วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก กษัตริย์ต่างชาติผู้ทรงเป็นที่รักของชาวไทย



สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก
(ภาษาซองคา : འཇིགས་མེད་གེ་སར་རྣམ་རྒྱལ་དབང་ཕྱུག་)
ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรภูฏาน ลำดับที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก ทรงได้รับการยกย่องจากชาวภูฏานรวมถึงชาวไทยส่วนใหญ่ว่าทรงมีพระจริยวัตรที่งดงาม และเป็นที่รักยิ่งของประชาชนชาวภูฏาน

สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังซุก ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของพสกนิกรทุกหมู่เหล่า จากการที่ทรงวางพระองค์อย่างเป็นกันเองในหมู่ประชาชน จึงสร้างความประทับใจแก่พสกนิกรอย่างสูง ถึงแม้ว่าพระองค์ไม่ต้องทรงรับพระราชภารกิจการบริหารประเทศ เนื่องจากสมเด็จพระราชบิดาได้ทรงวางระบอบปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นมาอยู่ก่อนแล้ว แต่พระองค์เองก็ยังทรงเป็นสัญลักษณ์สำคัญ ในการสร้างเอกภาพและเสถียรภาพ ในประเทศที่มีประชากรเพียง 650,000 คน โดยมุ่งเน้นด้านความสุขมวลรวมของประชากรภายในประเทศเป็นสำคัญ

พระราชประวัติ
เสด็จพระราชสมภพเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสใน สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก และ สมเด็จพระราชินี อาชิ เชอริง ยางดน วังชุก ซึ่งเป็นพระมเหสีองค์ที่สาม สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงมีพระขนิษฐาและพระอนุชาร่วมพระมารดา ซึ่งมีพระนามว่า เจ้าหญิงอาชิ เดเชน ยังซัม และพระอนุชามีพระนามว่า เจ้าชาย ดาโช จิกมี ดอร์จิ วังชุก

การศึกษา
ภายหลังเจริญพระชันษา พระองค์ได้เสด็จไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา ในระดับมัธยมศึกษาที่ คัชชิง อคาเดมี (Cushing Academy) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำสหศึกษาที่มีชื่อเสียงของมลรัฐแมสซาชูเซตส์ มีอายุกว่า 100 ปี และทรงศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยวีตัน (Wheaton College) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยด้านศิลปศาสตร์ในมลรัฐเดียวกัน ก่อนที่จะเสด็จมาศึกษาต่อปริญญาโท ในสาขาการทูต (Foreign Service Programme) และสาขาวิชาการเมืองที่ วิทยาลัยแม็กดาเลน (Magdalen College) มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด ในสหราชอาณาจักร
นอกจากนี้ พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินแทนพระราชบิดาไปยังต่างแดนในหลายโอกาส และทรงเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมต่างๆ รวมไปจนถึงการศึกษา และองค์กรเศรษฐกิจหลายแห่ง

การทูลเกล้าถวายปริญญา
- มหาวิทยาลัยรังสิตได้ทูลเกล้าถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้กับสมเด็จพระราชาธิบดี (เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นเจ้าชายมกุฎราชกุมาร) ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2549
- มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ทูลเกล้าถวายปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาส่งเสริมการเกษตร ให้กับสมเด็จพระราชาธิบดี นอกจากนี้พระองค์ยังส่งนักศึกษาและบุคคลสำคัญเข้ามาศึกษา ดูงาน และสัมมนาที่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประจำ

เสด็จขึ้นครองราชย์
สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย นัมชุก พระราชบิดาของพระองค์ทรงสละราชสมบัติพระราชทานให้แก่เจ้าฟ้าชายจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก มกุฎราชกุมาร พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โดยทรงมีพระราชดำริในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอย่างแรกด้วยการพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันชาติของภูฎาน หลังจากนั้นประมาณสองปี ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 พระองค์ได้ประกอบพิธีบรมราชาภิเษกเป็นกษัตริย์อย่างเป็นทางการ ณ พระราชวังในกรุงทิมพู

ราชาภิเษก
ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงเข้าพิธีราชาภิเษกที่จัดขึ้นในพระราชวังทาชิโชซอง ในเมืองทิมพู โดยสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก ทรงเป็นผู้ประกอบพระราชพิธี โดย พระราชทานมงกุฎไหมสีแดงดำแด่พระองค์ นอกจากนี้ยังมีนางซอนยา คานธี ประธานรัฐสภาของอินเดียเข้าร่วมในพิธีด้วย ทั้งนี้พระองค์จะสืบบัลลังก์เป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก และยังทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงพระเยาว์ที่สุดในโลก ด้วยพระชนมพรรษาเพียง 28 พรรษา และจะทรงปกครองประเทศด้วยระบอบประชาธิปไตย

สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงฉลองพระองค์สีแดงทองที่เป็นชุดคลุมยาวปิดเข่าอันเรียกกันว่า "โฆ" ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติของชายชาวภูฏาน ทรงประทับนั่งบนบัลลังก์ทองคำ พระพักตร์เคร่งขรึม แต่ก็ทรงแย้มพระสรวลเล็กน้อยขณะทรงรับเครื่องถวายแด่สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ ใหม่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และยังทรงมีพระบรมราโชวาทแก่พสกนิกรหลายพันคนที่มาเข้าเฝ้าพระองค์ในตอนบ่ายของวันเดียวกันว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการสิ่งใด" "สิ่งที่สำคัญสำหรับข้าพเจ้าคือความหวังและความมุ่งมาดปรารถนาของ ประชาชน และพระชนมายุอันยืนยาวและพระพลานามัยอันแข็งแรงสำหรับสมเด็จพระราชบิดา จิกมี ซิงเย วังชุก ของข้าพเจ้า" "ในโอกาสอันพิเศษยิ่งนี้ ขอให้ร่วมกันสวดมนต์และขออธิษฐานขอให้แสงตะวันเฉิดฉันแห่งความสุขจะสาดส่อง ลงมาที่ประเทศชาติของเราเสมอไป"

นอกจากประชาชนหลายพันคนที่มารวมตัวกันถวายพระพรแด่สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ซึ่งประกอบพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ยังมีแขกสำคัญที่ร่วมในพิธีดังกล่าวคือ ประธานาธิบดีประติภา ปาติลแห่งอินเดีย และนางโซเนีย คานธี นักการเมืองคนสำคัญของอินเดียพร้อมด้วยบุตรธิดา เนื่องจากครอบครัวคานธีนั้นมีความสนิทชิดเชื้อกับราชวงศ์ภูฏาน
ซีเอ็นเอ็น ได้รายงานข่าวการเฉลิมฉลองพระราชาภิเษกนี้ โดยระบุว่า มีการร่วมเฉลิมฉลองตามถนนหนทาง เล่นดนตรี มีการประดับประดาดอกไม้ตามศูนย์ต่างๆเพื่อแสดงการเฉลิมฉลองในโอกาสที่มีกษัตริย์พระองค์ใหม่ ตลอดจนมีการรายงานถึงความรู้สึกของพสกนิกรชาวภูฏานที่ทั้งต่างแสดงความดีใจ และสะเทือนใจในการสละราชสมบัติอย่างกระทันหันของพระราชบิดาไปพร้อมๆกัน

สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ได้ทรงประกาศหมั้นกับ เจตซุน เพมา ซึ่งเป็นหญิงสาวสามัญชน โดยทั้งสองมีกำหนดการอภิเษกสมรสในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554



พระราชพิธีอภิเษกสมรส
พระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่าง สมเด็จพระราชาธิบดี'และสมเด็จพระราชินีแห่งภูฏาน จัดขึ้น ณ มณฑลพูนาคา ประเทศภูฏาน
ให้ประชาชนได้ยลโฉมพระราชินีองค์ใหม่กันอย่างเป็นทางการ หลังงานพิธีอีกครั้ง และพวกเขาก็ไม่ผิดหวัง เมื่อทั้งสองพระองค์ยืนเคียงคู่กันโดดเด่นที่สุดในงาน แถมกษัตริย์จิกมี่ยังทรงจุมพิตพระราชินีอย่างเปิดเผยเป็นครั้งแรกอีกด้วย

โดยในพิธีเฉลิมฉลองการอภิเษกสมรสของกษัตริย์จิกมี่นั้น มีการแสดงระบำพื้นเมืองและศิลปะดนตรีประจำชาติภูฏานตั้งแต่เช้าไปจนถึงช่วงบ่าย ท่ามกลางประชาชนที่มาร่วมงานนับหมื่นคนที่นั่งอยู่เต็มอัฒจรรย์สนามกีฬากลาง ซึ่งในงานนี้ กษัตริย์จิกมี่ได้ทรงร่วมเต้นรำร่วมกับคณะนักแสดงด้วย



สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งราชอาณาจักรภูฏาน พร้อมด้วย นางสาวเจตซุน เปมา เจ้าสาว เดินทางถึงศาลเจ้าศักดิ์สิทธิ์ในเมืองพูนาคา ซอง (Punakha Dzong) สถานที่ใช้ในการประกอบพิธีอภิเษกสมรส โดยในพิธีประกอบด้วย สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก พระบิดา พร้อมด้วยพระมเหสีทั้ง 4 พระองค์ , เจ้าบ่าว-เจ้าสาว และพระสังฆราช หรือ เจเคนโป (Je Khenpo) และห้ามมิให้สื่อมวลชน เข้าทำข่าวเกินกว่าสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ให้ รวมถึงห้ามประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม

ถึงแม้ว่าเจ้าสาวจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปห้องโถงภายในศาลเจ้าที่ใช้ในการประกอบพิธี แต่นางสาวเปมา ได้ทำพิธีหมอบกราบอยู่ด้านนอก เพื่อขอพรจาก "ซับดรุง งาวัง นัมเยล" ลามะองค์สำคัญของภูฏาน ในสมัยศตวรรษที่ 17 ท่ามกลางงานพิธีที่เต็มไปด้วยข้าราชการที่สวมโก (Gho) ชุดประจำชาติที่ของภูฏาน

นางสาวเจตซัน เปมา ขณะนี้ขึ้นดำรงตำแหน่ง พระราชินีองค์ใหม่แห่งราชอาณาจักรภูฏานอย่างเป็นทางการแล้ว หลังเข้าพิธีอภิเษกสมรส กับ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก กษัตริย์ผู้เป็นที่รักของชาวภูฏานทั้งประเทศ จนได้รับการขนานนามว่า "ดรากอน คิง" โดยหลังจากนี้ไป จะมีการเฉลิมฉลองอย่างต่อเนื่อง 3 วัน พร้อมด้วยงานรื่นเริ่งต่าง ๆ ทั่วประเทศ



โดยนางสาวเจตซัน เปมา (Jetsun Pema) เกิดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2533 ในกรุงทิมพู เมืองหลวงของประเทศภูฏาน เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 5 คนของนายโทนทับ ดียัลเซน (Dhondup Gyaltshen) และนางโซนัม สุกี (Sonam Chuki)

นางสาวเจตซัน เปมา จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนที่ประเทศภูฏาน ก่อนจะเดินทางไปเรียนต่อที่ลอว์เรนซ์ สคูล ในซานาวาร์ หิมาจัลประเทศ และที่เซนต์โจเซฟ คอนแวนต์ ในกาลิมพง ประเทศอินเดีย และขณะนี้กำลังศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยรีเจนต์ คอลเลจในลอนดอน ประเทศอังกฤษ



ทั้งนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ยังได้ตรัสถึงว่าที่พระราชินีของพระองค์อย่างเป็นทางการว่า แม้ เจตซัน เปมา จะมีอายุน้อย แต่เธอเป็นผู้มีบุคลิกและจิตใจที่อบอุ่นอ่อนโยน มีเมตตา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เมื่อผนวกเข้ากับภูมิปัญญาที่เธอจะได้รับ ในอนาคตเมื่อเธอมีวัยวุฒิและสั่งสมประสบการณ์ได้มากขึ้น เธอจะข้ารับใช้ที่ดีของแผ่นดินภูฏาน

มาดูวินาทีที่ทรงได้รับการร้องขอให้แสดงความรักต่อพระราชินีเจตซุน เปมา ด้วยการจุมพิต กันค่ะ ทำให้พสกนิกรต่างยิ้มกว้างกับภาพที่ได้เห็น ขณะที่กษัตริย์จิกมีก็ทรงมีท่าทีเขินอายเป็นอย่างมาก...^^



(สามารถดูเป็นคลิปวิดีโอได้ที่ : http://www.youtube.com/watch?v=hM8W35ED2GU ค่ะ ^^)

พระราชกรณียกิจ
-สมเด็จพระราชาธิบดีเคเซอร์ เป็นหนึ่งในพระราชอาคันตุกะ ที่เสด็จทรงร่วมพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างวันที่ 12-13 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ที่ กรุงเทพมหานคร ในขณะที่พระองค์ยังทรงเป็นมกุฎราชกุมาร และทรงเป็นพระราชอาคันตุกะที่มีพระชนมายุน้อยที่สุด ในหมู่ราชวงศ์ที่มาร่วมงาน

-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 พระองค์ทรงเสด็จเยือนประเทศไทยอีกครั้งเพื่อเสด็จเยี่ยมชมสวนดอกไม้ของภูฏาน ในงานพืชสวนโลกที่จัดขึ้นในเชียงใหม่ และทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้ทูลเกล้าถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ในช่วงเวลาต่อมา
-ทรงร่วมลงพระนามในสนธิสัญญามิตรภาพกับประเทศอินเดียในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 แทนฉบับเดิม ซึ่งคือฉบับ พ.ศ. 1949

พระอิสริยยศ
-เจ้าฟ้าชาย ดาโช จิกมี เคซาร์ นัมเกล วังชุก (พ.ศ. 2523 — 2547)
-เจ้าฟ้าชาย โชเซ เพนลป จิกมี เคซาร์ นัมเกล วังชุก มกุฎราชกุมารแห่งภูฏาน (พ.ศ. 2547 — 2549)
-สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก (พ.ศ. 2549 — ปัจจุบัน)

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B5_%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C_%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5_%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%81

http://hilight.kapook.com/view/58989

ภาพประกอบจาก Facebook ของพระองค์ :http://www.facebook.com/KingJigmeKhesar

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ทวีเวท ศรีณรงค์ จัดหนัก.... 'ดนตรีคลาสสิกไม่ใช่ของสูง'



เขาคือนักเรียนทุนดนตรีคลาสสิกคนแรกในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
เป็นคนรุ่นใหม่ที่นำเครื่องดนตรีและท่วงทำนองของดนตรีคลาสสิก มาปรับรูปแบบ ผสมผสานกับจังหวะลีลาของเพลงป๊อบได้อย่างน่าสนใจ ทั้งไม่นานปีมานี้ ก็ริเริ่มก่อตั้งสถาบันดนตรีคลาสสิกของครอบครัวขึ้น เพื่อปลูกฝังความรักและความรู้ให้ผู้ที่สนใจศิลปะการดนตรีได้รับการฝึกฝนอย่างเต็มที่

เขาเติบโตขึ้นมาอย่างคนซึ่งภาคภูมิใจในความเป็นนักดนตรีของผู้บังเกิดเกล้า ศรัทธาในความเป็นลูกชาวนาของพ่อที่กล้าหาญบุกบั่นฟันฝ่าทำตามเสียงเรียกร้องของหัวใจ กระทั่งในที่สุด พ่อของเขาก็ก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งวง Bangkok Symphony Orchestra
และเป็นหนึ่งในบุคลาจารย์ผู้กล่อมเกลาเอกอุบุคคลทางดนตรีหลายต่อหลายคน ซึ่งล้วนเป็นผู้ที่คนในวงการดนตรีคลาสสิกต่างให้การยอมรับทั้งสิ้น



กระทั่งวันนี้ ชายหนุ่มผู้เป็นทายาทของครูผู้นั้น ได้เติบโตขึ้นเป็นคนหนุ่มที่หลงรักดนตรีคลาสสิกและเชื่อมั่นว่าดนตรีคลาสสิกเป็นสมบัติของโลกใบนี้ เป็นสมบัติของคนทุกคน

และนี่คือเรื่องเล่าหลากมิติจากมุมมองของชายหนุ่มผู้ตัดสินใจก้าวเดินไปตามเสียงเรียกร้องของท่วงทำนองอมตะที่ได้รับการสืบต่อกันมาเนิ่นนานหลายศตวรรษ และจะเป็นท่วงทำนองที่ยังคงอยู่ต่อไปอีกนานนับนาน ตราบเท่าที่ผู้คนมากมายทั่วโลกยังพร้อมเปิดใจสัมผัสมัน

ถ้อยความเหล่านี้ คือเรื่องราวหลากหลายที่ครอบคลุมถึงนิยามความหมายของดนตรี, ความเคารพในวิชาชีพ รวมทั้งจุดแรกเริ่มแห่งแรงบันดาลใจ ทั้งหลายทั้งปวงคือสิ่งที่เขา...ทวีเวท ศรีณรงค์ เต็มใจบอกเล่าอย่างเพลิดเพลิน....

นักดนตรี

"สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับนักดนตรีทุกคนเลยนะครับ ไม่ใช่แค่นักดนตรีคลาสสิกเพียงอย่างเดียว สิ่งสำคัญนั้นคือความอดทน เพราะคุณจะไม่มีวันเก่งได้เลย ถ้าคุณไม่ขยันซ้อมและไม่ขวนขวายหาความรู้ ไม่ว่าคุณจะเก่งยังไงก็ต้องซ้อม คุณจะเจอพรสวรรค์ของตัวเองไม่ได้เลยถ้าหากคุณไม่ซ้อม คุณต้องซ้อมเพื่องัดพรสวรรค์ในตัวออกมาให้ได้

"และสำหรับคนที่ไม่มีพรสวรรค์คุณก็ยิ่งต้องขยัน ต้องมีความอดทน และคุณต้องรักมันจริงๆ คุณต้องให้เวลากับมัน ผมว่า มันก็เปรียบได้กับกีฬา ถ้าหากว่านักกีฬาเขาไม่ได้รักกีฬานั้นจริงๆ เขาจะตื่นขึ้นมาซ้อมตั้งแต่ ตี 4 ตี 5 หรือครับ หลายคนมองว่านักดนตรีเป็นอาชีพที่ยาก เพราะไม่ค่อยมีช่องทาง แต่ผมว่าช่องทางนั้นมีอยู่แล้ว อยู่ที่ว่าคุณจะไปถึงได้ไหม

"ถามว่าการเล่นดนตรีมันเลี้ยงชีวิตได้ไหม ? ได้ครับ แต่มันก็มีหลายรูปแบบ เหมือนกับอาชีพอื่นๆ เช่น ถ้าคุณทำงานกฎหมาย ก็มีนักกฎหมายหลายระดับ ถ้าเป็นนักกฎหมายเมืองไทยก็ได้เงินในระดับของไทย แต่ถ้าเป็นนักกฎหมายระดับเดียวกันแต่อยู่ต่างประเทศก็อาจจะได้เงินเดือนอีกระดับ ไม่ต่างกับนักดนตรีที่เล่นประจำที่ร้านอาหาร หรือที่ผับ แล้วนำไปเทียบกับบอดี้สแลม ก็รายได้ก็คนละระดับ ถามว่าเป็นนักดนตรีเหมือนกันไหม? ก็นักดนตรีเหมือนกัน แต่บอดี้สแลมไส้แห้งไหม? ผมว่าไม่แห้งนะ กรูฟไรเดอร์ก็ไม่แห้งนะ มีเวลาใช้เงินหรือเปล่าก็ไม่รู้? ผมว่าเขาหาเงินได้มากกว่าหลายๆ อาชีพด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น ก็ต้องกลับมาดูแล้วว่าคุณอยู่ในระดับไหน? ฝีมือถึงไหมล่ะ? ถ้าคุณอยากเล่นดนตรี คุณก็ต้องกลับมาถามตัวเองก่อนว่าคุณจะทำมันได้ไหม ถ้าทำไม่ได้คุณตายนะ เพราะนี่คืออาชีพของคุณ ถ้าคุณไม่เล่นดนตรี คุณก็อดตาย และนี่คือความคิดที่ต้องมีตั้งแต่แรกเริ่ม ไม่ต่างจากนักฟุตบอล แต่ละลีกก็แตกต่างกัน พรีเมียร์ ลีกกับลาลีกา สเปน ก็แตกต่างกัน นักฟุตบอลเหมือนกันแต่คนละระดับชั้น ดนตรีก็เหมือนกัน

"บางคนอาจจะบอกว่านักดนตรีมันพวกหาเช้ากินค่ำ ถูกครับ บอดี้สแลมก็หาเช้ากินค่ำ แต่เขาหาได้วันละแสนกว่าบาท ดังนั้น มันอยู่ที่ว่าคุณทำมันได้ดีขนาดไหน ทุกอาชีพหาเลี้ยงชีพได้ทั้งนั้น คนขายก๋วยเตี่ยวก็ส่งลูกเรียนเมืองนอกได้

"ดังนั้น ถ้าถามว่าอาชีพอะไรที่มั่นคงที่สุด? ผมว่านั่นคืออาชีพที่เรารักและสนุกกับมัน"



คลาสสิก


"ดนตรีคลาสสิกเป็น ‘ของสูง’ เหรอ? ดนตรีเป็นของทุกคนครับ คนที่บอกว่าดนตรีคลาสสิกเป็นของสูงมันคงไม่เกี่ยวกับดนตรีแล้วแต่มันเกี่ยวกับคนที่เล่นและคนที่เสพต่างหาก

"คนที่เสพบางคนไม่ได้รู้ดี แต่รู้แค่ว่าไปดูดนตรีคลาสสิกแล้วต้องแต่งตัวดีๆ คือมันก็ห้ามไม่ได้ ที่ดนตรีคลาสสิกจะทำให้รู้สึกว่าเป็นของสูง เพราะด้วยสถานที่ ด้วยการจัดการ แต่นั่นมันก็ยังไม่เกี่ยวกับดนตรีอยู่ดี ตัวอย่างเช่น ถ้าหากคุณไปดูการแสดงดนตรีในศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ นั่นก็ไม่เกี่ยวกับดนตรี เพราะการที่คุณแต่งตัวดีๆ ไปศูนย์วัฒนธรรมฯ นั่นหมายความว่าคุณแต่งตัวเพื่อเคารพต่อสถานที่ซึ่งก็คือศูนย์วัฒนธรรมฯ คุณแต่งตัวเพื่อเคารพสถานที่ ไม่ใช่เพื่อดนตรี

"ถ้ามีการแสดงดนตรีคลาสสิกในสวนลุมฯ แล้วคุณจะใส่กางเกงขาก๊วยไปดู ก็ไม่มีใครว่าอะไร ใครใส่สูทไปดุกางเกงคลาสสิกในสวนลุมฯ ก็บ้าแล้ว สวนลุมฯ ร้อนจะตาย เป็นผมผมก็ไม่ใส่ เวลาไปผมก็ใส่เสื้อโปโล ใส่กางเกงยีนส์กับเสื้อยืด ชิวๆ แต่ถ้ามันเล่นในสถานที่ที่ต้องให้ความเคารพ มันก็ควรจะมีชุดที่เป็นสากล ผมยืนยันว่าดนตรีเป็นของทุกคน แม้แต่ดนตรีแจ๊ซที่ในหลวงทรงโปรดก็เป็นดนตรีของทาส

"ผมเชื่อว่านักดนตรีคลาสสิกยุคนี้ เขามองไกล แล้วเขาก็เปิดกว้างมากขึ้น เราอยู่ในศตวรรษที่ 21 นะครับ คุณต้องก้าวไปกับ ไม่งั้นเวลาผมเล่นเพลงของโมสาร์ต ผมก็ต้องใส่วิกน่ะสิ แล้วมันตลกไหมล่ะ? ดนตรีมันก็อยู่ของมันอย่างนั้น แต่สังคมมันเปลี่ยนไปแล้ว"

"วงการเพลงคลาสสิคของทั่วโลกตอนนี้นะครับ ผมขอยกตัวอย่างเกาหลีและจีนก็แล้วกัน เขาเป็นประเทศที่มีความสนใจดนตรีคลาสสิกสูงมาก สูงกว่าอเมริกาอีก แต่ปัญหาอย่างหนึ่งของดนตรีคลาสสิกคือมัก ไม่ค่อยจะมีคนไปดู แต่ในประเทศเขา รัฐบาลให้การสนับสนุน ส่วนประเทศในแถบยุโรปเขาแก้ปัญหาเรื่องที่ไม่มีคนไปดูด้วยการถ่ายทอดสดการแสดง เพื่อให้เห็นถึงความสวยงามของโปรดักชั่น การแต่งตัว แม้แต่นักร้องโอเปร่าก็สวย ดึงดูดความสนใจ เพราะโลกกำลังก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 แล้ว เราต้องยอมรับอย่างนึ่งว่าคนเราเวลาเสพศิลปะเราไม่ได้เสพแค่ตัวศิลปะอย่างเดียวหรอก แต่เราเสพคาแรกเตอร์ของคนทำด้วย มันจึงเป็นเรื่องธรรมดาไงครับที่นักดนตรีที่ทั้งเก่งและหน้าตาดี ต้องขายดี แต่ฝีมือคุณก็ต้องเจ๋งจริงๆ นะ คุณถึงจะอยู่ได้

"และที่สำคัญคุณต้องเข้าใจด้วยว่าคุณจะขายผลงานให้ใคร อย่างผมคงไม่ใช่แนวที่ต้องรอให้ตายก่อนแล้วผู้คนค่อยมานึกถึง ผมอยากจะยู่ในสังคมนี้ ตอนนี้ อยากรู้ว่าคนฟังเขาอยากฟังอะไร ผมอยากเชื่อมต่อกับคนฟัง ถ้าตายไปแล้วก็ทำแบบนี้ ไม่ได้ แล้วผมก็ไม่ใช่อัจฉริยะ อย่าง บาร์ค หรือโมสาร์ท อย่างบาร์คนี่ถือเป็นบิดาของดนตรีคลาสสิก ตอนที่เขายังมีชีวิตอยู่แทบไม่มีใครสนใจงานของเขาเลย แต่เมื่อเขาตายในปีค.ศ. 1750 เขากลายเป็น 'โคตรพ่อโคตรแม่' ของใครต่อใคร รวมทั้ง เดอะ บีทเทิลส์ ที่นำงานของเขามาใช้ ดนตรีของบาร์คเป็นรากของทุกอย่าง ผมพูดง่ายๆ เลยว่า ดนตรีทุกวันนี้ก็คือบาร์ค ถ้าไม่มีบาร์คก็ไม่มีโมสาร์ท

"สำหรับคนที่บอกว่าดนตรีคลาสสิกเป็นของสูง ผมถามหน่อย การที่คุณไปยกย่องเชิดชูมันแบบนั้น คุณรู้จักมันดีแค่ไหน? คุณถามนักดนตรีที่เขาเล่นหรือเปล่า ว่าเขารู้สึกยังไง? คนที่เล่นดนตรีคลาสสิกก็เป็นเพียงคนกลุ่มหนึ่งที่เขารักดนตรีและเขาอยากจะยึดเป็นอาชีพ เวลาที่เขาพักผ่อน เขาก็พักผ่อนเหมือนกับคุณ ไปเที่ยวทะเล ไปปาร์ตี้ ไปแดนซ์ สนุกเฮฮาที่จะได้เจอคน เจอเพื่อน เจอผู้หญิง นักดนตรีสมัยนี้ก็ไปตามยุคสมัย เพราฉะนั้น ก็อย่าไปยึดติดกับภาพลักษณ์ ขอแค่เปิดใจฟัง ขอแค่คุณชอบ เพราะถ้าชอบคุณก็อยากศึกษาดนตรีให้ลึกซึ้งขึ้นเองแหละ

"นักดนตรีไม่จำเป็นต้องแสดงออกว่าเพลงที่คุณเล่นมันยาก ดังนั้น อย่าไปโทษดนตรีครับ แต่มันต้องโทษคนที่อยู่ในวงการเพราะคนที่ฟังดนตรีคลาสสิกบางกลุ่มก็ยกตัวเอง ดนตรีคลาสสิกมันอยู่ของมันเฉยๆ นะ แต่เป็นคนนั่นแหละที่ยกมันเอง"



‘ทาง’ ที่ใช่

"ถ้าถามว่าเมื่อไหร่ที่ผมรู้สึกอยากเล่นไวโอลิน ผมว่ามันคงค่อยๆ ซึมซาบเข้าไปตั้งแต่เด็กๆ พูดจริงๆ เลยนะ ความรู้สึกแรกสุดที่ผมอยากเป็นนักดนตรีก็คือผมอยากขาดเรียน ตอนเรียนอยู่ถ้ามีทัวร์คอนเสิร์ตที่ต่างประเทศ ผมต้องขาดเรียนไปหลายอาทิตย์เลยนะ แล้วความรู้สึกตอนนั้น โห มันเท่ว่ะ แม้เวลามาเรียนตามเพื่อนให้ทันนี่เหนื่อยฉิบหาย

"แล้วทุกครั้งที่มีคนถามว่าหายไปไหน? ก็ตอบเขาว่า ‘อ๋อ ไปเล่นคอนเสิร์ตที่ญี่ปุ่น ที่ฮ่องกง ที่อเมริกา…’ แล้วสำหรับเด็กประถม เด็กมัธยม มันดูเท่ไง ได้เงินด้วย ผมก็ตั้งใจซ้อม ขยันซ้อมมาก เพราะอยากไปทัวร์คอนเสิร์ต"

"ครอบครัวผมไม่ใช่คนมีสตางค์ แล้วไม่ใช่เพราะดนตรีหรือครับ ที่ทำให้ผมได้ไปเห็นในสิ่งที่ผมไม่คิดว่าจะมีวันได้เห็น ได้ไปในที่ที่หลายคนยังไม่เคยไป ไปเล่นคอนเสิร์ตที่ทำเนียบขาว ไปเล่นที่คาเนกี้ ฮอลล์ ไปเล่นที่สหประชาชาติ หรือแม้แต่ที่อิมแพคอารีน่าผมก็ยังตื่นเต้น ผมไม่ใช่คนมีตังค์ แต่ไวโอลินพาผมไป ดนตรีพาผมไป



"ไม่ต่างกับที่ไวโอลินพาพ่อที่เป็นลูกชาวนา แต่ไม่อยากเป็นชาวนา ให้มามาสมัครเป็นทหารเรือเพราะเขามีเบี้ยเลี้ยงให้ แล้วก็ถูกจับให้ไปเล่นดนตรี จนกลายเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งวงบางกอกซิมโฟนี ก่อตั้งวงดนตรีเยาวชน ผลิตนักไวโอลินที่มีชื่อเสียงอย่างอาจารย์ ทัศนา นาควัชระนี่ก็ลูกศิษย์พ่อผม
ผมชอบไวโอลินมากกว่าเปียโน แม้ว่าตอนเป็นเด็กผมจะเล่นเปียโนไปด้วย แต่ผมว่า ไวโอลินมันคงเป็น ‘ทาง’ ที่ผมไปได้ และนอกจากเสียงร้องของมนุษย์แล้ว ผมว่าไวโอลินคือเครื่องดนตรีที่มีความใกล้เคียงกับเสียงมนุษย์มากที่สุด"
"ทำไมเสียงไวโอลินถึงกินใจ ไพเราะ และบาดความรู้สึก เพราะไม่มีเสียงไหนอีกแล้วที่กินใจได้เท่ากับเสียงมนุษย์ ไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีที่หากคุณเล่นดี เล่นเก่ง จะเป็นเสียงที่ใกล้เคียงกับเสียงมนุษย์ที่สุด แต่ถ้าเล่นไม่ได้ก็เป็นเสียงที่น่ารำคาญที่สุดในโลกเหมือนกัน"







สุดท้ายก่อนจบบทความ อยากบอกว่า พี่เป้ "น่าร้ากกกกกอ้ะ!!!" อิอิ

ที่มา : http://www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9540000115875

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

2562 ปี HBD ขงจื๊อ ^^

สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่าน คนเขียนไม่ได้อัพบล็อกเสียนานเลย เพราะไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้คอมพิวเตอร์ เมื่อวันก่อนดูข่าว เห็นชาวจีนเขาฉลองครบรอบ วันคล้ายวันเกิด 2562 ปี ของขงจื๊อ เลยนำประวัติของขงจื๊อมาฝากกันค่ะ ^^



ขงจื้อ (จีนตัวย่อ: 孔子; อังกฤษ: Confucius ; ภาษาไทยมีเรียกกันหลายชื่อ เช่น ขงฟู่จื่อ ขงจื่อ ข่งชิว) (ตามธรรมเนียม, 28 กันยายน 551 ปีก่อน ค.ศ. - 479 ปีก่อน ค.ศ.)

ชื่อรอง จ้งหนี เป็นนักคิดและนักปรัชญาสังคมที่มีชื่อเสียงของจีน คำสอนของขงจื๊อนั้น ฝังรากอิทธิพลลึกลงไปในสังคมเอเชียตะวันออกมาเป็นเวลาถึง 20 ศตวรรษ หลักปรัชญาของขงจื๊อนั้นเน้นเกี่ยวกับศีลธรรมส่วนตัว และศีลธรรมในการปกครอง ความถูกต้องเหมาะสมของความสัมพันธ์ในสังคม และ ความยุติธรรมและบริสุทธิ์ใจ

ก่อนสิ้นใจ ขงจื๊อได้ทิ้งท้ายข้อความไว้กับ ซื่อคง ไว้ว่า
"ขุนเขาต้องพังทลาย ขื่อคานแข็งแรงปานใด สุดท้ายต้องพังลงมา เหมือนเช่น บัณฑิตที่สุดท้ายต้องร่วงโรย"

ประวัติเมื่อขงจื๊อเกิดมาได้เพียง3ปี บิดาที่มีร่างกายสูงใหญ่และแข็งแรงได้เสียชีวิตจากไป ขงจื๊อในวัยเยาว์ชอบเล่นตั้งโต๊ะเซ่นไหว้ ชอบเลียนแบบท่าทางพิธีกรรมของผู้ใหญ่ เมื่ออายุได้ 15 ปี ฝักใฝ่การเล่าเรียน อายุ 19 ปี ได้แต่งงานกับแม่นางหยวนกวน ในปีถัดมาได้ลูกชาย ให้ชื่อว่า คงลี้ อายุ 20 ขงจื๊อได้เป็น เสมียนยุ้งฉาง และได้ใส่ใจความถูกต้องเนื่องจากทำงานกับตัวเลข ต่อมาได้ทำหลายหน้าที่รวมทั้ง คนดูแลสัตว์ คนคุมงานก่อสร้าง และในระหว่างที่ศึกษาพิธีกรรมจากรัฐโจว ได้โอกาสไปเยี่ยมเล่าจื๊อ ขงจื๊อมีความสัมพันธ์อันดีกับ เสนาธิบดีของอ๋องจิง และได้ฝากตัวเป็นพ่อบ้าน และได้มีการพูดคุยกับอ๋องในการวางแผน และหลักการปกครอง แต่เนื่องจากโดนใส่ความจากที่ปรึกษาของรัฐ ขงจื๊อจึงเดินทางต่อไปรัฐอื่น ภายหลังได้ฝากฝังตัวเองช่วยบ้านเมือง กับอ๋องติง และได้รับการแต่งตั้งดินแดนส่วนกลางของลู่ เป็นเสนาธิบดีใหญ่ บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง อาชญากรลดลง คนมีคุณธรรมและเคารพผู้อาวุโส และในระหว่างนั้น ได้มีการแบ่งแย่งดินแดน การแย่งชิงเมืองต่างๆ เกิดขึ้น ขงจื๊อได้เดินทางจากเมืองไปสู่เมืองต่างๆ เรียนรู้หลักการปกครอง และวัฒนธรรมท้องถิ่นแต่ละที่ ภายหลังได้ถูกหมายเอาชีวิต และถูกขับไล่ให้ตกทุกข์ได้ยาก และได้กลับมาสู่แคว้นลู่อีกครั้ง ขงจื๊อได้เริ่มรวบรวบพิธีกรรมโบราณ บทเพลง ตำราโบราณ และลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และได้สอนสั่งลูกศิษย์แถบแม่น้ำซูกับแม่น้ำสี ภายหลังขงจื๊อได้ล้มป่วยหนัก และเจ็ดวันให้หลัง ได้อำลาโลก ตรงกับเดือนสี่ทางจันทรคติ ในปีที่ 16 รัชสมัยอ๋องอี้ รวมอายุได้ 73 ปี

หลักความรู้
ศาสตร์สี่แขนง
ที่ขงจื๊อวางรากฐานไว้ ได้แก่ วัฒนธรรม ความประพฤติ ความจงรักภักดี และ ความซื่อสัตย์ โดยวัฒนธรรมเน้นถึงการเคารพบรรพบุรุษและพิธีการโบราณ ยึดถือผู้อาวุโสเป็นหลัก แต่ไม่ยึดติดหรืออายที่จะหาความรู้จากคนที่ต่ำชั้นหรืออายุน้อยกว่า
แปดหลักการพื้นฐานในการเรียนรู้
ได้แก่ สำรวจตรวจสอบ ขยายพรมแดนความรู้ จริงใจ แก้ไขดัดแปลงตน บ่มความรู้ ประพฤติตามกฎบ้านเมือง ประเทศต้องได้รับการดูแล นำความสงบสุขมาสู่โลก
ลำดับการเรียนรู้
ได้แก่ พิธีกรรม ดนตรี ยิงธนู ขี่ม้า ประวัติศาสตร์ และ คณิตศาสตร์
คุณธรรมทั้งสาม
ที่ได้จากการเรียนรู้ ได้แก่ ภูมิปัญญา เมตตากรุณา และความกล้าหาญ
สี่ขั้นตอนหลักการสอน
ได้แก่ ตั้งจิตใจไว้บนมรรควิธี ตั้งตนในคุณธรรม อาศัยหลักเมตตาเกื้อกูล สร้างสรรค์ศิลปะใหม่
สี่ลำดับการสอน
ได้แก่ คุณธรรมและความประพฤติ ภาษาและการพูดจา รัฐบาลและกิจการบ้านเมือง และสุดท้ายคือวรรณคดี

72 ศิษย์เอกขงจื๊อ
ชั่วชีวิตของขงจื๊อมีลูกศิษย์ทั้งสิ้นกว่าสามพันคน ในจำนวนนี้มีลูกศิษย์เอก 72 คน
เอี๋ยนหุย (Yan Hui)
หมิ่นสุ่น (Min Sun)
หย่านเกิง (Ran Geng)
หย่านหยง (Ran Yong)
หย่านฉิว (Ran Qiu)
ตวนมู่ซื่อ (Duanmu Ci)
จ้งอิ๋ว (Zhong You)
จ่ายอวี๋ (Zai Yu)
เอี๋ยนเอี่ยน (Yan Yan)
ปู่ซาง (Pu Shang)
จวานซุนซือ (Zhuansun Shi)
เจิงชัน (Zeng Shen)
ต้านไถเมี่ยหมิง (Dantai Mieming)
มี่ปู้ฉี (Fu Buji)
เอี๋ยนจี๋ (Yan Zu)
หยวนเซี่ยน (Yuan Xian)
กงเหย่ฉาง (Gongye Chang)
หนานกงควา (Nangong Kuo)
กงซีอาย (Gongxi Ai)
เจิงเตี่ยน (Zeng Dian)
เอี๋ยนอู๋หยาว (Yan Wuyao)
สูจ้งหุ้ย (Shuzhung Hui)
ซางฉวี (Shang Zhu)
เกาไฉ (Gao Chai)
ชีเตียวคาย (Qidiao Kai)
กงป๋อเหลียว (Gongbo Liao)
ซือหม่าเกิง (Sima Geng)
ฝานซวี (Fan Xu)
โหย่วยั่ว (You Ruo)
กงซีฉื้อ (Gongxi Chi)
อูหม่าซือ (Wuma Shi)
เหลียงจาน (Liang Zhan)
เอี๋ยนซิ่ง (Yan Xing)
หย่านหยู (Ran Ru)
เฉาซวี่ (Cao Xu)
ป๋อเฉียน (Bo Qian)
กงซุนหลง (Gongsun Long)
ซีหยงเตี่ยน (Xi Yongdian)
หย่านจี้ (Ran Ji)
กงจู่จวี้จือ (Gongzu Gouzi)
ซือจือฉาง (Shi Zhichang)
ฉินจู่ (Qin Zu)
ซีเตียวตัว (Qidiao Chi)
เอี๋ยนเกา (Yan Gao)
ซีเตียวถูฝู้ (Qidiao Dufu)
หย่างซื่อชื่อ (Zeng Sichi)
ซางเจ๋อ (Shang Zhai)
สือจั้วสู่ (Shi Zuo)
เยิ่นปู้ฉี (Ren Buji)
โห้วชู่ (Hou Chu)
ฉินหย่าน (Qin Ran)
ฉินซาง (Qin Shang)
เซินต่าง (Shen Dang)
เอี๋ยนจือผู (Yan Zhipo)
หยงฉี (Yan Zhi)
เซี่ยนเฉิง (Xian Chang)
จั่วเหยินอิ่ง (Zuo Renying)
เจิ้งกั๋ว (Zhang Guo)
ฉินเฟย (Qin Fei)
เอี๋ยนขว้าย (Yan Kuai)
ปู้สูเฉิง (Bu Shusheng)
เยว่เขอ (Yue Ke)
เหลียนเจี๋ย (Lian Jie)
ตี๋เฮย (Di Hei)
ปานซวิ่น (Kui [al. Bang] Sun)
ขงจง (Kong Zhong)
กงซีเตี่ยน (Gongxi Dian)
จวี้อ้าย
ฉินเหลา
หลินฟ่าง (Lin Fang)
เฉิงค่าง (Chan Kang)
และ เซินเฉิง

------------------------------



เมื่อกล่าวถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน ก็ต้องเอ่ยถึงชื่อของขงจื้อ เมื่อทศวรรษ1970 มีนักวิชาการชาวอเมริกันผู้หนึ่งได้จัดให้ขงจื้อเป็น อันดับที่5ใน100คนที่มีอิทธิพลสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ แต่กล่าวสำหรับคนจีนแล้ว อิทธิพลของขงจื้อน่าจะอยู่อันดับแรกมาก กว่า กล่าวได้ว่าคนจีนทุกคนต่างได้รับอิทธิพลจากสำนักปรัชญาขงจื้อ ไม่มากก็น้อย

ขงจื้อ (ก่อนค.ศ. 551-479) มีชื่อตัวว่า ชิว เป็นคนรัฐหลู่ (คำว่า”จื้อ ” เป็นคำยกย่องผู้ที่ถูกเรียกว่าเป็น“อาจารย์”) เป็นนักคิดและนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ในปลายสมัยชุนชิวและเป็นผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญา“หยูเจีย”หรือสำนักปรัชญาขงจื้อนั่นเอง ได้รับการยกย่องว่า เป็นปรมาจารย์แห่งจริยธรรมผู้ยิ่งใหญ่

ขงจื้อเกิดที่รัฐหลู่ซึ่งถือว่าเป็นเมืองที่เก็บรักษาคัมภีร์โบราณสมัยราชวงศ์โจวได้สมบูรณ์ที่สุด ถึงกับได้ชื่อว่าเป็น“เมืองแห่งจารีตและ ดนตรี”มาแต่โบราณกาล การก่อรูปแนวคิดขงจื้อขึ้นอาจได้รับ อิทธิพลจากขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและบรรยากาศทางการศึกษา ของรัฐหลู่

ขงจื่อสูญเสียบิดาตั้งแต่อายุ3ขวบ มารดาเป็นหญิงผู้ซื่อ สัตย์สุจริตเลี้ยงดูขงจื้อมาด้วยความเข้มงวดกวดขัน เพื่อให้ลูกได้เป็น ผู้มีความรู้และมีคุณธรรม

ขงจื้อมีความรักและสนใจในการศึกษาหาความรู้ตลอดจนศึกษาพิธีกรรม การเซ่นสรวงต่างๆที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล

ขงจื้อ“ตั้งตนเป็นอาจารย์เมื่ออายุ30”และเริ่มถ่ายทอดความรู้แก่ ลูกศิษย์อย่างไม่ท้อถอย การถ่ายทอดความรู้ของขงจื้อได้พลิกโฉม การศึกษาในสมัยนั้นโดยทำลายธรรมเนียมการเรียนการสอนที่จำกัดอยู่เฉพาะแต่ในราชสำนัก ทำให้ประชาชนทั่วไปตื่นตัวทางการศึกษา และวัฒนธรรมมากขึ้น ขงจื้อมีวิธีของตนในการรับศิษย์ ไม่ว่าจะเป็นคนในชนชั้นใด แค่มอบสิ่งของเล็กน้อยเป็นค่าเล่าเรียนแม้“เนื้อตากแห้ง”เพียง ชิ้นเดียวก็รับไว้เป็นลูกศิษย์ เล่ากันว่า ท่านมีลูกศิษย์มากถึง 3,000 คน ที่ยกย่องกันว่า มีความรู้ปราดเปรื่องและมีคุณธรรมสูงส่งมี70คน จากสานุศิษย์70คนนี้ คนรุ่นหลังจึงได้ทราบถึงแนวคิดต่างๆของขงจื้อ เนื่องจากลูกศิษย์ขงจื้อ ได้บันทึกคำสอนของอาจารย์ตนไว้ในรูปของ คำสนทนาระหว่างอาจารย์กับศิษย์โดยขึ้นต้นว่า“อาจารย์กล่าวว่า...” ภายหลังลูกศิษย์ได้นำคำสอนของขงจื้อมาประมวลแล้วเรียบเรียงขี้น เป็นหนังสือชื่อว่า“หลุนอวี่” บั้นปลายชีวิต ขงจื้อก็ได้รวบรวม บันทึกพงศาวดารและปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆมีชื่อว่า“ชุนชิว”ขงจื้อยัง เป็นบรรณาธิการหนังสือสำคัญๆทางวรรณคดีจีนซึ่งเป็นที่ยกย่องกันภาย หลัง ได้แก่“ซูจิง”(ตำราประวัติศาสตร์)“ซือจิง”(ตำราว่าด้วยลำนำกวี) เป็นผู้ตรวจแก้”อี้ว์จิง”(ตำราว่าด้วยการดนตรี-แต่สาบสูญไปในภาย หลัง)และ”หลี่จี้”(ตำราว่าด้วยจารีตประเพณี) หนังสือทั้ง5เล่มนี้เรียก รวมกันใน ภาษาจีนว่า”อู่จิง”(คัมภีร์ทั้งห้า)

ขงจื้อเน้นหนักในการบ่มเพาะเรื่องเมตตาธรรม ความชอบธรรม และจารีตประเพณี คำสอนของท่านเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและงดงามอย่าง ยิ่ง ความคิดของขงจื้อได้กลายเป็นแกนหลักสำคัญในวัฒนธรรมจีน และมีอิทธิพลสำคัญต่อความคิดของชนชาติจีน คุณธรรมอันดับแรก ที่ขงจื้อสอนสั่งคือ”เหริน”หรือเมตตาธรรม เมื่อลูกศิษย์แต่ละคนของ ท่านขงจื่อเรียนถามท่านอาจารย์ว่า "อะไรเรียกว่า

เหริน ?" ท่านก็จะตอบโดยพิจารณาตามบุคลิกอุปนิสัยใจคอของลูกศิษย์คนนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อเห็นคำอธิบายกับลูกศิษย์แต่ละคนแล้วก็ไม่เหมือนกันเลย แต่ต้องเอาคำอธิบายทั้งหลายมารวมความกันจึงเป็นความหมายอัน สมบูรณ์แบบของ "เหริน"

พอถึงวัยชรา ขงจื้อใช้เวลาทุ่มเทอยู่กับการจัดการประวัติศาสตร์ และดำเนินการด้านการศึกษาต่อไป ขงจื้อก็ถึงแก่กรรมปี479ก่อนคริสต์ศักราช ร่างถูกฝังไว้ที่ซื่อสุ่ยทางเหนือของรัฐหลู่(ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซานตง)



ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B7%E0%B9%8A%E0%B8%AD

http://www.tcbl-thai.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538845762