วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ชีวประวัติ "สุนทรภู่"

ชีวประวัติ "สุนทรภู่"


สุนทรภู่ กวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เกิดวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลา 2 โมงเช้า หรือตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 เวลา 8.00 น. นั่นเอง ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน) บิดาของท่านเป็นชาวกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ชื่อพ่อพลับ ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา ชื่อแม่ช้อย สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง อันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้น สุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง ซึ่งสุนทรภู่ยังมีน้องสาวต่างบิดาอีกสองคน ชื่อฉิมและนิ่ม อีกด้วย

"สุนทรภู่" ได้รับการศึกษาในพระราชวังหลังและที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดีตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม เพราะตั้งแต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัยรักแต่งกลอนยิ่งกว่างานอื่น ครั้งรุ่นหนุ่มก็ไปเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่วัดศรีสุดารามในคลองบางกอกน้อย ได้แต่งกลอนสุภาษิตและกลอนนิทานขึ้นไว้ เมื่ออายุราว 20 ปี

ต่อมาสุนทรภู่ลอบรักกับนางข้าหลวงในวังหลังคนหนึ่ง ชื่อแม่จัน ซึ่งเป็นบุตรหลานผู้มีตระกูล จึงถูกกรมพระราชวังหลังกริ้วจนถึงให้โบยและจำคุกคนทั้งสอง แต่เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2349 จึงมีการอภัยโทษแก่ผู้ถูกลงโทษทั้งหมดถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากสุนทรภู่ออกจากคุก เขากับแม่จันก็เดินทางไปหาบิดาที่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อ “พ่อพัด” ได้อยู่ในความอุปการะของเจ้าครอกทองอยู่ ส่วนสุนทรภู่กับแม่จันก็มีเรื่องระหองระแหงกันเสมอ จนภายหลังก็เลิกรากันไป

หลังจากนั้น สุนทรภู่ ก็เดินทางเข้าพระราชวังหลัง และมีโอกาสได้ติดตามพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ในฐานะมหาดเล็ก ตามเสด็จไปในงานพิธีมาฆบูชา ที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2350 และเขาก็ได้แต่ง “นิราศพระบาท” พรรณนาเหตุการณ์ในการเดินทางคราวนี้ด้วย และหลังจาก “นิราศพระบาท” ก็ไม่ปรากฏผลงานใดๆ ของสุนทรภู่อีกเลย

จนกระทั่งเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนแต่งตั้งให้เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด เนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอนบทละครในเรื่อง "รามเกียรติ์" ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น "ขุนสุนทรโวหาร"

ต่อมาในราว พ.ศ. 2364 สุนทรภู่ต้องติดคุกเพราะเมาสุราอาละวาดและทำร้ายท่านผู้ใหญ่ แต่ติดอยู่ไมนานก็พ้นโทษ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงติดขัดบทพระราชนิพนธ์เรื่อง "สังข์ทอง" ไม่มีใครแต่งได้ต้องพระทัย ทรงให้สุนทรภู่ทดลองแต่งก็เป็นที่พอพระราชหฤทัยภายหลังพ้นโทษ สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 และ เชื่อกันว่าสุนทรภู่แต่งเรื่อง "สวัสดิรักษา" ในระหว่างเวลานี้ ซึ่งในระหว่างรับราชการอยู่นี้ สุนทรภู่แต่งงานใหม่กับแม่นิ่ม มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อ "พ่อตาบ

"สุนทรภู่" รับราชการอยู่เพียง 8 ปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็ออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) อยู่เป็นเวลา 18 ปี ระหว่างนั้นได้ย้ายไปอยู่วัดต่างๆ หลายแห่ง ได้แก่ วัดเลียบ, วัดแจ้ง, วัดโพธิ์, วัดมหาธาตุ และวัดเทพธิดาราม ซึ่งผลจากการที่ภิกษุภู่เดินทางธุดงค์ไปที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ปรากฏผลงานเป็นนิราศเรื่องต่างๆ มากมาย งานเขียนชิ้นสุดท้ายที่ภิกษุภู่แต่งไว้ก่อนลาสิกขาบท คือ รำพันพิลาป โดยแต่งขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม พ.ศ. 2385 ทั้งนี้ ระหว่างที่ออกเดินทางธุดงค์ ภิกษุภู่ได้รับการอุปการะจากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณจนพระองค์ประชวรสิ้นพระชมน์ สุนทรภู่จึงลาสิกขาบท รวมอายุพรรษาที่บวชได้ประมาณ 10 พรรษา สุนทรภู่ออกมาตกระกำลำบากอยู่พักหนึ่งจึงกลับเข้าไปบวชอีกครั้งหนึ่ง แต่อยู่ได้เพียง 2 พรรษา ก็ลาสิกขาบท และถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระราชวังเดิม รวมทั้งได้รับอุปการะจากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพอีกด้วย


ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ครองราชย์ ทรงสถาปนาเจ้าฟ้า กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่วังหน้า (พระบวรราชวัง) สุนทรภู่จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุนทรโวหาร" ตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายบวรราชวังในปี พ.ศ. 2394 และรับราชการต่อมาได้ 4 ปี ก็ถึงแก่มรณกรรมใน พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 70 ปี ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว) ที่เรียกชื่อกันว่า "ห้องสุนทรภู่"


สำหรับทายาทของสุนทรภู่นั้น เชื่อกันว่าสุนทรภู่มีบุตรชาย 3 คน คือ"พ่อพัด" เกิดจากภรรยาคนแรกคือแม่จัน "พ่อตาบ" เกิดจากภรรยาคนที่สองคือแม่นิ่ม และ "พ่อนิล" เกิดจากภรรยาที่ชื่อแม่ม่วง นอกจากนี้ ปรากฏชื่อบุตรบุญธรรมอีกสองคน ชื่อ "พ่อกลั่น" และ "พ่อชุบ" อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น และตระกูลของสุนทรภู่ได้ใช้นามสกุลต่อมาว่า "ภู่เรือหงส์"


ผลงานของสุนทรภู่
หนังสือบทกลอนของสุนทรภู่มีอยู่มาก เท่าที่ปรากฏเรื่องที่ยังมีฉบับอยู่ในปัจจุบันนี้คือ…
ประเภทนิราศ
- นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. 2349) - แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง
- นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) - แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในวันมาฆบูชา
- นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. 2371) - แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่งไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดอยุธยา

- นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง
- นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา
- นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 3) แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา
- รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) - แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น "รำพันพิลาป" จากนั้นจึงลาสิกขาบท
- นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) –เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาบทและเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี
- นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2388) - แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเติมซึ่ง อ.ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่า บรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร

ประเภทนิทาน
เรื่องโคบุตร, เรื่องพระอภัยมณี, เรื่องพระไชยสุริยา, เรื่องลักษณวงศ์, เรื่องสิงหไกรภพ
ประเภทสุภาษิต
- สวัสดิรักษา- คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์
- สุภาษิตสอนหญิง - เป็นหนึ่งในผลงานซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงว่า สุนทรภู่เป็นผู้ประพันธ์จริงหรือไม
- เพลงยาวถวายโอวาท - คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว

ประเภทบทละคร
- เรื่องอภัยณุรา ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประเภทบทเสภา
- เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนกำเนิดพลายงาม)
- เรื่องพระราชพงศาวดาร


ประเภทบทเห่กล่อม
แต่งขึ้นสำหรับใช้ขับกล่อมหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ กับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เท่าที่พบมี 4 เรื่องคือ เห่จับระบำ, เห่เรื่องพระอภัยมณี, เห่เรื่องโคบุตร เห่เรื่องพระอภัยมณี, เห่เรื่องกากี



ที่มาของวันสุนทรภู่
องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO) ซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงาน ด้านวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่างๆ ทั่วโลก ด้วยการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ 100 ปีขึ้นไป ประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลกให้ปรากฎแก่มวลสมาชิกทั่วโลก และเพื่อเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองร่วมกับประเทศที่มีผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ


ในการนี้ รัฐบาลไทยโดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม เพื่อให้ยูเนสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและได้ประกาศยกย่อง "สุนทรภู่" ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก โดยในวาระครบรอบ 200 ปีเกิด เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้น เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับชีวิตและงานของสุนทรภู่ ให้แพร่หลายในหมู่เยาวชนและประชาชนชาวไทยมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ทางรัฐบาลจึงได้กำหนดให้ วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็น "วันสุนทรภู่" ซึ่งนับแต่นั้น เมื่อถึงวันสุนทรภู่ จะมีการจัดงานรำลึกถึงสุนทรภู่ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ที่พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ "วัดเทพธิดาราม" และ ที่จังหวัดระยอง และมีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่างๆ โดยทั่วไป


ทั้งนี้ ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่างๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ ไว้ที่ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นกำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง



กิจกรรมที่ควรปฏิบัติ ในวันสุนทรภู่
1. มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติชีวิตและผลงาน
2. มีการแสดงผลงานประเภทนิทานฯ ของสุนทรภู่
3. มีการประกวด แข่งขัน ประชันสักวา ตอบคำถามเกี่ยวกับประวัติชีวิต และผลงานของสุนทรภู่


ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/24209

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ของนมหนึ่งแล้ว (ซึ้งมากๆ)


นมสด1แก้ว เรื่องจริงที่น่าเหลือเชื่อ
เมื่อหลายปีมาแล้ว ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
เด็กชายเคลลี่ ซึ่งอยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน
เขาต้องหาเงินไปโรงเรียนเองด้วยการนำสิ่งของใส่กระเป๋าเดินไปขายตามบ้านที่อยู่ในเมืองใกล้เคียง
วันหนึ่งเขาพบว่าเมื่อจ่ายค่ารถและค่าสินค้าแล้ว เขามีเงินในกระเป๋าเหลือเพียง 10 เซ็นต์ เท่านั้น
ขณะนั้นเขากำลังหิวมาก แต่เงินสดที่เขามีอยู่นั้นไม่พอที่จะซื้ออาหารแม้แต่เพียงมื้อเดียว

ดังนั้นเขาจึงคิดจะไปขออาหารจากบ้านที่กำลังเดินไปถึง
แต่เมื่อกดกริ่ง หญิงสาวเจ้าของบ้านมาเปิดประตู เด็กชายเคลลี่ กับเกิดความละอายใจที่จะขออาหารเหมือนกับขอทาน เขาจึงขอเพียงน้ำเปล่าเพียงแก้วเดียวเท่านั้น
แต่เจ้าของบ้านสาวสังเกตเห็นท่าทางของเด็กชายเคลลี่ว่าคงจะกำลังหิว
เธอจึงได้นำเอานมสดแก้วใหญ่มาให้เคลลี่ดื่ม เด็กชายเคลลี่ดื่มนมอย่างกระหาย จนหมดแก้ว
แล้วถามว่า ผมต้องจ่ายเงินค่านมถ้วยนี้ให้คุณเท่าไหร่ครับ
เจ้าของบ้านสาวตอบว่า ไม่ต้องจ่ายเงินหรอก แม่ของฉันสอนไม่ให้รับสิ่งตอบแทนจากการให้น้ำใจไมตรี

เคลลี่ซาบซึ้งใจมากและตอบว่า

ถ้าเช่นนั้น ผมขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง จากหัวใจของผมก็แล้วกันนะครับ

ขณะที่เด็กชายเคลลี่ได้เดินออกจากบ้านหลังนั้น เขาไม่เพียงแต่รู้สึกว่ามีกำลังแข็งแรงขึ้นจากนมสดแก้วโตเท่านั้น แต่เขาได้มีความเข้าใจในเรื่องของน้ำใจไมตรีเพิ่มขึ้นด้วย...... อีก 30 ปีต่อมา มีหญิงคนหนึ่ง ป่วยหนักด้วยโรคหัวใจ ซึ่งแพทย์ท้องถิ่นไม่สามารถรักษาได้ จึงส่งไปให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้านโรคหัวใจทำการรักษา

เมื่อได้อ่านประวัติผู้ป่วยแล้ว.....
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญท่านนั้นได้สะดุดใจกับชื่อหมู่บ้านของผู้ป่วยคนนั้น จึงตั้งใจรักษาด้วยการผ่าตัดหัวใจอย่างพิเศษ โดยใช้อุปกรณ์ทันสมัยที่สุดและยาราคาแพงที่ดีสุด จนผู้ป่วยหายเป็นปกติพร้อมจะกลับบ้าน
ผู้ป่วยมีความกังวลว่าค่ารักษาพยาบาลคงจะมีราคาแพงหลายหมื่นดอลลาร์ ซึ่งเธอเข้าใจว่าคงจะต้องทำงานทั้งชีวิตกว่าเธอจะหาเงินค่ารักษาพยาบาลได้ เพราะเธอไม่มีประกันสุขภาพ และยังไม่สามารถไปเบิกได้จากที่ไหนได้
แต่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญคนนั้น ได้บอกเจ้าหน้าที่แผนกบัญชี ให้นำใบเก็บเงินไปให้เขา แล้วหมอก็ใช้ปากกาเขียนข้อความสองบรรทัดแล้วยื่นให้เจ้าหน้าที่บอกให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้ โดยไม่ต้องจ่ายเงินเลย

ข้อความที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญท่านนั้นเขียนในใบเรียกเก็บเงินนั้นมีว่า
จ่ายค่ารักษาพยาบาลเรียบร้อยแล้ว ด้วยนมสดหนึ่งแก้ว
ลงนาม นายแพทย์โฮเวอร์ด เคลลี่
ราคาของนมสดหนึ่งแก้ว

เป็นเหตุการณ์จริงที่เกี่ยวกับน้ำใจไมตรีในต่างประเทศ
(ข้อมูลจากคณะทำงานกลุ่มน้ำใจไมตรี ประเทศสิงคโปร์ จากจดหมายของนายแพทย์โฮเวอร์ด เคลลี่)

ที่มา : http://webboard.yenta4.com/topic/106602

1 มิถุนายน วันดื่มนมโลก



รู้กันไหมเอ่ย 1 มิถุนายน ของทุกปี เป็น "วันดื่มนมโลก" (World Milk Day) ดังนั้น วันนี้เราจึงนำสาระความรู้เรื่อง วันดื่มนมโลก และสารพัดประโยชน์ของ นม มาฝากกันค่ะ

องค์การอาหารแห่งสหประชาชาติ หรือ The Food and Agriculture Organization หรือ FAO ได้กำหนดให้วันที่ 1 มิถุนายน ของทุกปี เป็น "วันดื่มนมโลก" (World Milk Day) เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ และองค์กรให้ความสำคัญและสนับสนุนการบริโภคนม รวมถึงจัดกิจกรรมรณรงค์และกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการบริโภคนม โดยปัจจุบันมีมากกว่า 35 ประเทศทั่วโลก ที่จัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องใน วันดื่มนมโลก

ทั้งนี้ มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (International Osteoporosis Foundation หรือ IOF) ระบุว่า นมและผลิตภัณฑ์จากนมอื่น ๆ เป็นอาหารที่มีแร่แคลเซียมสูงที่สุด มีความสำคัญมากในการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง เพราะร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ดีที่สุดและยังเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น ฟอสฟอรัส โปรแตสเซียม แมกนีเซียม คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และวิตามินบี 12 ฯลฯ

วิตามินบี 12 ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง

คาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานกับร่างกาย

แมกนีเซียม สร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ

ฟอสฟอรัส สร้างพลังงานให้กับเซลล์ในร่างกาย และทำให้กระดูกแข็งแรง

โปรแตสเซียม ช่วยรักษาระดับความดันเลือดให้เป็นปกติ

โปรตีน สร้างเสริมการเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ

วิตามินบี 2 ทำให้ผิวหนังมีสุขภาพดี ช่วยระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย

สำหรับ ธาตุอาหารใน "นม" ล้วนมีส่วนช่วยไม่ให้ความดันโลหิตสูงเกินกว่าปกติ และช่วยเสริมสร้างสุขภาพฟันที่ดี เพราะนมอุดมด้วยแคลเซียมและแร่ธาตุอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อฟัน มีโปรตีนที่ช่วยให้ฟันเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และช่วยเคลือบผิวฟัน นอกจากนี้ "นม" ยังเป็นเครื่องดื่มที่มอบความสดชื่นไม่แตกต่างจากน้ำดื่ม การดื่มนมเพียงหนึ่งหรือสองแก้วจะช่วยทำให้รู้สึกสดชื่น และยังทำให้ได้รับคุณค่าสารอาหารที่ร่างกายต้องการอีกด้วย

ส่วนใครที่หลีกเลี่ยงไม่ดื่มนม เพราะเชื่อว่านมทำให้อ้วนนั้น ความจริงแล้วไม่ว่าจะเป็นนมสด นมพร่องไขมัน หรือนมไม่มีไขมัน มีปริมาณไขมันแค่เพียง 3.9%, 1.7%, และ 0.3% เท่านั้น รู้อย่างนี้แล้ว ลองหันมาดื่มนม เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงกันดีกว่า

ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/24656

The World Economic Forum



บทความนี้เรามาทราบประวัติของการประชุมสำคัญระดับโลกที่ประเทศไทยเพิ่งได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพนั่นก็คือ การประชุม World Economic Forum on East Asia ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2555 ณ โรงแรมแชงกรีลา กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการประชุมระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกของ World Economic Forum (WEF) เพื่อเสนอแนะทิศทางในการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาในระดับระหว่างประเทศ และเป็นเวทีหารือที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ โดยจะมีผู้บริหารระดับสูงจากภาคเอกชนทั่วโลก ผู้นำจากภาครัฐ นักวิชาการ และสื่อมวลชนชั้นนำเข้าร่วมงานอย่างมากมายกันค่ะ



The History of the World Economic Forum A Partner in Shaping History - The First 40 Years



The story of four decades of the World Economic Forum, as seen through the eyes of its members, leaders and the outside world.
The Forum is perhaps most widely known for its Annual Meeting in Davos-Klosters. Through the years, numerous business, government and civil society leaders have made their way to the Swiss Alpine resort to consider the major global issues of the day and to brainstorm on solutions to address these challenges. While many global institutions are notable for the breadth of nations or the powerful political leaders attending their gatherings, the World Economic Forum Annual Meeting and indeed all the activities and initiatives of the Forum around the world are distinguished by the active participation of government, business and civil society figures, both the most experienced and the most promising, all working together in the collaborative and collegial Spirit of Davos.

Professor Schwab then founded the European Management Forum as a non-profit organization based in Geneva, Switzerland, and drew European business leaders to Davos for their Annual Meeting each January.

Initially, Professor Schwab focused the meetings on how European firms could catch up with US management practices. He also developed and promoted the "stakeholder" management approach, which based corporate success on managers taking account of all interests: not merely shareholders, clients and customers, but employees and the communities within which they operate, including government. Professor Schwab's vision for what would become the World Economic Forum grew steadilly as a result of achieving "milestones". Events in 1973, namely the collapse of the Bretton Woods fixed exchange rate mechanism and the Arab-Israeli War, saw the Annual Meeting expand its focus from management to economic and social issues, and political leaders were invited for the first time to Davos in January 1974.

Two years later, the organization introduced a system of membership, which were "the 1,000 leading companies of the world". The European Management Forum was the first non-governmental institution to initiate a partnership with China's economic development commissions, spurring economic reform policies in China. Regional meetings around the globe were also added to the year's activities, while the publication of the Global Competitiveness Report in 1979 saw the organization expand to become a knowledge hub as well. The European Management Forum changed its name to the World Economic Forum in 1987 and sought to broaden its vision to include providing a platform for resolving international conflicts. World Economic Forum Annual Meeting milestones during this time include the Davos Declaration signed in 1988 by Greece and Turkey, which saw them turn back from the brink of war, while in 1989, North and South Korea held their first ministerial-level meetings in Davos. At the same Meeting, East German Prime Minister Hans Modrow and German Chancellor Helmut Kohl met to discuss German reunification. In 1992, South African President F. W. de Klerk met Nelson Mandela and Chief Mangosuthu Buthelezi at the Annual Meeting, their first joint appearance outside South Africa and a milestone in the country's political transition.

The Forum has since expanded its activities to include a Centre for Public-Private Partnerships, which engages businesses, civil society and political authorities in initiatives ranging from health in India to alliances combating chronic hunger in Africa. The Forum's knowledge centre has expanded to include several other competitive reports, including the Global Gender Gap Report, Global Risk reports and regional scenario reports.

ที่มา : http://www.weforum.org/history

Aung San Suu Kyi

สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่าน ตอนนี้กระแสของออง ซาน ซูจีในประเทศไทยกำลังมาแรง วันนี้เรามารู้จักประวัติของเธอคร่าวๆกันดีกว่าค่ะ ^^



Aung San Suu Kyi MP AC (MLCTS: aung hcan: cu. krany, IPA: [ʔàʊɴ sʰáɴ sṵ tɕì]; born 19 June 1945 is a Burmese opposition politician and General Secretary of the National League for Democracy (NLD) in Burma. In the 1990 general election, the NLD won 59% of the national votes and 81% (392 of 485) of the seats in Parliament. She had, however, already been detained under house arrest before the elections. She remained under house arrest in Burma for almost 15 of the 21 years from 20 July 1989 until her most recent release on 13 November 2010, becoming one of the world's most prominent (now former) political prisoners.



Suu Kyi received the Rafto Prize and the Sakharov Prize for Freedom of Thought in 1990 and the Nobel Peace Prize in 1991. In 1992 she was awarded the Jawaharlal Nehru Award for International Understanding by the government of India and the International Simón Bolívar Prize from the government of Venezuela. In 2007, the Government of Canada made her an honorary citizen of that country; at the time, she was one of only four people ever to receive the honor.In 2011, she was awarded the Wallenberg Medal.On 1 April 2012, her opposition party, the National League for Democracy, announced that she was elected to the Pyithu Hluttaw, the lower house of the Burmese parliament, representing the constituency of Kawhmu; her party also won 43 of the 45 vacant seats in the lower house.The election results were confirmed by the official electoral commission the following day. Suu Kyi is the third child and only daughter of Aung San, considered to be the father of modern-day Burma.


(นางออง ซาน กับ ลูกชาย)

ออง ซาน ซูจี (เกิด 19 มิถุนายน พ.ศ. 2488) เป็นนักการเมืองฝ่ายค้านของพม่าและเลขาธิการพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2533 พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของเธอได้รับเสียง 59% ของทั้งประเทศ และได้ 392 จาก 485 ที่นั่งในรัฐสภา หรือคิดเป็น 81%

อย่างไรก็ดี เธอถูกกักขังอยู่แต่ในบ้านก่อนหน้าการเลือกตั้ง เธอถูกคุมตัวอยู่แต่ใรบ้านเป็นเวลาเกือบ 15 จาก 21 ปี ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 กระทั่งการปล่อยตัวเธอครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพใน พ.ศ. 2534 ใน พ.ศ. 2550 รัฐบาลแคนาดาประกาศให้เธอเป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์ของประเทศ เป็นหนึ่งในห้าบุคคลที่เคยได้รับเกียรตินี้

บิดาของเธอ คือ นายพลออง ซาน ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งพม่าสมัยใหม่

การศึกษา พ.ศ. 2510 ปริญญาสาขาวิชาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร

ประวัติการทำงานและผลงาน สำนักงานเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก เจ้าหน้าที่วิจัยกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศภูฏาน รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ พ.ศ. 2534 จากการต่อสู้โดยสันติวิธีในการเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน

ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Aung_San_Suu_Kyi