วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

142nd Birthday Maria Montessori

สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่าน วันนี้เมื่อคนเขียนได้มีโอกาสเปิด Google ก็ได้เจอ Doodle หน้าตาแปลกๆ สวยๆ อีกแล้ว วันนี้เป็นรูป

Maria Montessori's 142nd Birthday

ทำให้อยากรู้ว่าเป็นใครอีกจนได้ เลยลองเสิร์ชหาดู ทำให้รู้อะไรใหม่ๆอีกเยอะแยะเลย (หากินกับกูเกิ้ลอีกแล้วววววว -*-)



Maria Montessori was an Italian educator and doctor. She was born on August 311870 in ChiaravalleItaly. Maria Montessori created the first Montessori school. Maria Montessori started this method when she was in charge of a school for handicapped children. Maria Montessori also founded around 1907 in San Lorenzo, a slum area of Rome, the first Casa dei Bambini ("Children's House"). She died on May 6, 1952.

Works

Montessori published a number of books, articles, and pamphlets during her lifetime, often in Italian, but sometimes first in English. According to Kramer, "the major works published before 1920 (The Montessori MethodPedagogical AnthropologyThe Advanced Montessori Method—Spontaneous Activity in Education and The Montessori Elementary Material), were written in Italian by her and translated under her supervision."[97] However, many of her later works were transcribed from her lectures, often in translation, and only later published in book form.
Montessori's major works are given here in order of their first publication, with significant revisions and translations.
  • (1909) Il Metodo della Pedagogia Scientifica applicato all'educazione infantile nelle Case dei Bambini
    • revised in 1913, 1926, and 1935; revised and reissued in 1950 as La scoperta del bambino
    • (1912) English edition: The Montessori Method: Scientific Pedagogy as Applied to Child Education in the Children's Houses
    • (1948) Revised and expanded English edition issued as The Discovery of the Child
    • (1950) Revised and reissued in Italian as La scoperta del bambino
  • (1910) Antropologia Pedagogica
    • (1913) English edition: Pedagocial Anthropology
  • (1914) Dr. Montessori's Own Handbook
    • (1921) Italian edition: Manuale di pedagogia scientifica
  • (1916) L'autoeducazione nelle scuole elementari
    • (1917) English edition: The Advanced Montessori Method, Vol. I: Spontaneous Activity in Education; Vol. II: The Montessori Elementary Material.
  • (1922) I bambini viventi nella Chiesa
  • (1923) Das Kind in der Familie (German)
    • (1929) English edition: The Child in the Family
    • (1936) Italian edition: Il bambino in famiglia
  • (1934) Psico Geométria (Spanish)
    • (2011) English edition: Psychogeometry
  • (1934) Psico Aritmética
    • (1971) Italian edition: Psicoaritmetica
  • (1936) L'Enfant(French)
    • (1936) English edition: The Secret of Childhood
    • (1938) Il segreto dell'infanzia
  • (1948) De l'enfant à l'adolescent
    • (1948) English edition: From Childhood to Adolescence
    • (1949) Dall'infanzia all'adolescenza
  • (1949) Educazione e pace
    • (1949) English edition: Peace and Education
  • (1949) Formazione dell'uomo
    • (1949) English edition: The Formation of Man
  • (1949) The Absorbent Mind
    • (1952) La mente del bambino. Mente assorbente
  • (1947) Education for a New World
    • (1970) Italian edition: Educazione per un mondo nuovo
  • (1947) To Educate the Human Potential
    • (1970) Italian edition: Come educare il potenziale umano




ศิลปะแขนงที่ 7 (ภาพยนตร์) อย่าง "เชคสเปียร์ต้องตาย"...ทำไมต้องแบน?

สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่าน คนเขียนไม่ได้อัพบล็อกเสีียนาน เพราะว่ามัวแต่ทำงานอย่างอื่น ถึงจะมีโอกาสอยู่หน้าคอมฯก็ไม่ได้เปิดบล็อกเลย -*- ต้องขออภัยจริงๆ

วันนี้คนเขียนขอนำเสนอ อีกหนึ่งในคำถามที่อาจารย์เคยถาม ในคาบเรียนวิชาภาษาฝรั่งเศส ที่ว่า


"ศิลปะแขนงที่ 7 คืออะไร???"

พอคนเขียนมานับๆดู เท่าที่รู้ก็จะมี จิตรกรรม  ประติมากรรม สถาัปัตยกรรม วรรณกรรม คีตกรรม (ดนตรี) และการพิมพ์ภาพ

เอ...แล้วมันมาจากไหนอีกอันหว่า??? -*-

พอไปเสิร์ชใน Google ดู ว่า "ศิลปะแขนงที่ 7"
ก็ได้พบคำตอบว่า ศิลปะแขนงนี้ เป็นศิลปะที่ใกล้ตัวเรามากๆ นั่นก็คือ "ภาพยนตร์"

พอนึกถึงภาพยนตร์ปุ๊บ ชื่อของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ลอยมาปั๊บ!!!

เชคสเปียร์...ต้องตาย (Shakespeare Must Die)

ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เป็นที่รู้จักมาก เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา เนื่องจากไม่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ (กองเซ็นเซอร์) กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

ว่าแต่...เขาจะแบนทำไม เนื้อหาของเรื่องจะเป็นอย่างไร คนเขียนขออนุญาต พาท่านผู้อ่านมาทำความรู้จักกับภาพยนตร์เรื่องนี้กันนะคะ ^^


เชคสเปียร์ต้องตาย (อังกฤษShakespeare Must Die) เป็นภาพยนตร์นอกกระแส เขียนบทและกำกับโดยสมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ หรือ อิ๋ง เค [2] ดัดแปลงจากบทละครโศกนาฏกรรมแม็คเบ็ธของวิลเลียม เชกสเปียร์ โดยมีการดัดแปลงเพื่อให้เป็นภาษาภาพยนตร์ และเข้ากับบริบทของวัฒนธรรมไทย [3]
เชคสเปียร์ต้องตายใช้วิธีการเล่าเรื่องแบบละครซ้อนละคร ดำเนินเรื่องควบคู่กันไป มีเหตุการณ์สองส่วน คือละครเวที และโลกภายนอกในเหตุการณ์ร่วมสมัย มีตัวละครนำชื่อ "เมฆเด็ด" (Mekhdeth) เป็นขุนนางที่ล้มอำนาจกษัตริย์ และสถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ เมฆเด็ดลุ่มหลงในอำนาจ เกิดหวาดระแวงว่าจะถูกล้มล้าง จนต้องฆ่าใครต่อใครเพื่อจะได้อยู่ในอำนาจต่อไป เรื่องราวทั้งหมดเล่าผ่านมุมมองของตัวละครที่ชื่อว่า "บุญรอด" [4]
สมานรัชฎ์เรียกภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าเป็น "หนังผีต้นทุนต่ำ" [5] สร้างจากเงินทุนสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมภาพยนตร์ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง [6] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 มีกำหนดออกฉายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555
ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ (กองเซ็นเซอร์) กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555 ได้รับเรท "ห" หรือ ห้ามเผยแพร่ในประเทศไทย โดยให้เหตุผลว่า มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ[7][8][9] ทั้งนี้เนื่องจากในภาพยนตร์มีการอ้างอิงถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 มีการนำฟุตเทจภาพความเสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 มาใช้[10][11] และการให้ปิศาจในเรื่องสวมชุดสีแดงเปรียบเหมือนเหมือนการกล่าวหาเสื้อแดง [4]

เชคสเปียร์ต้องตาย
Shakespeare Must Die
กำกับอิ๋ง เค
ผลิตมานิต ศรีวานิชภูมิ
เขียนบทอิ๋ง เค
อิงแม็คเบ็ธ ของวิลเลียม เชกสเปียร์
แสดง/
พากย์
พิศาล พัฒนพีระเดช
ธาริณี เกรแฮม
นิวัติ กองเพียร
สกุล บุณยทัต
กำกับภาพมานิต ศรีวานิชภูมิ
Rodrigo Oliviari
ฉายพ.ศ. 2555
ยาว176 นาที [1]
ประเทศไทย
ภาษาไทย

นักแสดง

ต้นฉบับตัวละครนักแสดง
Macbeth, Thane of Glamisเมฆเด็ด / ท่านผู้นำพิศาล พัฒนพีระเดช[12]
Lady Macbethคุณหญิงเมฆเด็ดธาริณี เกรแฮม
Macduff, Thane of Fifeเมฆดับชัชดนัย มุสิกไชย
Lady Macduffคุณหญิงเมฆดับภิสสรา อุมะวิชนี
Macduff's sonลูกสาวเมฆดับน้ำอบ เสมสีสม
Banquoบางโค (เพื่อนเมฆเด็ด)ต่อตระกูล จันทิมา
Three Witchesแม่มดม.ร.ว. สายสิงห์ ศิริบุตร
Aaliyah S
ชมวรรณ วีระวรวิทย์
Hecateเจ้าแม่ปิณิดา คงสิริ
Duncan (กษัตริย์สกอตแลนด์)ดังแคนนิวัติ กองเพียร
Malcolmมั่นคำ (ลูกชายดังแคน)น้ำมนต์ จ้อยรักษา
Donalbainดอนเพ็ญ (ลูกชายดังแคน)พีร์ ภานุวัฒน์วนิชย์
Siward, Earl of Northumberlandบุญรอดสกุล บุณยทัต
Siward's sonเปลี่ยนปรัชญ์ภูมิ บุณยทัต
Seytonศรีตาล (คนใช้เมฆเด็ด)ปิยทัต เหมทัต

*********************************************************************

ทีนี้ เรามาดู วาระการพิจารณาว่่าทำไมถึงโดนแบน กันดีกว่าค่ะ

วาระการพิจารณา 3 เมษายน 2555 17:56 วาระการพิจารณา:
คณะกรรมการฯ พิจารณาเห็นว่า ภาพยนตร์เรื่อง เชคสเปียร์ต้องตาย (Shakespeare Must Die)  มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ ตามกฏกระทรวงกำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ พ.ศ.๒๕๕๒ ข้อ ๗ (๓) จึงมีมติ ไม่อนุญาต โดยจัดเป็นประเภทภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๒๖ (๗) แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑



แถลงการณ์ผู้กำกับ เชคสเปียร์ต้องตาย’ 20 มีนาคม 2555

คุณสมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ เขียนบทแถลงการณ์ (แถลงการณ์ผู้กำกับ เชคสเปียร์ต้องตาย’ 20 มีนาคม 2555 11:49)นี้ขึ้นมาขณะที่กำลังเตรียมใจส่ง เชคสเปียร์ต้องตาย ไปให้กองเซ็นเซอร์พิจารณา เหมือนจะรู้ว่าหนังเรื่องนี้จะต้องเผชิญกับชะตากรรมอย่างใดอย่างหนึ่งไปในทางที่ไม่พึงประสงค์ของผู้สร้างงานศิลปะ สาเหตุอาจจะมิใช่เพราะหนังได้รับเงินสนับสนุนมาจากโครงการไทยเข้มแข็ง เท่านั้น ซึ่งเป็นโครงการเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยงบประมาณประเทศเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศในช่วงที่ประเทศกำลังบอบช้ำจากการประท้วงของคนกลุ่มหนึ่ง โดยโครงการนี้เป็นนโยบายของรัฐบาลชุดก่อน ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่เหตุผลต่างๆ ที่ถูกแบนส่วนหนึ่งคงเป็นคำเฉลยที่มีมาจากทีมงานผู้ผลิตหนังเรื่องนี้
ส่วนเหตุผลของทางฝ่ายคณะผู้พิจารณาอนุญาตไม่ให้ฉายหนังเรื่องนี้ได้ในประเทศไทยก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ “ไม่ตรงกัน” และก็แน่นอนว่า ศิลปะไม่ว่าด้านใด สาขาใด หรือเรื่องใด การมีมุมมองต่องานศิลปะแต่ละภาคส่วนย่อมมีความเห็นแตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกันกับที่เคยมีมุมมองต่อภาพวาดทางศิลปะ “ภิกษุสันดานกา” ซึ่งสะท้อนภาพความเป็นจริงของพระสงฆ์ในศาสนาพุทธก็เคยถูกตำหนิจากฝ่ายคุมกฎพระพุทธศาสนา



คำร้องเรียนต่อมวลชนของคุณสมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ ซึ่งได้ทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นของหนังเรื่องนี้ โดยได้กล่าวว่า
“......ตั้งแต่จำความได้ ฉันไม่เคยเห็นเมืองไทยอารมณ์เลวร้ายเท่ากับยามนี้  ทุกอณูอากาศ ทุกผงธุลี เปี่ยมล้นด้วยความโกรธ เกลียดชัง ความเศร้า ความสิ้นศรัทธา
จึงค่อนข้างแน่นอนว่าทั้งกองเซ็นเซอร์และฝ่ายอื่นๆ ย่อมตั้งคำถามลักษณะนี้กับเรา: พวกคุณไม่เกรงกลัวหรือว่าหนังเรื่องนี้อาจทำให้สังคมแตกแยกยิ่งขึ้น?; คุณมีอคติต่อเสื้อแดงหรือเปล่า?; คุณไม่กลัวเสื้อแดงมาฆ่าหรอกเหรอ?; หนังเรื่องนี้เป็นการโจมตีครอบครัวชินวัตรใช่ไหม?; หรือว่าเป็นการโจมตีพระราชวงศ์จักรี? (ในเมื่อคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกำลังแพร่หลายระบาด ต้องขอยืนยันตรงนี้ว่าทุกพยางค์ของฉากนั้นมาจากต้นฉบับของเชคสเปียร์ มันคือการถกเถียงเรื่องพระราชอำนาจและบารมีของพระมหากษัตริย์ อันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ฟ้าประทานมา [Divine Right of Kings] ซึ่งสรุปใจความว่ากษัตริย์นั้นศักดิ์สิทธิ์ตราบใดที่องค์กษัตริย์ทรงมีความประพฤติที่ศักดิ์สิทธิ์ ตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม และการถกเถียงนี้ในแก่นสารครอบคลุมถึงผู้นำและนักปกครองทุกประเภท)หนังเรื่องนี้รื้อฟื้นบาดแผลสังคมทั้งเก่าและใหม่โดยไม่จำเป็นหรือไม่?; ทำไมคุณหญิงเมฆเด็ด (เลดี้แม็คเบ็ธ) จึงเรียกปีศาจร้ายให้เข้ามาสิงตัวเธอ ขณะที่กำลังพนมมืออยู่หน้าพระพุทธรูปฯลฯ
********************************************
และความตอนหนึ่งกล่าวอย่างดุเด็ดเผ็ดร้อนว่า
“.......... ศิลปะจำเป็นต้องเป็นกลางและ ยุติธรรมด้วยหรือ? แทนที่จะมาเรียกร้องหาสิ่งนี้จากหนังผีทุนต่ำของเรา  ทำไมคุณไม่ตั้งคำถามกับการที่หนังสือนิวส์วีคยกย่องยิ่งลักษณ์เป็นวีรสตรี--เคียงบ่าเคียงไหล่กับ ออง ซาน ซู จี และฮิลลารี คลินตันประมาณว่าแม่พระผู้ส่งเสริมความสมานฉันท์ และจัดการน้ำท่วมได้อย่างเก่งกาจ)
“.......‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ คือ จุดรวมฝันร้ายของเรา นี่คือมโนภาพแห่งความสยองขวัญของเรา .....”
“...เราดูดซึมยาพิษจากยุคสมัยมาถักทอเป็นภาพต้องมนต์สะกดเพื่อความสนุกเพลิดเพลินของคนดู ...”
“หนังผี-หนังสยองขวัญ จะทำหน้าที่ของมัน--คือไล่ผีและปลดปล่อยปมขมวดทางจิตให้เรา--ได้สำเร็จก็ต่อเมื่อมันไม่หลีกเลี่ยงสารพิษในผืนดินถิ่นกำเนิดของมัน แต่พร้อมที่จะหยั่งรากลึกลงไปในก้นบึ้งของพิษร้ายนั้นอย่างเต็มอกเต็มใจและเต็มที่
ในฐานะนักทำหนังทุนต่ำที่มีปูมหลังเป็นนักข่าว ฉันอดใจไม่ได้ที่จะไม่ออกไปถ่ายภาพความวินาศสันตะโร ทั้งที่ไฟไหม้เซ็นทรัลเวิร์ลด์ยังไม่ทันดับ โดยเฉพาะโรงหนังสยามอันเป็นที่รัก พร้อมกับหน้ากากกรีกฝาแฝดแห่งการละคร ที่พักตร์หนึ่งเศร้า(โศกนาฎกรรม) และพักตร์หนึ่งหัวร่อ(ตลกหรรษา) ซึ่งผ่านกองเพลิงมาได้โดยไม่เป็นอะไรเลย เช่นเดียวกับแผ่นโปสเตอร์โฆษณาหนังรักตลกของเจนนิเฟอร์ อนิสตัน ที่กำลังฉายอยู่ ผู้กำกับงบน้อยต้องไขว่คว้า ต้องฉกฉวยทุกของถูกของฟรี ทุกโอกาสที่จะเติมความอลังการให้แก่หนัง ไม่มีทางเลยที่เราจะสร้างภาพมหากาพย์แบบนี้ขึ้นมาได้เองจากปัจจัยที่มีอยู่ ในเมื่อมันเจ๋งและเป็นของฟรี ฉันไม่อาจปฏิเสธของขวัญที่ฟ้าประทานมาให้บนถาดเงิน
ภาพหลังแทนกรีนสกรีนหลังแม่มดในฉากนั้น เดิมจะเป็นการฉายซ้ำของน้ำตกไนแองการ่าเป็นเลือด (นี่ก็ของฟรีเหมือนกัน ที่รีบคว้ามาจากการได้ตั๋วฟรีไปเทศกาลภาพยนตร์โตรอนโตกับ พลเมืองจูหลิง’ หนังเรื่องก่อน) แต่มันย่อมตกกระป๋องไป ในเมื่อเรามีไฟล์ภาพซากตอตะโกของเซ็นทรัลเวิร์ลด์กับหน้ากากโรงหนังสยาม
*******************************************
ส่วนการรื้อฟื้นแผลเก่า” ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากภาพข่าวรางวัลพูลิตเซอร์ของช่างภาพสำนักข่าวเอพี นีล ยูเลฟวิช รูปไทยมุงรอบชายในเสื้อซาฟารี ที่ใช้เก้าอี้เหล็กตีศพนักศึกษาที่ถูกแขวนคอกับต้นไม้กลางสนามหลวง เรื่องนี้ ฉันคงต้องโยนคำถามกลับมาให้ตอบกับตัวคุณเองว่า มันจำเป็นหรือไม่ที่จะท้าวความถึง ตุลา มหาวิปโยคเหตุการณ์นั้นมีชนวนอ้างอิงเป็นการแสดงละครประท้วงเช่นกัน โปรดสังเกตด้วยว่าโฟกัสในฉากนี้จับจ้องอยู่ที่ใบหน้าบรรดากองเชียร์ ไม่ใช่กับศพและชายที่ฟาดเก้าอี้ สิ่งที่ฝังใจเรามากกว่า คือคนที่เรียกกันว่าคนธรรมดา รวมทั้งเด็กๆ ที่มายืนหัวเราะและสนับสนุนยุยง ภาพข่าวภาพนี้ ติดตาตำใจและจิตวิญญาณวัยรุ่นทึ่มๆของฉัน ตั้งแต่ครั้งแรกที่เห็นในปี๒๕๑๙ จนกลายมาเป็นความหมกมุ่นส่วนตัวมาตลอดชีวิต ภาพนี้หลอกหลอนเราด้วยความหวาดหวั่นแบบเด็กกลัวผี--ว่าจะถูกเข่นฆ่าโดยอันธพาลคลั่งเจ้าและลูกเสือชาวบ้าน และด้วยความรู้ซึ้งคาใจว่า คนธรรมดาอาจกลายเป็นฆาตกร และเมืองไทยกลายเป็นรวันดา๑๙๙๔ ได้ภายในพริบตาเดียว หากว่าถูกยุยั่วปั่นหัวเป็นหางโดยนักโฆษณาชวนชั่วอย่างถูกจุด มาถึงวันนี้ แทนที่จะเป็นอันธพาลคลั่งเจ้าที่เราต้องกลัว เรามีกลุ่มคนบ้าคลั่งกลุ่มอื่นที่ไร้เหตุผลและนิยมความรุนแรงอย่างแท้จริง อันเป็นผลงานมหกรรมปั่นหัวโดยเครื่องจักรทักษิณ ดังนั้น ไม่ว่าเขาจะอ้างว่าเขาเป็นซ้ายหรือว่าเป็นขวาไม่ใช่ประเด็น แต่คนลักษณะนี้ทำให้ชีวิตของเราและของบ้านเมืองไร้เหตุผลและเสียสติ ทำให้ความสงบเหือดหายและเป็นไปไม่ได้ เช่นเดียวกับเยอรมันกับนาซี เราควรให้ลูกหลานทุกคนได้เห็นภาพนี้ เราควรจดจำมันไว้เสมอ ไม่ใช่เพื่อโหมไฟอาฆาตพยาบาทต่อกัน แต่เพื่อเตือนใจทุกคน รวมทั้งคนดี’ อย่างที่เราคิดว่าเราเป็นด้วย ที่อาจกลายเป็นปีศาจได้ ถ้าถูกยั่วยุเกินทน
*****************************************************
ต่อให้ไม่นับมรดกทางวัฒนธรรมอันนี้ ต้องยอมรับว่าสีแดงเป็นสีสากลที่หมายถึงเลือดและความรุนแรง หนังแต่ละเรื่องต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะถึงจอ กว่าจะเขียนบท กว่าจะหาทุน กว่าจะหานักแสดงครบ ฯลฯ ทักษิณมีสิทธิผูกขาดการใช้สีแดงเช่นเดียวกับที่เขาต้องการผูกขาดทุกสิ่งทุกอย่างอย่างนั้นหรือในการสร้างหนังผีเชคสเปียร์ของเรา ฉันปฏิเสธที่จะเล่นตามบทและกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดยคนเขียนบทของทักษิณ คุณอาจเลือกที่จะทำตามกติกาเหล่านั้นที่เขากำหนดขึ้นมาลอยๆ นั่นเป็นการตัดสินใจของคุณ มันไม่ใช่เรื่องของฉัน (ถ้าโชคดี คุณอาจได้ประโยชน์จากมันก็เป็นได้ มีข่าวร่ำลือหนาหูในหมู่นักทำหนังว่า ทักษิณกำลังช็อปปิ้งหาผู้กำกับทำหนังชีวประวัติของเขา ซึ่งถ้าเกิดขึ้นจริง ย่อมไม่ใช่หนังทุนต่ำแน่นอน) หากว่าความคิดเช่นนี้ทำให้ฉันไม่เป็นประชาธิปไตย” และทำให้ยากลำบากในการนำ เชคสเปียร์ต้องตาย’ ออกมาสู่สายตาโลก มันก็ช่วยไม่ได้จริงๆ 
ด้วยความนับถือ
สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ กทม.๑๙ มี.ค. ๕๕


ที่มาเชคสเปียร์ต้องตาย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี