วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

10 อันดับเพลงนมัสการพระเจ้ายอดเยี่ยม

ในฐานะที่คนเขียนก็เป็นคริสเตียนคนหนึ่ง จึงอยากจะนำเสนอ 10 อันดับเพลงนมัสการพระเจ้ายอดเยี่ยม ที่ได้รับความนิยมสูงจากผู้ฟัง ที่สำรวจความนิยมโดยนิตยสาร Christianity Today นะคะ



การนมัสการนำมาซึ่งการทรงสถิตย์ของพระเจ้า พระองค์ทรงเปลี่ยนเศร้าโศก ให้เป็นความชื่นชมยินดี และประทานความหวังใจให้กับเรา 10 อันดับเพลงนมัสการยอดเยี่ยมต่อไปนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพลงที่เราคุ้นหูและร้องถวายพระเจ้ากันอยู่แล้ว และหลายๆเพลงก็หนุนให้คนเขียนกลับใจ สารภาพบาปกับพระเจ้าก็หลายรอบล่ะ พระเจ้าเป็นความรักและมีพระคุณต่อเราจริงๆ ^^

1. Amazing Grace (พระคุณพระเจ้า ) แต่งโดย จอห์น นิวตัน

คำนำของหนังสือ John Newton and the English Evangelical Tradition เขียนโดย ดี. บรูซ ไฮนด์มาร์ช กล่าวถึงเพลง Amazing Grace ไว้น่าสนใจ ท่ามกลางความโศกเศร้าของครอบครัวที่สูญเสียพ่อแม่ ญาติพี่น้อง คนรัก มิตรสหาย จากอุบัติเหตุสายการบิน สวิสส์แอร์ ตกลงในมหาสมุทรแอตแลนติก นอกชายฝั่งเมืองโนว่า สโคเทีย ประเทศแคนาดา ปี 1998 ทำให้ผู้โดยสารและลูกเรือ 229 คน เสียชีวิตหมดทั้งลำ

บรรดาครอบครัวที่สูญเสีย ยืนรวมกันที่หมู่บ้านเล็กๆ ชื่อ Peggy’s Cove สายตาของพวกเขามองข้ามโขดหิน ไปยังมหาสมุทรเบื้องหน้าที่ที่บรรดาคนรักของพวกเขาได้จากไป ท่ามกลางความเศร้านั้น พวกเขาพร้อมใจกันร้องเพลง Amazing Grace เสียงเพลงดังไปทั่วชายฝั่งแห่งนั้น ยามชายฝั่งรวมทั้งหน่วยกู้ภัย ต้องหยุดทำงาน ยืนสงบนิ่งจนกระทั่งเพลงนี้ร้องจบลง ถ้าจอห์น นิวตัน ยังอยู่ เขาคงมาร่วมร้องเพลงนี้ด้วย

จอห์น นิวตัน (ค.ศ.1725-1807) ชาวอังกฤษ อดีตผู้คุมเรือขนทาสจากอัฟริกา ไปขายที่อเมริกาในศตวรรษที่ 18 คืนหนึ่งบนเรือในปี 1747 ท้องฟ้าปั่นป่วนจากพายุ นิวตันอ่านหนังสือเรื่อง The Imitation of Christ เขียนโดย โธมัส เอ เคมพิส กับวลีที่ว่า “ความไม่แน่นอนในชีวิตที่ดำเนินอยู่”ตามด้วยพระธรรมสุภาษิต “เพราะเราได้เรียกแล้ว และเจ้าปฎิเสธ…ฝ่ายเราจะหัวเราะเย้ยความหายนะของเจ้า ….”ทำให้นิวตันกลับใจ ยอมสยบกับพระเจ้า

อีกหลายปีต่อมา นิวตันทิ้งทะเลไว้เบื้องหลัง หันมารับใช้พระเจ้าแทน เพลง Amazing Graceเป็น 1 ใน 281 เพลงนมัสการที่นิวตันเขียนขึ้นมาเนื้อหาของบทเพลงส่วนหนึ่งมาจากชีวิตของนิวตันและมีพื้นฐานจากเพลงสดุดีโมทนาของดาวิด ใน 1 พงศาวดาร 16, 17

Leann Rimes – Amazing Grace


2. How Great Thou Art ( พระเจ้ายิ่งใหญ่ ) แต่งโดย คาร์ล โบเบิร์ก

ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยสด จู่ๆ พายุฝนก็เกิดขึ้นหลังจากพายุผ่านไป ทุกอย่างกลับมาสวยสดเหมือนเดิม นี่เป็นแรงบันดาลใจให้ คาร์ล โบเบิร์ก (ค.ศ.1859 – 1940) ศิษยาภิบาลชาวสวีเดน แต่งเพลงนี้ในปี 1886 โดยแต่งเป็นโคลงชื่อ “O Great God”

ต่อมาเพลงนี้ถูกแปลเป็นภาษาเยอรมัน รัสเซีย ตามลำดับ บาทหลวง สจ๊วร์ต เค.ฮิน, มิชชั่นนารีชาวอังกฤษในยูเครน ชอบร้องเพลงนี้ในภาษารัสเซีย ร่วมกับภรรยาของเขา ในที่สุดท่านก็แปลเพลงนี้เป็นภาษาอังกฤษและแต่งเพิ่มในปี 1948
เพลงนี้ได้รับความนิยมในอเมริกาเหนือ ในคอนเสิร์ต Billy Graham crusades ช่วงทศวรรษที่ 50 จอร์จ เบเวอรี่ เชีย จำได้ว่าเขากับวงประสานเสียงร้องเพลงนี้ 99 ครั้ง ในการประชุมที่นิวยอร์ค เมื่อปี 1957

Carrie Underwood – How Great Thou Art


3. Because He Lives ( เพราะพระองค์ทรงอยู่ ) แต่งโดย วิลเลี่ยม เจ. ไกเธอร์

ในปี 1969 วิลเลี่ยม (หรือ บิล) และกลอเรีย ไกเธอร์ ภรรยา เพิ่งจะผ่านพ้นความเศร้าที่สูญเสียลูกสองคนแรกไป และรอคอยการคลอดลูกคนที่ 3 ของพวกเขา แต่การคลอดในครั้งนี้ดูอะไรไม่พร้อมไปเสียหมด กลอเรียสุขภาพไม่ดีจากการคลอดลูกคนก่อน นอกจากนั้น บิลยังมีอาการติดเชื้อ…ปัญหาสุขภาพไม่ใช่เรื่องเดียวที่พวกเขาเผชิญอยู่ การหย่าร้างของคนในครอบครัว ความร้าวฉาวกับเพื่อนสนิท รบกวนจิตใจพวกเขาอย่างหนัก ทั้งคู่จมอยู่ในความทุกข์เศร้า เพื่อนสนิทคนหนึ่งอธิษฐานขอความเชื่อให้กับพวกเขา

คำอธิษฐานของเพื่อนสนิทคนนั้น ทำให้บิลและกลอเรียระลึกถึง พระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นพระผู้ช่วยในชีวิต การฟื้นคืนพระชนม์ของพระคริสต์ ทำให้พวกเขามั่นใจและกล้าฝากอนาคตไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์ มิถุนายน ปี 1970 เบนจามิน ทารกเพศชายสุขภาพแข็งแรง ได้ถือกำเนิดขึ้น ทำให้พวกเขาเกิดแรงบันดาลใจเขียนเพลง Beacause He Lives ขึ้นมา

Because He lives I can face tomorrow


4. Great Is Thy Faithfulness แต่งโดย โธมัส โอบาเดีย คิสโฮล์ม
โธมัส โอบาเดีย คิสโฮล์ม (ค.ศ.1866 -1960) ตัวแทนขายประกันชาวอินเดียนน่าฝึกปรือการเขียนจากงานหนังสือพิมพ์ ในเมืองแฟรงคลิน รัฐเคนทัคกี้ก่อนจะถวายตัวรับใช้พระเจ้าที่โบสถ์ Pentecostal Herald นิกาย Methodismต่อมาโธมัสลาออก เพราะสุขภาพไม่ดี และเริ่มงานขายประกันในปี 1909 แต่ก็ยังแต่งกลอนและเพลงต่อไป เขาแต่งเพลง Great is Thy Faithfulness ในปี 1923

“Great Is Thy Faithfulness” By Wes Hampton"


5. The Old Rugged Cross (ไม้กางเขนโบราณ) แต่งโดย จอร์จ เบนนาร์ด

จอร์จ เบนนาร์ด (ค.ศ. 1873 -1958) เกิดที่เมืองยังสทาวน์ รัฐโอไฮโอ เข้าร่วมกับกลุ่ม The Salvation Army ตั้งแต่เป็นวัยรุ่นหลังพ่อเขาเสียชีวิต โดยรับใช้อยู่ที่ Methodist Episcopal Church และนำการฟื้นฟูมาสู่มิชิแกนและนิวยอร์ก ระหว่างอยู่ที่เมืองอัลไบออน รัฐมิชิแกน เบนนาร์ดได้รับการดลใจให้ แต่งทำนองเพลง The Old Rugged Cross แล้วแต่งเนื้อทีหลัง เขารู้ว่าแต่งเพลงนี้เสร็จแล้ว เมื่อเนื้อเพลงแทรกซึมไปทุกอณูของจิตใจเกิดความอิ่มเอิบอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนเพลงนี้ถูกนำมาเล่นครั้งแรกในการประชุมฟื้นฟู ที่เมืองโพคากอน รัฐมิชิแกน เมื่อวันที่ 7 กรกฏาคม 1913 และกลายเป็นเพลงนมัสการที่ได้รับความนิยมสูงในอเมริกา

Old Rugged Cross


เดี๋ยวจะกลับมาต่ออีก 5 บทเพลง ในตอนบ่ายๆนะคะ ^^

ที่มา : http://lukeworship.wordpress.com/2010/06/15/10-%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%aa%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น