วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วันพืชมงคล



วันพืชมงคล (อังกฤษ: Royal Ploughing Ceremony) เป็นวันสำคัญที่กำหนดขึ้นเพื่อระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรที่มีต่อเศรษฐกิจไทย มีการจัดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพระราชพิธีโบราณ สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประกอบด้วย 2 พระราชพิธีคือ พระราชพิธีพืชมงคล และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีนี้กระทำที่ท้องสนามหลวง

ทางราชการกำหนดให้วันพืชมงคลเป็นวันเกษตรกร และกำหนดให้วันนี้เป็นวันหยุดราชการ ยกเว้นธนาคารและบริษัทเอกชนบางแห่งไม่หยุดทำการ วันพืชมงคลจะไม่ตรงกับวันเดิมตามสุริยคติหรือจันทรคติของทุกปี แต่สำนักพระราชวังจะเป็นผู้ประกาศวันพืชมงคล ให้เป็นวันใดวันหนึ่งในเดือนพฤษภาคม แล้วแต่ในแต่ละปี

พระราชพิธีพืชมงคล
เป็นพิธีทางพุทธศาสนา มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เป็นพิธีสงฆ์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงกำหนดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่างๆ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่ว งา เผือก มัน เป็นต้น ฯลฯ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น ปราศจากโรคภัยและให้อุดมสมบูรณ์เจริญงอกงามดี

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
เป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ เป็นพิธีพราหมณ์มีมาแต่โบราณ เป็นพิธีเริ่มต้นการไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว พระราชพิธีทั้งสองนี้ ได้กระทำเต็มรูปแบบมาเรื่อยๆ จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้เว้นไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ด้วยสถานการณ์โลกและบ้านเมืองอยู่ในภาวะที่ไม่สมควรจะจัดงานใดๆ จึงว่างเว้นไป ๑๐ ปี ต่อมาทางราชการพิจารณาเห็นว่าประเทศไทย เป็นประเทศกสิกรรม โดยเฉพาะทำนาควรจะได้ฟื้นฟู ประเพณีเก่าอันเป็นมงคลแก่การเพาะปลูก ดังนั้น ใน พ.ศ. ๒๔๙๐ จึงกำหนดให้มีพิธีพีชมงคลขึ้นอีก แต่มีแค่พระราชพิธีพืชมงคลเท่านั้น (พิธีเต็มรูปแบบว่างเว้นไปถึง ๒๓ ปี) ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ จึงจัดให้มีราชพิธีจรดพระนาคัลแรกนาขวัญ ร่วมกับพิธีพืชมงคลนับแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้จึงจัดให้เป็นวันสำคัญของชาติ

กำหนดวันพืชมงคลในปีที่ผ่านมา (2549-2555)
พ.ศ. 2549 ตรงกับ พฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ตรงกับ พฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ตรงกับ ศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ตรงกับ จันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ตรงกับ พฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ตรงกับ ศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ตรงกับ พุธที่ 9 พฤษภาคม

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5

ขนมเรไร ขนมไทยชื่อไม่คุ้นหู แต่น่ากิน (อิอิ)

สวัสดีค่ะท่านผู้อ่าน วันนี้คนเขียนขอนำเสนอ ขนมไทยชนิดหนึ่งที่ค่อนข้างจะหาทานยากนะคะ นั่นก็คือ "ขนมเรไร" นั่นเอง ขนมชนิดนี้หน้าตา และวิธีทำ จะเป็นอย่างไร ไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ ^^



เครื่องปรุง
แป้งข้าวเจ้าอย่างดี 1 ถ้วยตวง
แป้งท้าวยายม่อม 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำดอกไม้ 3/4 ถ้วยตวง
หัวกะทิกรองแล้ว 1/2 ถ้วยตวง
มะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้นละเอียด 1/3 ถ้วยตวง
รากถั่วบุบพอแตก 1/4 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 1/4 ถ้วยตวง
เกลือป่น 1/2 ช้อนชา

สีจากธรรมชาติ สีฟ้า คั้นจากกลีบดอกอัญชัน สีเหลือง ต้มกลีบดอกคำฝอย สีม่วง คั้นจากลูกผักปรังสุก

วิธีทำ
1. ผสมแป้งข้าวเจ้าและแป้งท้าวยายม่อมเข้าด้วยกันในกระทะทอง เติมน้ำทีละน้อยนวดนาน ๆ เพื่อให้แป้งเหนียว อย่างน้อย 20 นาที แล้วจึงเติมน้ำส่วนที่เหลือจนหมด ยกขึ้นตั้งไฟกวนไปจนแป้งสุกจับตัวกันเป็นก้อน ล่อนจากกระทะ จึงยกกระทะลง พักไว้ให้เย็น นวดต่อให้แป้งเนียน แล้วแบ่งออกเป็นก้อนเล็ก ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 1/2 เซนติเมตร เอาผ้าชุบน้ำคลุมไว้กันแห้ง
2. นำแป้งแต่ละก้อนมาวางในเครื่องปั้นเส้น บีบออกมาทีละก้อนให้เป็นเส้นเล้ก ๆ เขี่ยขึ้นวางในรังถึงง ปุด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำบนไฟแรงจนสุก ประมาณ 3-4 นาที ชะโลมด้วยหัวกะทิ แซะขึ้นใส่จานไว้
3. ผสมงาคั่ว น้ำตาลทราย และเกลือเข้าด้วยกัน
4. เส้นขนมกับงาผสมน้ำตาลและมะพร้าวขูดละเอียด (มะพร้าวควรนึ่งเสียก่อน ถ้ายังไม่เสิร์ฟทันที)

ถ้าต้องการสีต่าง ๆ ให้ผสมน้ำสีจากธรรมชาติในส่วนผสมน้ำที่ใช้นวดแป้งและทำส่วนละสี

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ที่มา : ตำรับอาหารจากพืชผักและไม้ผล โดยกลุ่มงานส่งเสริมการมีงานทำ สนง.จัดหางานจังหวัดเชียงใหม่

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วิธีการแอดมิชชั่น

สิ่งที่ควรรู้


1. คะแนน GAT & PAT มีอายุ 2 ปี สำหรับระบบแอดมิชชั่นส์ 2555 จะใช้เลือกคะแนน GAT & PAT ได้ตั้งแต่รอบกรกฎาคม 2553 จนถึงรอบมีนาคม 2555 รวม 6 ครั้ง โดยระบบประมวลผลจะเลือกรอบที่คะแนนดีที่สุดในแต่ละวิชาให้น้องอัตโนมัติ แล้วจะเปิดให้น้องตรวจสอบการเลือกคะแนนของระบบหลังปิดรับสมัคร (แยกพิจารณารายวิชา เช่น GAT สูงสุดในรอบมีนาคม 2555 PAT5 สูงสุดในรอบกรกฎาคม 2553 เป็นต้น)

2. คะแนนโอเน็ตใช้ 30% รหัส 01-05 วิชาละ 5% ส่วนรหัส 06-08 ต้องนำมาบวกกันแล้วหาร 3 เป็นอีก 5%

3. แอดมิชชั่นส์ไม่ใช้วิชาสามัญนะครับ วิชาสามัญใช้เฉพาะระบบรับตรง

4. บางคณะมีการกำหนดคะแนนขั้นต่ำ ถ้าเป็นโอเน็ตให้ดูเป็นรายวิชา ไม่ใช่คะแนนเฉลี่ยทุกวิชา โดยน้องมีสิทธิ์ได้ แต่ระบบประมวลผลให้เฉพาะผู้ที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ ดังนั้นถ้าน้องจะยื่นคณะที่กำหนดคะแนนขั้นต่ำ แต่น้องมีบางวิชาที่คะแนนไม่ถึงขั้นต่ำ ก็ถือว่าเลือกเสียอันดับฟรีๆ โดยคะแนนขั้นต่ำจะกำนหนดเป็น % ดังนั้นถ้าเป็นคะแนน GAT & PAT เปลี่ยนจาก % เป็น 300 คะแนนเต็มต้องคูณ 3

5. น้องต้องมีองค์ประกอบทุกส่วนของคณะหรือสาขาวิชาที่น้องจะเลือก หากขาดวิชาใดวิชาหนึ่ง แม้ว่าคะแนนรวม 30,000 คะแนนน้องจะถึงคะแนนต่ำสุดเมื่อประมวลผลมาแล้ว ก็ไม่ถูกตัดชื่อออกจากรหัสคณะนั้น เนื่องจากองค์ประกอบไม่ครบ ก็ถือว่าเลือกเสียอันดับฟรีๆ

6. อันดับคณะให้เลือกได้สูงสุด 4 อันดับ จะเลือก 1 อันดับก็ได้ 2 หรือ 3 อันดับก็ได้ อันดับแรกค่าสมัครเริ่ม 100 บาท อันดับต่อไปเพิ่มอันดับละ 50 บาท บวกค่าธรรมเนียมชำระเงินอีก 15 บาท หากสมัครครบ 4 อันดับก็ 265 บาทครับ

7. หากอันดับสุดท้ายมีคนคะแนนเท่ากันหลายคน ถ้า เป็นคณะทางวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงคณะที่เน้นการปฏิบัติการจะไม่รับหมด เพราะมีข้อจำกัดด้านอุปกรณ์ทางการศึกษาที่อาจไม่เพียงพอ แต่ทางเป็นคณะทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะรับมาทั้งหมด

8. แอดมิชชั่นส์จะประมวลผลคณะที่น้องเลือกแค่เพียง 1 คณะเท่านั้น ไม่ ได้ระบุว่าคะแนนน้องผ่านคณะไหนบ้างแล้วให้เลือก โดยคณะอันดับ 1 ที่น้องเลือกจะถูกประมวลผลก่อน และมีสิทธิ์ได้รับคัดเลือกก่อน อันดับที่ 2 3 และ 4 ก็รองลงมา ดังนั้นการเลือกอันดับคณะควรเรียงจากคณะที่ อยากเรียนมากที่สุดไว้เป็นอันดับ 1 แล้วรองๆ ลงมาถึงอันดับ 4 แต่ 4 อันดับคณะนั้นเราต้องชอบและถนัดหมดนะ

9. การเลือกคณะที่มีแบ่งเป็นพื้นฐานวิทย์ พื้นฐานศิลป์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้เลือกที่ถนัดด้านวิทย์ กับด้านศิลป์ ได้คัดเลือกเข้ามาเท่าเทียมกันมากขึ้น ซึ่ง ไม่ได้ห้ามนะครับว่าจะต้องเลือกตามแผนการเรียนที่น้องเรียนมา น้องสายศิลป์เลือกสอบพื้นฐานวิทย์ได้ ถ้ามีคะแนน PAT ตามที่กำหนด น้องสายวิทย์ก็เลือกสอบพื้นฐานศิลป์ได้ ถ้ามีคะแนน PAT ตามที่กำหนดเช่นกัน

10. การสมัครคัดเลือกระบบแอดมิชชั่นส์ จะสมัครกี่รอบก็ได้ แต่ระบบจะยึดเอาการสมัครที่ชำระเงินครั้งล่าสุดไปใช้ประมวลผลครับ แสดงว่า น้องสมัครไปแล้ว ถึงแม้ว่าจะชำระเงินหรือไม่ก็ตาม อยากจะแก้ไขเปลี่ยนแปลง อยากเปลี่ยนอันดับ ก็สมัครใหม่ แล้วชำระเงิน ใครแก้บ่อยก็สมัครบ่อย จ่ายหลายรอบนะครับ แต่ระบบจะยึดเอาการชำระเงินครั้งล่าสุด

11. การสอบสัมภาษณ์เป็นเพียงการสอบถามข้อมูลเบื้องต้นที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ และวัดทัศนคติเบื้องต้น จะไม่มีการให้คะแนน เพื่อคัดออกแล้ว นอกจากที่จะแสดงกิริยาก้าวร้าว ไม่น่ารักมากๆ ส่วนแฟ้มสะสมงานไม่บังคับว่าต้องมีทุกคน เพราะไม่มีผลต่อการพิจารณาครับ ถ้ามีก็ดีตรงที่ถ้าอาจารย์กรรมการเปิดอ่านก็จะหาเรื่องคุยจากแฟ้มสะสมงานของ เราได้ ไม่ใช้เวลาที่เหลือพาถามคำถามยากอื่นๆ แต่ถ้าไม่มีเวลาเตรียมก็ไม่เสียหายอะไรครับ

12. น้องที่ยืนยัน Clearing House ไม่มีสิทธิ์สมัครแอดมิชชั่นส์นะครับ มิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิ์ทั้ง 2 ระบบที่ผ่านการคัดเลือกนะ

หลักการเลือกอันดับแอดมิชชั่นส์
มาถึงเรื่องที่น่าปวดหัวที่สุดก่อนที่จะตัดสินใจสมัครคัดเลือกแล้ว นั่นคือการเลือกคณะทั้ง 4 อันดับ พี่มีคำแนะนำดังนี้นะครับ

1. คณะอันดับ 1 ให้จริงใจกับตนเองไว้ว่าใจเราสนใจเรียนทางด้านไหน คณะไหน สาขาวิชาไหน เป็นความใฝ่ฝันจริงๆ เลือกไว้อันดับ 1 เลยครับ อย่าได้แคร์คะแนน คนอื่นจะคะแนนสูง รับจะน้อยเพียงใด ขอแค่เราเลือกเพื่อโอกาสอันมีค่าแม้จะน้อยนิดก็ตาม อันดับ 1 เค้าให้เลือกตามความฝันของเราครับ อย่าทำตัวเป็นแม่หมอ หมอเดา ชอบดูถูกตัวเองว่าคะแนนน้อยอ่ะ ไม่ติดหรอก ไม่เลือกดีกว่า ถ้าคนคิดแบบนี้ 1,000 คน คะแนนจะที่คิดว่าสูงมันก็ตกลงได้นะ อะไรก็คาดเดาไม่ได้หรอก ปาฏิหาริย์มีเสมอในแอดมิชชั่นส์ "รู้ว่าเสียงแต่คงต้องขอลอง" ถ้าไม่เลือกเสี่ยงแล้วประกาศผลมา คะแนนเรากลับเข้าคณะนี้ได้ นอกจากเสียใจแล้วจะเสียดายนะ

2. คณะอันดับ 2 ควรเป็นคณะหรือสาขาวิชาที่สนใจหรือชอบในระดับหนึ่งรองลงมาจากคณะอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยที่ตัวเองสนใจ แนะนำว่าให้นำคะแนนของตนไปเทียบกับคะแนนต่ำสุดของแอดมิชชั่นส์ย้อนหลังถึงปี 2553 เพราะย้อนไปปี 2552 มันคนละองค์ประกอบ จำนวนรับก็แตกต่างจากระบบใหม่ อันดับ 2 ควรเกิน 100-1,000 คะแนน

3. คณะอันดับ 3 ควรเป็นคณะหรือสาขาวิชาที่พอจะเรียนได้ ของมหาวิทยาลัยที่อาจจะคะแนนรองลงมาจากคณะอันดับ 2 ก็ได้ โดยเป็นคณะหรือสาขาวิชาที่คะแนนไม่สูงมาก อย่าเลือกที่สูงเกินไปในอันดับนี้เพราะจะเกิดความเสี่ยงมากขึ้น อันดับ 3 ควรเกิน 1,000-2,500 คะแนน

4. คณะอันดับ 4 ควรเป็นคณะหรือสาขาวิชาที่เราพอจะเรียนได้ ของมหาวิทยาลัยที่มีคะแนนไม่สูงแล้วเราสะดวกที่จะไปเรียน ควรเป็นคณะที่เรียนได้ มีความสนใจอยู่นะ ไม่ใช่เลือกไว้ให้อันดับมันเต็มนะ เลือกอะไรที่เรียนได้ แล้วคะแนนของเรามีความเป็นไปได้ว่าน่าจะติดชัวร์ๆ อันดับ 4 เกิน 2,500 คะแนนขึ้นไปยิ่งดี จะได้ปลอดภัยมากขึ้น และอย่าลืมว่าหากอันดับ 1 และ 2 หลุดเราต้องเรียนคณะที่เลือกอันดับนี้นะ ต้องคิดให้ดีนะครับ และอย่าหวังสูงมากเกินไปนะ เลือกให้เราติดชัวร์ หากเลือกสูงเกิน แล้วพลาดหลุด 4 อันดับ มันเศร้ายิ่งกว่าไม่จบ ม.6 อีกนะ แนะนำให้น้องพิจารณาดีๆ

คำถามต้องห้าม
1. หนูจะติดมั้ยคะ = คิดซะว่าเราต้องติดสิ คำถามนี้ไม่มีใครตอบได้หรอกครับ แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ที่ดูแลการคัดเลือกเอง เค้าจะรู้ก็ต่อเมื่อประมวลผลแล้ว

2. คะแนนหนูได้เท่านี้มีความหวังมั้ยคะ = เอ๋า ถ้าเราตัดสินใจเสี่ยงเราต้องหวังเป็นธรรมดาครับ เรามีความสุขได้เพราะเราสมหวัง แต่กว่าจะสมหวังได้เราก็ต้องผ่านความทุกข์เพราะความหวัง จุดเริ่มต้นของความสมหวังอยู่ที่ว่าเรากล้าที่จะ เสี่ยง หรือไม่

3. คิดว่าแนวโน้มปีนี้คะแนนจะสูงขึ้นหรือต่ำลง = มันตอบยากนะครับ เพราะมีปัจจัยหลายอย่างมากที่จะทำให้คะแนนต่ำสุดเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญที่สุด คือ การเลือกของน้องๆ ที่ไม่มีใครทราบก่อนการประมวลผลว่า คนเลือกมากน้อยเพียงใด ได้คะแนนเท่าไหร่บ้าง

ปัจจัยที่ทำให้คะแนนต่ำสุดเปลี่ยนแปลง
1. คะแนนเฉลี่ยโอเน็ต และ GAT & PAT ที่อาจจะเฟ้อขึ้นหรือต่ำลง

2. กระแสนิยมในปีนั้นๆ มีผลมากเหมือนกันว่าคนจะไปเลือกอะไร

3. คะแนนต่ำสุดของปีก่อนหน้านั้น อันนี้มีผลทางจิตวิทยามากเลยล่ะ โดยเฉพาะคณะที่คะแนนต่ำสุดเวอร์ๆ ของสถาบันชื่อดัง คณะที่คะแนนต่ำสุดน้อยๆ คนที่อยากเรียนสถาบันดังๆ มักจะแห่ไปเลือก ระวังให้มากเลย

4. จำนวนรับที่เปลี่ยนแปลง น้องๆ ไม่ใช่แค่เอาคะแนนต่ำสุดไปเทียบอย่างเดียวนะ น้องต้องตรวจสอบดูว่าจำนวนรับเปลี่ยนแปลงไปมากหรือไม่

5. เกณฑ์คะแนนขั้นต่ำที่เปลี่ยน บางคณะมีการกำหนดคะแนนขั้นต่ำขึ้นมาในปีนี้ หรืออาจจะยกเลิกไปในปีนี้ ให้น้องตรวจสอบดูก่อน เพราะอาจมีผลต่อคะแนนต่ำสุดด้วย


คณะที่ใช่กับมหาวิทยาลัยที่ชอบ
ยกตัวอย่างคนที่ 1
อันดับ 1 รัฐศาสตร์ IR จุฬาฯ
อันดับ 2 อักษรศาสตร์ จุฬาฯ
อันดับ 3 นิติศาสตร์ จุฬาฯ
อันดับ 4 จิตวิทยา จุฬาฯ

คนที่ 2
อันดับ 1 นิติศาสตร์ จุฬาฯ
อันดับ 2 นิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
อันดับ 3 สังคมศาสตร์ (นิติศาสตร์) ม.เกษตร
อันดับ 4 นิติศาสตร์ มช.

น้องคิดว่าคนไหนจะเรียนในระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีความสุข ได้ทำงานในสิ่งที่ตัวเองชอบในอนาคต

อย่างคนที่ 1 ตกลงเค้าสนใจด้านไหน อยากเรียนด้านไหนเหรอ หรือขอให้ได้เป็นนิสิตจุฬาฯ พี่อยากจะบอกว่า อย่าได้เลือกเพราะอยากอยู่สถาบันดังๆ เพราะน้องจะดีใจ ภูมิใจในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ที่ติดเท่านั้น แต่พอเรียนไปๆ น้องจะเกิดคำถามกับตัวเองว่า ทำไมมันยาก ทำไมคนอื่นเค้าเรียนแล้วมีความสุข คนอื่นเรียนแล้วเรียนดีกว่าเรา ก็เพราะเค้าได้เรียนในสิ่งที่ตัวเองชอบและเป็นความถนัดของเค้าครับ น้องจะได้แต่ดูคนอื่นเค้าเรียนอย่างมีความสุข แต่น้องก็ทุกข์ไปวันๆ คิดไม่ต้องว่าเรียนในสิ่งที่ไม่ถนัด จบไปก็ได้ทำงานที่ไม่ได้ชอบจริงๆ

อนาคตที่ดีและมีความสุขไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถาบันครับ แต่ขึ้นอยู่กับใจว่าเราได้หาในสิ่งที่ชอบให้กับตัวเองหรือไม่ อย่างถ้าน้องคนที่ 1 เค้าได้อันดับ 3 จบไปทำงานสายนิติศาสตร์ กับคนที่ 2 เค้าได้อันดับที่ 4 จบไปทำงานสายนิติศาสตร์เหมือนกัน คนที่ 2 จะมีความสุขกับหน้าที่การงานมากกว่า ทำงานอย่างมีความสุข ผลงานออกมาดี มีความก้าวหน้ามากกว่า คนที่ 1 ก็ทำงานด้วยความจำทน เพราะจบมาแล้ว ก็ต้องทำในสายที่จบมา หรือไม่ก็ฉีกแนวไปเลย

เด็กจุฬาฯ ไม่ว่าจะคณะไหน คณะดังๆ ก็มีเด็กซิ่วไม่น้อย ก็เพราะเค้าเป็นคนที่ 1 ที่เลือกเข้าจุฬาฯ มาเพราะใช้สถาบันตอบสนองคุณค่าทางจิตใจ แต่ 1 ปีที่ผ่านไปตัวเองกลับรู้สึกสุขไม่จริง เรียนไปวันๆ ก็ไร้ทิศทางและแรงบันดาลใจ เพราะไม่ได้ชอบด้านนี้จริงๆ หลังๆ เริ่มเรียนไม่เต็มที่เพราะเตรียมตัวซิ่วไปด้วย ซิ่วได้ก็เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ซิ่วไม่ได้ตามที่หวังก็ต้องกลับมารับความจริงที่อยู่ข้างหลังอีกครั้ง ดังนั้นโอกาสแรกของเราครั้งนี้ คิดให้ดีดีกว่านะครับ

สรุปจะเห็นว่า การจะมีความสุขหรือประสบความสำเร็จในอนาคต สถาบันไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญเท่าใจเรา คนไม่จบปริญญาตรีจุฬาฯ ก็ประสบความสำเร็จและพัฒนาตนเองได้ไม่ต่างกัน อยากจะเตือนน้องๆ ที่กำลังเหมือนคนที่ 1 ว่า น้องคิดดีหรือยังที่จะให้ความสำคัญกับสถาบันโดยไม่ได้คิดถึงความชอบที่มากที่สุดของตัวเอง เพราะน้องจะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยได้ไม่มีความสุขอย่างแท้จริง จุฬาฯ อยู่แล้วจะไม่มีความสุขถ้าไม่ได้เรียนในคณะที่ถนัดจริงๆ แต่สถาบันอื่นๆ แม้ว่าชื่อเสียงไม่ดัง แต่ก็มีเอกลักษณ์ มีความน่าอยู่ในแบบฉบับของสถาบันนั้นๆ ถ้าเราได้เรียนในสิ่งที่ชอบ เราจะปรับตัวแล้วใช้ชีวิตในสถาบันอย่างมีความสุขได้เองครับ

ลองไปคิดดีๆ นะครับ

วิธีการประมวลผลคะแนนแอดมิชชั่นส์
น้องๆ หลายคนอาจจะสงสัยว่า 4 อันดับที่เลือกไปแล้วเค้าประมวลผลอย่างไร ทำไมคะแนนติดกันแต่เราเลือกอันดับ 1 ไม่ติด คนเลือกอันดับ 2 ติดซะงั้น วิธีเป็นเช่นนี้ครับ

1. ระบบจะจัดเรียงคะแนนผู้สมัครที่เลือกอันดับ 1 ของทุกรหัสคณะเป็น list ให้ครบตามจำนวนรับของรหัสคณะนั้นเป็นขั้นตอนแรก เช่น รหัส 0036 รับ 230 คน ก็เรียงอันดับ 230 คนแรกที่เลือกรหัสนี้เป็นคณะอันดับ 1 ดังนั้นก็จะมีคนที่เลือกอันดับ 1 แล้วคะแนนไม่อยู่ในอันดับตามจำนวนรับ

ที่นี้ล่ะครับ มันจะเกิดเหตุการณ์แทรกอันดับ แล้วดันคนตกอันดับลงมาเรื่อยๆ

2. ระบบจะนำคนที่เลือกอันดับ 1 แล้วคะแนนไม่อยู่ในอับดับตามจำนวนรับของทุกรหัสคณะ มาพิจารณาอันดับ 2 ก็จะดูว่าคะแนนคณะอันดับ 2 มากกว่าต่ำสุดของคะแนนในขั้นตอนที่ 1 ของรหัสคณะนั้นหรือไม่ ถ้าเกินก็จะเอารายชื่อไปแทรก list ดังนั้นมีคนตกอันดับ 1 แล้วยิ่งมาแทรกมาก คนที่เลือกอันดับ 1 แล้วมีอันดับอยู่ท้าย list ในขั้นตอนที่ 1 ก็ถูกคนกลุ่มอันดับ 2 ที่ไม่ติดอันดับ 1 มาแทรกอันดับบนใน list จนตก list ไปในที่สุด ระบบจะพิจารณาเรื่อยๆ จนคณะประมวลคณะอันดับที่ 2 ของคนที่ไม่อยู่ใน list ขั้นตอนที่ 1 และคนที่ถูกแทรกในขั้นตอนที่ 2 เบียดตกลงมาพิจารณาคณะอันดับที่ 2 ใหม่อีก

3. ระบบจะพิจารณาคณะอันดับ 3 ของคนที่ถูกเบียดตก list ขั้นตอนที่ 2 หรือไม่เคยอยู่ใน list ทั้ง 2 ขั้นตอน โดยจับแทรกอันดับใน list อีก ก็จะมีคนที่ตก list มาอีก

4. ระบบจะพิจารณาคณะอันดับ 4 ครั้งสุดท้ายครับ อันดับ 4 ถ้าถูกเบียดตก หรือไม่ได้รับการพิจารณาก็พลาดการคัดเลือกในที่สุด

ดังนั้นถ้าชื่อน้องอยู่ใน list ขั้นตอนที่ 1 คือเลือกคณะอันดับ 1 แล้วอยู่อันดับบนๆ คะแนนสูงมาก เช่น นิติศาสตร์ ได้ 25,000 ต่อให้ผ่าน 4 ขั้นตอน จะถูกคนอื่นแทรกยังไงก็ไม่ตก list แน่นอน กลายเป็นเทวดา นางฟ้า บน list อยู่วันยังค่ำ

แต่ถ้าเราอยู่ท้ายๆ list ตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 ก็จงภาวนาว่าอย่าให้คนอื่นมาเบียดจนตก list ไป

สรุป คือ คะแนนสำคัญกว่าอันดับคณะ แม้ว่าเราจะเลือกคณะนี้อันดับ 1 ถ้าคะแนนเราน้อยกว่าอีกคนที่เลือกคณะนี้เป็นอันดับ 2 ถ้าเค้าไม่ถูกจัดใน list ขั้นตอนแรก คือ คณะอันดับ 1 ที่เค้าเลือกคะแนนไม่ถึง เค้าจะมีมาแทรกอันดับบนใน list ที่เราอยู่ อันดับเราก็ตกลงมา และมีโอกาสติดสูงกว่าเรานะ


วันประกาศผล
ประกาศก่อนทุกปีครับ ก่อนวันประกาศผลทางการที่แจ้งวัน 4-5 วันเลย วันประกาศผลยอดฮิต คือ 4-7 พฤษภาคม ต้นเดือนพฤษภาคมเมื่อไหร่ น้องๆ เกาะติดหน้าจอคอมพิวเตอร์รอฟังข่าวได้เลย แต่ก็อย่าลืมพักผ่อน ไม่กดดันตัวเอง อย่าไปกังวลมาก คนจะติดอันดับ 1 อะไรก็ฉุกไม่อยู่นะ


เทคนิคการสัมภาษณ์
"มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์" เป็นคำที่น้องๆ ทุกคนอยากเห็นเมื่อประกาศผลมากที่สุด เมื่อวันสอบสัมภาษณ์มาถึงเราควรเตรียมตัวดังต่อไปนี้นะครับ
1. แต่งกายด้วยชุดนักเรียนที่ดูเรียบร้อย น่ารัก เหมาะสมกับการเป็นนักเรียน
2. ดูแลความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะผม เล็บ อย่ามาแบบเหงื่อโชกนะครับ
3. เดินทางมาที่สถานที่สอบสัมภาษณ์ก่อนเวลาสัก 15-30 นาที เพื่อทำภารกิจส่วนตัวให้เรียบร้อย และสำรวจสถานที่ต่างๆ
4. เตรียมเอกสารให้ครบ อย่าลืมรับรองสำเนาถูกต้องนะครับ
5. สิ่งแรกที่เจออาจารย์กรรมการ อย่าลืมมารยาทอันดีงาม "การไหว้"
6. ทำตัวเป็นนางงามเข้าไว้นะครับ "ยิ้ม พูดเพราะ แอ๊บน่ารักไว้แต่พองาม"
7. ตอบคำถามที่เป็นตัวเอง ซื่อสัตย์ ไม่สร้างภาพ และสำรวม
8. ก่อนกลับก็อย่าลืมลาด้วย "สวัสดีครับ/ค่ะ" หากน้องมีอะไรสงสัยประการใดถามอาจารย์กรรมการได้เลยนะครับ แต่อย่ายาวนะ สั้นๆ พอ

คำถามที่มักจะพบเจอในการสอบสัมภาษณ์
- แนะนำตัวเอง
- ข้อมูลการศึกษา
- สิ่งที่สนใจ
- สภาพครอบครัว รายได้ ความจำเป็นต่างๆ
- แสดงเหตุผลที่ต้องการศึกษาต่อในคณะนี้
- ทำไมถึงอยากเรียนคณะนี้
- ทำไมถึงต้องเรียนที่นี่
- หากไม่ได้เลือกคณะนี้เป็นอันดับ 1 ก็จะถามว่าทำไมถึงอยากเรียนในคณะอันดับ 1 แล้วจะเรียนคณะที่ติดได้ไหม
- หากอยู่ต่างจังหวัดก็อาจจะถูกถามว่า ทำไมไม่เรียนสถาบันใกล้บ้าน
- ตั้งโจทย์ตุ๊กตาถามทรรศนะตามบริบทของแต่ละสาขาวิชา เช่น ภาษาฝรั่งเศสก็อาจจะให้แสดงความคิดเห็นเป็นภาษาฝรั่งเศส หรือสังคมศึกษาก็ให้แสดงความคิดเห็นในสถานการณ์ปัจจุบัน
- คำถามท้าทาย กดดัน หรือกวนประสาท ยั่วโมโห เช่น มันหนักนะ ต้องเจอสิ่งนี้นะ จะไหวเหรอ
- การปรับตัวเข้าสู่ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย เช่น ที่อยู่อาศัย การเดินทาง
ทั้งนี้ การสอบสัมภาษณ์ในระบบแอดมิชชั่นส์จะไม่มีการคัดออก ตอบได้เป็นพอ ไม่ต้องเครียดว่าให้ดีเลิศ ตราตรึงใจอาจารย์กรรมการ พยายามทำเหมือนว่าเค้าชวนเราคุย เราก็คุยด้วยอาการปกติ ยิ้มแย้มแจ่มใส ใช้ภาษากึ่งสนทนา เหมือนเราคุยกับผู้ใหญ่

François Hollande

สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่าน วันนี้คนเขียนขอนำเสนอประวัติของประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศฝรั่งเศส "François Hollande" นะคะ คราวนี้จะไม่ยาวจนปวดลูกตาเหมือนคราวก่อนๆ แต่จะสั้นๆ แต่มีหลายๆภาษาให้ฝึกอ่านกันนะคะ (ข้อมูลเดียวกันค่ะ)

)

ภาษาฝรั่งเศส
François Hollande né le 12 août 1954 à Rouen, est un homme d'État français. Il est le 24e et actuel président de la République française.

Premier secrétaire du Parti socialiste de 1997 à 2008, pendant la troisième cohabitation, puis dans l'opposition, maire de Tulle de 2001 à 2008, il est député de la première circonscription de la Corrèze de 1988 à 1993 et de nouveau de 1997 à 2012, et il préside le conseil général de la Corrèze de 2008 à 2012.

Désigné candidat du PS et du PRG à l'élection présidentielle de 2012 à l'issue d'une primaire, il arrive en tête du premier tour le 22 avril 2012 et emporte le second tour, deux semaines plus tard, avec 51,64 % des voix, face au président sortant, Nicolas Sarkozy.

Il devient le 7e président de la Cinquième République lors de son investiture, au palais de l'Élysée le 15 mai 2012.



ภาษาอังกฤษ
François Gérard Georges Nicolas Hollande (French pronunciation: [fʁɑ̃swa ɔlɑ̃d]; born 12 August 1954) is the 24th President of the French Republic and ex officio Co-Prince of Andorra. He previously served as the First Secretary of the French Socialist Party from 1997 to 2008 and as a Deputy of the National Assembly of France for Corrèze's 1st Constituency from 1988 to 1993 and then again from 1997 to 2012. He also served as the Mayor of Tulle from 2001 to 2008 and the President of the General Council of Corrèze from 2008 to 2012.

He was elected President of France on 6 May 2012, defeating the incumbent Nicolas Sarkozy, and was inaugurated on 15 May. He is the second Socialist President of the Fifth French Republic, after François Mitterrand who served from 1981 to 1995.



ภาษาสเปน
François Gérard Georges Hollande (Ruan, Sena Marítimo, 12 de agosto de 1954) es un político francés. Desde el 15 de mayo de 2012 es el vigesimocuarto presidente de la República Francesa, copríncipe de Andorra y gran maestre de la Legión de Honor. Fue, además, dirigente del Partido Socialista y alcalde de Tulle (Corrèze). Entre 1997 y 2008 desempeñó el cargo de primer secretario del PS. Desde los años 70 hasta 2007 fue pareja de Ségolène Royal, con la que tiene 4 hijos, también dirigente socialista y candidata a la presidencia de Francia en 2007. Compitió en las primeras primarias ciudadanas organizadas por el Partido Socialista y el Partido Radical de Izquierda. El 16 de octubre de 2011 fue designado candidato socialista para las elecciones presidenciales de 2012 en Francia con el 56% de los votos.



ภาษาเวียดนาม
François Gérard Georges Nicolas Hollande (Phát âm tiếng Pháp: [fʁɑ̃swa ʔɔlɑ̃d]; sinh ngày 12 tháng 8 năm 1954) là tổng thống Pháp đương nhiệm, chính trị gia thuộc Đảng Xã hội Pháp. Với cương vị nguyên thủ quốc gia, Hollande đương nhiên nhận tước vị Hoàng thân xứ Andorra và là Tổng Chỉ huy Binh đoàn Danh dự (Légion d'honneur, gồm những người được thưởng Huân chương Bắc đẩu Bội tinh). Ông cũng là Bí thư thứ nhất của Đảng Xã hội Pháp từ năm 1997 tới năm 2008 và là một Nghị sỹ Quốc hội Pháp đại diện cho Khu vực bầu cử số 1 Corrèze từ năm 1997, và trước đó đã giữ ghế này từ năm 1988 tới năm 1993. Ông từng là Thị trưởng Tulle từ năm 2001 đến năm 2008, và Chủ tịch Hội đồng Corrèze từ năm 2008 tới năm 2012. Ông đã được bầu làm Tổng thống Pháp ngày 6 tháng 5 năm 2012, đánh bại đương kim Tổng thống Nicolas Sarkozy. Ông chính thức nhậm chức ngày 15 tháng 5 năm 2012.



และสุดท้าย...ภาษาไทย
ฟร็องซัว เฌราร์ ฌอร์ฌ นีกอลา ออล็องด์ (ฝรั่งเศส: François Gérard Georges Nicolas Hollande, เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [fʁɑ̃swa ɔlɑ̃d]; 12 สิงหาคม ค.ศ. 1954) คือประธานาธิบดีของฝรั่งเศส ออล็องด์ได้รับเลือกตั้งในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 ด้วยคะแนนเสียงประมาณร้อยละ 51.90 เขาเป็นผู้แทนราษฎรจากเขตเลือกตั้งที่ 1 ของจังหวัดกอแรซในช่วงปี ค.ศ. 1988 – 1993 และ ค.ศ. 1997 ถึงปัจจุบัน เขาเคยดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคสังคมนิยมในช่วงปี ค.ศ. 1997 – 2008 เป็นประธานสภาเทศบาลกอแรซตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 รวมถึงเป็นนายกเทศมนตรีเมืองตูลในช่วงปี ค.ศ. 2001 – 2008 อีกด้วย



ในหลายๆภาษาเราอาจจะอ่านไม่ออก แต่จุดประสงค์ที่เอามาลงก็เพราะอยากให้เห็นหน้าค่าตาของแต่ละภาษาที่เราไม่คุ้นเคยเอาไว้บ้าง (จะได้รู้ว่าโลกเรามีตัวอักษรแบบนี้ด้วยหรือ...ประมาณนั้นก็ยังดี)

ที่มา : http://fr.wikipedia.org/wiki/Fran%C3%A7ois_Hollande (แล้วกดเปลี่ยนภาษาไปเรื่อยๆได้เลยค่ะ)