วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เลส พอล


เลส พอล (อังกฤษ: Lester William Polsfuss; 9 มิถุนายน พ.ศ. 2458 – 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552)
นักประดิษฐ์ นักดนตรี และนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์กีตาร์ไฟฟ้าแบบตัวถังทึบที่สามารถ “ทำให้เสียงแบบเพลงร็อคแอนด์โรลเป็นไปได้”

เลส พอลได้รับเกียรติเป็นผู้ริเริ่มด้านนวัตกรรมการอัดเสียงเพลงแบบต่างๆ รวมถึงการอัดเสียงทับซ้อน (Overdubbing) หรือ “การอัดเสียงทับเสียง” (Sound on sound) เสียงประกอบ (Sound effect) เสียงเหลื่อม (Delay effect) และการอัดเสียงแบบลู่อเนก (Multitrack recording)

ด้วยความเก่งกาจทางนวัตกรรมนี้เองที่เอื้อให้พอลมีแบบอย่างการเล่นของตนเอง ซึ่งรวม “การเลีย” (lick) “การสยิว” (trill) เทคนิคลำดับคอร์ด (Chording sequence) หรือ fretting และการจับเวลา ซึ่งทำให้การเล่นเขาแตกต่างไปจากวงการดนตรีที่ร่วมสมัยอยู่ในเวลานั้นและกลายเป็นแรงบันดาลใจให้แก่นักกีตาร์จำนวนมากในปัจจุบัน

เลส พอลอัดแผ่นเสียงร่วมกับภรรยา คือแมรี่ ฟอร์ด ในช่วงทศวรรษ 1950 (ประมาณ พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2503) ซึ่งจำหน่ายได้เป็นจำนวนหลายล้านแผ่น

ในด้านเกียรติประวัติ เลส พอล เป็นหนึ่งในจำนวนน้อยคนที่ได้รับการจัดนิทรรศการเดี่ยวอย่างถาวรในหอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล โดยได้รับการจารึกไว้ในเว็บไซต์ของพิพิธภัณฑ์ดนตรีว่าเป็น "สถาปนิก" และผู้มีชื่อร่วมกับ แซม ฟิลิปส์ และ อลัน ฟรีด

ชีวิตช่วงต้น
เลส พอล เกิดที่เมืองวูกีชา ในรัฐวิสคอนซิน เป็นบุตรของจอร์จ และ เอเวอลีน โพลส์ฟัส เชื้อสายเยอรมัน มารดาของพอลเป็นญาติห่างๆ กับผู้ก่อตั้งบริษัทผลิตเบียร์ (Valentin Blatz Brewing Company) บริษัทผลิตรถยนต์ พ่อและแม่หย่าจากกันเสียตั้งแต่พอลยังอยู่ในวัยเด็ก. แม่ของพอลได้ปรับชื่อสกุลแบบชาวปรัสเซียให้ง่ายขึ้นเป็น “Polsfuss” ตั้งก่อนที่พอลจะใช้ชื่อ เลส พอลบนเวทีการแสดง พอลมีชื่อเล่นอีกชื่อว่า “แดงร้อนแดง” (Red Hot Red) และ "รูห์บาบแดง" (Rhubarb Red)

ชีวิตส่วนตัว
เลส พอล พ.ศ. 2551พอลแต่งงานกับเวอร์จิเนีย เว็บบ์ เมื่อ พ.ศ. 2481 มีบุตรด้วยกัน 2 คนแต่หย่าขาดจากกันเมื่อ พ.ศ. 2492 และแต่งงานกับฟอร์ดในปีต่อมา หลังจากมีบุตรด้วยกัน 1 คนก็ได้หย่าจากกันเมื่อ พ.ศ. 2506

การถึงแก่กรรม
เลส พอลถึงแก่กรรมด้วยโรคปอดอักเสบแทรกที่โรงพยาบาลไวท์เพลน นิวยอร์ก เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552  ท่ามกลางญาติและเพื่อนฝูงรายล้อมข้างเตียง ทนายของพอลแถลงข่าวว่า พอล ได้เข้าๆ ออกๆ โรงพยาบาลเนื่องจากการเจ็บป่วย


ผลงาน

อัลบั้ม
Feedback (1944)—compilation
Les Paul Trio (1946)—compilation
Hawaiian Paradise (1949)
The Hit Makers! (1950)
The New Sound (1950)
Les Paul's New Sound, Volume 2 (1951)
Bye Bye Blues! (1952)
Gallopin' Guitars (1952)—compilation
Les and Mary (1955)
Time to Dream (1957)
Lover's Luau (1959)
The Hits of Les and Mary (1960)—compilation
Bouquet of Roses (1962)
Warm and Wonderful (1962)
Swingin' South (1963)
Fabulous Les Paul and Mary Ford (1965)
Les Paul Now! (1968)
Guitar Tapestry
Lover
The Guitar Artistry of Les Paul (1971)
The World is Still Waiting for the Sunrise (1974)—compilation
The Best of Les Paul with Mary Ford (1974)—compilation
Chester and Lester (1976)—with Chet Atkins
Guitar Monsters (1977)—with Chet Atkins
Les Paul and Mary Ford (1978)—compilation
Multi Trackin' (1979)
All-Time Greatest Hits (1983)—compilation
The Very Best of Les Paul with Mary Ford (1983)—compilation
Tiger Rag (1984)—compilation
Famille Nombreuse (1992)—compilation
The World Is Waiting (1992)—compilation
The Best of the Capitol Masters: Selections From "The Legend and the Legacy" Box Set (1992)—compilation
All-Time Greatest Hits (1992)—compilation
Their All-Time Greatest Hits (1995)—compilation
Les Paul: The Legend and the Legacy (1996; a four-CD box set chronicling his years with Capitol Records)
16 Most Requested Songs (1996)—compilation
The Complete Decca Trios—Plus (1936–1947) (1997)—compilation
California Melodies (2003)
Les Paul & Friends: American Made World Played (2005)
Les Paul And Friends: A Tribute To A Legend (2008)

เพลงเดี่ยว
"It's Been a Long, Long Time"—Bing Crosby & The Les Paul Trio (1945), #1 on Billboard Pop singles chart, 1 week, December 8
"Rumors Are Flying"—Andrews Sisters & Les Paul (1946)
"Lover (When You're Near Me)" (1948)
"Brazil" (1948)
"What Is This Thing Called Love?" (1948)
"Nola" (1950)
"Goofus" (1950)
"Little Rock 69 Getaway" (1950/1951)
"Tennessee Waltz"—Les Paul & Mary Ford (1950/1951)
"Mockingbird Hill"—Les Paul & Mary Ford (1951)
"How High The Moon"—Les Paul & Mary Ford (1951), #1, Billboard Pop singles chart, 9 weeks, April 21 – June 16; #1, Cashbox, 2 weeks
"I Wish I Had Never Seen Sunshine"—Les Paul & Mary Ford (1951)
"The World Is Waiting for the Sunrise"—Les Paul & Mary Ford (1951)
"Just One More Chance"—Les Paul & Mary Ford (1951)
"Jazz Me Blues" (1951)
"Josephine" (1951)
"Whispering" (1951)
"Jingle Bells" (1951)
"Tiger Rag"—Les Paul & Mary Ford (1952)
"I'm Confessin' (That I Love You)"—Les Paul & Mary Ford (1952)
"Carioca" (1952)
"In the Good Old Summertime"—Les Paul & Mary Ford (1952)
"Smoke Rings"—Les Paul & Mary Ford (1952)
"Meet Mister Callaghan" (1952)
"Take Me In Your Arms And Hold Me"—Les Paul & Mary Ford (1952)
"Lady of Spain" (1952)
"My Baby's Coming Home"—Les Paul & Mary Ford (1952)
"Bye Bye Blues"—Les Paul & Mary Ford (1953)
"I'm Sitting On Top Of The World"—Les Paul & Mary Ford (1953)
"Sleep" (Fred Waring's theme song) (1953)
"Vaya Con Dios"—Les Paul & Mary Ford (1953), #1, Billboard Pop singles chart, 11 weeks, August 8 – October 3, November 7–14; #1, Cashbox, 5 weeks
"Johnny (Is The Boy For Me)"—Les Paul & Mary Ford (1953)
"Don'cha Hear Them Bells"—Les Paul & Mary Ford (1953), #13, Billboard; #32, Cashbox
"The Kangaroo" (1953), #23, Cashbox
"I Really Don't Want To Know"—Les Paul & Mary Ford (1954)
"I'm A Fool To Care"—Les Paul & Mary Ford (1954)
"Whither Thou Goest"—Les Paul & Mary Ford (1954)
"Mandolino"—Les Paul & Mary Ford (1954)
"Song in Blue"—Les Paul & Mary Ford (1954), #17, Cashbox
"Hummingbird"—Les Paul & Mary Ford (1955)
"Amukiriki (The Lord Willing)"—Les Paul & Mary Ford (1955)
"Magic Melody"—Les Paul & Mary Ford (1955)
"Texas Lady"—Les Paul & Mary Ford (1956)
"Moritat" (Theme from "Three Penny Opera") (1956)
"Nuevo Laredo"—Les Paul & Mary Ford (1956)
"Cinco Robles (Five Oaks)"—Les Paul & Mary Ford (1957)
"Put A Ring On My Finger"—Les Paul & Mary Ford (1958)
"Jura (I Swear I Love You)"—Les Paul & Mary Ford (1961)



ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA_%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A5

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วันปิยมหาราช 2555


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นความสำคัญของการพัฒนาประเทศชาติ ให้เทียบเท่ากับนานาประเทศ ในรัชสมัยของพระองค์จึงเป็นช่วงที่มีการพัฒนาประเทศหลากหลายด้าน ซึ่งการสื่อสารโทรคมนาคม เป็นอีกกิจการหนึ่งที่ทรงวางรากฐานและมีความเจริญก้าวหน้าถึงปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระปรีชาสามารถอย่างมากในการพัฒนาประเทศ จึงทรงนำความเจริญรุ่งเรือง ทั้งด้านการคมนาคม การรถไฟ การไฟฟ้า การสาธารณสุข การประปา การไปรษณีย์โทรเลข การโทรศัพท์ รวมถึงทางการทูต มาสู่ประเทศ และที่สำคัญให้มีการเลิกทาส ด้วยมีพระราชประสงค์จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และประเทศชาติให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ กิจการทั้งหลาย ที่สร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศไทย ล้วนเกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์แทบทั้งสิ้น จนเรียกได้ว่าเป็นยุคแห่งอารยธรรมสมัยใหม่

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นการสื่อสาร เป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็นอย่างมาก ด้วยในขณะนั้นต้องใช้คนเดินสาร ใช้เรือหรือม้าเป็นพาหนะ ซึ่งมีความล่าช้า ได้มีพระราชดำริให้กระทรวงกลาโหม นำวิทยาการสมัยใหม่ ที่เรียกว่าโทรศัพท์มาทดลองใช้เป็นครั้งแรก ในปี 2424 ระหว่างกรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ เพื่อแจ้งเรือเข้า-ออกที่ปากน้ำ ต่อมากรมโทรเลขได้รับช่วงดำเนินการ ใช้เวลา 3 ปี จึงเปิดบริการให้กับประชาชน และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งมีผู้ให้บริการทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเชื่อมโยงสัญญาณเครือข่ายไปทั่วโลก สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างกัน จนเกิดเป็นการสื่อสารแบบไร้พรมแดน

ด้วยพระปรีชาสามารถดังกล่าว รัฐบาลจึงได้ประกาศให้ วันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ เป็นวัน"ปิยมหาราช" นับว่าสมเด็จพระปิยมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งของพระราชวงศ์จักรี ที่ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองอย่างใหญ่หลวงแก่ประเทศชาติ แม้เวลาผ่านไปถึง 102 ปี แต่ประชาชนชาวไทยทุกคนยังคงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระปรีชาสามารถ ที่เกิดจากอันเนื่องพระราชดำริ แม้จนกระทั่งเยาวชนในยุคปัจจุบัน


ที่มา : http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/63394/%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%8A%E0%B8%9B--%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2555.html

ปิดตำนาน "23 ปี หอเกียรติภูมิรถไฟ"

สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่าน คนเขียนไม่ได้อัพบล็อกเสียนานเลย กลับมาวันนี้ขอนำเสนอ เรื่องราวที่เกิดขึ้นในวันนี้นะคะ นั่นก็คือการ "ปิดหอเกียรติภูมิรถไฟ" นั่นเอง จะนำเสนอถึงเรื่องราวประวัติของ "หอเกียรติภูมิรถไฟ" แห่งนี้ค่ัะ ^^



อาคารแห่งนี้เดิมการรถไฟแห่งประเทศไทยสร้างขึ้นเป็นโรงซ่อมบำรุงรถจักรไอน้ำแต่ยกเลิกไปในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เพราะรถจักรไอน้ำเปลืองค่าใช้จ่ายในการวิ่ง โดยเฉพาะฟืน
ด้วยสถาปัตยกรรมการก่อสร้างที่มีโครงสร้างแข็งแรงด้วยคอนกรีตและเหล็กสวยงามตามแบบรถไฟในยุโรป จากโรงซ่อมบำรุงจึงเปลี่ยนมาเป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟ เพื่อเก็บขบวนรถพระที่นั่งและหัวรถจักรต่าง ๆ ที่มีความสำคัญในประเทศไทย แต่กระนั้นก็ไม่ได้เปิดให้ประชาชนเข้าชม



หอเกียรติภูมิรถไฟในปัจจุบัน
หอเกียรติภูมิรถไฟ ก่อตั้งโดย ดร. สรรพสิริ วิรยศิริ ประธานชมรม “ เรารักรถไฟ” และชมรม “ พีระ-เจ้าดาราทอง” ท่านเป็นผู้บุกเบิกในหลาย ๆ ด้านของานสื่อสารมวลชน ทั้งทางด้านหนังสือ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และงานโฆษณา-สารคดี ทั้งยังค้นคว้าหาเกียรติภูมิของการรถไฟในอดีตมาเปิดเผยให้เป็นอนุสรณ์เยี่ยงอย่างแก่คนในปัจจุบัน ตลอดจนผู้บริหารและผู้ใช้บริการรถไฟทั้งปวง
ในปัจจุบัน หอเกียรติภูมิรถไฟอยู่ภายใต้การดูแลของนายจุลศิริ วิรยศิริ โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการยานยนต์และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ รัชกาลที่ 5 พระราชทานกำเนิดเมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว โดยเน้นว่าสิ่งนั้นจะต้องมีเกียรติภูมิ แสดงศักดิ์ศรีว่าได้ถูกใช้งานโดยบุคคลที่ควรยกย่องอาจเป็นของชิ้นแรก, ชิ้นสุดท้าย บุคคลแรก หรือบุคคลสุดท้ายที่ได้ใช้งาน สิ่งนั้นให้บังเกิดเป็นประโยชน์แก่ตนเอง ประเทศชาติ และส่วนรวม อาทิ รถรางคันแรกที่คนไทยได้เห็นว่ายานยนต์นั้นวิ่งได้ด้วยเครื่องจักร ไม่ต้องใช้สัตว์หรือคนลากอย่างเช่นเกวียนหรือรถลาก หรือโบกี้รถไฟจัดเฉพาะสำหรับพยาบาลสร้างด้วยไม้สักทอง ในสมัยรัชการที่ 5 ซึ่งอาจหลงเหลืออยู่เพียงสองหลังสุดท้าย เป็นต้น


จากอดีตเมื่อสิบกว่าปีที่แล้วจะจนถึงปัจจุบัน หอเกียรติภูมิรถไฟนอกจากจะจัดแสดงเฉพาะรถไฟแล้ว ในปัจจุบันยังจัดทำหอเกียรติภูมิยานยนต์ “ พีระ-เจ้าดาราทอง” และหอเกียรติภูมิเทคโนโลยีไท” ที่จัดแสดงทั้งการสื่อสาร, การคมนาคม, การสื่อสารมวลชน และในอนาคตอาจขยายพื้นที่และจัดแสดงสิ่งของเพิ่มเติมภายใต้นโยบายของหอเกียรติภูมิรถไฟว่า

เฉลิมพระเกียรติ ร. 5 เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท 
 รักษาเอกราช พัฒนาชาติไทย”

ด้วยการให้ความรู้ ความคิดอ่าน เกิดวิจารณญาณ เพื่อคุณภาพชีวิตแก่คนทั้งปวง

กิจกรรมของหอเกียรติภูมิรถไฟ
1. นิทรรศการถาวรกึ่งหมุนเวียน
ในแต่ละปี หอฯ จะจัดแสดงวัตถุแห่งเกียรติภูมิ ที่เกี่ยวข้องกับรถไฟ ยายนต์และอุปกรณ์เทคโนโลยีของวงการสื่อสารโฆษณาที่เป็นปูมหลังและความภาคภูมิใจของ อ. สรรพสิริ วิรยศิริ จะปรับเปลี่ยนเคลื่อนย้ายและเพิ่มจำนวนจัดแสดง โดยวัตถุทุกชิ้นในหอฯ สามารถจัดต้องได้รับความรู้สึกโดยตรง และแบบจิตสัมผัส เปิดโอกาสให้เป็นการเรียนแบบ ดูด้วยตา มือต้องได้ สมองสัมผัส ปากขยับถาม อย่างที่ ร..5 ทรงรับสั่งว่าการศึกษาอย่างนี้เป็นแบบ “ ครูพัก ลักจำ”
2. งานบริการการศึกษา
ในอดีตหอฯ แห่งนี้เคยเป็นศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนแห่งแรก ที่ให้การศึกษาแบบให้เปล่า โดยทางหอฯ จัดหาโสตทัศนอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้ฟรี เช่นสมุด หนังสือ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ปัจจุบันยังมีห้องสมุดเทคโนโลยีให้บริการยืมหนังสือฟรี

วาระสุดท้ายของหอเกียรติภูมิรถไฟ
นายจุลศิริ วิรยศิริ ผู้อำนวยการหอเกียรติภูมิรถไฟไทย ร่วมกับเครือข่าย และประชาชนประกอบพิธีทำบุญเลี้ยงพระในวันปิยมหาราช และเป็นวันสุดท้ายที่เปิดให้เข้าชมหอเกียรติภูมิรถไฟไทยบริเวณสวนจตุจักร หลังจากนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะขอคืนอาคารเพื่อนำไปจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รถไฟ สำหรับหอเกียรติภูมิรถไฟไทยเปิดทำการมา 23 ปี ตั้งแต่ 23 ตุลาคม 2533 ในวันพรุ่งนี้ (24 ต.ค.) จะเคลื่อนย้ายสิ่งของที่เป็นทรัพย์สินของชมรมออกไปก่อน จากนั้นจะเริ่มขนย้ายหัวรถจักรซึ่งมีอยู่ 13 หัว ไปยัง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นจุดประวัติศาสตร์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ทะลุภูเขาเป็นอุโมงค์รถไฟลอด ก่อนหน้านี้ได้เคยเจรจาให้ รฟท.เข้ามาดูแลแทน แต่ไม่เป็นผล



---------------------------------------------------------

   แน่นอนว่า คำถามหนึ่งคงเกิดขึ้นในใจของทุกคนก็คือ ทำไมการรถไฟฯ ถึงทำเช่นนี้ ทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่า พื้นที่นี้เป็นศูนย์กลางสำคัญต่อการเรียนรู้ของเยาวชนและประชาชนอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องการคมนาคม
       
       แม้ว่างานนี้จะยังไม่สามารถนำผู้บริหารจากการรถไฟฯ มาตอบคำถามให้กระจ่าง แต่เหตุการณ์ที่จะเล่าต่อไปนี้ ก็คงจะพอให้เห็นภาพกันได้บ้างว่า เกิดอะไรขึ้นกับแหล่งความรู้ของประเทศไทย ที่ชื่อว่า 'หอเกียรติภูมิรถไฟ' บันทึกความพ่ายแพ้อีกหน้าของประวัติศาสตร์รถไฟไทย

              [1]              หากนับย้อนหลังไปเมื่อ 20-30 ปีก่อน พื้นที่ของหอเกียรติภูมิรถไฟนี้ เดิมการรถไฟแห่งประเทศไทยก็เคยทำเป็นอาคาร 'พิพิธภัณฑ์รถไฟ' มาตั้งแต่ต้นแล้ว โดยภายในนั้นได้บรรจุรถไฟประวัติศาสตร์จำนวนมาก ทั้งหัวลากดีเซลรุ่นต่างๆ แหละหัวจักรรถไฟไอน้ำ ตลอดจนรถไฟพระที่นั่งของบุรพกษัตริย์ไทย หากแต่ในความเป็นจริงแล้ว พื้นที่ดังกล่าวกลับไม่ได้ถูกใช้ให้เกิดประโยชน์สักเท่าใดนัก

              จนกระทั่งภายหลัง การรถไฟแห่งประเทศไทยก็ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินที่ตั้งอาคารนี้เพื่อพระราชทานให้กรุงเทพมหานครจัดทำเป็นสวนสาธารณะ ซึ่งรู้จักกันดีในนามของ 'สวนจตุจักร' นั่นเอง              แต่ทว่าปัญหาก็คือ อาคารพิพิธภัณฑ์นั้น ทาง กทม.กลับไม่ได้รับอำนาจให้ดูแลด้วย เพราะยังถือเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ อยู่ อาคารดังกล่าวจึงถูกปล่อยทิ้งรกร้างว่างเปล่าไร้ผู้สนใจ แถมยังมีโครงการที่รื้อถอนอาคารทิ้งอีกต่างหาก ด้วยเหตุนี้เอง พอปี 2533 ชมรมเรารักรถไฟ ซึ่งก่อตั้งโดย สรรพสิริ วิรยศิริ อดีตผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 จึงได้ทำเรื่องขอใช้พื้นที่ดังกล่าว จากการรถไฟฯ เพื่อสืบสานปณิธานเริ่มแรกที่ตั้งใจจะใช้พื้นที่นี้เพื่อบอกเล่าถึงประวัติศาสตร์รถไฟซึ่งมีมานานเกือบ 100 ปี

              “ความจริงแล้วเราอยากจะดูแลโดยใช้ชื่อพิพิธภัณฑ์รถไฟเหมือนอย่างเดิม แต่การรถไฟฯ ก็แจ้งมาว่าเราทำไม่ได้ เนื่องจากเราเป็นเอกชน และมันก็ไม่มีกฎระเบียบยอมรับด้วย คุณพ่อ (สรรพสิริ) ก็เลยบอกขอเฉพาะอาคารได้ไหม ระงับการรื้อไว้ชั่วคราวก่อน ซึ่งการรถไฟฯ ก็ตกลงแต่มีเงื่อนไขอยู่ 3 ข้อ อย่างที่หนึ่งจะให้อาคารเปล่า โดยค่าน้ำ ค่าไฟ จะถูกตัดหมดเพราะยกเลิกการเป็นอาคารของการรถไฟฯ แล้ว อย่างที่สองต้องใช้เงินในการดำเนินการด้วยเงินส่วนตัว และห้ามการค้าใดๆ ทั้งสิ้น อย่างสุดท้ายคือให้ดำเนินการให้สมเกียรติการรถไฟฯ” จุลศิริ วิรยศิริ ทายาทของสรรพสิริที่เข้ามาทำหน้าที่สืบสานเจตนารมณ์ต่อจากบิดา รำลึกถึงที่มาที่ไปของหอเกียรติภูมิรถไฟ

              ด้วยเหตุนี้ สมบัตินับร้อยชิ้น ไม่ว่าจะเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยเอง หรือสมบัติส่วนตัวของสมาชิกชมรมเรารักรถไฟ ไม่ว่าจะเป็นหัวรถจักร ตู้โบกี้ ซึ่งบางคันก็เหลือเพียงชิ้นเดียวในประเทศ ถูกถ่ายเทเข้ามาอยู่ในหอเกียรติภูมิแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง แน่นอนว่า แต่ละชิ้นต่างก็มีเรื่องราวอันยาวนาน ที่แสดงให้เห็นความรุ่งเรืองทางคมนาคมของชาติที่เคยได้ชื่อว่า หนึ่งในผู้นำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง 'สยามประเทศ'              “รถรางหลายคันที่เราเจอมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มาก อย่างบางคันก็เป็นหนึ่งในสิบคันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานเอาไว้ให้ บางคันก็เป็นยานยนต์ 1 ใน 10 คันแรกของประเทศไทยด้วย หรือบางคันเป็นรถคันสุดท้ายแต่ไม่เคยวิ่งเลย เช่น รถจักรไอน้ำ 1009 ซึ่งเป็นรถที่ชาวไต้หวันนำมาขอสัมปทานวิ่งเมื่อปี 2506 หรืออย่างรถไฟพยาบาล ที่เป็นไม้สักทองทั้งหลังเลย เป็นต้น”

              [2]              หากทว่าตลอดระยะเวลา 21 ปี หอเกียรติภูมิรถไฟไม่เคยรับเงินช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการใดเลย เพราะฉะนั้นการจะทำให้หอเกียรติภูมิแห่งนี้สามารถคงอยู่ต่อไปได้ จึงเป็นภาระหนักที่ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ของผู้ดูแลอย่าง จุลศิริเลย เพราะแม้แต่การจ้างคนก็ยังทำไม่ได้ เนื่องจากไม่มีรายได้เพียงพอ และไม่เพียงแค่นั้น ในปี 2552 หอเกียรติภูมิรถไฟแห่งนี้ ก็ยังถูกตั้งข้อกล่าวหาอย่างฉกาจฉกรรจ์จากการรถไฟแห่งประเทศไทยอีกต่างหาก

              “ตอนนั้น มีหนังสือเป็นทางการมาบอกว่าให้ส่งมอบอาคารคืน ยุติการเป็นอาคารเกียรติภูมิรถไฟ ด้วย 2 ข้อหา คือ หนึ่ง เขาบอกว่าเรากำลังจะเปลี่ยนชื่อหอเกียรติภูมิรถไฟเป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟ ซึ่งผมก็แย้งไปว่าผมไม่เคยเปลี่ยนชื่อนะ แต่เรามีการเข้าร่วมประชุมกับการรถไฟฯ แล้วบอกว่าคุณควรมีพิพิธภัณฑ์สักทีหนึ่งนะ แต่เขาบอกว่าติดปัญหาเรื่องงบประมาณ เพราะฉะนั้นทางการรถไฟฯ จึงขอให้เอกชนโดยเฉพาะชมรมเรารักรถไฟเป็นแกนหลักได้ไหม เพื่อเร่งเป็นพิพิธภัณฑ์ 

              “พอเรากลับมาก็มีหนังสือว่า เราจะมีรายได้จากการทำพิพิธภัณฑ์ซึ่งผมคิดว่าตรงนี้เป็นการเข้าใจผิดกัน แต่ข้อสองที่มันดูตลกมาก คือเขาบอกว่าเรากำลังมีรายได้จากหอเกียรติภูมิรถไฟ ผมถามว่าเรามีรายได้อะไรเนื่องจากทั้งหอเรามีเพียงแค่ตู้น้ำดื่ม และเราก็ขายน้ำขวดละ 5-10 บาท เขาไม่ตอบ ผมเลยอนุโลมว่า นี่คือความผิดมั้ง เพราะทั้งเนื้อทั้งตัวเรามีแค่เนี้ย แม้แต่ของที่ระลึกหรือใครมาขอซื้อเรายังไม่ขายเลย”

               เพราะฉะนั้นเพื่อยุติปัญหา จุลศิริจึงตัดสินใจยอมย้ายออกจากพื้นที่อื่น แต่ทว่าก็ติดปัญหาอยู่เรื่องก็คือ ทรัพย์สินส่วนที่เป็นของการรถไฟฯ เช่น พวกหัวรถจักรและตู้โบกี้นั้น ทางชมรมฯ นั้นไม่มีสิทธิ์เอาไปด้วย และหากจะขอซื้อก็สามารถทำได้ แต่ตามระเบียบของการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้น ก็ระบุไว้ว่าจะต้องตัดทำลายเป็นชิ้น เพื่อป้องกันการนำมาใช้ประโยชน์ในรูปเดิม พูดง่ายๆ ก็คือ ขายเป็นเศษเหล็กนั่นเอง              ขณะเดียวกัน ถึงตอนนี้การรถไฟฯ ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่า สุดท้ายแล้วจะจัดการกับพื้นที่ตรงนี้ รวมไปถึงข้าวของประวัติศาสตร์ของตัวเองอย่างไรกันแน่

              [3]              และเป็นเรื่องแน่นอนว่า การปิดฉากของหอเกียรติภูมิรถไฟ สวนจตุจักรนี้ย่อมนำความอาลัยมาสู่ผู้คนที่คุ้นเคยกับสถานที่แห่งนี้เป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะนอกจากที่นี้จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นดี ชนิดเพียงเดินเข้าไปก็สัมผัสได้ถึงความรู้และความสุขแล้ว

              ที่นี่ยังนับเป็นแหล่งถ่ายภาพชั้นดีอีกด้วย ธนากร อิ้วตกส้าน เจ้าของเว็บไซต์ช้างอิมเมจดอตคอม ซึ่งมักชวนผู้คนมาถ่ายรูปที่นี่เสมอ เปิดเผยความรู้สึกว่า เสียดายมาก หากหอเกียรติภูมินี้ต้องปิดตัวลงไป เพราะต้องยอมรับว่า ของที่เก็บอยู่ที่นี่ ถือเป็นสิ่งที่มีค่า เช่น รถรางที่มีความสมบูรณ์ ซึ่งบ่งบอกบรรยากาศเก่าๆ ของเมืองไทยได้เป็นอย่างดี และหากมีการเปิดต่อไป ประชาชนจะต้องมาชมมากกว่านี้

              เช่นเดียวกับคนที่ทำพิพิธภัณฑ์มาตลอดชีวิตอย่าง เอนก นาวิกมูล นักสะสม และผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ของประเทศไทย กล่าวถึงเรื่องของการเก็บรักษามรดกของชาติที่ถูกละเลยโดยคนที่มีอำนาจในสังคม ซึ่งบอกว่า รู้สึกแปลกใจมากที่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นมา              “ผมว่ามันเป็นเรื่องที่ไม่น่าเกิด เพราะทุกคนรู้นะว่าสิ่งเหล่านี้มีค่า และถ้าไม่มีแหล่งเก็บก็จะไปหาดูได้ที่ไหนก็ไม่รู้ พิพิธภัณฑ์ของการรถไฟเองผมก็ไม่เห็นว่าจะมีที่ตรงไหน คนที่ทำเขาเสียกำลังกาย กำลังใจ กำลังทรัพย์มานานเป็นหลายสิบปี แต่สุดท้ายก็ไปให้เขาเลิก”

              ไม่เพียงเท่านั้น อีกทีหนึ่งที่ดูจะซึมซับการจากไปครั้งนี้มากที่สุดกลุ่มหนึ่ง ก็คือห้องกล้องในเว็บไซต์พันทิป โดยปลา-ธนาสิริ สุธีธร หนึ่งในสมาชิกของห้องนี้ บอกว่า ตอนนี้กำลังรวบรวมสมัครพรรคพวกเพื่อจัดทำหนังสือบันทึกหลักฐานและเรื่องราวอันน่าจดจำของหอเกียรติภูมิรถไฟเอาไว้              “เรื่องเริ่มจากเห็นกระทู้ ลุงตุ้ย (จุลศิริ) ผู้พิทักษ์มรดกรถไฟไทย ที่โพสโดยคุณ norimishi พออ่านเสร็จก็แชร์ลิงค์ไปในเฟซบุ๊ก แล้วพี่สาวก็นำไปแชร์ต่อในกลุ่มเป็นกลุ่มที่อาจารย์ของปลา (ธนาสิริ) ตั้งขึ้นค่ะชื่อ เวทีพิพิธภัณฑ์ หลังจากนั้น พี่ตู๋ รุ่นพี่ที่เรียนจบจากที่เดียวกัน เคยได้ไปออกแบบแผ่นพับให้ลุงตุ้ยเมื่อตอนเรียนก็อยากจะทำหนังสือให้ โดยพี่ตู๋มีไอเดียว่า ถึงไม่มีหอเกียรติภูมิรถไฟแล้วอย่างน้อยก็มีหนังสือไว้เป็นหลักฐานพอดีเพื่อนในรุ่นว่าง เพราะเพิ่งเรียนจบ ก็เลยอาสาไปด้วย ซึ่งพอไปคุยกับลุงตุ้ยเลยรู้ว่าลุงตุ้ยจะทำหนังสืออยู่แล้ว ทุกอย่างก็ตกลง”

              ซึ่งกระบวนการครั้งนี้ ก็ได้รับความร่วมมืออย่างดีเยี่ยมจากสมาชิกออนไลน์ของเว็บไซต์ที่ทั้งรู้จักและไม่รู้จัก ส่งภาพถ่ายมาให้เป็นจำนวนมาก หรือแม้แต่ตอนที่ไปติดต่อโรงพิมพ์เพื่อขอให้จัดพิมพ์หนังสือประวัติศาสตร์เล่มนี้ให้ ก็ยังได้รับความอนุเคราะห์ในเรื่องค่าใช้จ่ายอีกด้วย

              [4]              แม้หนังสือที่เกิดขึ้นนี้จะมาจากความตั้งใจที่ดี แต่สุดท้ายก็คงทำหน้าที่ได้เพียงแค่บันทึกความทรงจำดีๆ เอาไว้เท่านั้น เพราะต้นเหตุของปัญหานี้อยู่ที่การไม่ให้ความสำคัญกับคุณค่าทางประวัติศาสตร์เท่าที่ควรของคนหรือหน่วยงานในสังคมไทย โดยเฉพาะหากสิ่งนั้นไม่มีผลประโยชน์เข้ามาข้องเกี่ยว

              แน่นอนว่า ประเด็นหนึ่งที่ทุกคนต่างจับตาดูก็คือ สุดท้ายแล้ว ท่าทีของการรถไฟฯ นั้นเป็นเช่นใด ซึ่งเรื่องนี้จุลศิริ เคยกล่าวเอาไว้กับเจ้าของพื้นที่ว่า หลังจากที่เขาย้ายออกไปแล้ว ก็อยากจะขอให้นำพื้นที่นี้เป็น 'พิพิธภัณฑ์รถไฟ' ตามความประสงค์ดั้งเดิมของหน่วยงาน ซึ่งถึงตอนนี้ก็เหมือนยังไร้คำตอบจากผู้บริหาร

              ที่สำคัญจากประสบการณ์การทิ้งร้างอาคารไว้เมื่อ 20 ปีก่อนนั้นถือเป็นพยานชั้นดีว่า หากไม่มีผลประโยชน์แล้ว ก็ยากที่จะสามารถรักษาประวัติศาสตร์ตรงนี้เอาไว้ได้              “ก่อนคุณสรรพสิริจะนำมาจัดแสดงที่นี้ อาคารนี้ก็คือป่าช้ารถไฟและผุพังลงไปทุกวัน ในความเห็นของปลา ทางออกที่ดีที่สุดคือการรถไฟแห่งประเทศไทยควรจะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์รถไฟ และเท่าที่ทราบการรถไฟฯ ก็เคยมีโครงการอยู่แล้ว แต่ก็เงียบหายไป เพราะฉะนั้น หากการที่คนหันมาสนใจความเป็นไปของหอเกียรติภูมิรถไฟแล้วช่วยกันเรียกร้องให้การรถไฟแห่งประเทศไทย รื้อฟื้นโครงการพิพิธภัณฑ์รถไฟขึ้นมาได้สำเร็จ คงจะเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ดังตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้น ที่แรงเรียกร้องของศิลปิน ที่ทำให้โครงการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครฟื้นกลับขึ้นมาได้” ธนาสิริอธิบายความห่วงใยที่สัมผัสได้

              ขณะเดียวกัน ทางออกที่พอจะเป็นไปได้ ก็คือ การที่ผู้มีอำนาจจะต้องลุกขึ้นมาทำตรงนี้ โดยเอนกชี้ให้เห็นว่า จริงๆ แล้วตามระเบียบราชการนั้นก็มีกฎที่เกี่ยวกับการโอนถ่ายทรัพย์สินอยู่แล้ว ซึ่งหากเจ้าของสินทรัพย์เองไม่มีกำลังหรือประสิทธิภาพเพียงพอที่จะดูแลทรัพย์สิน ก็น่าจะมอบให้ผู้ที่เหมาะสมทำให้เห็น

              “จริงๆ มันมีหนทางแก้ไขอยู่ เช่น อาจจะทำเรื่องบริจาคให้กับองค์กรที่มีคนดูแลอยู่แล้วอย่างมิวเซียมสยามก็ได้ หรือไม่ก็ให้กรมศิลปากรก็ได้ แต่มันจะเป็นจริงได้หรือไม่ก็ไม่รู้ เพราะระบบราชการบ้านเรามีขั้นตอนเยอะ” 

              [5]              อย่างไรก็ดี แม้ถึงตอนนี้จะเป็นเรื่องลำบากเสียแล้วที่จะเหนี่ยวรั้งสถานที่แห่งความทรงจำเอาไว้ได้ แต่จุลศิริ ก็บอกให้ทราบถึงข่าวดีว่า ตอนนี้เขามีแผนสำรองเอาไว้เรียบร้อยแล้ว โดยจะย้ายหอเกียรติภูมิฯ พร้อมกับของในส่วนของชมรม มาอยู่ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาแทน ซึ่งจะทำการย้ายให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 22 ธันวาคม 2555

              “ตอนนี้อยู่ระหว่างการเคลียร์ของ เพราะในหอฯ มีทั้งรถไฟและสิ่งอื่นๆ เต็มไปหมด เช่น รถยนต์ เครื่องบิน ผมมีแม้แต่ซากเครื่องบินที่ญี่ปุ่นตกในสะพานข้ามแม้น้ำแควนะ ซึ่งของมันเป็นหมื่นตันเลย และหอนี่ก็กินเนื้อที่ถึง 1 ไร่ โดย การขนย้ายทั้งหมดเราจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง ซึ่งผมตั้งใจว่า การออกแบบอาคารใหม่นั้นจะทำให้เหมือนกับหัวลำโพงย่อส่วนมา”

       ..........              แม้ตอนนี้ หอเกียรติภูมิรถไฟจะเป็นเพียงกรณีเล็กๆ เท่านั้น เมื่อเทียบกับปัญหาในสังคมไทย แต่ถ้ามองในอีกมุมหนึ่ง เรื่องนี้ก็เป็นเครื่องตอกย้ำได้ดี ถึงความล้มเหลวของการรักษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์เอาไว้ให้อยู่คู่กับสังคมเพราะมรดกของชาตินั้น ก็เปรียบเหมือนรากเหง้าที่ทุกคนควรมีส่วนช่วยดูแลรักษา และไม่ปล่อยให้ตายไปกับกาลเวลา

              เหมือนที่จุลศิริได้เล่าถึงมูลเหตุที่เขาทุ่มเทกับเรื่องนี้ว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปเปิดรถไฟหลวงขบวนปฐมฤกษ์เมื่อปี 2439 ทรงเคยมีพระราชปรารภกับ พระยามหาอำมาตยาธิบดี ราชเลขานุการส่วนพระองค์ ซึ่งเป็นปู่ของเขาว่า

              “หัวลำโพงมันแคบไป ท่านก็เลยบอกให้คุณปู่ผมเวนคืนที่ดินตรงบางซื่อทั้งหมดเพื่อทำเป็นชุมทางรถไฟใหญ่ แล้วทำเสร็จแล้วให้ย้ายหัวลำโพงมาตั้งที่บางซื่อ แล้วให้หัวลำโพงเป็นมิวเซียม (พิพิธภัณฑ์) เพื่อจะเก็บสิ่งที่ท่านให้ในวันนี้และวันต่อไปในภายภาคหน้า จะได้เป็นที่ระลึกเพื่อการเรียนรู้จะได้รู้ว่าการพัฒนาของประเทศเริ่มโดยการรถไฟ”      



ที่มาhttp://www.thaitransport-photo.net/railwayhall/

http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/428098.html

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000076377


ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.ssru.ac.th/linkssru/wed/moral/admin/fileexposition/20.pdf