วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รางวัลศิลปาธร + บทสัมภาษณ์พิเศษ อ.ชัยยุทธ โตสง่า



รางวัลศิลปาธร เป็นรางวัลที่มอบให้แก่ศิลปินร่วมสมัยสัญชาติไทย ผู้มีผลงานสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง และอายุตั้งแต่ 30-50 ปี จัดโดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม วัตถุประสงค์เพื่อการส่งเสริม สนับสนุน และเชิดชูเกียรติศิลปินร่วมสมัยให้ก้าวไปในเส้นทางอาชีพได้อย่างมั่นคงและมีกำลังใจในการสร้างสรรค์งานอย่างอิสระ แบ่งออกเป็น 5 สาขาคือ สาขาทัศนศิลป์ สาขาวรรณศิลป์ สาขาคีตศิลป์ สาขาภาพยนตร์ และสาขาศิลปะการแสดง เริ่มมอบรางวัลครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2547

รายชื่อผู้ได้รับรางวัล

สาขาทัศนศิลป์

ครั้งที่ 1 (2547) เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
ครั้งที่ 2 (2548) พรชัย ใจมา
ครั้งที่ 3 (2549) ชาติชาย ปุยเปีย
ครั้งที่ 4 (2550) วสันต์ สิทธิเขตต์ ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช พินรี สัณฑ์พิทักษ์
ครั้งที่ 5 (2551) อารยา ราษฎร์จำเริญสุข
ครั้งที่ 6 (2552) พัดยศ พุทธเจริญ สาครินทร์ เครืออ่อน
ครั้งที่ 7 (2553) นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล

สาขาวรรณศิลป์

ครั้งที่ 1 (2547) ชาติ กอบจิตติ
ครั้งที่ 2 (2548) ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ(กิติศักดิ์ มีสมสืบ)
ครั้งที่ 3 (2549) วินทร์ เลียววาริณ
ครั้งที่ 4 (2550) ศิริวร แก้วกาญจน์
ครั้งที่ 5 (2551) ขจรฤทธิ์ รักษา ไพวรินทร์ ขาวงาม
ครั้งที่ 6 (2552) อรสม สุทธิสาคร
ครั้งที่ 7 (2553) เสน่ห์ สังข์สุข

สาขาคีตศิลป์ (ดนตรี)

ครั้งที่ 1 (2547) ดนู ฮันตระกูล
ครั้งที่ 2 (2548) บัณฑิต อึ้งรังษี
ครั้งที่ 3 (2549) ณัฐ ยนตรรักษ์
ครั้งที่ 4 (2550) ณรงค์ ปรางค์เจริญ
ครั้งที่ 5 (2551) ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร
ครั้งที่ 6 (2552) เด่น อยู่ประเสริฐ
ครั้งที่ 7 (2553) ชัยยุทธ โตสง่า

สาขาภาพยนตร์

ครั้งที่ 1 (2547) เป็นเอก รัตนเรือง
ครั้งที่ 2 (2548) อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล
ครั้งที่ 3 (2549) วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง
ครั้งที่ 4 (2550) ธัญสก พันสิทธิวรกุล
ครั้งที่ 5 (2551) นนทรีย์ นิมิบุตร
ครั้งที่ 6 (2552) พิมพกา โตวิระ
ครั้งที่ 7 (2553) อาทิตย์ อัสสรัตน์

สาขาศิลปะการแสดง

ครั้งที่ 1 (2547) ประดิษฐ ปราสาททอง
ครั้งที่ 2 (2548) มานพ มีจำรัส
ครั้งที่ 3 (2549) พิเชษฐ์ กลั่นชื่น
ครั้งที่ 4 (2550) นิมิตร พิพิธกุล
ครั้งที่ 5 (2551) สินีนาฎ เกษประไพ
ครั้งที่ 6 (2552) ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง
ครั้งที่ 7 (2553) นิกร แซ่ตั้ง

สาขาออกแบบเชิงสร้างสรรค์

ครั้งที่ 1 (2547) -
ครั้งที่ 2 (2548) -
ครั้งที่ 3 (2549) -
ครั้งที่ 4 (2550) -
ครั้งที่ 5 (2551) สมพิศ ฟูสกุล
ครั้งที่ 6 (2552) สมชาย จงแสง กุลภัทร์ ยันตรศาสตร์ เอกรัตน์ วงศ์จริต ปริญญา โรจน์อารยานนท์
ครั้งที่ 7 (2553) วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์

สาขาเรขศิลป์

ครั้งที่ 1 (2547) -
ครั้งที่ 2 (2548) -
ครั้งที่ 3 (2549) -
ครั้งที่ 4 (2550) -
ครั้งที่ 5 (2551) -
ครั้งที่ 6 (2552) -
ครั้งที่ 7 (2553) ประชา สุวีรานนท์

สาขาสถาปัตยกรรม รางวัลสถาปนิกรุ่นใหม่ของสมาคมสถาปนิกสยาม

ครั้งที่ 1 (2547) -
ครั้งที่ 2 (2548) -
ครั้งที่ 3 (2549) -
ครั้งที่ 4 (2550) -
ครั้งที่ 5 (2551) -
ครั้งที่ 6 (2552) -
ครั้งที่ 7 (2553) ปฐมา หรุ่นรักวิทย์

สาขามัณฑนศิลป์

ครั้งที่ 1 (2547) -
ครั้งที่ 2 (2548) -
ครั้งที่ 3 (2549) -
ครั้งที่ 4 (2550) -
ครั้งที่ 5 (2551) -
ครั้งที่ 6 (2552) -
ครั้งที่ 7 (2553) วิฑูรย์ คุณาลังการ

รางวัลศิลปาธรกิตติคุณ

ครั้งที่ 1 (2547) -
ครั้งที่ 2 (2548) -
ครั้งที่ 3 (2549) -
ครั้งที่ 4 (2550) -
ครั้งที่ 5 (2551) สมเถา สุจริตกุล (จากสาขาคีตศิลป์)ไสยาสน์ เสมาเงิน และ สุวรรณ คงขุนเทียน (จากสาขาการออกแบบ
ครั้งที่ 6 (2552) บรูซ แกสตัน (จากสาขาคีตศิลป์)
ครั้งที่ 7 (2553) 4 ท่าน (ส่วนจะเป็นใครนั้นขอค้นหาดูอีกทีนะคะ)


และต่อจากนี้ คือบทสัมภาษณ์พิเศษ ที่ผู้เขียน(PremmieS:)ไปสัมภาษณ์ อาจารย์ ชัยยุทธ โตสง่า หรือที่รู้จักกันในนาม "ป๋อม บอยไทย" เจ้าของรางวัลศิลปาธร สาขาคีตศิลป์ ประจำปี 2553 มานะคะ

PremmieS: รู้สึกอย่างไรที่ได้รับรางวัลศิลปาธรในปีนี้คะ?

อ.ชัยยุทธ : ยินดีมากครับที่ได้รับรางวัล แต่ที่เหนือกว่านั้น การที่มีรางวัลนี้ทำให้คนไทยหันมาสนใจงานศิลปะกันมากขึ้น ทำให้จิตใจอ่อนโยน งานศิลปะทุกแขนงถ้าเราสนใจทำให้คนเรามีความสุขและสบายใจ ถึงผมจะไม่ได้รับรางวัลในปีนี้ก็มีความยินดีมากที่ภาครัฐให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

PremmieS: อาจารย์คิดว่าผลงานของตนเอง มีความแตกต่างจากผลงานของคนอื่นๆอย่างไรบ้างคะ?

อ.ชัยยุทธ: การที่จะอธิบายถึงผลงานของตนเอง มันก็คงไม่ใช่สิ่งที่สมควรนัก เอาเป็นว่าขออนุญาตนำบทความบางส่วนจากวิกิพีเดีย ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้ถูกเขียนขึ้นโดยสาธารณะ และได้รับการยอมรับ มาตอบนะครับ

ลักษณะผลงาน
ผลงานดนตรีของชัยยุทธมีลักษณะเฉพาะตัวชัดเจนมาก เสียงระนาดที่เขาบรรเลงและวิธีการบรรเลงระนาดของเขามีเอกลักษณ์จดจำได้ง่ายประหนึ่งเสียงร้องเพลงของมนุษย์ ลักษณะงานที่ชัยยุทธคิดออกมาไม่ค่อยซ้ำแบบใครและหาผู้ทำเหมือนหรือคล้ายได้ยาก เพราะงานดนตรีของชัยยุทธเกิดจากการบ่มประสบการณ์ดนตรีของเขาเอง ไม่ยึดติดเกินไป ไม่หลุดกรอบเกินไป งานดนตรีของชัยยุทธเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาจากกลุ่มคนเล่นดนตรีก่อนและจากการที่ผลงานของชัยยุทธคนทั่วไปสามารถเข้าถึงไม่ยากจึงแพร่หลายสู่การยอมรับของผู้ชมผู้ฟังดนตรีทั่วไป จนได้รางวัลสีสันอวอร์ดถึงสองครั้งในปี 2539 และ 2544 ศาสตราจารย์นายแพทย์ พูนพิศ อมาตยกุลเคยกล่าวว่าผลงานเพลงและการแสดงดนตรีที่ชัยยุทธสร้างสรรค์หลายงานมีความงามที่สามารถผลักดันให้เป็นผลงานชิ้นเอกในระดับนานาชาติได้


แต่ผู้เขียนคิดว่า การอธิบายถึงศิลปะทางดนตรีโดยใช้ภาษาเขียนนั้น คงจะบรรยายได้ไม่ดีนัก เพราะดนตรี เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน และขึ้นอยู่กับสุนทรียภาพ ประสบการณ์ และความชอบส่วนตัว ของผู้ฟัง แต่อย่างน้อย ผู้เขียนก็สามารถสัมผัสได้ถึง ความรักที่จะเล่นดนตรี ที่จะถ่ายทอดความเป็นไทย วัฒนธรรม ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศ ด้วยความสามารถของคนไทย ที่ไม่ได้เป็นรองใครในโลกเลยจริงๆ... ไปที่ข้อต่อไปกันดีกว่าค่ะ ^^

PremmieS: อาจารย์คิดว่าแนวโน้มของดนตรีไทยจะไปในทิศทางไหนคะ จะมีคนสนใจมากขึ้นหรือน้อยลงบ้างหรือเปล่า?

อ.ชัยยุทธ : อันนี้ตอบยากทีเดียว แต่ในมุมมองของผมคิดว่าน่าจะดีขึ้น เพราะอีกซัก1-2ปีน่าจะเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่ได้รับความนิยมเรื่อง บันเทิงต่อจากเกาหลี หลังจากเกาหลีรุ่งเรืองต่อจากญี่ปุ่น เนื่องด้วยเรามีวัฒนธรรมและบุคลากรรวมทั้งศิลปินที่มีความสามารถพอ ถ้าเราสามัคคีกันเชื่อว่าอีกหน่อยคนทั้งโลกจะต้อง ชมซีรี่ย์ไทย สี่แผ่นดิน โดยจัดแต่งให้แม่พลอยสวยหมวยตามสมัยนิยม แบบที่เกาหลีเขาเมคขึ้นมากับซีรี่ย์ของเขา หรือละครอื่นๆของไทยอีกเยอะที่น่าสนใจ รวมทั้งดนตรีด้วย ขณะนี้ศิลปินเกาหลีที่ดังๆ จะไปแสดงที่ไหนเขาจะขอให้มีวงวัฒนธรรมของเขาไปเป็นวงเปิดการแสดงตลอด เป็นการตลาดที่ยอดเยี่ยมครับ

PremmieS: มาถึงข้อสุดท้ายแล้วค่ะ อยากให้อาจารย์ ฝากอะไรถึงวัยรุ่นไทย ทั้งที่สนใจในดนตรีไทย หรือ ศิลปะแขนงอื่นๆ ไปจนถึง วัยรุ่นทั่วๆไปสักนิดหนึ่งนะคะ

อ.ชัยยุทธ : ฝากให้เยาวชนไทยหันมาสนใจรากเหง้าของเรากันมากขึ้น และสามารถสนใจสิ่งที่เราชอบได้อยู่เป็นปกติ เช่นหันมาสนใจดนตรีไทยของชาติเราและชอบศิลปินไอดอลของคุณไปเป็นปกติ คือต้องช่วยกัน ประโยชน์โดยรวมจะย้อนกลับมาสู่คนไทยเองในที่สุดครับ
PremmieS: ต้องขอขอบคุณ อาจารย์ ชัยยุทธ โตสง่า เป็นอย่างสูงนะคะ ที่สละเวลามาให้สัมภาษณ์ในวันนี้ ขอขอบคุณจริงๆค่ะ ^^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น