วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

14 ก.ค.วันบาสตีย์ : le 14 Juillet Fête Nationale de France

สวัสดีค่ะท่านผู้อ่าน ^^
         วันนี้เป็นวันที่ 14 กรกฎาคม ซึ่งหลายๆท่านที่มีความสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับยุโรป จะต้องทราบอย่างแน่นอน ว่าวันนี้เป็นวันชาติฝรั่งเศส

แล้วคนที่เป็นนักเรียนแผนการเรียน ภาษาอังกฤษ-ฝรั่งเศส อย่างคนเขียน มีหรือจะไม่เก็บมานำเสนอกันละคะ ^^ (หัวบล็อกก็บอกอยู่ชัดเจนซะขนาดนั้น)
         แต่ที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ วันนี้ ยังมีอีกชื่อว่า "วันบาสตีย์ (Bastille Day)" อีกด้วย เลยไม่ขึ้นชื่อบทความว่า วันชาติฝรั่งเศส เหมือนชาวบ้านเขาไง (มาแปลกตลอดๆ) วันนี้จะมีประวัติความเป็นมาอย่างไร ไปดูกันดีกว่าค่ะ




วันบาสตีย์ เป็นวันชาติของฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี ในประเทศฝรั่งเศส วันดังกล่าวถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า "งานเฉลิมฉลองแห่งชาติ" (La Fête Nationale) และเรียกโดยทั่วไปว่า "สิบสี่กรกฎา" (le quatorze juillet) วันดังกล่าวเป็นการรำลึกถึงวันหยุดสมาพันรัฐ (Fête de la Fédération) ในปี ค.ศ. 1790 ซึ่งตรงกับวันครบรอบการโจมตีคุกบาสตีย์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 หนึ่งปีพอดี วันครบรอบการบุกโจมตีคุกปราการบาสตีย์ถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์การลุกฮือของชาติสมัยใหม่ และการปรองดองชาวฝรั่งเศสด้วยราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ สมัยก่อนสาธารณรัฐที่ 1 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส งานฉลองและพิธีการทางการถูกจัดขึ้นทั่วประเทศฝรั่งเศส การเดินสวนสนามประจำปีที่เก่าแก่ที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปถูกจัดขึ้นเมื่อเช้าวันที่ 14 กรกฎาคม บนถนนช็องเซลีเซในปารีส ต่อหน้าประธานาธิบดีฝรั่งเศส ข้ารัฐการและแขกต่างประเทศ





        วันชาติฝรั่งเศส หรือ วันบาสตีย์ ตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันแห่งการปฎิวัติการปกครองจากระบบเจ้าขุนมูลนายไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ โดยประชาชนทั่วทั้งประเทศได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองแบบยุกโบราณจนกระทั้งได้รับชัยชนะเป็นครั้งแรกจากบุกเข้าทลายคุกบาสติลที่เปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่ประชาชน เมื่อ 209 ปีก่อนและนำไปสู่การล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้สำเร็จ โดยสมัชชาแห่งชาติได้กำหนดโครงสร้างกฏหมายฉบับใหม่ที่ยกเลิกการให้ความมีเอกสิทธิ์ ขจัดเรื่องสินบนและล้มเลิกระบบฟิวดัล(ระบบศักดินา) จากนั้นต่อมาจึงมีการจัดงานฉลองแห่งชาติขึ้นเรียกว่า "The Feast of the Federation" เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปีของเหตุการณ์จลาจลที่กองกำลังแห่งชาติจากทั่วประเทศได้เดินทางรวมพลกันที่ "Champs-de-Mars" ในกรุงปารีส
แต่พอหลังจากนั้นการจัดงานฉลองเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ของวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2332 ก็ต้องหยุดไปเนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศยังคงไม่สงบเกิดสงครามปฏิวัติขึ้นหลายครั้งในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ.2335-2345 และมาในสมัย "the Third Republic*"นี้เอง รัฐบาลจึงได้มีความคิดที่จะรื้อฟื้นการจัดงานเฉลิมฉลองวันชาติฝรั่งเศสขึ้นมาใหม่ โดยมีการผ่านร่างกฎหมายฉบับเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2423 ขึ้นมา ซึ่งกำหนดให้วันที่ 14 กรกฎาคม ของทุกปีเป็น "วันชาติฝรั่งเศส"และได้จัดงานเฉลิมฉลองครั้งแรกขึ้นในปีเดียวกันนั้น
ทั้งนี้งานจะเริ่มตั้งแต่ค่ำของวันที่ 13 โดยจะมีการแห่คบเพลิงและล่วงเข้าวันรุ่งขึ้นเมื่อระฆังตามโบสถ์วิหารต่าง ๆ หรือเสียงปืนดังขึ้นนั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่างานฉลองได้เริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการ เริ่มจากริ้วขบวนการสวนสนามของเหล่าทัพ จากนั้นเมื่อถึงช่วงเวลากลางวันประชาชนจะร่วมฉลองด้วยการเต้นรำอย่างรื่นเริงสนุกสนานไปตามท้องถนนและมีการจัดเลี้ยงกันอย่างเอิกเกริกจนถึงเวลาค่ำ ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการจุดพลและการละเล่นดอกไม้ไฟที่ถือประเพณีปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีสิ่งสร้างความบันเทิงอื่น ๆ อีกมากมายที่จัดขึ้นทั่วประเทศทั้งการจัดการแข่งขันกีฬา การจัดนิทรรศการ งานแสดงสินค้า โดยไม่มีชาวฝรั่งเศสคนใดจะละเลยไม่นึกถึงและร่วมฉลองในวันสำคัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศครั้งนี้





เหตุการณ์และประเพณี
การเดินสวนสนามเริ่มจากนักเรียนทหารจากโรงเรียนทหารหลายแห่ง จากนั้นจึงเป็นทหารราบ ทหารยานยนต์ อากาศยานจากปาทรุยเดอฟร็องส์บินอยู่บนท้องฟ้า ในปัจจุบัน ได้กลายมาเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่จะเชิญหน่วยทหารจากประเทศพันธมิตรของฝรั่งเศสร่วมเดินสวนสนามด้วย ในปี ค.ศ. 2004 อันเป็นปีครบรอบหนึ่งร้อยปีความตกลงฉันทไมตรี (Entente Cordiale) ทหารอังกฤษได้นำการเดินสวนสนามวันบาสตีย์เป็นครั้งแรก โดยมีเรดแอโรวส์บินอยู่เหนือศีรษะ[3] ในปี ค.ศ. 2007 กองพลน้อยพลร่มที่ 26 ของเยอรมนีนำหน้าการเดินสวนสนาม ตามด้วยนาวิกโยธินอังกฤษ
ในวันนี้ยังเป็นวันที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสจะให้สัมภาษณ์แก่สื่อ โดยอภิปรายสถานการณ์ของประเทศ เหตุการณ์ปัจจุบันและโครงการในอนาคต แต่นีกอลา ซาร์กอซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนที่ 23 ปฏิเสธจะให้สัมภาษณ์
รัฐธรรมนูญแห่งฝรั่งเศส มาตรา 17 ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดี ในการอภัยโทษแก่ผู้กระทำความผิด และตั้งแต่ ค.ศ. 1991 เป็นต้นมา ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้ใช้อำนาจนี้ ในการอภัยโทษผู้กระทำความผิดเล็กๆ น้อยๆ เช่นผู้กระทำผิดกฎจราจร ในวันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี แต่หลังจากปี ค.ศ. 2007 เป็นต้นมา อดีตประธานาธิบดีซาร์กอซี ประกาศให้ยกเลิกธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าว





การเดินสวนสนาม
การเดินสวนสนามวันบาสตีย์นั้นเป็นการเดินสวนสนามฝรั่งเศสที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในกรุงปารีสนับตั้งแต่ ค.ศ. 1880 ในตอนเช้าวันที่ 14 กรกฎาคม แต่ก่อนการเดินสวนสนามดังกล่าวจัดขึ้นที่อื่นในหรือใกล้กับกรุงปารีส แต่หลังจากปี ค.ศ. 1918 ได้ย้ายมาจัดที่ถนนช็องเซลีเซ ด้วยการเห็นพ้องอย่างชัดเจนของฝ่ายสัมพันธมิตรที่เป็นตัวแทนในการประชุมสันติภาพแวร์ซาย ยกเว้นช่วงที่เยอรมนียึดครองฝรั่งเศสจาก ค.ศ. 1940 ถึง 1944 ขบวนสวนสนามเคลื่อนลงมาตามถนนช็องเซลีเซ จากประตูชัยฝรั่งเศสไปถึงจัตุรัสกงกอร์ด ที่ซึ่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส คณะรัฐบาลและเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศฝรั่งเศสยืนอยู่ การเดินสวนสนามวันบาสตีย์ได้รับความนิยมในฝรั่งเศส มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ และเป็นการเดินสวนสนามเป็นปกติที่เก่าแก่ที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป ในบางปียังได้มีการเชิญทหารต่างประเทศเข้าร่วมในขบวนสวนสนามและเชิญรัฐบุรุษต่างประเทศเข้าร่วมในฐานะแขก
นอกจากนี้ ยังมีการเดินขบวนสวนสนามขนาดเล็กกว่าตามเมืองที่มีกองทหารประจำอยู่ของฝรั่งเศส อันประกอบด้วยทหารในท้องถิ่นนั้น





ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C

          http://www.tungsong.com/Important_Day/France/index.asp



ศุกร์ 13 วันอาถรรพ์... กับตำนานหายนะ




เมื่อวันนี้ เป็นวันเสาร์ที่ 14 เมื่อวาน ก็ต้องเป็นวันศุกร์ที่ 13 อย่างไม่ต้องสงสัย 555+ (จะบอกทำไมเนี่ย -*-) และเมื่อนึกถึงวันศุกร์ที่ 13 ก็ต้องมีหลายๆคน นึกถึงตำนานในสิ่งร้ายๆต่างๆ อย่างแน่นอน

ทีนี้ คนเขียนขออนุญาตยกบทความจาก เว็บกระปุกดอทคอม มานำเสนอ ให้สยองกันเล่นๆนะคะ อิอิ

ความเชื่อที่เล่าต่อ ๆ กันมาว่า "วันศุกร์ที่ 13 " เป็นวันแห่งอาถรรพ์ ใครจะทำกิจการใด ๆ ลงทุนพบปะเจรจาสิ่งใด ก็มักจะเกิดเรื่องร้าย ๆ ตลอด...


เฉกเช่นเมื่อวาน วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม 2555
 
       พวกเราชาวศิลป์-ฝรั่งเศส โรงเรียนราชินีบูรณะ ได้จัดงาน "วันชาติฝรั่งเศส" ขึ้น มีกิจกรรมต่างๆมากมาย และหนึ่งในนั้นคือ การร้องเพลงชาติฝรั่งเศส ที่มีชื่อว่า "La Marseillaise" ซึ่งพวกเราตั้งใจซ้อมมาอย่างเต็มที่ ตอนซ้อมอาจารย์ก็ไปดูแล้ว เรียบร้อยดีทุกอย่าง...
 
       แต่เมื่อถึงเวลาร้องเพลงนี้จริงๆ กลับล่มไม่เป็นท่า สาเหตุเป็นเพราะเครื่องเสียงมีปัญหา ทำให้ร้องไม่ตรงกับทำนอง ทั้ง 2 รอบ รอบเช้าและรอบบ่าย (อายไปตามกันๆ TT^TT)
 
       ยังไม่นับอาการขลุกขลักต่างๆนานา ที่เกิดขึ้นระหว่างงาน (ทำให้ ม.6 อย่างข้าพเจ้าถึงกับเหนื่อยทีเดียว -*-) ไม่รู้จะเป็นเพราะอำนาจ ศุกร์ 13 หรือเปล่า??? ต้องลองให้ท่านผู้อ่าน พิจารณาดูเสียแล้ว... ^^ 
 
ส่วนตัวจริงๆแล้ว ไม่ได้มีความเชื่ออะไรกับวันนี้ แค่ลองตั้งข้อสังเกตดูก็เท่านั้นเอง 5555555+
 


 
ส่วนความเป็นมาของคำว่า "อาถรรพ์ ศุกร์ 13" นั้น เป็นความเชื่อมาจากฝรั่ง โดยเฉพาะชาวคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ที่เห็นว่า เลข 13 เป็นเลขแห่งความโชคร้าย ถึงจะลงมือทำการสิ่งใดก็จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากวันดังกล่าว เป็นวันที่พระเยซูทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน หลังจากที่รับประทานอาหารมื้อสุดท้ายร่วมกับสาวกทั้ง 12 คน
ศุกร์ 13 จะเป็นอาถรรพ์หรือเปล่าไม่รู้ แต่ฝรั่งต่างเชื่อเรื่องนี้อย่างมาก บางคนก็จิตตกวิกลจริต หวาดผวาจนขึ้นสมอง กลายเป็น "โรคกลัววันศุกร์ที่ 13" หรือโรคที่มีชื่อเรียกยาว ๆ ว่า "พาราสเคฟดิคาเทรียโฟเบีย" (paraskevidekatriaphobia) หรือโรค "ฟริกกาทริสไคเดคาโฟเบีย" (friggatriskaidekaphobia)
ทั้งนี้ จากการศึกษาประเมินพบว่า คนอเมริกันเป็นโรคดังกล่าวถึง 21 ล้านคน หรือประมาณ 8% ของประเทศเลยทีเดียว แต่เดี๋ยวก่อน หลายคนอาจจะคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องงมงาย ลองมาดูสถิติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในศุกร์ 13 กันดีกว่า ขอบอกว่าไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เลยนะ
ศูนย์จัดการความเครียดและสถาบันบำบัดอาการกลัวในเมืองแอชวิลล์ มลรัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเริกา ประเมินว่า ในแต่ละครั้งที่มีวันศุกร์ที่ 13 สหรัฐอเมริกาต้องสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นเงินถึง 800-900 ล้านเหรียญสหรัฐทีเดียว เพราะว่าประชาชนบางคนไม่กล้าเดินทางไปไหน... ไม่กล้าแม้แต่จะไปทำงาน
ส่วนอุบัติเหตุจาก "ศุกร์ 13" เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลจากอุบัติเหตุระหว่างวันศุกร์ที่ 6 กับวันศุกร์ที่ 13 นั้น แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด (ข้อมูลเมื่อ ค.ศ.1993) ตัวเลขผู้ประสบอุบัติเหตุมากกว่าวันศุกร์อื่น ๆ ถึง 52% เลยทีเดียว


ตำนานอาถรรพ์ ศุกร์ 13 ที่เล่าต่อ ๆ กันมา


ตำนานแขกคนที่ 13
ตำนานของ "ชาวนอร์ส" ในดินแดนสแกนดิเนเวียที่เกี่ยวกับ "เทพ 12 องค์" มารวมกันจัดงานเลี้ยงในห้องโถงของเอกีร์ เทพแห่งมหาสมุทร แล้วเทพแห่งไฟที่ชื่อ "โลกิ" ซึ่งไม่ได้รับเชิญมาร่วมงานจึงพังประตูรั้วเข้ามาร่วมงานในฐานะแขกคนที่ 13 และให้ "เทพฮอด" ซึ่งเป็นเทพแห่งความมืดมิดเพราะตาบอด โยนกิ่งของพืชกาฝากใส่ "บาลเดอร์" เทพแห่งความสุขและความยินดี จนบาลเดอร์สิ้นลมหายใจไปในทันที...จนทำให้โลกต้องตกอยู่ในความมืดมิดและความเศร้าสลด
ตำนานคนที่ 13 ต้องตาย
อ้างอิงเรื่องของเดอะ ลาสต์ ซัพเปอร์ มีการบันทึกไว้เมื่อศตวรรษที่ 18 ว่า.. เชื่อกันว่าเมื่อใดก็ตามที่มีคน 13 คนมานั่งร่วมรับประทานอาหารในโต๊ะเดียวกัน คนที่ลุกจากโต๊ะไปเป็นคนแรกจะเป็นคนแรกที่ต้องตาย
ตำนานวันศุกร์แห่งการประหาร
สำหรับเหตุผลที่เจาะจงว่าจะต้องเป็น "วันศุกร์" นั้น นอกจากกรณีที่ว่าพระเยซูถูกนำไปตรึงกางเขนในวันศุกร์แล้ว ในตำราของฝรั่งยังว่า "วันศุกร์" เป็นวันที่ใช้ประหารนักโทษ ทั้งยังถือว่าเป็นวัน "ทิป ทอด เดย์" (Tip Tod Day) หมายความว่าเป็น "วันปีศาจ" ชาวประมงในสมัยก่อนจึงไม่ออกทะเลในวันศุกร์



ศุกร์ 13 กับความเชื่ออื่น ๆ
นอกจากตำนานต่าง ๆ ข้างบนแล้ว ยังมีความเชื่อโบราณของฝรั่งเกี่ยวกับการกระทำต่าง ๆ ในวันศุกร์เช่น ห้ามตัดเล็บในวันศุกร์, อดัม และอีฟ กินผลไม้ต้องห้ามที่สวนอีเดนในวันศุกร์, วันที่พระเจ้าลงโทษให้อดัม และอีฟมาใช้โทษที่โลกมนุษย์คือวันศุกร์ เป็นต้น
...ถึงแม้ว่า ฝรั่งจะแก้เคล็ดด้วยการเรียกเลข 13 ว่า "ลัคกี้นัมเบอร์" แต่กระนั้นเมื่อถึงวันศุกร์ที่ 13 เมื่อไร ผู้คนที่มีความเชื่อเรื่องโชคลาง ต่างก็ต้องหวาดผวากับวันนี้ แถมยังมีคนหัวใสนำเรื่องดังกล่าวไปสร้างเป็นภาพยนตร์ โดยใช้ชื่อเรื่องว่า "ศุกร์ 13 ฝันหวาน" ซึ่งก็สร้างเพิ่มความกลัวมากขึ้นไปอีก!! แถมไม่ว่าจะสร้างกี่รอบ ๆ ก็ดังเป็นพลุแตก กวาดรายได้ถล่มทลายเลยทีเดียว



ประเทศไทย กับความเชื่อ ศุกร์ 13
มาถึงฝั่งประเทศไทยบ้าง ถึงแม้ว่า ศุกร์ 13 จะเป็นความเชื่อของฝรั่งตาน้ำข้าว แต่คนไทยบางกลุ่มก็พลอยเชื่อเรื่องนี้ไปด้วย อาทิ การสร้างลิฟท์บนอาคารตึกสูงบางแห่งที่เกิน 12 ชั้น จะไม่ระบุชั้นที่ 13 โดยจะเลี่ยงเป็นชั้นที่ 12 A หรือไม่ก็ใช้เลข 14 แทนไปเลย ทั้งนี้ก็เพราะโรงแรมต้องรองรับลูกค้าซึ่งส่วนมากเป็นลูกค้าต่างประเทศ โดยเฉพาะฝรั่ง
แต่ถ้าถือตามโหราศาสตร์ไทยแล้วนั้น อาจารย์หนู กันภัย ได้กล่าวไว้ว่า เลข 13 ถือว่าเป็นเลขมหาอุตม์... จะอุดสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ ได้ ตามตำราเป็นเลขมงคล คือจะไม่รับรู้ถึงทวารทั้ง 9 ปิดทั้งหมดทุกช่องทาง เพื่อไม่ให้ได้ยิน ไม่ให้ได้เห็นในสิ่งที่ไม่ดี หรืออีกนัยหนึ่งคือจะอุดสิ่งไม่ดีไม่ให้เข้ามาหาตัวเรานั่นเอง
เอ้า! เรื่องนี้ก็แล้วแต่วิจารณญาณในการรับชม-รับฟังนะคะ ศุกร์ 13 จะเกิดอาถรรพ์หรือเปล่าไม่รู้ รู้แต่ว่า ควรมีสติในการดำรงชีวิต เพื่อความไม่ประมาท เพราะไม่ว่าจะวันศุกร์ไหน ๆ อุบัติเหตุ หรือเรื่องร้าย ๆ ก็อาจเกิดขึ้นได้เหมือนกัน...


ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/33793

150 ปี กุสตาฟ คลิมต์

สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่าน วันนี้กูเกิ้ล มีอะไรมานำเสนออีกแย้วววววว
โดยวันนี้เป็นวันครบรอบ 150 ปี "กุสตาฟ คลิมต์" โดยวันนี้ Google Doodle เลือกที่จะนำเสนอ ผลงานชิ้นเอก นั่นก็คือ "The Kiss" ค่ะ เราไปดูชีวประวัติของเขากันดีกว่า ^^



กุสตาฟ คลิมต์ (เกิด 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 ถึงแก่กรรม 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2461) จิตรกรชาวออสเตรียและมัณฑนากรหัวก้าวหน้าแห่งออสเตรียในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 อันเป็นช่วงเวลาที่ศิลปะแนวใหม่ หรือ Art Nouveau กำลังงอกงามในยุโรป ผลงานของเขาแสดงให้เห็นถึงจุดเหลื่อมระหว่างศิลปะประยุกต์ ที่สร้างเพื่อการตกแต่ง กับงานวิจิตรศิลป์ที่ศิลปินสร้างขึ้นเพื่อเสนอสาระและคุณค่าในตัวงาน

ผลงานที่มีชื่อเสียง เช่น จิตรกรรมสีน้ำมัน "The Kiss"





Early life and education
Gustav Klimt was born in Baumgarten, near Vienna in Austria-Hungary, the second of seven children —three boys and four girls. All three sons displayed artistic talent early on. Klimt's younger brothers were Ernst Klimt and Georg Klimt. His father, Ernst Klimt the Elder, formerly from Bohemia, was a gold engraver. Ernst married Anna Klimt (née Finster), whose unrealized ambition was to be a musical performer. Klimt lived in poverty while attending the Vienna School of Arts and Crafts (Kunstgewerbeschule), where he studied architectural painting until 1883. He revered the foremost history painter of the time, Hans Makart. Klimt readily accepted the principles of a conservative training; his early work may be classified as academic. In 1877 his brother Ernst, who, like his father, would become an engraver, also enrolled in the school. The two brothers and their friend Franz Matsch began working together; by 1880 they had received numerous commissions as a team they called the "Company of Artists", and helped their teacher in painting murals in the Kunsthistorisches Museum in Vienna. Klimt began his professional career painting interior murals and ceilings in large public buildings on the Ringstraße including a successful series of "Allegories and Emblems".

In 1888, Klimt received the Golden order of Merit from Emperor Franz Josef I of Austria for his contributions to murals painted in the Burgtheater in Vienna. He also became an honorary member of the University of Munich and the University of Vienna. In 1892 both Klimt's father and brother Ernst died, and he had to assume financial responsibility for his father's and brother's families. The tragedies affected his artistic vision as well, and soon he would veer toward a new personal style. In the early 1890s, Klimt met Emilie Flöge, who, notwithstanding the artist's relationships with other women, was to be his companion until the end of his life. Whether his relationship with Flöge was sexual or not is debated, but during that period Klimt fathered at least 14 children.

Vienna secession years
He became one of the founding members and president of the Wiener Sezession (Vienna Secession) in 1897 and of the group's periodical Ver Sacrum ("Sacred Spring"). He remained with the Secession until 1908. The group's goals were to provide exhibitions for unconventional young artists, to bring the best foreign artists' works to Vienna, and to publish its own magazine to showcase members' work. The group declared no manifesto and did not set out to encourage any particular style—Naturalists, Realists, and Symbolists all coexisted. The government supported their efforts and gave them a lease on public land to erect an exhibition hall. The group's symbol was Pallas Athena, the Greek goddess of just causes, wisdom, and the arts—and Klimt painted his radical version in 1898.
In 1894, Klimt was commissioned to create three paintings to decorate the ceiling of the Great Hall in the University of Vienna. Not completed until the turn of the century, his three paintings, Philosophy, Medicine and Jurisprudence were criticized for their radical themes and material, which was called "pornographic". Klimt had transformed traditional allegory and symbolism into a new language which was more overtly sexual, and hence more disturbing. The public outcry came from all quarters—political, aesthetic, and religious. As a result, they were not displayed on the ceiling of the Great Hall. This would be the last public commission accepted by the artist. All three paintings were destroyed by retreating SS forces in May 1945.His Nuda Verita (1899) defined his bid to further shake up the establishment. The starkly naked red-headed woman holds the mirror of truth, while above it is a quotation by Schiller in stylized lettering, "If you cannot please everyone with your deeds and your art, please a few. To please many is bad."

In 1902, Klimt finished the Beethoven Frieze for the 14th Vienna Secessionist exhibition, which was intended to be a celebration of the composer and featured a monumental, polychromed sculpture by Max Klinger. Meant for the exhibition only, the frieze was painted directly on the walls with light materials. After the exhibition the painting was preserved, although it did not go on display until 1986. The face on the Beethoven portrait resembled the composer and Vienna Court Opera director Gustav Mahler, with whom Klimt had a respectful relationship.
During this period Klimt did not confine himself to public commissions. Beginning in the late 1890s he took annual summer holidays with the Flöge family on the shores of Attersee and painted many of his landscapes there. Klimt was largely interested in painting figures; these works constitute the only genre aside from figure-painting which seriously interested Klimt. Klimt's Attersee paintings are of a number and quality so as to merit a separate appreciation. Formally, the landscapes are characterized by the same refinement of design and emphatic patterning as the figural pieces. Deep space in the Attersee works is so efficiently flattened to a single plane, it is believed that Klimt painted them while looking through a telescope.

Golden phase and critical success
Klimt's 'Golden Phase' was marked by positive critical reaction and success. Many of his paintings from this period used gold leaf; the prominent use of gold can first be traced back to Pallas Athene (1898) and Judith I (1901), although the works most popularly associated with this period are the Portrait of Adele Bloch-Bauer I (1907) and The Kiss (1907–1908). Klimt travelled little but trips to Venice and Ravenna, both famous for their beautiful mosaics, most likely inspired his gold technique and his Byzantine imagery. In 1904, he collaborated with other artists on the lavish Palais Stoclet, the home of a wealthy Belgian industrialist, which was one of the grandest monuments of the Art Nouveau age. Klimt's contributions to the dining room, including both Fulfillment and Expectation, were some of his finest decorative work, and as he publicly stated, "probably the ultimate stage of my development of ornament." Between 1907 and 1909, Klimt painted five canvases of society women wrapped in fur. His apparent love of costume is expressed in the many photographs of Flöge modeling clothing he designed.
As he worked and relaxed in his home, Klimt normally wore sandals and a long robe with no undergarments. His simple life was somewhat cloistered, devoted to his art and family and little else except the Secessionist Movement, and he avoided café society and other artists socially. Klimt's fame usually brought patrons to his door, and he could afford to be highly selective. His painting method was very deliberate and painstaking at times and he required lengthy sittings by his subjects. Though very active sexually, he kept his affairs discreet and he avoided personal scandal.

Klimt wrote little about his vision or his methods. He wrote mostly postcards to Flöge and kept no diary. In a rare writing called "Commentary on a non-existent self-portrait", he states "I have never painted a self-portrait. I am less interested in myself as a subject for a painting than I am in other people, above all women...There is nothing special about me. I am a painter who paints day after day from morning to night...Who ever wants to know something about me... ought to look carefully at my pictures."
In 1901 Herman Bahr wrote, in his Speech on Klimt: "Just as only a lover can reveal to a man what life means to him and develop its innermost significance, I feel the same about these paintings."


Later life and posthumous success
In 1911 his painting Death and Life received first prize in the world exhibitions in Rome. In 1915 his mother Anna died. Klimt died three years later in Vienna on February 6, 1918, having suffered a stroke and pneumonia due to the influenza epidemic of that year. He was buried at the Hietzing Cemetery in Vienna. Numerous paintings were left unfinished.
Klimt's paintings have brought some of the highest prices recorded for individual works of art. In November 2003, Klimt's Landhaus am Attersee sold for $29,128,000, but that was soon eclipsed by prices paid for other Klimts.
In 2006, the 1907 portrait, Adele Bloch-Bauer I, was purchased for the Neue Galerie New York by Ronald Lauder for a reported US $135 million, surpassing Picasso's 1905 Boy With a Pipe (sold May 5, 2004 for $104 million), as the highest reported price ever paid for a painting. On August 7, 2006, Christie's auction house announced it was handling the sale of the remaining four works by Klimt that were recovered by Maria Altmann and her co-heirs after their long legal battle against Austria (see Republic of Austria v. Altmann). Portrait of Adele Bloch-Bauer II was sold at auction in November 2006 for $88 million, the third-highest priced piece of art at auction at the time. The Apple Tree I (ca. 1912) sold for $33 million, Birch Forest (1903) sold for $40.3 million, and Houses in Unterach on Lake Atter (1916) sold for $31 million. Collectively, the five restituted paintings netted over $327 million. A routine Attersee painting fetched $40.4 million at Sotheby's in November 2011.

ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Gustav_Klimt
          http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%9F_%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%8C