วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ศิลปะแขนงที่ 7 (ภาพยนตร์) อย่าง "เชคสเปียร์ต้องตาย"...ทำไมต้องแบน?

สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่าน คนเขียนไม่ได้อัพบล็อกเสีียนาน เพราะว่ามัวแต่ทำงานอย่างอื่น ถึงจะมีโอกาสอยู่หน้าคอมฯก็ไม่ได้เปิดบล็อกเลย -*- ต้องขออภัยจริงๆ

วันนี้คนเขียนขอนำเสนอ อีกหนึ่งในคำถามที่อาจารย์เคยถาม ในคาบเรียนวิชาภาษาฝรั่งเศส ที่ว่า


"ศิลปะแขนงที่ 7 คืออะไร???"

พอคนเขียนมานับๆดู เท่าที่รู้ก็จะมี จิตรกรรม  ประติมากรรม สถาัปัตยกรรม วรรณกรรม คีตกรรม (ดนตรี) และการพิมพ์ภาพ

เอ...แล้วมันมาจากไหนอีกอันหว่า??? -*-

พอไปเสิร์ชใน Google ดู ว่า "ศิลปะแขนงที่ 7"
ก็ได้พบคำตอบว่า ศิลปะแขนงนี้ เป็นศิลปะที่ใกล้ตัวเรามากๆ นั่นก็คือ "ภาพยนตร์"

พอนึกถึงภาพยนตร์ปุ๊บ ชื่อของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ลอยมาปั๊บ!!!

เชคสเปียร์...ต้องตาย (Shakespeare Must Die)

ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เป็นที่รู้จักมาก เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา เนื่องจากไม่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ (กองเซ็นเซอร์) กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

ว่าแต่...เขาจะแบนทำไม เนื้อหาของเรื่องจะเป็นอย่างไร คนเขียนขออนุญาต พาท่านผู้อ่านมาทำความรู้จักกับภาพยนตร์เรื่องนี้กันนะคะ ^^


เชคสเปียร์ต้องตาย (อังกฤษShakespeare Must Die) เป็นภาพยนตร์นอกกระแส เขียนบทและกำกับโดยสมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ หรือ อิ๋ง เค [2] ดัดแปลงจากบทละครโศกนาฏกรรมแม็คเบ็ธของวิลเลียม เชกสเปียร์ โดยมีการดัดแปลงเพื่อให้เป็นภาษาภาพยนตร์ และเข้ากับบริบทของวัฒนธรรมไทย [3]
เชคสเปียร์ต้องตายใช้วิธีการเล่าเรื่องแบบละครซ้อนละคร ดำเนินเรื่องควบคู่กันไป มีเหตุการณ์สองส่วน คือละครเวที และโลกภายนอกในเหตุการณ์ร่วมสมัย มีตัวละครนำชื่อ "เมฆเด็ด" (Mekhdeth) เป็นขุนนางที่ล้มอำนาจกษัตริย์ และสถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ เมฆเด็ดลุ่มหลงในอำนาจ เกิดหวาดระแวงว่าจะถูกล้มล้าง จนต้องฆ่าใครต่อใครเพื่อจะได้อยู่ในอำนาจต่อไป เรื่องราวทั้งหมดเล่าผ่านมุมมองของตัวละครที่ชื่อว่า "บุญรอด" [4]
สมานรัชฎ์เรียกภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าเป็น "หนังผีต้นทุนต่ำ" [5] สร้างจากเงินทุนสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมภาพยนตร์ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง [6] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 มีกำหนดออกฉายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555
ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ (กองเซ็นเซอร์) กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555 ได้รับเรท "ห" หรือ ห้ามเผยแพร่ในประเทศไทย โดยให้เหตุผลว่า มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ[7][8][9] ทั้งนี้เนื่องจากในภาพยนตร์มีการอ้างอิงถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 มีการนำฟุตเทจภาพความเสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 มาใช้[10][11] และการให้ปิศาจในเรื่องสวมชุดสีแดงเปรียบเหมือนเหมือนการกล่าวหาเสื้อแดง [4]

เชคสเปียร์ต้องตาย
Shakespeare Must Die
กำกับอิ๋ง เค
ผลิตมานิต ศรีวานิชภูมิ
เขียนบทอิ๋ง เค
อิงแม็คเบ็ธ ของวิลเลียม เชกสเปียร์
แสดง/
พากย์
พิศาล พัฒนพีระเดช
ธาริณี เกรแฮม
นิวัติ กองเพียร
สกุล บุณยทัต
กำกับภาพมานิต ศรีวานิชภูมิ
Rodrigo Oliviari
ฉายพ.ศ. 2555
ยาว176 นาที [1]
ประเทศไทย
ภาษาไทย

นักแสดง

ต้นฉบับตัวละครนักแสดง
Macbeth, Thane of Glamisเมฆเด็ด / ท่านผู้นำพิศาล พัฒนพีระเดช[12]
Lady Macbethคุณหญิงเมฆเด็ดธาริณี เกรแฮม
Macduff, Thane of Fifeเมฆดับชัชดนัย มุสิกไชย
Lady Macduffคุณหญิงเมฆดับภิสสรา อุมะวิชนี
Macduff's sonลูกสาวเมฆดับน้ำอบ เสมสีสม
Banquoบางโค (เพื่อนเมฆเด็ด)ต่อตระกูล จันทิมา
Three Witchesแม่มดม.ร.ว. สายสิงห์ ศิริบุตร
Aaliyah S
ชมวรรณ วีระวรวิทย์
Hecateเจ้าแม่ปิณิดา คงสิริ
Duncan (กษัตริย์สกอตแลนด์)ดังแคนนิวัติ กองเพียร
Malcolmมั่นคำ (ลูกชายดังแคน)น้ำมนต์ จ้อยรักษา
Donalbainดอนเพ็ญ (ลูกชายดังแคน)พีร์ ภานุวัฒน์วนิชย์
Siward, Earl of Northumberlandบุญรอดสกุล บุณยทัต
Siward's sonเปลี่ยนปรัชญ์ภูมิ บุณยทัต
Seytonศรีตาล (คนใช้เมฆเด็ด)ปิยทัต เหมทัต

*********************************************************************

ทีนี้ เรามาดู วาระการพิจารณาว่่าทำไมถึงโดนแบน กันดีกว่าค่ะ

วาระการพิจารณา 3 เมษายน 2555 17:56 วาระการพิจารณา:
คณะกรรมการฯ พิจารณาเห็นว่า ภาพยนตร์เรื่อง เชคสเปียร์ต้องตาย (Shakespeare Must Die)  มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ ตามกฏกระทรวงกำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ พ.ศ.๒๕๕๒ ข้อ ๗ (๓) จึงมีมติ ไม่อนุญาต โดยจัดเป็นประเภทภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๒๖ (๗) แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑



แถลงการณ์ผู้กำกับ เชคสเปียร์ต้องตาย’ 20 มีนาคม 2555

คุณสมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ เขียนบทแถลงการณ์ (แถลงการณ์ผู้กำกับ เชคสเปียร์ต้องตาย’ 20 มีนาคม 2555 11:49)นี้ขึ้นมาขณะที่กำลังเตรียมใจส่ง เชคสเปียร์ต้องตาย ไปให้กองเซ็นเซอร์พิจารณา เหมือนจะรู้ว่าหนังเรื่องนี้จะต้องเผชิญกับชะตากรรมอย่างใดอย่างหนึ่งไปในทางที่ไม่พึงประสงค์ของผู้สร้างงานศิลปะ สาเหตุอาจจะมิใช่เพราะหนังได้รับเงินสนับสนุนมาจากโครงการไทยเข้มแข็ง เท่านั้น ซึ่งเป็นโครงการเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยงบประมาณประเทศเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศในช่วงที่ประเทศกำลังบอบช้ำจากการประท้วงของคนกลุ่มหนึ่ง โดยโครงการนี้เป็นนโยบายของรัฐบาลชุดก่อน ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่เหตุผลต่างๆ ที่ถูกแบนส่วนหนึ่งคงเป็นคำเฉลยที่มีมาจากทีมงานผู้ผลิตหนังเรื่องนี้
ส่วนเหตุผลของทางฝ่ายคณะผู้พิจารณาอนุญาตไม่ให้ฉายหนังเรื่องนี้ได้ในประเทศไทยก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ “ไม่ตรงกัน” และก็แน่นอนว่า ศิลปะไม่ว่าด้านใด สาขาใด หรือเรื่องใด การมีมุมมองต่องานศิลปะแต่ละภาคส่วนย่อมมีความเห็นแตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกันกับที่เคยมีมุมมองต่อภาพวาดทางศิลปะ “ภิกษุสันดานกา” ซึ่งสะท้อนภาพความเป็นจริงของพระสงฆ์ในศาสนาพุทธก็เคยถูกตำหนิจากฝ่ายคุมกฎพระพุทธศาสนา



คำร้องเรียนต่อมวลชนของคุณสมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ ซึ่งได้ทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นของหนังเรื่องนี้ โดยได้กล่าวว่า
“......ตั้งแต่จำความได้ ฉันไม่เคยเห็นเมืองไทยอารมณ์เลวร้ายเท่ากับยามนี้  ทุกอณูอากาศ ทุกผงธุลี เปี่ยมล้นด้วยความโกรธ เกลียดชัง ความเศร้า ความสิ้นศรัทธา
จึงค่อนข้างแน่นอนว่าทั้งกองเซ็นเซอร์และฝ่ายอื่นๆ ย่อมตั้งคำถามลักษณะนี้กับเรา: พวกคุณไม่เกรงกลัวหรือว่าหนังเรื่องนี้อาจทำให้สังคมแตกแยกยิ่งขึ้น?; คุณมีอคติต่อเสื้อแดงหรือเปล่า?; คุณไม่กลัวเสื้อแดงมาฆ่าหรอกเหรอ?; หนังเรื่องนี้เป็นการโจมตีครอบครัวชินวัตรใช่ไหม?; หรือว่าเป็นการโจมตีพระราชวงศ์จักรี? (ในเมื่อคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกำลังแพร่หลายระบาด ต้องขอยืนยันตรงนี้ว่าทุกพยางค์ของฉากนั้นมาจากต้นฉบับของเชคสเปียร์ มันคือการถกเถียงเรื่องพระราชอำนาจและบารมีของพระมหากษัตริย์ อันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ฟ้าประทานมา [Divine Right of Kings] ซึ่งสรุปใจความว่ากษัตริย์นั้นศักดิ์สิทธิ์ตราบใดที่องค์กษัตริย์ทรงมีความประพฤติที่ศักดิ์สิทธิ์ ตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม และการถกเถียงนี้ในแก่นสารครอบคลุมถึงผู้นำและนักปกครองทุกประเภท)หนังเรื่องนี้รื้อฟื้นบาดแผลสังคมทั้งเก่าและใหม่โดยไม่จำเป็นหรือไม่?; ทำไมคุณหญิงเมฆเด็ด (เลดี้แม็คเบ็ธ) จึงเรียกปีศาจร้ายให้เข้ามาสิงตัวเธอ ขณะที่กำลังพนมมืออยู่หน้าพระพุทธรูปฯลฯ
********************************************
และความตอนหนึ่งกล่าวอย่างดุเด็ดเผ็ดร้อนว่า
“.......... ศิลปะจำเป็นต้องเป็นกลางและ ยุติธรรมด้วยหรือ? แทนที่จะมาเรียกร้องหาสิ่งนี้จากหนังผีทุนต่ำของเรา  ทำไมคุณไม่ตั้งคำถามกับการที่หนังสือนิวส์วีคยกย่องยิ่งลักษณ์เป็นวีรสตรี--เคียงบ่าเคียงไหล่กับ ออง ซาน ซู จี และฮิลลารี คลินตันประมาณว่าแม่พระผู้ส่งเสริมความสมานฉันท์ และจัดการน้ำท่วมได้อย่างเก่งกาจ)
“.......‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ คือ จุดรวมฝันร้ายของเรา นี่คือมโนภาพแห่งความสยองขวัญของเรา .....”
“...เราดูดซึมยาพิษจากยุคสมัยมาถักทอเป็นภาพต้องมนต์สะกดเพื่อความสนุกเพลิดเพลินของคนดู ...”
“หนังผี-หนังสยองขวัญ จะทำหน้าที่ของมัน--คือไล่ผีและปลดปล่อยปมขมวดทางจิตให้เรา--ได้สำเร็จก็ต่อเมื่อมันไม่หลีกเลี่ยงสารพิษในผืนดินถิ่นกำเนิดของมัน แต่พร้อมที่จะหยั่งรากลึกลงไปในก้นบึ้งของพิษร้ายนั้นอย่างเต็มอกเต็มใจและเต็มที่
ในฐานะนักทำหนังทุนต่ำที่มีปูมหลังเป็นนักข่าว ฉันอดใจไม่ได้ที่จะไม่ออกไปถ่ายภาพความวินาศสันตะโร ทั้งที่ไฟไหม้เซ็นทรัลเวิร์ลด์ยังไม่ทันดับ โดยเฉพาะโรงหนังสยามอันเป็นที่รัก พร้อมกับหน้ากากกรีกฝาแฝดแห่งการละคร ที่พักตร์หนึ่งเศร้า(โศกนาฎกรรม) และพักตร์หนึ่งหัวร่อ(ตลกหรรษา) ซึ่งผ่านกองเพลิงมาได้โดยไม่เป็นอะไรเลย เช่นเดียวกับแผ่นโปสเตอร์โฆษณาหนังรักตลกของเจนนิเฟอร์ อนิสตัน ที่กำลังฉายอยู่ ผู้กำกับงบน้อยต้องไขว่คว้า ต้องฉกฉวยทุกของถูกของฟรี ทุกโอกาสที่จะเติมความอลังการให้แก่หนัง ไม่มีทางเลยที่เราจะสร้างภาพมหากาพย์แบบนี้ขึ้นมาได้เองจากปัจจัยที่มีอยู่ ในเมื่อมันเจ๋งและเป็นของฟรี ฉันไม่อาจปฏิเสธของขวัญที่ฟ้าประทานมาให้บนถาดเงิน
ภาพหลังแทนกรีนสกรีนหลังแม่มดในฉากนั้น เดิมจะเป็นการฉายซ้ำของน้ำตกไนแองการ่าเป็นเลือด (นี่ก็ของฟรีเหมือนกัน ที่รีบคว้ามาจากการได้ตั๋วฟรีไปเทศกาลภาพยนตร์โตรอนโตกับ พลเมืองจูหลิง’ หนังเรื่องก่อน) แต่มันย่อมตกกระป๋องไป ในเมื่อเรามีไฟล์ภาพซากตอตะโกของเซ็นทรัลเวิร์ลด์กับหน้ากากโรงหนังสยาม
*******************************************
ส่วนการรื้อฟื้นแผลเก่า” ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากภาพข่าวรางวัลพูลิตเซอร์ของช่างภาพสำนักข่าวเอพี นีล ยูเลฟวิช รูปไทยมุงรอบชายในเสื้อซาฟารี ที่ใช้เก้าอี้เหล็กตีศพนักศึกษาที่ถูกแขวนคอกับต้นไม้กลางสนามหลวง เรื่องนี้ ฉันคงต้องโยนคำถามกลับมาให้ตอบกับตัวคุณเองว่า มันจำเป็นหรือไม่ที่จะท้าวความถึง ตุลา มหาวิปโยคเหตุการณ์นั้นมีชนวนอ้างอิงเป็นการแสดงละครประท้วงเช่นกัน โปรดสังเกตด้วยว่าโฟกัสในฉากนี้จับจ้องอยู่ที่ใบหน้าบรรดากองเชียร์ ไม่ใช่กับศพและชายที่ฟาดเก้าอี้ สิ่งที่ฝังใจเรามากกว่า คือคนที่เรียกกันว่าคนธรรมดา รวมทั้งเด็กๆ ที่มายืนหัวเราะและสนับสนุนยุยง ภาพข่าวภาพนี้ ติดตาตำใจและจิตวิญญาณวัยรุ่นทึ่มๆของฉัน ตั้งแต่ครั้งแรกที่เห็นในปี๒๕๑๙ จนกลายมาเป็นความหมกมุ่นส่วนตัวมาตลอดชีวิต ภาพนี้หลอกหลอนเราด้วยความหวาดหวั่นแบบเด็กกลัวผี--ว่าจะถูกเข่นฆ่าโดยอันธพาลคลั่งเจ้าและลูกเสือชาวบ้าน และด้วยความรู้ซึ้งคาใจว่า คนธรรมดาอาจกลายเป็นฆาตกร และเมืองไทยกลายเป็นรวันดา๑๙๙๔ ได้ภายในพริบตาเดียว หากว่าถูกยุยั่วปั่นหัวเป็นหางโดยนักโฆษณาชวนชั่วอย่างถูกจุด มาถึงวันนี้ แทนที่จะเป็นอันธพาลคลั่งเจ้าที่เราต้องกลัว เรามีกลุ่มคนบ้าคลั่งกลุ่มอื่นที่ไร้เหตุผลและนิยมความรุนแรงอย่างแท้จริง อันเป็นผลงานมหกรรมปั่นหัวโดยเครื่องจักรทักษิณ ดังนั้น ไม่ว่าเขาจะอ้างว่าเขาเป็นซ้ายหรือว่าเป็นขวาไม่ใช่ประเด็น แต่คนลักษณะนี้ทำให้ชีวิตของเราและของบ้านเมืองไร้เหตุผลและเสียสติ ทำให้ความสงบเหือดหายและเป็นไปไม่ได้ เช่นเดียวกับเยอรมันกับนาซี เราควรให้ลูกหลานทุกคนได้เห็นภาพนี้ เราควรจดจำมันไว้เสมอ ไม่ใช่เพื่อโหมไฟอาฆาตพยาบาทต่อกัน แต่เพื่อเตือนใจทุกคน รวมทั้งคนดี’ อย่างที่เราคิดว่าเราเป็นด้วย ที่อาจกลายเป็นปีศาจได้ ถ้าถูกยั่วยุเกินทน
*****************************************************
ต่อให้ไม่นับมรดกทางวัฒนธรรมอันนี้ ต้องยอมรับว่าสีแดงเป็นสีสากลที่หมายถึงเลือดและความรุนแรง หนังแต่ละเรื่องต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะถึงจอ กว่าจะเขียนบท กว่าจะหาทุน กว่าจะหานักแสดงครบ ฯลฯ ทักษิณมีสิทธิผูกขาดการใช้สีแดงเช่นเดียวกับที่เขาต้องการผูกขาดทุกสิ่งทุกอย่างอย่างนั้นหรือในการสร้างหนังผีเชคสเปียร์ของเรา ฉันปฏิเสธที่จะเล่นตามบทและกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดยคนเขียนบทของทักษิณ คุณอาจเลือกที่จะทำตามกติกาเหล่านั้นที่เขากำหนดขึ้นมาลอยๆ นั่นเป็นการตัดสินใจของคุณ มันไม่ใช่เรื่องของฉัน (ถ้าโชคดี คุณอาจได้ประโยชน์จากมันก็เป็นได้ มีข่าวร่ำลือหนาหูในหมู่นักทำหนังว่า ทักษิณกำลังช็อปปิ้งหาผู้กำกับทำหนังชีวประวัติของเขา ซึ่งถ้าเกิดขึ้นจริง ย่อมไม่ใช่หนังทุนต่ำแน่นอน) หากว่าความคิดเช่นนี้ทำให้ฉันไม่เป็นประชาธิปไตย” และทำให้ยากลำบากในการนำ เชคสเปียร์ต้องตาย’ ออกมาสู่สายตาโลก มันก็ช่วยไม่ได้จริงๆ 
ด้วยความนับถือ
สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ กทม.๑๙ มี.ค. ๕๕


ที่มาเชคสเปียร์ต้องตาย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น