วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558

PremmieS is back!!!

ว่าจะกลับมาเขียนบล็อคแล้วล่ะ หลังจากที่อาจารย์บังคับให้เขียนตอนม.4 ซึ่งจริงๆก็เห็นว่ามันมีประโยชน์มากๆเลยนะ เลยสนใจกลับมาลองเล่นดูอีกครั้ง ไว้มาติดตามกันนะคะ

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Arts plastiques : Plastic arts (FR/EN...หาภาษาไทยไม่ได้ง่ะ -*-)

สวัสดีอีกครั้งค่ะท่านผู้อ่าน หลังจากที่เกิดข้อสงสัยกันในคาบเรียนวิชาภาษาฝรั่งเศสว่า "Arts plastiques" คืออะไร แล้วให้มาตอบในวันรุ่งขึ้น แต่อาจารย์ดันลืมตรวจการบ้าน 555 แต่คนเขียนยังสงสัยอยู่ ก็เลยมาหาคำตอบแล้วอัพลงบล็อกค่ะ ^^ (หาภาษาไทยไม่ได้เลย ได้แต่อังกฤษ กับ ภาษาฝรั่งเศส)

Dans un sens commun, les arts plastiques regroupent toutes les pratiques ou activités donnant une représentation artistique, esthétique ou poétique, au travers de formes et de volumes.

Eléments de la définition
L'expression « arts plastiques » (bien qu'imprécise et en concurrence avec « arts visuels ») souvent opposée dans le monde francophone aux arts appliqués ou décoratifs ainsi qu'à certaines pratiques considérées comme populaires, amateurs, artisanales ou commerciales, s'est imposée en art contemporain par l'usage d'artistes se qualifiant eux mêmes de plasticiens et par la commodité de sa distinction avec d'autres familles artistiques comme la musique, le spectacle vivant (théâtre, danse, cirque, etc.), la littérature et parfois de l'architecture.
Ces dernières années, en tendant à recouvrir l'ensemble des objets et phénomènes abordés par l'histoire de l'art, ou concernant le patrimoine culturel, cette expression s'éloigne de son sens habituel, parfois critiquée pour son élitisme.

Origine
L'expression elle-même, dérivée du verbe grec πλάττειν (« plattein », en français « former »2) a des origines anciennes3 dans le monde occidental. Elle désignait alors les arts relatif au modelage tel la sculpture, la céramique et l'architecture. Comme les arte del designo(en latin, de dessein : « intention d’exécuter quelque chose, un projet ») de la Renaissance, qui les regroupait à la peinture et aux arts graphiques (donc les arts de la surface et ceux du volume), cette expression fait depuis le xixe siècle référence à tout art qui a une action sur la matière, voire qui évoque des formes, des représentations4 (comme la poésie). Aujourd'hui on y ajoute les œuvres explorant les anciens et nouveaux médias (photographie, cinéma et vidéo, les supports numériques, etc.), et les nombreuses pratiques artistiques expérimentales.
L'adjectif « plastique » semblait nécessaire après l'héritage de l'art moderne, suite notamment au dadaïsme, au collages surréalistes, àMarcel Duchamp et aux pionniers de l'art conceptuel. Questionnant les statuts de l'œuvre et le rôle de l'artiste dans la société, ces mouvements5 ont élargi les champs du visible en refusant la recherche du beau comme seul fondement et en remettant en cause leshiérarchies des arts, des supports et des médias. Les nombreuses avants-gardes, les performances et les interventions éphémèrestémoignent de ces formes de « plasticité » actuelles, comprise comme « l'ensemble des dispositifs artistiques donnant à voir et à ressentir la représentation6 ».


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Plastic arts are art forms which involve physical manipulation of a plastic medium by moulding or modeling such as sculpture or ceramics. The term has also been applied more broadly to all the visual (non-literary, non-musical) arts.[1]
Materials for use in the plastic arts, in the narrower definition, include those that can be carved or shaped, such as stone or wood, concrete or metal. "Plastics" meaning certain synthetic organic resins have been used ever since they were invented, but the term "plastic arts" long preceded them. The term should not be confused with Piet Mondrian's concept of "Neoplasticism."

Definitions
plastic art:
  1 : art (as sculpture or bas-relief) characterized by modeling : three-dimensional art
  2 : visual art (as painting, sculpture, or film) especially as distinguished from art that is written (as poetry or music) —often used in plural
Therefore, it is safe to say that plastic arts in the narrower sense are those visual arts that involve the use of materials such as clay or plaster, that can be moulded or modulated in some way, often in three dimensions.
Plastic arts in the broader sense include:




"Pliant" Exposition de Patrick Saytour artiste Français à la Galerie From point to point





Edith Meusnier - Sarabande - Musée des Tissus - Lyon - hiver 2007-2008

S'il Suffisait De S'aimer - Céline [Marie Claudette] Dion


เพลงนี้ ได้รับการแนะนำมาจากอาจารย์ของคนเขียนเอง 555+
พอได้ฟังแล้วก็เพราะจริงๆด้วย เลยลองหาเนื้อเพลง มาอัพลงบล็อกดูค่ะ อิอิ
[ฟังได้ที่นี่ค่ะ ---> http://www.youtube.com/watch?v=yIKimFvAY98]

Je rêve son visage, je décline son corps 
Et puis je l'imagine habitant mon décor 
J'aurais tant à lui dire si j'avais su parler 
Comment lui faire lire au fond de mes pensées? 

(I dream of his face, I decline his body 
And I imagine him living in my decor 
I would have so much to tell him if I had known how to talk to him 
How can I make him read my thoughts?) 

Mais comment font ces autres à qui tout réussit? 
Qu'on me dise mes fautes, mes chimères aussi 
Moi j'offrirais mon âme, mon coeur et tout mon temps 
Mais j'ai beau tout donner, tout n'est pas suffisant 

(But how do the others who succeed all the time? 
Tell me my arrors, my dreams too 
I would offer my soul, my heart and all my time 
But even if I give it all, all is not enough) 

S'il suffisait qu'on s'aime, s'il suffisait d'aimer 
Si l'on changeait les choses un peu, rien qu'en aimant donner 
S'il suffisait qu'on s'aime, s'il suffisait d'aimer 
Je ferais de ce monde un rêve, une éternité 

(If loving each other was enough, if loving was enough 
If we would change things a bit, only by loving giving away 
If loving each other was enough, if loving was enough 
I would do a dream of this world, an eternity) 

J'ai du sang dans mes songes, un pétale séché 
Quand des larmes me rongent que d'autres ont versées 
La vie n'est pas étanche, mon île est sous le vent 
Les portes laissent entrer les cris même en fermant 

(I have blood in my dreams, a dried petal 
When tears are gnawing at me that others shed 
Life isn't waterproof, my island is under the wind 
Doors let shouts come in even when shutting them off) 

Dans un jardin l'enfant, sur un balcon des fleurs 
Ma vie paisible où j'entends battre tous les coeurs 
Quand les nuages foncent, présages des malheurs 
Quelles armes répondent aux pays de nos peurs? 

(In a garden the child, on a balcony flowers 
My peaceful life where I can ear every heart beating 
When the clouds are getting darker, sign of bad times 
Which weapons reply to the countries of our fears?) 

S'il suffisait qu'on s'aime, s'il suffisait d'aimer 
Si l'on changeait les choses un peu, rien qu'en aimant donner 
S'il suffisait qu'on s'aime, s'il suffisait d'aimer 
Je ferais de ce monde un rêve, une éternité 

(If loving each other was enough, if loving was enough 
If we would change things a bit, only by loving giving away 
If loving each other was enough, if loving was enough 
I would do a dream of this world, an eternity) 

S'il suffisait qu'on s'aime, s'il suffisait d'aimer 
Si l'on pouvait changer les choses et tout recommencer 
S'il suffisait qu'on s'aime, s'il suffisait d'aimer 
Nous ferions de ce rêve un monde 
S'il suffisait d'aimer 

(If loving each other was enough, if loving was enough 
If we could change things and start all over 
If loving each other was enough, if loving was enough 
We would make a world of this drean 
If loving was enough)

15 Studied Effects of Classical Music on Your Brain : ดนตรีคลาสสิคกับสมอง (EN/TH)


Classical music, whether you love it or hate it, has been a powerful cultural force for centuries. While it no longer dominates the music scene, the argument for continued appreciation of the genre goes far beyond pure aural aesthetics. Classical music has been lauded for its ability to do everything from improve intelligence to reduce stress, and despite some exaggeration of its benefits, science shows us that it actually does have a marked effect on the brain in a number of positive ways.
With September being Classical Music Month, there’s no better time to learn a bit more about some of the many ways classical music affects the brain. Over the past few decades, there have been numerous studies on the brain’s reaction to classical music, and we’ve shared the most relevant, interesting, and surprising here, some of which may motivate you to become a classical aficionado yourself.
  1. Emotional expression in music and speech affect the brain similarlyMusic is a very strong form of emotional communication across all cultures, but why? Research may have the answer. Studies show that music, including classical arrangements, has the ability to send chills down your spine or make your heart swell with joy through its use of different musical modes. For example, in Western music, the major mode is associated with excited, happy emotions, the minor with sad emotions. Similar results were found in other cultures around the world despite differences in the emotions that these cultures associate with the varying modes. The reason these musical modes have the ability to convey so much emotion is because they imitate the tonal characteristics of emotion in the voice, tapping into our innate communicative abilities and our cultural associations alike.
  2. Music can help the body recover after organ transplantsListening to classical or operatic music after a heart transplant could just make the difference between a successful transplant and an unsuccessful one, or so new research from The Journal of Cardiothoraic Surgery suggests. Previous research has found that the effect of music on transplant patients is multifaceted. It has been found to help reduce anxiety, pain, and nausea and some research even points to it having an effect on the parasympathetic nervous system (the part of our nervous system responsible for functions we can’t consciously control, like digestion). In one Japanese study, mice were given heart transplants then exposed to music. Researchers found that playing opera and classical music for the mice increased the time before transplanted organs failed. What’s more, playing other kinds of music did not affect success rates. Researchers linked the improved success to an immune boost, but the reasons for this influence of classical music on the immune system are still not clear.
  3. Classical music can help reduce pain and anxietyCertain medical procedures aren’t especially pleasant to undergo, leaving patients feeling uncomfortable and anxious. Music, research suggests, can be a helpful remedy. Researchers at Duke Cancer Institute found that wearing noise-canceling headphones playing classical music (in this case concertos by Bach) reduced the pain and anxiety of a prostate biopsy. Generally, the procedure causes a spike in diastolic blood pressure as the result of stress and anxiety, but in the men who listened to the music, there was no such spike. Additionally, those who wore headphones reported significantly less pain associated with the procedure. Researchers believe that this method will be an inexpensive way to help make this and other medical procedures less frightening for patients by altering their mental and physical responses to them through use of classical music.
  4. Listening to classical music can improve performanceA recent study by the University of Texas Health Science Center found that physicians who listen to Mozart while performing a colonoscopy increased their detection rates of pre-cancerous polyps above their baseline rates and above those of physicians who listened to no music at all. The results were most significant in the physicians who were kept in the dark as to the purpose of the study, with some improving by more than 36% when listening to Mozart. Even when physicians knew the purpose of the music there were still significant improvements over their baseline, with a jump from a detection rate of 27.1% to 36.7%. While the study focused on endoscopists, there’s reason to believe that classical music could improve the performance of those in other professions as well.
  5. Classical music can lower blood pressure.Whether you choose Bach, Beethoven, or Mozart, classical music can have a marked effect on your stress levels and in turn your blood pressure. A University of San Diego study compared changes in blood pressure in individuals who were asked to listen to classical, jazz, or pop selections. Those who listened to classical music had significantly lower systolic blood pressure levels after the experiment when compared to participants who heard no music at all or were assigned to other musical styles.
  6. Classical music can heighten and arouse emotions.Tolstoy once said, “Music is the shorthand of emotion,” and research is showing that he just might be right, especially with regard to classical music. A study done at Southern Methodist University in 2001 asked students to relay the most significant event or experience in their lives while listening to either silence or classical music in the background. Researchers found that the classical music affected not only the emotional response and the kinds of emotional language used, but also affected the topics participants chose to disclose, promoted greater expression, and actually caused an increase in the pleasure participants got from listening to classical music. This research is not only interesting from an academic standpoint but could also have real-world applications for therapists and counselors who need to get patients to relax, disclose experiences, and get in touch with troubling emotions.
  7. Listening to classical music can help you battle insomniaIf you’re in need of sleep and counting sheep doesn’t seem to be working, consider helping yourself drift off by playing Brahms’ “Lullaby.” It may sound cheesy, but research suggests that it might actually work. A team of researchers at the University of Toronto found that even insomniacs got help falling asleep by tuning into some classical music before bedtime. The study showed that listening to classical music helped participants fall asleep faster and stay asleep longer, even those who regularly wake up during the night. Classical music is an effective sleep aid because it uses rhythms and tonal patterns that create a meditative mood and slow brainwaves. The most effective pieces in getting participants to sleep were works by Brahms, Handel, Mozart, Strauss, and Bach.
  8. Classical pieces may actually alter brainwavesWhen children’s brainwaves were monitored by an electroencephalogram (EEG), Russian scientists found a significant difference between those who listened to music and those who didn’t. The study, published in Human Physiology in 1996, demonstrated that the group of children who listened to classical music for one hour a day over a six-month period exhibited changes in the alpha rhythm frequency band and greater coherence between different regions of the cerebral cortex, both indicating greater levels of relaxation. More striking, perhaps, is that these changes in the brain and brainwaves occurred in a passive listening setting where children were not required to pay attention to the music.
  9. The Mozart Effect has been shown to temporarily improve spatio-temporal reasoning and short-term memoryWhile the impact of the so-called “Mozart Effect” has been exaggerated, there is truth behind the claim that Mozart can modify the brain. Listening to Mozart won’t give your IQ a huge boost like some claim, but it does have an effect on the brain that is noticeable, even if only for a short time. A meta-analysis of all research done up until 1999 on the subject found that listening to Mozart does not cause substantial gains in IQ, but that listening to classical music like that of Mozart caused “enjoyment arousal,” which in turn gives a temporary bump to spatial reasoning and short-term memory. A similar study in 2003 further found that these cognitive boosts only last for about 15 minutes, not long enough to make any lasting difference on your intelligence.
  10. Classical music may foster brain development in childrenWhile playing classical music 24/7 for your children won’t help them to become geniuses, some studies suggest that it does have effect, though perhaps not as drastic of one as those selling classical music learning programs for kids would like you to believe. In a study conducted by Dr. Gordon Shaw of the University of California-Irvine, it was found that infants who listened to Mozart and then studied piano as children scored higher than other children in math. Other studies have found that music listening and practice can help children develop spatial and verbal skills and can also foster self-control.
  11. Some cities use classical music to reduce crimeClassical music as a crime deterrent? Sounds crazy, but it has worked for several cities around the world. In London, city officials began playing classical music at several stations in 2003. A year and a half later, robberies had dropped by a third, assaults on staff by a quarter, and vandalism by 37%. In Portland, a similar effect was found. When transit authorities began piping classical tunes into a high-crime rail station, calls to police at the station dropped by 40%. These cities aren’t alone. Minneapolis, Atlanta, Toronto, and New York have also used classical music as a crime deterrent. It’s not quite clear what effect the music has on would-be criminals, however. Some believe it has a soothing effect, others suggest that it gives the appearance of order and civility that deters crime on its own. In some cases, it may simply drive those away who don’t have a taste for the genre. Whatever the reason, classical music seems to be a cheap and effective way for cities to improve the safety of their transit systems.
  12. Classical music exerts a calming effectNeed to relax? Try some classical music. An article published in theJournal of Clinical Nursing in 2008 showcased a study on pregnant women, who reported reduced levels of stress, anxiety, and depression after listening to a 30-minute CD of classical hits. Dr. Kevin Labar of Duke University states that classical music produces this calming effect by prompting the brain to release dopamine (a hormone associated with pleasure) and inhibiting the release of stress hormones. Labar stresses, however, that if you don’t like classical music, you won’t get the same effect, and that other methods of relaxation might be a better fit.
  13. Some studies suggest that there is a link between musical taste and intellectual function.Stereotypically, classical music is the favorite genre of the pretentious and intellectually elite. While this isn’t always true, research suggests that there might be a bit of truth to that stereotype. Two independent studies, conducted in Britain and Italy respectively, found that those who have greater intellectual function tend to correlate with liking classical music. In the British study, doctors found that musical tastes changed as patients lost brainpower to dementia, with some who had previously loved classical music turning away from it in favor of pop. The Italian study produced almost identical results, with complete turnarounds in musical tastes as gray matter in the brain was damaged or diminished. This isn’t to say that all pop fans are mentally incompetent or lack smarts, researchers from both studies were quick to assert, only that it appears to take more brain power to be able to appreciate classical music.
  14. Babies may even grow faster in response to classical musicPremature babies need all the help they can get to catch up to their full-term counterparts, and studies done in Tel Aviv suggest that music could be a key component of helping these babies grow up to be strong and healthy. Dr. Dror Mandel and Dr. Ronit Lubetzky at Tel Aviv University exposed premature babies to a half hour of Mozart every day, with striking results. The babies who listened to the music grew far more rapidly than those who weren’t exposed to the music. The researchers still aren’t sure what is causing the effect, but they think it has to do with the calming properties of classical music, which can help reduce stress and boost the immune systems of even the youngest listeners. Regardless of the cause, the effect is another tool that can help pre-term babies to gain weight, grow, and get sent home with their anxiously awaiting parents weeks sooner.
  15. Classical tunes can aid in learning a language.Research conducted at the University of Illinois at Urbana-Champaign in 2005 found strong evidence supporting learning music and language together. Music can foster learning grammar, building vocabulary, improving pronunciation, and even helping cultural appreciation, researchers at the school asserted. Other studies support those conclusions, demonstrating that the connections made between brain cells when playing music (especially of the classical variety) can help with other forms of communication like speech, reading, and understanding a foreign language. Even more impressive is a method devised by Dr. George Lazanov, a foreign language professor. Dr. Lazanov used Baroque music to help his students learn 1,000 foreign language vocabulary words in a single day, with 85% to 100% accuracy.

(สรุปภาษาไทยสั้นๆ)

ผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่า ดนตรีคลาสสิคมีส่วนช่วยกระตุ้นสมองหลายส่วน และมีผลดีต่อร่างกายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นช่วยลดความเครียดและความเจ็บปวด แก้อาการนอนไม่หลับ พัฒนาสมองในวัยเด็ก พัฒนาความจำระยะสั้น และช่วยในการเรียนภาษาต่างประเทศได้ด้วย โดยมีการทดลองให้จดจำคำศัพท์ต่างประเทศ 1,000 คำภายใน 1 วัน พร้อมกับฟังเพลงบาโรคไปด้วย ผลปรากฏว่าผู้เข้าร่วมการทดลองสามารถจดจำคำศัพท์ได้อย่างถูกต้อง 85-100%

นอกจากนี้หลายๆ เมืองใหญ่อย่างลอนดอน นิวยอร์ค โทรอนโท ทดลองเปิดดนตรีคลาสสิคตามพื้นที่สาธารณะ เมื่อเวลาผ่านไปพบว่า อาชญากรรมต่างๆ ลดลงถึง 30%
รู้อย่างนี้แล้วรีบหยิบซีดีเพลงคลาสสิคมาเปิด หรือหยิบเครื่องดนตรีขึ้นมาซ้อมกันเลยค่ะ ^^


ที่มา :  Melanie Foster (English Version)

ภาษาไทย (Thai Version)


อธิบายเรื่องความรักโดยหลักวิทยาศาสตร์ อิอิ



สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่าน ณ เวลานี้ก็เพิ่งผ่านวันแห่งความรักไปเพียงไม่กี่วัน (ไม่รู้ว่าจะได้ช็อกโกแลต ดอกไม้ สติกเกอร์ ตุ๊กตา ฯลฯ กันไปคนละเท่าไหร่้เนาะ อิอิ) คนเขียนเลยขอนำเสนอ ความรักที่อธิบายด้วยวิทยาศาสตร์ ค่ะ น่าสนใจมากๆเลย...ถ้าอยากรู้กันแล้ว ว่านักวิทยาศาสตร์จะอธิบายไว้อย่างไรบ้าง ก็ไปดูกันเลยค่า... (อาจจะยาวไปสักนิด แต่น่าสนใจแน่นอน หุหุ)




เมื่อมีรัก ทุกคนคงเคยพร่ำถามตัวเองว่า ความรักมันเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมถึงต้องเป็นเขา/เธอคนนี้ ทำไมเรารู้สึกแปลกๆ หัวใจเต้นแรง หน้าแดง มือเปียก พวกแนวศิลปินอาจบอกว่ารักเป็นเรื่องของอารมณ์ล้วนๆ เหตุผลไม่เกี่ยว รักมีทั้งความรันทดและความงดงาม รักเป็นเรื่องที่โรแมนติกเกินกว่าจะพรรณนา สำหรับพวกแนวเหนือธรรมชาติจะเชื่อว่า เนื้อคู่ของเราถูกกำหนดมาแล้ว จะต้องตามหาคนที่มีด้ายแดงผูกนิ้วก้อยให้เจอ บ้างก็ว่ารักเกิดจากกรรมเก่า มีการตามมารักมาเลิกกันเป็นชาติๆ ไป การรักใครสักคนอาจจะเป็นเพราะโดนสาป ไสยศาสตร์เท่านั้นที่ช่วยได้ ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ก็มีคำอธิบายที่ฉีกทั้งสองแนวนี้ออกไป ซึ่งแม้ว่าจะฟังแล้วไม่ได้อารมณ์ ไม่โรแมนติก และไม่ลี้ลับเท่า แต่สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กำลังจะบอกเรานี้ ล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในตัวเรา โดยมีเราเป็นผู้กระทำทั้งสิ้น



ทฤษฎี “รัก 3 ตอน”
ก่อนจะรู้จักความรักในบทที่ลึกเข้าไปถึงสมองและอวัยวะภายในร่างกาย มาทำความรู้จักกับทฤษฎีรัก 3 ตอน ของ ดร.เฮเลน ฟิชเชอร์ แห่งมหาวิทยาลัยรุทเจอรส์ (Rutgers University) ในนิวเจอร์ซี กันก่อนดีกว่า ดร.ฟิชเชอร์บอกว่า ห้วงความรักของคนเราแบ่งเป็น 3 ตอน โดยจะมีฮอร์โมนที่แตกต่างกันมาร่วมแสดงบทบาทในแต่ละตอน 

ตอนที่ 1 ช่วงเกิดตัณหาตัณหาราคะถูกขับโดยฮอร์โมนเพศ 2 ตัว คือ เทสโทสเทอโรน (Testosterone) และเอสโตรเจน (Oestrogen) เทสโทสเทอโรนเป็นฮอร์โมนที่ไม่ได้พบเฉพาะในผู้ชายเท่านั้น ผู้หญิงก็มีเช่นกัน ดร.ฟิชเชอร์บอกว่า เจ้าฮอร์โมนเพศสองตัวนี้เอง ที่ช่วยควบคุมอาการอยากได้โน่น อยากได้นี่ ของเรา 

ตอนที่ 2 ช่วงคลั่งรักเป็นช่วงที่ทำให้ชีวิตเราผิดเพี้ยนไป ไม่รับรู้ ไม่สนใจสิ่งรอบกาย ไม่กิน ไม่นอน เอาแต่นั่งฝัน เพ้อ ละเมอถึงคนรัก  อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ ถูกควบคุมโดยกลุ่มสารสื่อประสาทที่เรียกว่า โมโนอะมิเนส (Monoamines) ซึ่งประกอบด้วย
    - โดพามีน (Dopamine) เป็นสารเคมีที่ช่วยให้สมองตื่นตัว เช่นเดียวกับนิโคตีนและโคเคอีน 
    - นอร์เอพิเนฟรีน (Norepinephrine) หรือรู้จักกันในนามของ อะดรีนาลิน (Adrenalin) ที่เป็นตัวการทำให้เราเหงื่อแตกและหัวใจเต้นรัวยามตื่นเต้น
    - เซโรโทนิน (Serotonin) หนึ่งในสารสำคัญที่ทำให้เราเกิดอาการ...ซึม..เศร้า..เหงา..เพราะรัก




ตอนที่ 3 ช่วงผูกพันไม่มีใครที่จะทำตัวคลั่งรักได้ตลอดชีวิต เมื่อผ่านพ้นไปช่วงเวลาหนึ่ง ถ้าไม่โบกมือลากันไป เสียก่อน คู่รักก็จะฉุดกระชากลากจูงกันเดินมาสู่ช่วงแห่งความผูกพัน ในตอนนี้จะว่าด้วยการตกลงปลงใจที่จะใช้ชีวิตคู่และสร้างครอบครัว ฮอร์โมนสองตัวสำคัญคือ
    - ออกซีโทซิน (Oxytocin) จากต่อมไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เกิดการขับน้ำนมและเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก โดยมีการพบว่าออกซีโทซินจะถูกขับออกมาเมื่อชายหญิงมีความสัมพันธ์ทางเพศที่ลึกซึ้ง ทฤษฎีบอกไว้ว่ายิ่งชายหญิงมีความสัมพันธ์กันลึกซึ้งแค่ไหน ความผูกพันก็มีมากขึ้นเท่านั้น
    - วาโซเพรสซิน (Vasopressin) สารสำคัญอีกตัวหนึ่งที่เป็นตัวรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย จะถูกขับออกมาเมื่อร่างกายขาดน้ำ ความตึงเครียดสูง ความดันเลือดสูง หรือเมื่อคู่รักมีความสัมพันธ์ทางเพศ นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งพยายามทำการศึกษาถึงฤทธิ์เดชของวาโซเพรสซิน โดยหลังจากที่พวกเขาได้ฟังตำนานรักของหนูแห่งทุ่งหญ้าแพรรี (Prairie vole) ซึ่งเป็นหนึ่งในร้อยละ 3 ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่จับคู่อยู่กินกันแบบผัวเดียวเมียเดียวตลอดช่วงชีวิต (Monogamous) ที่มีว่า ถ้าคู่ของพวกมันตาย อีกตัวก็จะตรอมใจตายตามไปในไม่ช้า โดยไม่คิดจะมีใหม่ ด้วยจิตริษยาต่อหนูแห่งทุ่งหญ้าแพรรี่ที่ถือและปฏิบัติตามศีลข้อสาม ห้ามผิดลูกผิดเมียเขาอย่างเคร่งครัด นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ทำการให้ยาที่ลดปฏิกริยาของวาโซเพรสซินในหนูตัวผู้ ปรากฏว่าหนูตัวผู้ตัวนั้นไม่ถึงกับศีลแตก แต่เริ่มมีอาการเย็นชา ห่างเหินคู่รัก และไม่แสดงอาการหึงหวงเมื่อมีหนูหนุ่มตัวอื่นๆ เข้ามาตีท้ายครัวเลยสักนิด หลังจบปฏิบัติการสร้างความร้าวฉานแล้ว พวกเขาก็ได้ข้อสรุปมาให้ชาวโลกชื่นใจว่า ถ้าขาดวาโซเพรสซินเมื่อไร ก็ให้เตรียมพร้อมรับมือหายนะที่กำลังจะมาสู่ครอบครัวได้เลย 

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทฤษฎีการจีบ
เมื่อเราปิ๊งใครสักคนที่ไม่รู้จักหัวนอนปลายเท้า จะรู้ได้อย่างไรว่าเขา/เธอคนนั้นคือคนที่ “ใช่เลย” หรือ “ไม่ใช่เลย” เชื่อหรือไม่ว่าภายในเวลาแค่ 90 วินาที ถึง 4 นาทีของการพูดคุยกัน ระบบภายในร่างกายจะช่วยเราตัดสินได้ว่า จะ “รุก” ต่อ หรือ จะ “ชิ่ง” ดี เพราะว่าในการพูดคุยอย่างสวีทหวานแหววกับบุคคลเป้าหมาย ความประทับใจและการรับรู้ข้อความจากการสื่อสารนั้น ร้อยละ 55 จะมาจากภาษากาย ร้อยละ 38 มาจากน้ำเสียงและความเร็วในการพูด และแค่ร้อยละ 7 จากสาระที่เราพูดออกไป ซึ่งหมายความว่าเพียงแต่มีลีลาดี ก็จะมีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว





การมองตาเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่หนุ่ม/สาวเจ้าเสน่ห์ทั้งหลายยืนยันว่ามีประสิทธิภาพเหลือเกิน เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ ศาสตราจารย์อาเธอร์ อรัน นักจิตวิทยาจากนิวยอร์ค ได้ทำการทดลองโดยนำชายหญิงหลายคนมาจับคู่นั่งพูดคุยกันแบบเปิดอกเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของแต่ละคน นานหนึ่งชั่วโมงครึ่ง หลังจากนั้น ให้นั่งจ้องตากันเฉยๆ โดยไม่ต้องเอื้อนเอ่ยอะไรทั้งสิ้นอีกสี่นาที ผลคือผู้ที่เข้ารับการทดลองหลายคนยอมรับว่า เกิดความสนใจในตัวของคู่ทดลอง โดยเฉพาะคู่ที่อยู่ในสายงานหรือมีระดับทางสังคมที่ใกล้เคียงกัน และมีคู่หนึ่งก้าวหน้าไปถึงขั้นแต่งงานกันเลย ในประเด็นของความรักที่เกิดจากการมองตานั้น นักวิทยาศาสตร์บอกว่าเมื่อเรารู้สึกสนใจอะไร รูม่านตาของเราจะขยาย นัยน์ตาจะดูกลมโตและเป็นประกาย ซึ่งอาจจะเป็นการส่งสัญญาณเตือนให้เขา/เธอรู้ตัวก็เป็นได้ หากสาวอิตาเลียนในสมัยกลางได้รู้เรื่องนี้คงจะร้องไห้ เพราะแค่พวกเธอพบเจอคนที่ถูกใจ นัยน์ตาของพวกเธอก็จะกลมโต สวยงาม เหมือนสาวใสไร้เดียงสาได้แบบอัตโนมัติ โดยไม่ต้องเสี่ยงไปใช้น้ำสกัดจากลูกเบลลาดอนน่า (Belladonna) ซึ่งเป็นพืชจำพวกมะเขือพวงและมีพิษ มาหยอดตาเพื่อทำการขยายรูม่านตาอย่างที่นิยมทำกัน
สัญญาณอื่นๆ ที่บ่งบอกให้รู้ถึงรัก ได้แก่ การเลียนแบบ เมื่ออยู่ในโลกแห่งรักของสองเรา คนสองคนนี้ก็จะลอกเลียนแบบทุกสิ่งทุกอย่างจากกันโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นการเดิน นั่ง พูด บุคลิกท่าทางต่างๆ นักวิทยาศาสตร์เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ปรากฏการณ์กระจกเงา การที่คู่รักทำอะไรที่เหมือนกัน แสดงว่าทั้งคู่เปิดใจให้กัน พร้อมที่จะยอมรับซึ่งกันและกัน นับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี แต่ถึงกระนั้น ปรากฏการณ์กระจกเงาอาจเป็นอันตรายได้ เพราะมันเกิดขึ้นในกลุ่มของเพื่อนสนิทด้วยเช่นกัน ผู้ที่กำลังแอบรักเขาต้องระวังให้มาก เพราะหากตีความไม่ดีแล้ว อาจจะสับสนระหว่างสัญญาณของความรักกับมิตรภาพได้

มีบางทฤษฎีบอกว่า มนุษย์เราชอบความท้าทาย ยิ่งยากยิ่งอยากพิชิต เหมือนยอดเขาเอฟเวอเรสต์ที่มีคนแวะเวียนไปท้าทายปีนป่ายไม่เคยขาด นักวิทยาศาสตร์ทำการทดสอบเพื่อยืนยันสมมติฐานนี้ (อีกแล้ว) โดยได้ใช้คอมพิวเตอร์หาคู่ (Computer dating experiment) ทดสอบกับผู้หญิงสามคน คนแรก หญิงเอ สาวนักทดลอง อยากจะเดทซะกับทุกคนที่คอมพิวเตอร์สุ่มเลือกมาให้ คนที่สอง หญิงบี ผู้ไร้ความรู้สึก ไม่ยินดียินร้ายกับชายที่คอมพิวเตอร์จัดให้เลยสักคน คนสุดท้าย หญิงซี สาวช่างเลือก ที่กัดฟันเลือกชายผู้โชคดีมาได้หนึ่งคนจากทั้งหมดที่คอมพิวเตอร์จัดให้ จากนั้นถามความเห็นผู้ชายทั้งหมดที่เป็นตัวเลือกในคอมพิวเตอร์ ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สาวขี้เลือกเบอร์สามกับสามจอมหยิ่งเบอร์สองเนี่ย โดนใจที่สุด

เรื่องการผจญภัยก็สำคัญไม่น้อย มีหลายคนบอกว่า ถ้าคนเราผ่านสถานการณ์ที่ยากลำบาก สยดสยอง โหดร้าย ทารุณมาด้วยกัน จะยิ่งทำให้เข้าใจกันดีขึ้น นักวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าจริง แต่ทว่าคนมักจะเข้าใจผิดไปเองว่าความรู้สึกดีๆ ที่เกิดขึ้นหลังผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤตนั้นเป็นความรัก ถ้าการออกเดทที่สวนสนุก (โดยมีข้อแม้ว่าต้องเล่นเครื่องเล่นผาดโผนหวาดเสียวด้วยกัน) จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ให้แนบแน่นขึ้นแล้วนั้น การจับคู่กระโดดบันจี้จัมพ์ด้วยกันน่าจะทำให้ความสัมพันธ์ยิ่งแน่นแนบไปถึงขั้นเป็นคู่แท้ตลอดกาลเลยทีเดียว ทั้งนี้ทั้งนั้นคนจะอยู่ด้วยกันได้ ก็ย่อมจะต้องมีอะไรที่คล้ายกันบ้าง คนที่มีระดับความกล้าบ้าบิ่นและชอบอะไรที่สยองๆพอๆกัน ก็เหมาะแล้วที่จะเป็นคู่รักคู่ทรโหด



----------------------------------------------------------------------------------------------------------

รักฉันเพราะอะไร
เมื่อคบหากันไปสักระยะ หลายคนเกิดคำถามขึ้นในใจว่า ฉันประทับใจเขา/เธอคนนี้ที่ตรงไหน รูปลักษณ์ภายนอกเป็นสิ่งแรกที่ทำให้ชาย/หญิงเกิดอาการสะดุดรัก ในขณะที่ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ทำให้เราเกิดอาการดังกล่าวได้ โดยชายและหญิงก็จะมีกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันอยู่ในใจ บางคนไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตัวเองช่างเลือกขนาดไหน

ความไม่สมดุลเป็นสัญญาณที่แสดงถึงความบกพร่องของยีน ดังนั้นผู้ชายส่วนมากจึงมองผู้หญิงที่รูปลักษณ์ภายนอก เพื่อยืนยันว่าผู้ชายให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก จึงมีคนคิดสูตรคำนวณหาสัดส่วนของผู้หญิงในอุดมคติออกมา โดยยกให้รูปทรงของนาฬิกาทรายที่มีเอวคอดกิ่วเป็นต้นแบบ สูตรคำนวณมีว่า ขนาดรอบเอว ? รอบสะโพก ต้องเท่ากับ 0.7 ถ้าได้ค่าประมาณนี้ หญิงผู้นั้นถือว่ามีสัดส่วนที่ได้รับการยอมรับอย่างท่วมท้นจากชายทั้งโลก มีการยืนยันทฤษฏีหุ่นนาฬิกาทรายนี้โดยนำค่าสัดส่วนของผู้ชนะการประกวดมิสอเมริกาแต่ละปีมาคิดและพบว่าได้ 0.7 เกือบทุกคน หลายคนเชื่อว่าหญิงที่มีหุ่นนาฬิกาทรายจะมีคุณสมบัติที่ดีที่เหมาะแก่การสืบพันธุ์ด้วย ในขณะที่ผู้ชายมุ่งมั่นเสาะหาหญิงในฝันจากเปลือกนอก ผู้หญิงเองกลับไม่ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย พวกเธอกลับมองที่ความสามารถในด้านต่างๆ และภาวะผู้นำที่มีอยู่ในตัวของผู้ชายมากกว่า

จุดร่วมของความเหมือนก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้คนพยายามมองหาในตัวของคู่รัก เราเคยได้ยินกันบ่อยๆ ว่า คนเป็นเนื้อคู่กัน จะหน้าเหมือนกัน คำพูดนี้มีความเป็นไปได้ นักวิทยาศาสตร์บอกว่าคนเราจะให้ความสนใจคนที่ดูคล้ายตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง หน้าตา หรือบุคลิกภาพ และแม้จะไม่มีความใกล้เคียงในสิ่งที่กล่าวมานี้อยู่เลย ก็อย่าเพิ่งหมดหวังว่าเขา/เธอนั้นจะไม่ใช่คู่แท้ของเรา เพื่อช่วยให้คู่รักที่เกือบหมดหวังกลับมามีกำลังใจอีกครั้ง นักวิทยาศาสตร์จึงเสนอจุดสังเกตของความเป็นคู่แท้เพิ่มเติมอีกห้าหกอย่าง ได้แก่  ความยาวของนิ้วกลาง ขนาดของใบหู ความยาวของติ่งหู ขนาดรอบคอและรอบข้อมือ ปริมาตรของปอด และอัตราการเผาผลาญสารอาหาร ซึ่งถ้าจะมาเสียเวลานั่งหาว่าสิ่งนี้เธอมีเหมือนฉัน สิ่งนั้นของฉันเหมือนเธอแล้ว คู่รักควรจะเอาเวลาไปดูแลซึ่งกันและกันเพื่อรักษาความสัมพันธ์ให้ยาวนานจะดีกว่า

กว่าจะรู้ใจกันต้องใช้เวลา ในการพบเจอกันของคนแปลกหน้าสองคน ซึ่งไม่มีแม้เวลาจะให้ทำความรู้จักกัน “หน้าตา” จึงเป็นสิ่งแรกที่ถูกใช้นำมาตัดสินตัวบุคคล เดวิด เพอร์เรตต์ นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูว์ ในสก๊อตแลนด์ ทำการศึกษาเพื่อที่จะรู้ให้ได้ว่า ต้องมีหน้าตาอย่างไรจึงจะสะกิดใจคน เดวิดได้นำภาพใบหน้าของนักศึกษาที่เข้าทำการทดลองมาทำให้เป็นเพศตรงข้าม แล้วเอาไปปนกับรูปอื่นๆ ก่อนจะให้กลุ่มนักศึกษาเหล่านั้นเลือก พวกเขาส่วนใหญ่เลือกรูปของตัวเองโดยที่ไม่ได้เฉลียวใจเลยว่าหลงรักตัวเองเข้าให้แล้ว เดวิดอธิบายเรื่องนี้ว่า ส่วนหนึ่งอาจมาจากความทรงจำในวัยเด็กที่เห็นภาพใบหน้าเดิมๆ ของบุคคลสองคน คือพ่อและแม่ ซ้ำไปซ้ำมาเป็นประจำทุกวัน จนเกิดเป็นความฝังใจ

การจะรัก จะเลือกใครสักคนมาเป็นคู่ หลายคนยังยืนยันว่าเรื่องของเหตุผลสำคัญน้อยกว่าจิตใจ แม้เขา/เธอจะรวย เก่ง ดูดี มีตระกูล แต่ถ้าอารมณ์มันไม่ได้ มันก็ไม่ใช่ ในโลกสีชมพูของความรัก นักวิทยาศาสตร์กลับทำลายความโรแมนติกแบบสามัญชนเสียหมดสิ้นด้วยทฤษฎีรักที่โรแมนติกกว่า คือ รักนางให้ดูที่ยีน การเลือกคู่ครองคือการเลือกบุคคลที่มียีนดีเลิศ ดีกว่า หรือ(อย่างน้อย)ดีเท่ากับเรา มาเพื่อร่วมกันผลิตทารกรุ่นใหม่ที่แข็งแรง ฉลาด หน้าตาดี ไม่มีโรค

ยามแรกรัก น้ำต้มผักก็ว่าหวาน แล้วความรักของเราล่ะ จะยาวนานไปถึงเมื่อไหร่? คำถามนี้ตอบยาก แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีเบาะแสเล็กๆ น้อยๆ พอให้นักวิทยาศาสตร์เอามาอ้างอิงประกอบวิชาหลักการเลือกคู่ขั้นสูงได้ โดยหลักการมีว่า ความน่าจะเป็นของการหย่าร้างสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม เพราะฉะนั้นให้ทำความรู้จักตัวเขา/เธอ และต้นตระกูลของเขา/เธอให้ดีก่อนตัดสินใจ ส่วนผู้ที่คิดจะรักฝาแฝด โปรดจำไว้ว่าชีวิตของฝาแฝดนั้นเป็นแบบแปรผันตรง ไม่ว่าคนหนึ่งจะประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิตคู่มากน้อยแค่ไหน ชีวิตของอีกคนก็จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันเสมอ อย่างไรก็ตาม รักยืนยงของแต่ละคู่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภูมิหลังของการพบรัก การยอมรับและปรับตัวเข้าหากัน หรือความคาดหวังในตัวของแต่ละคน เป็นต้น


เป็นไปได้เพราะรัก
เศร้า เหงา ..เพราะรัก อาการนี้อธิบายได้ด้วยผลการศึกษาจากประเทศอิตาลีที่ระบุว่า คนที่กำลังมีความรักมักจะเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder – OCD) อาการคือ สติไม่อยู่กะร่องกะรอย คอยแต่กังวลว่าปิดประตู ปิดหน้าต่างแล้วหรือยัง ชักโครกหรือเปล่า หรือชอบล้างมือบ่อยๆ เพราะคิดว่าไม่สะอาด อะไรทำนองนี้ โรคย้ำคิดย้ำทำมีความสัมพันธ์กับระดับของเซโรโทนิน (Serotonin) แบบปฏิภาคผกผัน ยิ่งเซโรโทนินต่ำ ความเศร้า เหงา โกรธก็จะยิ่งมาก เรื่องนี้ไม่ได้พูดกันลอยๆ มีการวัดระดับเซโรโทนินในกลุ่มทดลองซึ่งเป็นนักศึกษาที่กำลังมีความรัก พบว่าระดับเซโรโทนินในร่างกายของพวกเขาลดลงถึงร้อยละ 40 จากปกติ อย่างไรก็ตาม ผล(เสีย)จากการตกหลุมรักนี้ไม่ได้อยู่ค้ำฟ้า เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งปี (โดยที่นักศึกษาเหล่านี้ยังรักษาความสัมพันธ์ฉันท์คนรักเอาไว้ได้) ระดับเซโรโทนินของพวกเขากลับคืนมาสู่ระดับปกติ ช่างเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง เพราะหากระดับเซโรโทนินยังต่ำอยู่ โอกาสที่พวกเขาจะเกรี้ยวกราดอาละวาดยิ่งสูง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ชาย ระดับความต้องการมีเพศสัมพันธ์ก็จะมีมากขึ้นด้วยเช่นกัน

แอนเดรียส บาร์เทลส์ และเซเมียร์ เซกี แห่ง University College London ใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Functional Magnetic Resonance Imaging (fMRI) แสกนและถ่ายรูปสมอง เพื่อศึกษาการทำงานของสมองของผู้ที่กำลังมีความรัก โดยให้ผู้เข้าทำการทดลองทั้งหมดดูรูปของคนรักที่มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งและคนที่รู้สึกชอบพอกันฉันท์เพื่อน ทั้งสองคนพบว่าพื้นที่สี่ส่วนของสมองมีการทำงาน และมีเพียงหนึ่งจุดที่ไม่ทำงาน โดยหนึ่งในบริเวณที่สมองทำงานได้แก่บริเวณที่จะมีบทบาทเมื่อเวลาเราเกิดความรู้สึกประหลาดที่ยากจะเข้าใจ และอธิบายไม่ได้ด้วยเหตุผล หรือที่เรียกว่า Gut feelings และอีกส่วนคือจุดที่จะตอบสนองเวลาร่างกายได้รับสารที่มีฤทธิ์กล่อมประสาท ที่ทำให้รู้สึกสบาย สนุกสนาน เหมือนคนเสพกัญชา ส่วนบริเวณที่ไม่ตอบสนองเลยคือสมองส่วนที่เรียกว่า Prefrontal cortex ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมปฏิกริยาสนองตอบร่างกายเวลาที่จิตใจถูกกระตุ้น ในผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ก็พบว่าสมองส่วนนี้จะไม่ทำงานเช่นกัน ด้วยเหตุจากการทดลองดังกล่าว คนบางกลุ่มจึงได้ให้นิยามของ “รัก” ว่าเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่ง เมื่อเสพแล้วทำให้สดชื่นรื่นรมย์ เคลิบเคลิ้มเป็นสุข ตื่นตัว มีพละกำลัง การเสพต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จะส่งผลข้างเคียงที่รุนแรงพอตัว ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน ชอบฟังเพลงรัก ไม่กินอาหาร ไม่หลับไม่นอน และมีความแปรปรวนทางอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ความรุนแรงของอาการที่เกิดจากรัก จะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปริมาณที่เข้าตรงสู่สมอง โดยอาจจะออกฤทธิ์อยู่ได้นานตั้งแต่ 1 วันจนถึงชั่วชีวิต 

ใครที่เกิดมาคู่กับฉัน
นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าฟีโรโมน (Pheromones) จากตัวเรา เป็นกุญแจสำคัญในการคัดสรรคนที่คู่ควรมาเป็นคู่ชีวิต ในเผ่าพันธุ์สัตว์ฟันแทะ (Rodent) ซึ่งมีอวัยวะสำคัญในจมูกที่เรียกว่า Vomeronasal organ หรือ VNO ฟีโรโมนจากปัสสาวะจะมีความสำคัญมาก เพราะมันเป็นสิ่งที่ชี้นำการใช้ชีวิตในกลุ่มสังคมของพวกมัน เมื่อมันพบปะกับตัวอื่นๆ มันก็สามารถรู้เพศของตัวนั้นๆ ได้ทันที และจะนำมาซึ่งการจับคู่ในลำดับต่อไป สัตว์ฟันแทะจะมีฟีโรโมนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เมื่อถึงเวลาเลือกคู่ มันจะหลีกเลี่ยงคู่ที่มีกลิ่นฟีโรโมนใกล้เคียงกับมัน เพราะต้องการให้ลูกๆ ที่เกิดมาแข็งแรง สดใส ห่างไกลโรค (เช่นเดียวกับลูกมนุษย์) อย่างไรก็ตาม ในพวกเราเหล่ามนุษย์ การที่จะประทับใจใครสักคนด้วยการสูดกลิ่นฟีโรโมนจากปัสสาวะเฉกเช่นเดียวกับหนู มันออกจะเกินงามไปสักหน่อย นักวิทยาศาสตร์บอกว่าแค่ฟีโรโมนจากเหงื่อก็สะกิดเราให้รู้ตัวได้แล้ว

เคล้าส์ เวเดไคนด์ จากมหาวิทยาลัยเบิร์น ในสวิตเซอร์แลนด์ ทำการทดลองเพี้ยนๆ ขึ้น โดยขอให้ผู้หญิงกลุ่มหนึ่งสูดดมเสื้อที่ยังไม่ได้ซักและเต็มไปด้วยกลิ่นเหงื่อจากผู้ชายหลายคน ปรากฏว่าผู้หญิงแต่ละคนจะประทับใจในกลิ่นเหงื่อของผู้ชายที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่แตกต่างจากพวกเธอ ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีที่เกิดขึ้นกับสัตว์ฟันแทะ ผลการศึกษาเสื้อยืดอาบเหงื่อเวอร์ชันของ ดร.มาร์ธา แม็คคลินทอค จากมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก บอกว่าผู้หญิงมักจะสนใจผู้ชายที่มีกลิ่นคล้ายพ่อของตัวเอง ทั้งนี้ด้วยเหตุผล (ที่ไม่ค่อยเห็นแก่ตัวสักเท่าไหร่เลย) ว่าผู้ชายเหล่านี้น่าจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี (เหมือนที่เธอได้รับจากพ่อ) และเขาก็ไม่ใช่คนในตระกูล แม้ว่าเธอจะมั่นใจว่าตระกูลของเธออุดมสมบูรณ์ไปด้วยยีนที่ดีเลิศ แต่การแต่งงานกันในวงศ์ญาตินั้นเสี่ยงเกินไปที่จะเลือกปฏิบัติ เพราะนอกจากจะทำให้ลูกที่เกิดมาอ่อนแอหรือถึงตายได้แล้ว ยังอาจทำให้ลักษณะเด่นบางประการหายไป และยังทำให้ความสมบูรณ์ของพันธุ์ลดต่ำลงได้ในรุ่นลูกรุ่นหลาน เป็นไปตามกฎแห่งพันธุกรรม ดังนั้นการเลือกชายที่มีความใกล้เคียงกับพ่อของเธอจึงเป็นทางออกที่สดใสกว่า เพราะนอกจากจะน่ายินดีที่ได้ยีนดีแล้ว ชายนอกตระกูลผู้นั้นยังน่าจะมียีนดีๆ อื่นๆ อยู่ในตัวอีกด้วย กลยุทธ์นี้ช่วยสร้างสมดุลระหว่างความเสี่ยงของการผสมนอกสายสัมพันธ์และความอันตรายของการผสมในสายสัมพันธ์ได้อย่างลงตัวที่สุด


บทส่งท้ายมีคน (คาดว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์) ให้นิยามของความรักว่า “ความรักเป็นปฏิกริยาทางเคมีที่เกิดขึ้นภายในร่างกายเพื่อตอบสนองความต้องการทางพันธุกรรมกับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม” ไม่ว่ารักจะเป็นอะไรก็ตามในความคิดของคน และแม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะสรรหาข้อเท็จจริงมากมายมาเฉลยปริศนาแห่งรักให้เรารู้ได้ เราก็ต้องเข้าใจอยู่เสมอว่ารักเกี่ยวพันกับสิ่งต่างๆ มากมาย ไม่ใช่แค่วิทยาศาสตร์ แต่ยังรวมถึงปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม รวมทั้งการเรียนรู้ด้วย ความรักเติบโตขึ้นพร้อมๆ กับเรา โดยประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เรารู้จักเลือกที่จะรัก รู้จักหยุดเพื่อที่จะเริ่มใหม่ และรู้จักสร้างเงื่อนไขเพื่อให้ได้มาซึ่งการดำรงพันธุ์ที่เหมาะสมแม้ว่าปริศนาบางอย่างในโลกแห่งรักจะถูกไขกระจ่างโดยนักวิทยาศาสตร์ ก็ไม่ได้หมายความว่าต่อจากนี้ไปเราจะรักกันด้วยเทคโนโลยี การปล่อยให้ความรักดำเนินไปตามครรลองของมันน่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องมากกว่า


ภูมิใจ "ในหลวงของเรา"


รวบรวมพระจริยวัตรง่ายๆ ของในหลวงของเรา ^^



1. ทรงเรียกสมเด็จพระราชชนนีอย่างธรรมดาว่า "แม่"
2. สมัยทรงพระเยาว์ ทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม
3. หากทรงทำกิจกรรมแล้วมีกำไรจะถูกเก็บภาษี 10% ทุกสิ้นเดือน สมเด็จพระราชชนนีจะเรียกประชุมเพื่อถามว่าจะเอาเงินไปทำอะไรเช่น มอบให้โรงเรียนคนตาบอด มอบให้เด็กกำพร้า หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน
4. ช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงปั่นจักรยานไปโรงเรียนแทนรถพระที่นั่ง
5. พระอัจฉริยภาพมาจากการเล่น หากอยากได้ของเล่นต้องทรงเก็บสตางค์ซื้อหรือประดิษฐ์เอง ทรงหุ้นค่าขนมกับพระเชษฐาซื้อชิ้นส่วนวิทยุเอามาประกอบเองแล้วแบ่งกันฟัง
6. ทรงพระราชนิพนธ์เพลง "แสงเทียน" ครั้งแรกเมื่อ 18 พรรษา ครั้งหนึ่งทรงฉวยซองจดหมายแล้วเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นเดี๋ยวนั้น กลายเป็นเพลง "เราสู้" จนถึงปัจจุบันพระราชนิพนธ์เพลงไว้ 48 เพลง
7. ทรงนำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ออกฉายแล้วนำเงินรายได้มาสร้างอาคารสภากาชาดไทยที่ รพ.จุฬาฯ และ รพ.ภูมิพล รวมทั้งใช้ในโครงการโรคโปลิโอและโรคเรื้อน
8. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหรือ "กังหันชัยพัฒนา"
9. ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงจากวัสดุการเกษตรเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนเช่น แก๊สโซฮอล์ ดีโซฮอลล์ และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ปี
10. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีจำนวนกว่า 3,000 โครงการ โครงการสวนจิตรลดาเริ่มต้นขึ้นจากเงินส่วนพระองค์ 32,866.73 บาท แล้วก็ค่อยๆ เติบโตอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้
11. ทรงประดิษฐ์ฟอนต์จิตรลดาและฟอนต์ภูพิงค์ในคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ และทรงเชี่ยวชาญ 6 ภาษาคือ ไทย ละติน ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน และสเปน
12. ทรงจดทะเบียนสมรสเหมือนคนทั่วไป ปิดอากรแสตมป์ 10 สตางค์ เสียค่าธรรมเนียม 10 บาท หลังอภิเษกสมรส ทรงฮันนีมูนที่หัวหิน
13. ครั้งหนึ่ง ทรงแข่งเรือใบออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นกลับเพราะไปโดนทุ่น ซึ่งในกติกาถือว่าฟาวส์ ทั้งๆ ที่ไม่มีใครเห็น
14. เมื่อผู้แทนพระองค์ไปติดต่อทำเอกสาร ทรงโปรดให้กรอกในช่องอาชีพของพระองค์ว่า "ทำราชการ"
15. ของใช้ส่วนพระองค์ไม่จำเป็นต้องมียี่ห้อดัง การถวายของให้พระองค์จึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นของแพง ไม่ทรงโปรดสวมเครื่องประดับยกเว้นนาฬิกา
16. หลอดยาสีพระทนต์ ทรงใช้จนแบนราบโดยเฉพาะบริเวณคอหลอดจะมีรอยบุ๋มลึก ซึ่งเป็นผลจากการใช้ด้ามแปรงสีพระทนช่วยรีดและกด

17. พระเกศาที่ทรงตัดแล้วส่วนหนึ่งมอบให้ทหาร อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้สร้างวัตถุมงคลเพื่อมอบให้ราษฎรที่ทำความดีแก่ประเทศชาติ
18. ครั้งหนึ่งเมื่อเสด็จฯ เยี่ยมโครงการ ปรากฏว่ามีฝนตกลงมาอย่างหนัก ข้าราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเปียกฝนกันทุกคน จึงมีรับสั่งให้องครักษ์เก็บร่มแล้วทรงเยี่ยมข้าราชการและราษฎรกลางสายฝน
19. วันที่ทรงกำลังจะเข้าห้องผ่าตัดกระดูกสันหลัง (20 กรกฎาคม 2549) ทรงรับสั่งให้ข้าราชบริพารไปติดตั้งคอมพิวเตอร์เดินสายออนไลน์ไว้เพราะกำลังมีพายุเข้าประเทศ เผื่อน้ำท่วมจะได้ช่วยเหลือทัน
20. ห้องทรงงานอยู่ใกล้ห้องบรรทม เป็นห้องเล็กๆ ขนาด 3x4 เมตร ภายในมีวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องพยากรณ์แผนที่ ฯลฯ
21. ปีหนึ่งๆ ทรงเบิกดินสอ 12 แท่ง ใช้เดือนละแท่งจนกระทั่งกุด ทุกครั้งที่เสด็จฯ ไปยังสถานที่ต่างๆ จะทรงมีแผนที่ซึ่งทรงทำขึ้นเอง (ตัดต่อเอง ปะกาวเอง) กล้องถ่ายรูป และดินสอที่มียางลบ
22. ทรงพระราชทานปริญญาบัตรตั้งแต่ปี 2493 จน 29 ปีต่อมามีผู้คำนวณว่าเสด็จพระราชทาน 490 ครั้ง ประทับครั้งละ 3 ชม. ทรงยื่นพระหัตถ์ 470,000 ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ 3 ขีด รวมน้ำหนักทั้งหมด 141 ตัน
23. ทรงใช้พระเนตรข้างซ้ายข้างเดียวบำบัดทุกข์บำรุงสุขราษฎรมากว่า 60 ปี
24. ทรงตรัสว่า "ความจริงมันน่าท้อถอยอยู่หรอก บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านเมือง คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ"
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ


ฉลองพระบาทของในหลวง  (พูดภาษาชาวบ้านต้องบอกว่า ใช้จนขาดแล้วขาดอีก ^^)


ที่มา : Sansern Samalapa : Facebook
(ดร.สรรเสริญ สมะลาภา ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์)

เอาชนะโรค "ไมเกรน" โดยไม่ต้องกินยา !?

image




"ไมเกรน" (Migraine) เป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติระบบประสาทที่หลอดเลือดแดงบริเวณศีรษะซึ่งเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาดซึ่งอาจจะมีอาการเป็นครั้งคราว



ลักษณะที่สำคัญของไมเกรน ประกอบด้วย ส่วนใหญ่มักจะปวดศีรษะข้างเดียวประมาณ 60% หรือจะมีอาการปวดศีรษะทั้ง 2 ข้างก็ได้ โดยทั่วไปจะมีอาการปวดศีรษะนาน 4 - 72 ชั่วโมงและมักจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและเวียนศีรษะร่วมด้วย รวมถึงอาการปวดที่ไวต่อแสงหรือเสียงก็ได้
อาการปวด หัวแบบ ไมเกรน จะมีตั้งแต่ระดับปานกลางไปจนถึงมากจนกระทบกับการดำรงชีวิตประจำวัน อาจจะมีอาการปวดตุบๆ แถวขมับ หรืออาจจะจะปวดบริเวณเบ้าตา และอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อาการปวด ไมเกรนเวลาหายปวดจะหายสนิท และบางคนเวลามีอาการปวด ไมเกรน มักจะมีอาการนำมาก่อนที่จะเกิดอาการปวด เรียก Aura อาจจะเห็นแสงแวบ แสงจ้า ตาพร่ามัว ซึ่งเป็นช่วงสั้นๆ ก่อนจะมีอาการปวด

คนที่เป็นไมเกรนส่วนใหญ่จะพบการเกร็งตัวของกล้ามเนื้้อ บริเวณบ่า และ มีจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อหดตัวเกร็งจนเป็นก้อนเล็กๆ 0.5 - 1.0 เซนติเมตร (Trigger Point) บริเวณ บ่า ต้นคอ ทำให้เลือดและออกซิเจนไม่สามารถไปเลี้ยงบริเวณจุดนั้นได้ ส่งผลทำให้ไม่สามารถเลือดและออกซิเจนไม่สามารถส่งผ่านไปยังศีรษะได้เต็มที่ เมื่อเลือดไม่สามารถส่งขึ้นไปเลี้ยงที่ศีรษะ 2 ข้างไม่เท่ากัน จึงทำให้เกิดการปวดศีรษะข้างเดียว ที่เรียกว่าไมเกรน

คนที่ทำงานในสำนักงาน และนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆเป็นประจำ มีโอกาสที่จะเกิด Trigger Point ด้านขวาได้บ่อย และเป็นผลทำให้ปวดหัวไมเกรนซีกขวาได้
คนจำนวนไม่น้อยเลือกหยุดอาการไมเกรนด้วยการับประทานยา ซึ่งแม้จะได้ผลในการปวดครั้งนั้น แต่การทานยาแก้ปวดสม่ำเสมอยังมีผลข้างเคียงต่อ กระเพาะอาหาร ตับ และไตอีกด้วย หลอดเลือดอักเสบ ทำให้เมื่อหลอดเลือดขยายตัวแล้วจะเกิดอาการปวดอีกด้วย ถ้าใช้ยาประเภทนี้บ่อยๆจะเกิดโรคลูกโซ่ตามมาจากการใช้ยาแก้ปวดประเภทนี้ในวันข้างหน้าแน่นอน

ยาแก้ปวดไมเกรน ทุกชนิดมีผลต่อตับอย่างแต่นอน เมื่อตับทำงานหนักและเสื่อมลง ย่อมทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ซึ่งย่อมให้เกิดโรคต่างๆตามมาได้อีกหลายโรค
ข้อสำคัญการรับประทานยาแก้ปวดประเภทไมเกรนเป็นประจำ จะทำให้เกิดอาการรุนแรงในการปวดครั้งๆต่อๆไปมากขึ้น และต้องพึ่งยาที่มากขึ้นหรือแรงขึ้นไปอีก จนบางครั้งอาจปวดจนถึงขั้นต้องพึ่งยาฉีดเข้าเส้นเลือดประเภทมอร์ฟีนหรือสเตอรอยด์เข้าไปด้วย

ความจริงแล้วการกินยาเป็นเพียงการรักษาปลายอาการเท่านั้น ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุ จุดกดเจ็บที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ Trigger point ไม่ได้หายไปไหน ดังนั้นเมื่อเวลาผ่านไปก็จะเกิดเป็นกล้ามเนื้อพังผืดเป็นวงกว้างมากขึ้นและหนามากขึ้น จากการรักษาด้วยการพึ่งพายาแก้ปวดไมเกรน และอาการไมเกรนก็จะหนักมากขึ้น และรักษายากขึ้นด้วย

ด้วยเหตุผลนี้คนที่รักษาโรคไมเกรนจำนวนหนึ่ง จึงไปรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด หรือนวดกดจุดลดขนาดพังผืดบริเวณบ่า และกดเพื่อทำให้จุดกดเจ็บ Trigger Point ให้มีขนาดลดลง ตลอดจนกดจุดบริเวณบ่า คอ ไหล่ และบริเวณศีรษะด้านที่ปวด

ถ้าจะสังเกตให้ง่ายก็คือจุด Trigger Point จะอยู่บริเวณบ่าเป็นก้อนกล้ามเนื้อที่นูนออกมา หากกดลงจะมีลักษณะแข็งจึงจำเป็นต้องกดจุดเหล่านี้ให้มีขนาดเล็กลงหรือนิ่มลง บางครั้งก้อนที่แข็งมากอาจจำเป็นต้องลงศอกเสียด้วยซ้ำ

โดยเฉพาะการกดค้างศีรษะด้านบนค่อนไปข้างหน้า กดด้านที่ปวดห่างจากเส้นกึ่งกลางมา 1 นิ้ว กดค้างให้ลึก 10 วินาทีต่อครั้งแล้วปล่อยทำหลายๆครั้งจะหยุดได้แบบฉับพลัน แม้ว่าการปวดนั้นจะลามมาถึงการปวดที่เบ้าตาแล้วก็ตาม

นอกจากนี้ หลายคนที่พยายามจะหลีกเลี่ยงการรับประทานยาก็ใช้วิธีอื่น เช่น การราดน้ำศีรษะด้วยน้ำเย็นต่อเนื่องกัน 5 -10 นาที, การแปะด้วยถุงเจลแช่เย็น (Cold Pad) บริเวณหน้าผากและเบ้าตา, การรีบนอนให้เร็วโดยทันทีเมื่อเริ่มมีอาการ ฯลฯ

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการหยุดอาการปวดที่ทรมานได้ โดยไม่ต้องใช้ยา แต่ที่กล่าวมาก็ยังไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ เป็นเพียงการหยุด"ปลายอาการ" เท่านั้น!!!

เพราะโรคไมเกรนของคนส่วนใหญ่มักไม่ได้เกิดขึ้นในตอนวัยเด็ก และไม่ได้เกิดขึ้นเพราะกรรมพันธุ์ แต่มักจะเกิดขึ้นเมื่อโตมากขึ้นแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยภายนอก ได้หลายอย่าง เช่น

1.อาหาร พบว่าอาหารหลายชนิดที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้มาก เช่น นมวัว เนย ชีส ช็อคโกแลต ไวน์แดง เบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถั่วบางชนิด กล้วยสุกงอม ชา กาแฟและเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน น้ำตาลเทียม ผงชูรส แอสปาแตม รวมถึงสารที่แต่งอาหารบางชนิดก็มีผลเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ ไมเกรนได้ด้วย เช่น สารไนไตรด ไนเตรด ซึ่งจะพบในอาหารพวก เบคอน ไส้กรอก ซาเซมิ แฮม

คนส่วนใหญ่ที่เป็นไมเกรนแล้วงดอาหารที่กล่าวมาข้างต้นมักมีอาการไมเกรนลดลงอย่างเห็นได้ชัด!

2. ระดับฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น ช่วงที่มีประจำเดือน รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ได้รับฮอร์โมนทดแทน และกำลังตั้งครรภ์ เป็นต้น

3. สภาพร่างกาย สภาพร่างกายที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น นอนไม่พอ เครียด ทำงานหนักมากเกินไป ท่านั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม มีลักษณะงานที่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวต่อเนื่องนานๆ (รวมถึงการเกร็งตัวจากการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน) และอดอาหาร เป็นต้น

4. การออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่มากเกินก็สามารถกระตุ้นให้เกิดการกำเริบของอาการปวดหัวไมเกรนได้

5. สภาวะแวดล้อม สภาวะแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น อาการร้อนหรือหนาวจัด แสงแดดจ้า กลิ่นไม่พึงประสงค์บางอย่าง เช่น กลิ่นบุหรี่หรือกลิ่นน้ำหอม เป็นต้น

6. ยาและสารเคมีบางชนิด ยาและสารเคมีบางชนิดกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะได้ เช่น nitroglycerine, Hydralazine, Histamine, Resepine เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าคนที่ปวดหัวไมเกรน ไซนัส จำนวนมากมีประวัติกินยาแก้อักเสบ ยากแก้แพ้ และ ยาลดน้ำมูกเป็นประจำ

จะเห็นได้ว่าโรคไมเกรนส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมของเราเองส่วนหนึ่งที่ผิดไปจากธรรมชาติ และเกิดจากสภาวะแวดล้อมอีกส่วนหนึ่ง
ดังนั้นเมื่อโรคนี้เกิดจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม การแก้ไขที่ตรงจุดจึงย่อมไม่ใช่การรับประทานยาแก้ปวด แต่ต้องพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมและหลีกเลี่ยงสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะกับตัวเองน่าจะถูกต้องกว่า

หรือไม่ก็ต้องรู้จักปรับสมดุลให้เหมาะสมกับพฤติกรรมและสภาวะแวดล้อมที่ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้
แต่หลายคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นได้และต้องการหายขาด เท่าที่ได้พบเห็นก็ดูเหมือนว่าการรักษายังคงมีอีกหลายวิธีที่เป็นการแพทย์ทางเลือก เช่น การดื่มน้ำปัสสาวะบำบัด, การฝังเข็ม, การดีท็อกซ์, การรับประทานอาหารสมดุลร้อน-เย็น, การล้างพิษตับ, การนั่งสมาธิ ฯลฯ

ด้วยพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมของคนในยุคนี้เปลี่ยนไป ทำให้โรคปวดหัว ไมเกรนนับวันจะมีคนเป็นมากขึ้น เป็นโรคที่ปวดแล้วทรมาน หากรู้จักแนวทางในการป้องกันและรักษาตัวเองได้โดยไม่ต้องใช้ยา ก็จะพบว่าความถี่ในการเกิดโรคไมเกรนจะค่อยๆทิ้งช่วงนานขึ้น ปวดน้อยลง และหายได้ในที่สุด

ผมเป็นคนหนึ่งที่ปวดไมเกรนมาเป็นเวลาเกือบ 15 ปี รักษามาแล้วหลายวิธี ใช้ยาแรงมาแล้วก็มาก แต่พึ่งจะหายจากโรคนี้ได้โดยไม่มีอาการแม้แต่วันเดียวในปีนี้ และเป็นปีแรกที่ไม่ต้องอาศัยยาเคมีแม้แต่เม็ดเดียว ก็ด้วยการใช้แนวทางธรรมชาติบำบัดของชาวสันติอโศกควบคู่ไปกับการหาเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์

แม้ความจริงจะมีรายละเอียดอยู่มากในการอธิบายเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็ขอเขียนอธิบายมาโดยสรุปพอสังเขปให้เหมาะกับพื้นที่นี้ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ช่วยกันทำบุญแบ่งปันข้อมูลนี้ เพื่อคลายทุกข์ให้กับคนที่ทรมานจากโรคนี้ต่อไป

“อโรคยา ปรมาลาภา” ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐโดยแท้!!!

ที่มา : คุณปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ (Fan page)
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=454243177968990&set=a.123920204334624.18090.123613731031938&type=1&ref=nf