วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

รูปแบบการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อคาบก่อนหน้านี้ที่คนเขียนเรียนภาษาอังกฤษกับอาจารย์นิโคลาส เขามีเกมให้เล่นก็คือ ให้ทุกคนในห้องแบ่งออกเป็น 2 แถว แล้วให้คนที่หัวแถวฟังประโยคที่อาจารย์บอก และกระซิบบอกต่อๆกันไป ถ้าแถวใด พูดประโยคได้ถูกต้อง แถวนั้นก็ชนะ เป็นเกมอะไรที่ตลกมากๆ เป็นเพราะว่า "มันไม่มีทางเป็นไปได้เลย" เรื่องมีอยู่ว่า...

อ.พูดว่า : "I'm going to home in October." 10 คนแรกก็ถูกต้องอยู่
แต่ต่อมาเพี้ยนไปเป็น "I'm going to โมโนโต๊ด." (ภาษาอะไรของมันฟะ)
แต่พอ คนท้ายๆ กลายไปเป็น "Tomorrow I'm going to Moscow."

!!!!!!!!!!! โอ้วววว...พระเจ้า...มันเป็นไปได้อย่างไร !!!!!!!!!!

เลยเป็นเรื่องน่าขันด้วยประการฉะนี้ เห็นได้ชัดเลยว่ามันแสดงให้เห็นถึงการสื่อสารที่มีความผิดพลาด (อย่างมากมาย)
วันนี้คนเขียนจึงขอเสนอบทความก็คือ รูปแบบการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Communication Patterns)ซึ่งเป็นบทความโดย เว็บสาระดีดี.คอม/ WWW.SARA-DD.COM ค่ะ อาจจะเป็นเรื่องที่ดูเครียดสักนิดนึง แต่คนเขียนรับรองว่า เป็นเรื่องที่มีประโยชน์อย่างแน่นอนค่ะ

ไปดูกันเลยดีกว่า........

รูปแบบการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Communication Patterns)

(จากที่คนเขียนได้เรียนมาในวิชาภาษาไทย วิชาสุขศึกษา วิชาคอมพิวเตอร์ และ วิชาโลกศึกษา ได้บอกไว้ว่า องค์ประกอบของการสื่อสารมี ผู้ส่งสาร สื่อ(ในการส่ง) สาร(ที่จะส่ง) และผู้รับสารนะคะ)

"สื่อ" ในภาษาไทยกับคําในภาษาอังกฤษ พบว่ามีความหมายตรงกับคําว่า "media" (ในกรณีที่มีความหมายเป็นเอกพจน์จะใช้คําว่า "medium")คําว่า "สื่อ" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ ความหมายของคํานี้ ไว้ดังนี้ "สื่อ (กริยา) หมายถึงติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย, ชักนําให้รู้จักกัน สื่อ (นาม) หมายถึง ผู้
หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนําให้ รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกัน, เรียกผู้ที่ทํ าหน้าที่ชักนําให้ชายหญิงได้แต่งงานกันว่า พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ; (ศิลปะ) วัสดุต่างๆ ที่ นํามาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ให้มีความหมายตามแนวคิด ซึ่งศิลปินประสงค์แสดงออกเช่นนั้น เช่น สื่อผสม"
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงโดยทั่วไปจะเกิดจากการสื่อสาร ต่อไปนี้
1. การสื่อสารโดยตรงแบบเผชิญหน้า
เป็นการสื่อสารที่ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างเผชิญหน้ากันในการสนทนา เช่น บริกรต้องเข้ามารับ order จากลูกค้า แพทย์ ต้องเข้าตรวจรักษา สอบถามอาการกับคนไข้ เป็นต้น รูปแบบการสื่อสารที่สร้างความสนใจให้แก่ผู้รับสารอย่างตรงไปตรงมา การสื่อสารด้วยวิ ธีนี้จึงเป็นรูปแบบที่ดีในการที่สามารถสื่อสารได้อย่างตรงไปตรงมาและมีข้อผิดพลาดทางการสื่อสารน้อยมาก

2. การสื่อสารสองทาง
การสื่อสารสองทางเป็นการสื่อสารที่มีการโต้ตอบกันไปมาของผู้ส่งสารและรับสารทั้งสองฝ่าย การสื่อสารรูปแบบนี้จะไม่สร้างความสั บสนแก่คู่สนทนา อีกทั้งก่อให้เกิดความน่าสนใจใครรู้ และเกิดสมาธิในการรับสารได่ง่าย

3. การสื่อสารโดยช่องทางและสื่อที่หลากหลาย
การสื่อสารโดยช่องทางและสื่อที่หลากหลายเป็นการเลือกใช้สื่อที่ปัจจุบันมีอยู่มากมายให้เกิดประโยชน์ในการสื่อสาร โดยพิจารณาจากความเหมาะสมของเนื้อหา สภาพแวดล้อม ผู้รับและผู้ส่งสาร รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการรับและส่งสาร เพื่อให้การส่งสารรูปแบบที่เลือกมานั้นเป็นการสื่อสารที่ได้ผลและเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนได้มากที่สุด

4. ผู้รับสามารถรับสารได้ปริมาณมากพอ
ในแต่และบุคคลจะสามารถรับสารในแต่ละชนิดได้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความชอบ ความถนัด ภูมหลังและปัจจัยด้านอื่นๆ การเลือกใช้สารที่สามารถส่งถึงผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือส่งสารได้ในปริมาณมากพอกับความต้องการของผู้รับสารก็นับเป็นรูปแบบที่เหมาะสมของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เมื่อสารถูกส่งไปแล้วนั้นผู้รับซึ่งก็ คือเด็กและเยาวชนหากสามารถนํามาใช้ในการดําเนินชีวิตหรือสามารถนําไปใช้พัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง การยิ่งแสดงให้เห็นถึงความสําเร็จของการสื่อสาร ไม่เพียงลดปัญหาด้านอาการขาดสมาธิ แต่ยังสามารถนําสารที่ได้รับไปพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพสูงยิ่งขึ้นได้อีกด้วย

5. ผู้รับมีความแม่นยําเที่ยงตรงสูง
ความแม่นยําเที่ยงตรงในการรับสารนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายประการในการรับข้อมูลข่าวสารอย่างเที่ยงตรง ทั้งประสบการการรับสาร ประสบการณ์ในข้อมูลข่าวสารที่ถูกส่งมา อีกทั้งการมีสติและสมาธิในการรับสื่อที่ส่งมาจะมีผลอย่างสูงต่อความแม่นยําเที่ยงตรงของข้อมูล

6. การหลีกเลี่ยงอุปสรรคในการสื่อสารดังกล่าวข้างต้น
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพต้องหลีกเลี่ยงอุปสรรคในการสื่อสารที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด
ทั้งนี้เพราะ อุปสรรคการสื่อสารที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่าข้อมูลที่ถูกส่งมามีความถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนเพียงใด การเกิดอุปสรรคต่างๆ ข้างต้นก็นับเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการขาดสมาธิในเด็กและเยาวชนด้วยเช่นกัน หากสามารถลดอุปสรรคต่างๆ ไปได้การสื่อสารย่อมประสบความสําเร็จได้ในที่สุด

และขอต่อด้วยส่วนหนึ่งของบทความของคุณ เกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย เลยนะคะ

การสื่อสารคือทักษะสำคัญ ไม่ว่าตำแหน่งหรือระดับใด การสื่อสารที่ยอดเยี่ยมจะทำให้ประสบความสำเร็จในงานและในชีวิตได้ การสื่อสารแบ่งย่อยเป็นการพูด การฟัง และการเขียน ที่สำคัญคือกระบวนการคิดของเรา ซึ่งเป็นเบื้องหลังคือ มุมมองต่อโลก การประมวลความคิด และการถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นสื่อ ไม่ว่าจะเป็นคำพูด อาการ หรือตัวอักษร (ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง วิธีการปฏิบัติตนที่ดีของผู้ส่งสารและผู้รับสารนะคะ)

การปฏิบัติตนที่ดีของผู้ส่งสาร (ผู้พูด)
1. ก่อนพูดออกไป คิดให้ชัดเจนที่สุดว่า เราต้องการให้เกิดภาพในใจของผู้ฟังอย่างไร เริ่มจากเป้าหมายหรือผลลัพธ์ก่อน

2. คำนึงถึงกรอบทางความคิดของผู้ฟัง พื้นฐาน อายุ เพศ การศึกษา งาน และค่านิยม ปรับแต่งคำพูดให้สอดคล้องกับกรอบทางความคิดของเขา

3. ใช้ภาษากายเสริมคำพูด จะช่วยให้เขาเห็นภาพที่เราต้องการสื่อสารเพิ่มเติมจากเสียงที่เขาได้ยิน ซึ่งเขาต้องไปถอดรหัสเป็นภาพในใจของเขาอีกทอดหนึ่ง

4. อย่าตั้งสมมติฐานว่า ที่เราคิดจะเหมือนกับที่เขาคิด

5. พูดช้า ชัด ดัง และมีจังหวะจะโคนเหมาะกับผู้ฟัง

6. เว้นจังหวะเป็นระยะ อย่าพูดต่อเนื่อง และเต็มไปด้วยข้อมูล ให้เขาได้ย่อยความคิดบ้าง

การปฏิบัติตนที่ดีของผู้รับสาร (ผู้ฟัง)

1. อยู่กับปัจจุบัน อย่าอยู่กับอดีตหรืออนาคตมากไป ฟังด้วยความตั้งใจ

2. อย่าวางแผนจะพูดอะไรระหว่างฟัง

3. คิดตามผู้พูด

4. สังเกตอากัปกิริยา ภาษากายด้วย

5. ถามเมื่อไม่แน่ใจ อย่าด่วนสรุป

6. หยุดทุกอย่างเมื่อฟัง (มือถือ แบล็กเบอร์รี โน้ตบุ๊ก)


หากสื่อสารให้ดีตั้งแต่แรกทั้งผู้พูดและผู้ฟัง ก็จะมีเวลาเหลือเฟือเพื่อทำงานอย่างอื่นอีกมากมายเลยค่ะ ^^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น