วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ผู้ที่ใช้ภาษาไทยดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๓




นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม แถลงข่าว วันภาษาไทยแห่งชาติ 2553 โดยระบุว่า กระทรวงวัฒนธรรม ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทย จึงส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง พร้อมกันนี้ได้สรรหาและคัดเลือกผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นเพื่อเป็นแบบอย่างแก่เยาวชน และสังคม จำนวน 41 คน ซึ่งทั้งหมดจะเข้ารับรางวัลจาก พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ในวันที่ 29 กรกฎาคม ซึ่งเป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ

ด้านนางกาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต และนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย กล่าวเนื่องในโอกาส วันภาษาไทยแห่งชาติ 2553 ว่า ปัจจุบันปัญหาการใช้ภาษาไทยยังคงเหมือนเดิม คือไม่ได้รับการแก้ไข ทั้งยังน่าเป็นห่วงมากขึ้นด้วย เนื่องจากกระแสเกาหลีฟีเวอร์ที่ถาโถมเข้ามาในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็น เพลงเกาหลี ละคร-ภาพยนตร์เกาหลี อาหารเกาหลี และแฟชั่นเกาหลี ทำให้มีกลุ่มเด็กและเยาวชนหันไปสนใจเรียนภาษาเกาหลีกันมากขึ้น ในขณะที่แทบไม่มีใครสนใจเรียนเสริมภาษาไทยเลย ทั้งที่ยังใช้กันไม่ถูกต้อง

ราชบัณฑิต กล่าวต่อว่า อยากเสนอให้กระทรวงวัฒนธรรม ช่วยรณรงค์เรื่องการอนุรักษ์และการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง และทางกระทรวงศึกษาธิการ ควรเน้นการเรียนวิชาภาษาไทย โดยปลูกฝังตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา รวมถึงส่งเสริมให้เด็กสามารถเขียนเรื่องราวที่มีความยาวได้ เพราะเด็กยุคใหม่ส่วนใหญ่ไม่สามารถเขียนเรียงความ หรือบทความที่เป็นเรื่องราวได้ ซึ่งเชื่อว่าหากส่งเริมตรงจุดนี้ ก็อาจจะช่วยแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง

นอกจากนี้ ราชบัณฑิต ยังกล่าวถึงปัญหาการใช้ภาษาถิ่นด้วยว่า เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่น่าเป็นห่วง เพราะเด็กไทยมักรู้สึกอายที่พูดภาษาถิ่นตัวเอง ดังนั้น จึงควรมีการส่งเสริมให้ใช้ภาษาถิ่นระหว่างที่อยู่ในภูมิลำเนา เพื่อช่วยอนุรักษ์ภาษาถิ่นเอาไว้ได้อีกทางหนึ่ง


สำหรับรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัล วันภาษาไทยแห่งชาติ 2553 มีดังนี้

ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ได้แก่

- พระปุญญวํโส (พร ภิรมย์)

- รศ.ดวงมน จิตร์จำนงค์

- ศ.เกียรติคุณ นพ.ประสพ รัตนากร

- ศ.กิตติคุณ ปราณี กุลละวณิชย์

- ศ.กิตติคุณ ปรีชา ช้างขวัญยืน

- นายวศิน อินทสระ

- ศ.เกียรติคุณ แสง จันทร์งาม

- ศ.กิตติคุณ สุจริต เพียรชอบ

- ศ.อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น (ชาวไทย) ได้แก่

- พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี

- นายคำนูณ สิทธิสมาน

- นางจารุลินทร์ มุสิกะพงษ์

- นางชมัยภร แสงกระจ่าง

- นายเติมศักดิ์ จารุปราณ

- นางเทวี บุญจับ

- ผศ.ธัญญา สังขพันธานนท์

- รศ.นภาลัย สุวรรณธาดา

- นางนันทวัน สุวรรณปิยะศิริ

- นายบุญเตือน ศรีวรพจน์

- รองศาสตราจารย์วันเนาว์ ยูเด็น

- นายวิเชียร นีลิกานนท์

- นายเศรษฐา ศิระฉายา

- นางสุพัชรินทร์ ชาญช่างเหล็ก

- หม่อมราชวงศ์อรฉัตร ซองทอง

- นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

- นายอำนาจ สอนอิ่มสาตร์

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น (ชาวต่างประเทศ) ได้แก่

- พระชยสาโรภิกขุ พระมิตซูโอะ คเวสโก

- นางสาวคริสตี้ กิ๊บสัน

- นายฉิน อี้เซ็น

- ศ.สตีเฟน บี ยัง

ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ได้แก่

- นายวิรัตน์ ทิพย์วารี

- นายนุ่ม เย็นใจ

- พ.อ.บัณฑิต นันทเสนา

- นายบุญเอิบ วรรณคง

- นายไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว

- นายวิชาญ ช่วยชูใจ

- นายวิลักษณ์ ศรีป่าซาง

- นายสนั่น ธรรมธิ

- นายสลา คุณวุฒิ

- นางอุไร ฉิมหลวง

ส่วนโครงการรางวัล เพชรในเพลง ครั้งที่ 7 ซึ่งจะมอบให้กับนักร้อง เพลงไทยสากล-ลูกทุ่ง ที่ออกเสียงได้ถูกต้องตามอักขระภาษาไทย มีผู้ได้รับการประกาศยกย่อง จำนวน 28 คน ดังนี้

รางวัลเชิดชูเกียรติผู้ประพันธ์เพลงดีเด่นในอดีต

- เพลงลุ่มเจ้าพระยา ประพันธ์โดย นายแก้ว อัจฉริยะกุล

- เพลงใครหนอ ประพันธ์โดย นายสุรพล โทณะวณิก

รางวัลประเภทการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย

- เพลงใจนำทาง ประพันธ์โดย นายสุทธิพงษ์ สมบัติจินดา

- เพลงวันว่างที่ตั้งใจ ประพันธ์โดย นายสลา คุณวุฒิ

- เพลงฉลาดทันคน ประพันธ์โดย นางช่อผกา คงแจ่ม

รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย

- เพลงควายไทย ขับร้องโดย นายยืนยง โอภากุล

- เพลงใจนำทาง ขับร้องโดย น.ส.ธนพร แวกประยูร (ปาน ธนพร)

- เพลงปลาดาวเงาจันทร์ ผู้ขับร้อง นายสร่างศัลย์ เรืองศรี (หนู มิเตอร์)

- เพลงจันทร์ ขับร้องโดย นางสาวฐิตาภา ใต้ไธสง (หญิง ฐิติกานต์)

รางวัลพิเศษพระคเณศทอง ของกรมศิลปากร 1 รางวัล ได้แก่

- น.ส.ธนพร แวกประยูร (ปาน ธนพร) เนื่องจากได้รับรางวัลชนะเลิศต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น