Tuy nhiên, Edison được coi là một trong những nhà phát minh giàu ý tưởng nhất trong lịch sử, ông giữ 1.093 bằng sáng chế tại Hoa Kỳ dưới tên ông, cũng như các bằng sáng chế ở Anh Quốc, Pháp, và Đức.

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นางอัปสร (Celestial Dancer)

อัปสร หรือ นางอัปสร(สันสกฤต: अप्सराः อปฺสราห์, พหูพจน์ अप्सरसः อปฺสรสห์) ถือเป็นชาวสวรรค์จำพวกหนึ่ง มีเพศเป็นหญิง อาจเรียกว่า นางฟ้า ก็ได้ แต่ไม่ใช่เทวดา มีฐานะเป็นอมนุษย์

จารึกเขมรในพุทธศตวรรษที่ 14 อ้างว่า “วงศ์กษัตริย์เขมรนั้นเกิดจากพระฤษีกัมพุ ร่วมสังวาสกับนางอัปสรชื่อเมรา” (Coedes 1968)


ตามเทพปกรณัม หมู่นางอัปสรเป็นล้านเป็นโกฏิเกิดจากการเกษียรสมุทร

จากจุดที่เขามันทร (ชาย) กวนสมุทร (หญิง) เหล่านางอัปสรได้รำออกมาสู่ฟ้าประดับจักรวาลเยี่ยงนางอาโฟรดีเตของกรีกที่เกิดจากฟองน้ำทะเล


เขามันทร หมายถึง พระมหากษัตริย์และพลังบรรพบุรุษส่วนนาควาสุกีคือพลังของแผ่นดิน

พระเจ้ากรุงพระนครธมสถิตในพระมณเฑียรท่ามกลางบารายมหึมาที่จ่ายน้ำชลประทานในอาณาเขตอันกว้างใหญ่ สี่ทิศมีสะพานนาคมีเทพและอสูรชัก ทำให้พระนครกลายเป็นจักรวาลจำลองที่ “ปั้น” ความอุดมสมบูรณ์ให้อาณาจักรทั้งหมด และ “ปั้น” พลังน้ำให้กลายเป็นน้ำอมฤตที่จะพาจิตให้อยู่ในระดับสูงเท่าสวรรค์ เหล่านางอัปสรจึงเป็นสัญลักษณ์ของความหลุดพ้นจากพันธะของดินน้ำสู่ความเจริญทางศิลปวัฒนธรรม

ระบำอัปสรของราชสำนักเขมร เหล่านางอัปสรเหาะลงมาเก็บดอกไม้ในเมืองมนุษย์เพื่อเทพบนฟ้า ที่เธอลงมาถึงดินนั้นทำให้แผ่นดินของเราเกิดดอกไม้บานสะพรั่ง เยี่ยงสวนสวรรค์เพราะเธอเป็นสื่อฟ้าดิน


นางอัปสรมีหน้าที่ทางพิธีกรรมหลายอย่าง เช่น การบังคับฝน ปลุกพลังเจ้าแม่ในแผ่นดินด้วยการบำเรอพระมหากษัตริย์ในฐานะนางใน ความงานของนางอัปสรเป็นเครื่องประดับดินพลีฟ้า

ระบำอัปสรเป็นพิธีกรรมของเจ้าแม่และเป็นการ่ายรำที่มีบทบาทสูงสุด นั่นคือการเข้าทรงปราชญาปรมิตา

คำว่า "อัปสร" นั้น มาจากคำว่า "อัป" (หมายถึง น้ำ) และ "สร" (หมายถึง การเคลื่อนไป) อัปสร จึงหมายถึง ผู้ที่เคลื่อนไปในน้ำ อันเป็นกำเนิดของนาง ทว่าโดยทั่วไป ถือว่านางเป็นชาวสวรรค์

ในเรื่องเล่าของอินเดียมีการกล่าวถึงนางอัปสรไว้มากมาย นับว่าเป็นตัวละครที่สำคัญตัวหนึ่งในตำนานของอินเดีย ไม่น้อยไปกว่าเทพเจ้าและชาวสวรรค์อื่นๆ

ตามตำนานของฮินดู กล่าวว่าพระพรหมทรงสร้างนางอัปสรขึ้น และเป็นนางบำเรออยู่ในราชสำนักของพระอินทร์ ในคัมภีร์นาฏยศาสตร์ ได้กล่าวถึงนางอัปสรที่สำคัญไว้หลายตนด้วยกัน เช่น มัญชุเกศี, สุเกศี, มิสรเกศี, สุโลจนะ, เสาทมิณี, เทวทัตตะ, เทวเสนะ, มโนรม, สุทาติ, สุนทรี, วิคัคธะ, วิวิธ, พุธ, สุมล, สันตติ, สุนันทา, สุมุขี, มาคธี, อรชุนี, สรลา, เกระลา, ธฤติ, นันทา, สุปุษกลา, สุปุษปมาลา และ กาลภา

นางอัปสรมีอำนาจแปลงกายได้ ทั้งยังมีความสามารถในการขับร้องและเต้นรำเป็นอย่างยิ่ง ในราชสำนักของพระอินทร์มีนางอัปสรอยู่ 26 ตน แต่ละตนมีความสามารถในเชิงศิลปะต่างๆ กัน เทียบได้กับตำนานมูเซ (muse) ของกรีกโบราณ

นอกจากนี้ยังมีตำนานกล่าวต่อไปว่า นางอัปสรนั้นเป็นชายาของคนธรรพ์ ซึ่งเป็นนักดนตรีในสวรรค์ โดยนางจะเต้นรำไปตามจังหวะดนตรีที่สามีของตนบรรเลง โดยทั่วไปมีความเชื่อว่านางอัปสรเป็นเครื่องหมายแห่งความเจริญงอกงาม แต่บางถิ่นก็เชื่อว่าอัปสรมีอำนาจแห่งความชั่วร้ายอยู่ด้วย

ในปราสาทนครวัดของกัมพูชา มีการสลักภาพนางอัปสรไว้มากมาย โดยที่แต่ละรูปมีใบหน้า ท่าทาง และการแต่งกายที่แตกต่างกันไป

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B8%A3

www.oknation.net/blog/xkrit/2009/05/19/entry-2