วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

2562 ปี HBD ขงจื๊อ ^^

สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่าน คนเขียนไม่ได้อัพบล็อกเสียนานเลย เพราะไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้คอมพิวเตอร์ เมื่อวันก่อนดูข่าว เห็นชาวจีนเขาฉลองครบรอบ วันคล้ายวันเกิด 2562 ปี ของขงจื๊อ เลยนำประวัติของขงจื๊อมาฝากกันค่ะ ^^



ขงจื้อ (จีนตัวย่อ: 孔子; อังกฤษ: Confucius ; ภาษาไทยมีเรียกกันหลายชื่อ เช่น ขงฟู่จื่อ ขงจื่อ ข่งชิว) (ตามธรรมเนียม, 28 กันยายน 551 ปีก่อน ค.ศ. - 479 ปีก่อน ค.ศ.)

ชื่อรอง จ้งหนี เป็นนักคิดและนักปรัชญาสังคมที่มีชื่อเสียงของจีน คำสอนของขงจื๊อนั้น ฝังรากอิทธิพลลึกลงไปในสังคมเอเชียตะวันออกมาเป็นเวลาถึง 20 ศตวรรษ หลักปรัชญาของขงจื๊อนั้นเน้นเกี่ยวกับศีลธรรมส่วนตัว และศีลธรรมในการปกครอง ความถูกต้องเหมาะสมของความสัมพันธ์ในสังคม และ ความยุติธรรมและบริสุทธิ์ใจ

ก่อนสิ้นใจ ขงจื๊อได้ทิ้งท้ายข้อความไว้กับ ซื่อคง ไว้ว่า
"ขุนเขาต้องพังทลาย ขื่อคานแข็งแรงปานใด สุดท้ายต้องพังลงมา เหมือนเช่น บัณฑิตที่สุดท้ายต้องร่วงโรย"

ประวัติเมื่อขงจื๊อเกิดมาได้เพียง3ปี บิดาที่มีร่างกายสูงใหญ่และแข็งแรงได้เสียชีวิตจากไป ขงจื๊อในวัยเยาว์ชอบเล่นตั้งโต๊ะเซ่นไหว้ ชอบเลียนแบบท่าทางพิธีกรรมของผู้ใหญ่ เมื่ออายุได้ 15 ปี ฝักใฝ่การเล่าเรียน อายุ 19 ปี ได้แต่งงานกับแม่นางหยวนกวน ในปีถัดมาได้ลูกชาย ให้ชื่อว่า คงลี้ อายุ 20 ขงจื๊อได้เป็น เสมียนยุ้งฉาง และได้ใส่ใจความถูกต้องเนื่องจากทำงานกับตัวเลข ต่อมาได้ทำหลายหน้าที่รวมทั้ง คนดูแลสัตว์ คนคุมงานก่อสร้าง และในระหว่างที่ศึกษาพิธีกรรมจากรัฐโจว ได้โอกาสไปเยี่ยมเล่าจื๊อ ขงจื๊อมีความสัมพันธ์อันดีกับ เสนาธิบดีของอ๋องจิง และได้ฝากตัวเป็นพ่อบ้าน และได้มีการพูดคุยกับอ๋องในการวางแผน และหลักการปกครอง แต่เนื่องจากโดนใส่ความจากที่ปรึกษาของรัฐ ขงจื๊อจึงเดินทางต่อไปรัฐอื่น ภายหลังได้ฝากฝังตัวเองช่วยบ้านเมือง กับอ๋องติง และได้รับการแต่งตั้งดินแดนส่วนกลางของลู่ เป็นเสนาธิบดีใหญ่ บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง อาชญากรลดลง คนมีคุณธรรมและเคารพผู้อาวุโส และในระหว่างนั้น ได้มีการแบ่งแย่งดินแดน การแย่งชิงเมืองต่างๆ เกิดขึ้น ขงจื๊อได้เดินทางจากเมืองไปสู่เมืองต่างๆ เรียนรู้หลักการปกครอง และวัฒนธรรมท้องถิ่นแต่ละที่ ภายหลังได้ถูกหมายเอาชีวิต และถูกขับไล่ให้ตกทุกข์ได้ยาก และได้กลับมาสู่แคว้นลู่อีกครั้ง ขงจื๊อได้เริ่มรวบรวบพิธีกรรมโบราณ บทเพลง ตำราโบราณ และลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และได้สอนสั่งลูกศิษย์แถบแม่น้ำซูกับแม่น้ำสี ภายหลังขงจื๊อได้ล้มป่วยหนัก และเจ็ดวันให้หลัง ได้อำลาโลก ตรงกับเดือนสี่ทางจันทรคติ ในปีที่ 16 รัชสมัยอ๋องอี้ รวมอายุได้ 73 ปี

หลักความรู้
ศาสตร์สี่แขนง
ที่ขงจื๊อวางรากฐานไว้ ได้แก่ วัฒนธรรม ความประพฤติ ความจงรักภักดี และ ความซื่อสัตย์ โดยวัฒนธรรมเน้นถึงการเคารพบรรพบุรุษและพิธีการโบราณ ยึดถือผู้อาวุโสเป็นหลัก แต่ไม่ยึดติดหรืออายที่จะหาความรู้จากคนที่ต่ำชั้นหรืออายุน้อยกว่า
แปดหลักการพื้นฐานในการเรียนรู้
ได้แก่ สำรวจตรวจสอบ ขยายพรมแดนความรู้ จริงใจ แก้ไขดัดแปลงตน บ่มความรู้ ประพฤติตามกฎบ้านเมือง ประเทศต้องได้รับการดูแล นำความสงบสุขมาสู่โลก
ลำดับการเรียนรู้
ได้แก่ พิธีกรรม ดนตรี ยิงธนู ขี่ม้า ประวัติศาสตร์ และ คณิตศาสตร์
คุณธรรมทั้งสาม
ที่ได้จากการเรียนรู้ ได้แก่ ภูมิปัญญา เมตตากรุณา และความกล้าหาญ
สี่ขั้นตอนหลักการสอน
ได้แก่ ตั้งจิตใจไว้บนมรรควิธี ตั้งตนในคุณธรรม อาศัยหลักเมตตาเกื้อกูล สร้างสรรค์ศิลปะใหม่
สี่ลำดับการสอน
ได้แก่ คุณธรรมและความประพฤติ ภาษาและการพูดจา รัฐบาลและกิจการบ้านเมือง และสุดท้ายคือวรรณคดี

72 ศิษย์เอกขงจื๊อ
ชั่วชีวิตของขงจื๊อมีลูกศิษย์ทั้งสิ้นกว่าสามพันคน ในจำนวนนี้มีลูกศิษย์เอก 72 คน
เอี๋ยนหุย (Yan Hui)
หมิ่นสุ่น (Min Sun)
หย่านเกิง (Ran Geng)
หย่านหยง (Ran Yong)
หย่านฉิว (Ran Qiu)
ตวนมู่ซื่อ (Duanmu Ci)
จ้งอิ๋ว (Zhong You)
จ่ายอวี๋ (Zai Yu)
เอี๋ยนเอี่ยน (Yan Yan)
ปู่ซาง (Pu Shang)
จวานซุนซือ (Zhuansun Shi)
เจิงชัน (Zeng Shen)
ต้านไถเมี่ยหมิง (Dantai Mieming)
มี่ปู้ฉี (Fu Buji)
เอี๋ยนจี๋ (Yan Zu)
หยวนเซี่ยน (Yuan Xian)
กงเหย่ฉาง (Gongye Chang)
หนานกงควา (Nangong Kuo)
กงซีอาย (Gongxi Ai)
เจิงเตี่ยน (Zeng Dian)
เอี๋ยนอู๋หยาว (Yan Wuyao)
สูจ้งหุ้ย (Shuzhung Hui)
ซางฉวี (Shang Zhu)
เกาไฉ (Gao Chai)
ชีเตียวคาย (Qidiao Kai)
กงป๋อเหลียว (Gongbo Liao)
ซือหม่าเกิง (Sima Geng)
ฝานซวี (Fan Xu)
โหย่วยั่ว (You Ruo)
กงซีฉื้อ (Gongxi Chi)
อูหม่าซือ (Wuma Shi)
เหลียงจาน (Liang Zhan)
เอี๋ยนซิ่ง (Yan Xing)
หย่านหยู (Ran Ru)
เฉาซวี่ (Cao Xu)
ป๋อเฉียน (Bo Qian)
กงซุนหลง (Gongsun Long)
ซีหยงเตี่ยน (Xi Yongdian)
หย่านจี้ (Ran Ji)
กงจู่จวี้จือ (Gongzu Gouzi)
ซือจือฉาง (Shi Zhichang)
ฉินจู่ (Qin Zu)
ซีเตียวตัว (Qidiao Chi)
เอี๋ยนเกา (Yan Gao)
ซีเตียวถูฝู้ (Qidiao Dufu)
หย่างซื่อชื่อ (Zeng Sichi)
ซางเจ๋อ (Shang Zhai)
สือจั้วสู่ (Shi Zuo)
เยิ่นปู้ฉี (Ren Buji)
โห้วชู่ (Hou Chu)
ฉินหย่าน (Qin Ran)
ฉินซาง (Qin Shang)
เซินต่าง (Shen Dang)
เอี๋ยนจือผู (Yan Zhipo)
หยงฉี (Yan Zhi)
เซี่ยนเฉิง (Xian Chang)
จั่วเหยินอิ่ง (Zuo Renying)
เจิ้งกั๋ว (Zhang Guo)
ฉินเฟย (Qin Fei)
เอี๋ยนขว้าย (Yan Kuai)
ปู้สูเฉิง (Bu Shusheng)
เยว่เขอ (Yue Ke)
เหลียนเจี๋ย (Lian Jie)
ตี๋เฮย (Di Hei)
ปานซวิ่น (Kui [al. Bang] Sun)
ขงจง (Kong Zhong)
กงซีเตี่ยน (Gongxi Dian)
จวี้อ้าย
ฉินเหลา
หลินฟ่าง (Lin Fang)
เฉิงค่าง (Chan Kang)
และ เซินเฉิง

------------------------------



เมื่อกล่าวถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน ก็ต้องเอ่ยถึงชื่อของขงจื้อ เมื่อทศวรรษ1970 มีนักวิชาการชาวอเมริกันผู้หนึ่งได้จัดให้ขงจื้อเป็น อันดับที่5ใน100คนที่มีอิทธิพลสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ แต่กล่าวสำหรับคนจีนแล้ว อิทธิพลของขงจื้อน่าจะอยู่อันดับแรกมาก กว่า กล่าวได้ว่าคนจีนทุกคนต่างได้รับอิทธิพลจากสำนักปรัชญาขงจื้อ ไม่มากก็น้อย

ขงจื้อ (ก่อนค.ศ. 551-479) มีชื่อตัวว่า ชิว เป็นคนรัฐหลู่ (คำว่า”จื้อ ” เป็นคำยกย่องผู้ที่ถูกเรียกว่าเป็น“อาจารย์”) เป็นนักคิดและนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ในปลายสมัยชุนชิวและเป็นผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญา“หยูเจีย”หรือสำนักปรัชญาขงจื้อนั่นเอง ได้รับการยกย่องว่า เป็นปรมาจารย์แห่งจริยธรรมผู้ยิ่งใหญ่

ขงจื้อเกิดที่รัฐหลู่ซึ่งถือว่าเป็นเมืองที่เก็บรักษาคัมภีร์โบราณสมัยราชวงศ์โจวได้สมบูรณ์ที่สุด ถึงกับได้ชื่อว่าเป็น“เมืองแห่งจารีตและ ดนตรี”มาแต่โบราณกาล การก่อรูปแนวคิดขงจื้อขึ้นอาจได้รับ อิทธิพลจากขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและบรรยากาศทางการศึกษา ของรัฐหลู่

ขงจื่อสูญเสียบิดาตั้งแต่อายุ3ขวบ มารดาเป็นหญิงผู้ซื่อ สัตย์สุจริตเลี้ยงดูขงจื้อมาด้วยความเข้มงวดกวดขัน เพื่อให้ลูกได้เป็น ผู้มีความรู้และมีคุณธรรม

ขงจื้อมีความรักและสนใจในการศึกษาหาความรู้ตลอดจนศึกษาพิธีกรรม การเซ่นสรวงต่างๆที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล

ขงจื้อ“ตั้งตนเป็นอาจารย์เมื่ออายุ30”และเริ่มถ่ายทอดความรู้แก่ ลูกศิษย์อย่างไม่ท้อถอย การถ่ายทอดความรู้ของขงจื้อได้พลิกโฉม การศึกษาในสมัยนั้นโดยทำลายธรรมเนียมการเรียนการสอนที่จำกัดอยู่เฉพาะแต่ในราชสำนัก ทำให้ประชาชนทั่วไปตื่นตัวทางการศึกษา และวัฒนธรรมมากขึ้น ขงจื้อมีวิธีของตนในการรับศิษย์ ไม่ว่าจะเป็นคนในชนชั้นใด แค่มอบสิ่งของเล็กน้อยเป็นค่าเล่าเรียนแม้“เนื้อตากแห้ง”เพียง ชิ้นเดียวก็รับไว้เป็นลูกศิษย์ เล่ากันว่า ท่านมีลูกศิษย์มากถึง 3,000 คน ที่ยกย่องกันว่า มีความรู้ปราดเปรื่องและมีคุณธรรมสูงส่งมี70คน จากสานุศิษย์70คนนี้ คนรุ่นหลังจึงได้ทราบถึงแนวคิดต่างๆของขงจื้อ เนื่องจากลูกศิษย์ขงจื้อ ได้บันทึกคำสอนของอาจารย์ตนไว้ในรูปของ คำสนทนาระหว่างอาจารย์กับศิษย์โดยขึ้นต้นว่า“อาจารย์กล่าวว่า...” ภายหลังลูกศิษย์ได้นำคำสอนของขงจื้อมาประมวลแล้วเรียบเรียงขี้น เป็นหนังสือชื่อว่า“หลุนอวี่” บั้นปลายชีวิต ขงจื้อก็ได้รวบรวม บันทึกพงศาวดารและปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆมีชื่อว่า“ชุนชิว”ขงจื้อยัง เป็นบรรณาธิการหนังสือสำคัญๆทางวรรณคดีจีนซึ่งเป็นที่ยกย่องกันภาย หลัง ได้แก่“ซูจิง”(ตำราประวัติศาสตร์)“ซือจิง”(ตำราว่าด้วยลำนำกวี) เป็นผู้ตรวจแก้”อี้ว์จิง”(ตำราว่าด้วยการดนตรี-แต่สาบสูญไปในภาย หลัง)และ”หลี่จี้”(ตำราว่าด้วยจารีตประเพณี) หนังสือทั้ง5เล่มนี้เรียก รวมกันใน ภาษาจีนว่า”อู่จิง”(คัมภีร์ทั้งห้า)

ขงจื้อเน้นหนักในการบ่มเพาะเรื่องเมตตาธรรม ความชอบธรรม และจารีตประเพณี คำสอนของท่านเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและงดงามอย่าง ยิ่ง ความคิดของขงจื้อได้กลายเป็นแกนหลักสำคัญในวัฒนธรรมจีน และมีอิทธิพลสำคัญต่อความคิดของชนชาติจีน คุณธรรมอันดับแรก ที่ขงจื้อสอนสั่งคือ”เหริน”หรือเมตตาธรรม เมื่อลูกศิษย์แต่ละคนของ ท่านขงจื่อเรียนถามท่านอาจารย์ว่า "อะไรเรียกว่า

เหริน ?" ท่านก็จะตอบโดยพิจารณาตามบุคลิกอุปนิสัยใจคอของลูกศิษย์คนนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อเห็นคำอธิบายกับลูกศิษย์แต่ละคนแล้วก็ไม่เหมือนกันเลย แต่ต้องเอาคำอธิบายทั้งหลายมารวมความกันจึงเป็นความหมายอัน สมบูรณ์แบบของ "เหริน"

พอถึงวัยชรา ขงจื้อใช้เวลาทุ่มเทอยู่กับการจัดการประวัติศาสตร์ และดำเนินการด้านการศึกษาต่อไป ขงจื้อก็ถึงแก่กรรมปี479ก่อนคริสต์ศักราช ร่างถูกฝังไว้ที่ซื่อสุ่ยทางเหนือของรัฐหลู่(ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซานตง)



ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B7%E0%B9%8A%E0%B8%AD

http://www.tcbl-thai.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538845762

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น