วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

อยากสี "ซออู้"ให้คุณครูฟัง ^^

ชื่อบทความแรกของปีใหม่ในวันนี้ ไม่ได้เกี่ยวกับสำนวนไทยใดๆทั้งสิ้นนะคะ มันเป็นความฝันเล็กๆที่คนเขียนอยากจะทำจริง..จริ๊ง (ถึงแม้ตอนนี้ยังเล่นได้ไม่ถึงไหนก็เถอะนะ)

นอกจากคนเขียนจะมีความหลงใหลในดนตรีคลาสสิกแล้ว คนเขียนก็รักดนตรีไทยอย่างมากด้วยค่ะ (รักนักดนตรีไทยด้วยแหละ ๕๕๕+) วันนี้เลยอยากจะนำเสนอเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง ที่คนเขียนกำลังฝึกเล่นอยู่นะคะ นั่นก็คือ "ซออู้" นั่นเอง



ซออู้ เป็นซอ ๒ สาย ตัวกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดกลมรีขนาดใหญ่ ใช้หนังแพะหรือหนังลูกวัวขึงขึ้นหน้า คันซอ หรือ "ทวน" ทำด้วยไม้จริง เช่น ไม้แก้ว หรือทำด้วยงาช้างตันก็มี ที่หน้าซอตรงกลางที่ขึ้นหนัง ใช้ผ้าม้วนกลมๆ เป็นหมอนหนุนสายให้พันหน้าซอ คันชัก ทำด้วยไม้จริงหรืองา ใช้ขนหางม้าประมาณ ๑๖๐-๒๐๐ เส้น สำหรับขึ้ยสายคันชัก เหมือนสายกระสุน หรือหน้าไม้ ซออู้ ใช้บรรเลงร่วมในวงเครื่องสาย วงมโหรี วงปี่พาทย์ไม้นวม และวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

ซออู้ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ที่ใช้วิธีการสี กล่องเสียงทำด้วยกะโหลกมะพร้าวฉลุสลักลวดลายเป็นช่องเสียง ซออู้มี ๒ สาย บรรเลงในวงดนตรีประเภทต่างๆ เช่น วงเครื่องสาย วงมโหรี วงปี่พาทย์ไม้ันวม การแสดงหุ่นกระบอก ฯลฯ เสียงของซออู้มีระดับต่ำ จึงเรียกว่าซออู้ ตามเสียงที่ได้ยิน ซออู้ทำหน้าที่ดำเนินทำนองและหยอกล้อทำนองกับซอด้วง

ลักษณะและส่วนประกอบของซออู้

คันทวน แบ่งออกเป็นสองตอนใหญ่ๆ คือ คันทวนบน และคันทวนล่าง คันทวนบน คือบริเวณที่เป็นตำแหน่งของลุกบิด และคันทวนล่าง เป็นบริเวณทำแหน่งที่ติดกับกะโหลกซอ


ลูกบิด มี 2 อัน โดยแบ่งเป็นลูกบิดสายทุ้ม และลูกบิดสายเอก โดยลูกบิดในตำแหน่งบนจะเป็นของสายทุ้ม และลูกบิดในตำแหน่งล่างจะเป็นสายเอก


สายซอ สายซอมี 2 เส้น คือสายทุ้ม และสายเอก สายทุ้มให้เสียงต่ำ และสายเอกให้เสียงที่สูงกว่า สายซอทำด้วยไหม หรือเชือกควั่นเกลียวให้ได้ขนาด ปัจจุบันมีการใช้สายไนล่อน หรือสายโลหะด้วย

รัดอก เป็นเชือกมีขนาดพอๆ กับสายซอ มีหน้าที่เกี่ยวคันทวน กับสายซอ เพื่อกำหนดระดับเสียง

กะโหลกซอ ทำด้วยมะพร้าวพันธุ์พิเศษ ปาดหน้าออกด้านหนึงเพื่อขึงหนังหน้าซอ


หน้าซอ ขึงด้วยหนังแพะ หรือหนังลูกวัว




หมอน มีลักษณะเป็นผ้าพันม้วน หรือกระดาษ หรือวัสดุหรือ มีรูปร่างกลม หรืออย่างกลม มีหน้าที่เป็นสะพานเสียง รองรับสายซอกับหน้าซอ

คันชัก มีรูปร่างคล้ายคันธนู หรือหน้าไม้ มีหางม้าสำหรับเสียดสีสายซอให้เกิดเสียง ซึ่งจะอยู่ระหว่างสายทุ้มและสายเอก ประกอบไปด้วยหางม้า ๑๕๐-๒๐๐ เส้น ปัจจุบันมีการนำไนล่อน หรือเอ็นขนาดเล็กมาใช้ทดแทน หางม้าซึ่งหายากและราคาแพง






วิธีการเก็บรักษา และซ่อมแซม

1. เมื่อเล่นเสร็จแล้วให้ลดสายประมาณครึ่งรอบลูกบิด หรือเลื่อนหมอนขึ้นไปไว้บนขอบกะโหลก
2. แขวน หรือใส่ถุงเก็บในตู้ให้มิดชิด
3. การใส่สายเอก-ทุ้ม ใส่สายเอก (จะเล็กกว่าสายทุ้ม) ที่ปลายลูกบิดสายเอกซึ่งอยู่ด้านล่างจะอยู่สายนอก ใส่สายทุ้มที่ปลายลูกบิดสายทุ้มซึ่งอยู่บน สายจะอยู่ด้านในหมุนลูกบิดกลับทางกัน
4. การหยอดยางสนบนกะโหลกซอ ให้หยอดเฉพาะตำแหน่งที่หางม้าผ่านเท่านั้น หากฝุ่นยางสนเกาะขอบกะโหลกซอ เมื่อเล่นแล้วต้องเช็ดให้สะอาด
5. หากสายขาดบ่อยครั้งหาสายไม่ได้ ให้ใช้เอ็นเบอร์ 90 แทนสายเอก และเบอร์ 110 หรือ 120 แทนสายทุ้ม
6. การรัดอก ให้รัดต่ำจากลูกบิดสายเอกลงมาประมาณ 12 เซนติเมตร และส่วนที่เหลือจากรัดออก ถึงหมอนซอ ประมาณ 36 เซนติเมตร รัดอกให้ลึกประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร
7. ยางสนทำให้เกิดความหนืดระหว่างหางม้ากับสายซอเป็นจุดเกิดเสียง และกะโหลกซอ เป็นส่วนขยายเสียง โดยมีหมอนเป็นสะพานเสียง
8. หมอนซออู้จะใช้ไม้ระกำหุ้มด้วยผ้า หรือยางลบก้อนตัดแบ่งครึ่งหุ้มด้วยผ้า หรือถ้าหาไม่ได้ให้ใช้กระดาษท้วนเป็นก้อนกลมแทน



แถมท้ายด้วยบทเพลงจากภาพยนตร์เรื่อง "โหมโรง" คือเพลง "คำหวาน" ซึ่งหวานสมชื่อ ใครมาเล่นเพลงนี้ให้นะ รักตายเลย...๕๕๕

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น