วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
วงออร์เคสตร้า Orchestra วงโปรดของคนเขียนค่ะ ^^
บทเพลงต่าง ๆ ที่นักประพันธ์เพลงหรือคีตกวี (Composer) ได้ใช้ความพยามในการแต่ง ขึ้นเพื่อจรรโลงโลกไว้ให้มีแต่ความสวยสดงดงามคู่กับมนุษย์เราตลอดไปนั้นต้องประกอบด้วยองค์ ประกอบหลาย ๆ อย่าง ซึ่งบทเพลงดังกล่าวนั้นไม่สามารถที่จะเกิดเสียงขึ้นมาเองโดยปราศจากผู้เล่นหรือนักดนตรีที่บรรเลงออกมาและบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นนั้นผู้ประพันธ์ได้ตั้งจุดประสงค์เอาไว้ แล้วว่าจะให้วงดนตรีประเภทใดบรรเลงหรือให้ออกมาในรูปแบบใด ซึ่งนักดนตรีก็เปรียบเสมือนเป็น สื่อกลางโดยผ่านเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วในบทที่ 3 สำหรับในบทนี้กล่าวถึงการ ผสมวงดนตรีตะวันตกซึ่งการผสมวงดนตรีตะวันตกนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ เพื่อสนองความ ต้องการของผู้ประพันธ์และการใช้งาน แบ่งออก เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1) วงออร์เคสตรา (Orchestra)
2) วงแบนด์ (Band)
วงออร์เคสตรา (orchestra)
เป็นคำศัพท์เกี่ยวกับดนตรี มีประวัติมาช้านาน และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามยุคสมัย เพื่อสนองความต้องการของผู้ประพันธ์ในการถ่ายทอดความรู้สึกของดนตรีในแต่ละยุค นิยมแปลศัพท์เป็นไทยว่า "ดุริยางค์"
ประวัติ
ออร์เคสตรา เป็นภาษาเยอรมัน ตามความหมายรูปศัพท์ หมายถึง สถานที่เต้นรำ ซึ่งหมายถึง ส่วนหน้าของโรงละครสมัยกรีกโบราณ ที่ใช้เป็นที่เต้นรำและร้องเพลง ของพวกนักร้องประสานเสียงสำหรับดนตรีตะวันตก ออร์เคสตรามีความหมายถึงวงซิมโฟนี ออร์เคสตรา ได้แก่ วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย รวมกับเครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องตี
ต่อมาในกลางศตวรรษที่ 18 คำว่า ออร์เคสตรา หมายถึง การแสดงของวงดนตรี ซึ่งเป็นความหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามคำนี้ยังคงใช้ในอีกความหมายหนึ่ง คือ พื้นที่ระดับต่ำที่เป็นที่นั่งอยู่หน้าเวทีละคร และโรงแสดงคอนเสิร์ต
ระยะต่อมาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อเริ่มกำหนดจำนวนเครื่องดนตรีลงในบทเพลง การพัฒนาวงออร์เคสตราจึงเริ่มมีขึ้น ซึ่งในระยะแรกเป็นลักษณะของวงเครื่องสายออร์เคสตรา (string Orchestra) ซึ่งมีจำนวนผู้เล่นประมาณ 10-25 คน โดยบางครั้งอาจจจะมีมากกว่านี้ตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 วงออร์เคสตรามีการเพิ่มเครื่องลมไม้ และตอนปลายของยุคบาโรค (ประมาณ ค.ศ. 1750) ผู้ประพันธ์เพลงนิยมบอกจำนวนเครื่องดนตรีไว้ในบทเพลงโดยละเอียด นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเครื่องลมทองเหลือง และเครื่องประกอบจังหวะในออร์เคสตรา
ราวกลางศตวรรษที่ 18 วงออร์เคสตราเป็นรูปแบบขึ้นมาจนได้มาตรฐานในยุคนี้ คือ ยุคคลาสสิก ซึ่งเหตุผลประการหนึ่ง คือ บทเพลงประเภทซิมโฟนีเป็นรูปแบบขึ้นมาในยุคนี้ จึงทำให้ต้องมีการจัดวงออร์เคสตราให้มีมาตรฐาน เพื่อใช้เล่นเพลงซิมโฟนี นอกจากนี้การบรรเลงบทเพลงประเภทคอนแชร์โต โอเปร่า และเพลงร้องเกี่ยวกับศาสนาก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาวงออร์เคสตราเป็นแบบแผนขึ้น
แม้ว่าวงซิมโฟนีออร์เคสตราในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ยังคงมีบทบาทสำคัญในดนตรีตะวันตก ปัจจัยทางเศรษฐกิจก็มีส่วนในการกำหนดขนาดวงออร์เคสตรา หรือแนวทางการประพันธ์เพลงเพื่อใช้กับวงออร์เคสตรา แต่สิ่งนี้ก็มิได้กีดกั้นการสร้างสรรค์ผลงานประเภทที่ใช้วงออร์เคสตราของผู้ประพันธ์เพลงแต่อย่างใด
เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงออร์เคสตรา โดยธรรมดาแล้ว จะมีสัดส่วนดังนี้
ประเภทเครื่องสาย
1.ไวโอลินลำดับที่ 1 - First violin (นักไวโอลินที่นั่งใกล้วาทยากรคือหัวหน้าวงดนตรีหรือ Concert Master ตำแหน่งของนักไวโอลินลำดับที่ 1 จำเป็นจะต้องอยู่ใกล้วาทยากรให้มากที่สุด ตำแหน่งเครื่องเป่าและแตรปกติจะอยู่ระหว่างตำแหน่งต่าง ๆ ของเครื่องสาย)
2. ไวโอลินลำดับที่ 2 - Second violin
3. เชลโล่ - Cello
4. วิโอล่า - Viola
5. ดับเบิลเบส - Double bass
6.ฮาร์ป - harp (ได้นำเสนอเพลงเกี่ยวกับ harp และวง orchestra ไว้ด้วยนะคะ)
ประเภทเครื่องลมไม้
7. อิงลิช ฮอร์น - English horn
8. โอโบ - Oboe
9. ฟลูต - Flute
10. เบส คลาริเนต - Bass clarinet
11. คลาริเนต - Clarinet
12. บาสซูน - Bassoon
13. คอนทรา บาสซูน - Contra Bassoon
ประเภทเครื่องลมทองเหลือง
1. เฟรนช์ฮอร์น - French Horn
2. ทูบา - Tuba
3. ทรอมโบน - Trombone
4. ทรัมเปต - Trumpet
ประเภทเครื่องกระทบ
1. ทิมปานี - Timpani [(ตำแหน่งเครื่องดนตรีที่อยู่ห่างวาทยากรที่สุดคือ กลุ่มของเครื่องดนตรีประเภทตี - Percussion)
2. ฉาบ - Cymbal
3. เบส ดรัม - Bass Drum
4. ไทรแองเกิ้ล - Triangle
5. กลอง - side หรือ Snare Drum
6. Tubular Bells - ระฆังราว
7.ไซโลโฟน - Xylophone ระนาดฝรั่ง ในบางกรณีที่แสดงเปียโนคอนแชร์โต้ ตำแหน่งของเปียโนจะถูกผลักมาอยู่ข้างหน้า
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น