วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ทำอย่างไรถึงจะเรียนภาษาให้รุ่ง แบบสั้นๆง่ายๆได้ใจความ โดย ศิษย์เก่า ศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์

สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่าน วันนี้คนเขียนขอนำเสนออะไรที่ค่อนข้างฉีกแนวจากชาวบ้านนิ๊สนึง
(คนอื่นเขาอัพเรื่อง ดอกเลาบ้าง เรื่องแม่น้ำบ้าง คนเขียนก็อัพอย่างแน่นอนละค่ะ แต่คงไม่ใช่วันนี้)
เพราะวันนี้คนเขียนขอนำเสนอ วิธีการเรียนภาษายังไงให้รุ่งตามสไตล์(คนที่นับถือกันเหมือน)พี่ชายของคนเขียนเองซึ่งเป็นศิษย์เก่า คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เอกภาษาญี่ปุ่น
นั่นก็คือ "พี่แบงค์ Kimura Cantabile" นั่นเอง
จริงๆคนเขียนก็เคยแนะนำให้รู้จักไปแล้วรอบหนึ่ง จากบทความ "ทำไมต้องเรียนดนตรี" นะคะ
ถึงแม้พี่เขาจะเรียนเอกภาษาญี่ปุ่นมา (เรียนญี่ปุ่นตั้งแต่ ม.1 ได้ไปเป็นล่ามตอน ม.4) แต่ตอนมัธยมปลายเขากลับเลือกแผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ฝรั่งเศส (สงกะสัย ตอนนั้นคงยังไม่มีศิลป์-ญี่ปุ่น - -") แล้วเขาก็ทำได้ดีซะด้วย จนตอนนี้เขาจบปริญญาโทแล้ว ยังไม่ลืมเลย แถมเก่งกว่าคนที่เรียนอยู่ปัจจุบัน (อย่างคนเขียน) อีกแหนะ ไวยากรณ์นี่เป๊ะจริงไรจริง 555+ -*- และไม่ใช่เฉพาะภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น หรือฝรั่งเศส เท่านั้น ที่สามารถสื่อสารได้ ยังมี เยอรมัน เกาหลี และ อิตาเลียน แถมมาอีกต่างหาก (เที่ยวรอบโลกได้สบาย ไม่อดตายแน่ๆ หุหุ)

และพี่เขาก็เล่นไวโอลินและเชลโลเก่งด้วย เพลงที่ได้ยินอยู่ตอนนี้พี่เขาก็เป็นคนเล่นน่ะค่ะ (อยากเก่งแบบเขามั่งจัง หุหุ)

เกริ่นมาซะขนาดนี้ไปดูกันดีกว่า ว่าเขามีวิธีการเรียนอย่างไร.......

1.คัดลอกหนังสือเรียน ไวยากรณ์ คำศัพท์ ทุกเล่มที่มีมาถึงมือ
2.ฟังซีดี + วิดิโอ หนัง แล้วหัดพูด ทำแบบนี้ทุกวัน เป็นระยะเวลา 3 เดือนเป็นอย่างน้อย
3.พูดกับตัวเอง เสมอๆ ด้วยภาษานั้นๆ ในสถานการณ์ทั่วไปในชีวิตประจำวัน
4.อย่าเบื่อ


เห็นมะ ว่ามันสั้นๆง่ายๆจริงๆ อันที่จริง ไม่อยากจะเอ่ยเลยว่า ไอ้ 4 ข้อเนี้ย อาจารย์เกรียงไกรได้พูดไว้ก่อนที่คนเขียนจะได้รู้จักกับพี่แบงค์อีก มันช่างบังเอิญเสียนี่กะไร หุหุ

เห็นมั้ยละ ว่าถ้าเชื่ออาจารย์แล้วจะประสบความสำเร็จได้จริงๆ นี่ขนาดพี่เขาไม่รู้จักอาจารย์นะเนี่ย แค่เคยเห็นเว็บของอาจารย์บ้าง และมีวิธีการเรียนที่บังเอิญตรงกับที่อาจารย์ได้แนะนำลูกศิษย์เท่านั้น เขายังประสบความสำเร็จเลย ^^

ไอ้เรามันลูกศิษย์แท้ๆๆๆๆๆๆ กลับใกล้เกลือกินด่าง ต้องให้คนจากสมุทรสาครโน้น...มาตอกย้ำอีกครั้ง กว่าจะได้รู้จัก กว่าจะรู้ตัวและคิดนำมันไปใช้ประโยชน์ มันก็เกือบจะสายไปละ TTT^TTT

รู้สึกว่าบทความมันจะสั้นไป เลยขออนุญาตวิเคราะห์วิธีการนี้ดูนะคะ ว่าจะนำไปใช้กับตัวคนเขียนได้มากขนาดไหน...

ข้อแรก อาจารย์ก็บังคับให้คัดคำศัพท์กันตาลีตาเหลือกกันอยู่แล้ว แต่ขออนุญาตพูดตรงๆว่า มันไม่ค่อยได้ผลสักเท่าไหร่ เพราะนักเรียนก็แค่อดตาหลับขับตานอนคัดๆๆๆๆๆ ด้วยความกลัว และต้องการคะแนน แตไม่ได้นำศัพท์เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์มากเท่าที่ควร (คัดไป 100 คำ จำกันได้ไม่เกิน 20 คำหรอก เชื่อสิ)แต่ก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรติดหัวเลยล่ะเนาะ

เพราะฉะนั้น คนเขียนจะขอปฏิวัติตัวเองใหม่เลยดีกว่า คัดเอง สรุปเอง เอาไว้อ่านเอง และเข้าใจเอง อย่างนั้นเลยดีมั้ยคะ แต่เซ็งตัวเองที่คนเขียนเป็นคนเขียนหนังสือช้าไปสักหน่อย พาลจะทำให้ขี้เกียจขึ้นน่ะสิ (แต่เอาวะ...ลองดูสักตั้งจะเป็นไรไป !!!!)

ข้อที่สอง อาจารย์ผู้แสนดีของเราก็อุตส่าห์ทุ่มเททำสื่อไว้ให้อย่างมากมาย คงจะไม่ลำบากอะไร (แค่คนเขียนไม่มีคอมเท่านั้นเอง แต่ก็บ่ยั่น อาจารย์ก็มีให้ใช้อีกนั่นละ 5555+)

ข้อสาม ออกจะยากส์สักหน่อย แต่ถ้าได้ทำตาม ข้อหนึ่ง และ สอง ได้สังเกตรูปแบบประโยค สำเนียง และไวยากรณ์ต่างๆ มาแล้ว ก็คงจะไม่ยากเกินความสามารถ 55555555+ ขออย่างเดียว มีความกล้าที่จะพูดก็เท่านั้นเอง

ข้อสุดท้าย ถ้าเรามีความรักในภาษาและมีความตั้งใจที่จะทำแล้ว ในช่วงแรกๆก็ต้องอดทนกับการที่จะต้องละความสบาย สลัดความขี้เกียจออกจากตัว แต่ถ้าผ่านพ้นช่วงนั้นมาได้แล้ว ก็คงไม่มีอะไรยากเกินความสามารถ...คนเขียนว่าข้อนี้แหละยากที่สุดแล้วววววววววววววววว

สรุปว่า...สิ่งที่ทั้งอาจารย์เกรียงไกรและพี่แบงค์ได้บอกคนเขียนมา น่าจะทำได้อย่างแน่นอน ขอแค่สลัดความขี้เกียจให้ออกเป็นพอ -*- หุหุ คำแนะนำก็มีแล้ว ตัวอย่างคนที่ประสบความสำเร็จก็มีแล้ว ตอนนี้ก็เหลือแค่ลงมือทำก็เท่านั้นเอง หวังว่าสักวันหนึ่ง คนเขียนจะประสบความสำเร็จได้บ้างนะคะ ^^

โฉมหน้าพี่แบงค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น